PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : แบบว่าว่างน่ะครับ เลยคิดว่ากระทู้นี่คงมีประโยชน์เล็กๆน้อยๆบ้าง | สงสัยเกี่ยวกับธรรมะถามได้ครับ



Type-7442
8th July 2012, 20:15
ก็ประมาณว่า ใครสงสัยว่า

เอ เราทำบุญอย่างนี้ๆๆ จะได้อะไรบ้าง

เอ.. เราไหว้พระจะได้บุญไหมหนออ

หรือว่า ความทุกข์แท้จริงแล้วเกิดจากอะไร

เอ.. เราสงสัยว่า วิญญาณคืออะไรกันแน่นะ

ผีมีจริงไหมน้าา


ประมาณนี้ครับ ถามมาได้เลยนะ ไม่ต้องไม่มั่นใจในคำตอบ
เพราะผมจะอ้างอิงจาก พุทธวจน ( พระไำตรปิฏก บาลีสยามรัฐ ) ให้มากที่สุดครับ ( ไม่ตอบคำถาม พุทธประัวัตินะครับ )


อยากได้คำถามที่มีประโยชน์น่ะครับ


// ขอบคุณครับ

ILoVePaNgYa
9th July 2012, 02:59
สงสัยครับ ทำไมวัดบางวัดถึงต้องสร้างอะไรใหญ่โต ทำไมต้องชวนคนมาบวช บวชแล้วทดแทนพระคุณได้จริงหรอ แล้วถ้าเป็นผู้หญิงบวชไม่ได้จะทดแทนพระคุณด้วยวิธีไหน

VirusCoMz
9th July 2012, 05:57
ใครเป็นคนนำสุนัขเข้าไปเลี้ยงในวัด คนแรก

SuperAArm
9th July 2012, 08:01
ใครเป็นคนสร้างวัดคนแรก

casnova
9th July 2012, 08:37
ตามความเห็นผมนะครับ

1) ทำไมต้องสร้างวัดใหญ่โต
เพราะ อาจจะเป็นกุศโลบายในการเชิญชวนให้ญาติโยมทั้งหลายเข้าวัดมากขึ้น
2) บวชทดแทนบุญคุณได้จริงหรือ
ตอบ การบวชเป็นการเข้าถึงพระพุทธศาสนา ใกล้ชิดพระธรรมและพระพุทธเจ้า ทำให้ใจเราสงบ บริสุทธิ์
ถ้าคุณเคยบวชหรือเคยไปงานบวช ลองสังเกต ใบหน้าของบิดา มารดาของผู้ที่บวชดูนะครับ มันจะเต็ม
ไปด้วยรอยิ้ม ความอิ่มเอมใจ ถึงแม้จะมีน้ำตา ก็เป็นน้ำตามแหล่งความปิติยินดี ตรงนั้นและครับเกิดบุญแล้ว

สรุปคือ การทำให้พ่อแม่มีความสุขนั้นคือบุญอย่างหนึ่งของเราซึ่งเราเป็นลูกก็ควรทำ และที่สำคัญคือ
ควาสุขเกิดขึ้นที่ใจ และความทุกข์ก็เกิดขึ้นที่ใจเช่นกัน

ถ้ามีคำถามว่า นรก สวรรค์ อยู่ที่ไหน ผมจะตอบให้ครับ
นรก สวรรค์ ไม่ได้อยู่บนฟ้าหรืออยู่ใต้ดิน แต่อยู่ในใจเรา เช่น แฟนทิ้ง เลิกกับแฟน เป็รทุกข์ ทรมานแสนสาหัส
อันนี้แหละ นรก ส่วนสวรรค์ เมื่อใดที่เราเกิดความสุขจากการทำความดีนั่นแหละ สวรรค์ ไม่ต้องหาที่ไหนยากเลย

Satyric
9th July 2012, 08:37
ผมอยากรู้เรื่อง ทำมะนาวนะครับ

Type-7442
9th July 2012, 18:42
เคยเห็นพระไปเช่าหนังโป๊ ไปเดินเที่ยวห้าง ฯลฯ พระทำแบบนี้ได้ด้วยหรอคะ??

เคยเห็นพระหลายคนใช้ ไอโฟน ไอแพ็ท พวกมือถือแพงๆ พระใช้ของพวกนี้ได้ด้วยหรอคะ????

(ใช้ดีกว่าเราใช้อีก)

ได้ครับ แต่ควรจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ หากไม่จำเป็นก็ไม่สมควรครับ
เพราะสิ่งพวกนี้ก่อให้เกิดความเพลิน ซึ่งความทุกข์เกิดมาจากความเพลิน
ทั้งๆที่ ภิกษุนั้นบรรพชามาเพื่อจุดประสงค์หลักคือ หลีกพ้นจากทุกข์

Type-7442
9th July 2012, 18:47
สงสัยครับ ทำไมวัดบางวัดถึงต้องสร้างอะไรใหญ่โต ทำไมต้องชวนคนมาบวช บวชแล้วทดแทนพระคุณได้จริงหรอ แล้วถ้าเป็นผู้หญิงบวชไม่ได้จะทดแทนพระคุณด้วยวิธีไหน

:ask ทำไมวัดบางวัดถึงต้องสร้างอะไรใหญ่โต
:answer วัด เป็นสถานที่ สาวกจัดขึ้นมาเอง พระพุทธเจ้าไม่ได้กล่าวไว้ สาวกแต่งเติมขึ้นมาเองครับ
จริงๆแล้ว จะเป็นแค่กุฏิ ( ใน พุทธวจนพระไตรปิฏกใช้คำว่า " เรือนว่าง " ) ซึ่งในกรณีที่มีวัดไว้ก็เพื่อให้ หมู่คณะสงฆ์ใกล้ชิดกันครับ

ส่วนสร้างวัดใหญ่ ไม่ต้องสร้างอะไรใหญ่โตครับ ไม่จำเ็ป็น

:ask ทำไมต้องชวนคนมาบวช
:answer ไม่จำเป็นครับ ไม่ต้องชวนคนมาบวช

:ask บวชแล้วทดแทนพระคุณได้จริงหรอ
:answer ได้จริงครับ แต่จุดประสงค์การบวชไม่ควรเืพื่อความพอใจในบุญ ( ความพอใจในการเกิด )

phacawit
9th July 2012, 18:49
ทำกรรมติดจรวด
ทำดีได้ชาติหน้า = ="

Type-7442
9th July 2012, 18:58
ทำกรรมติดจรวด
ทำดีได้ชาติหน้า = ="

ทำดีได้ชั่วไม่มี ทำชั่วได้ดีก็ไม่มีครับ

เพียงแต่ว่า กรรมมี 3 ประเภท
1. กรรมที่ให้วิบากในขณะนั้นหรือช่วงนั้น
2. กรรมที่ให้วิบากในกาลเวลาฝ่ายอนาคต
3. กรรมที่ให้วิบากในกาลเวลาฝ่ายอนาคตถัดต่อไปอีก

ที่สงสัยกันว่าทำไม คนสองคนทำชั่วรูปแบบเดียวกัน แต่ได้รับวิบากต่างกัน คนนึงได้รับหนัก คนนึงได้รับเบา
( ในสมัยพุทธกาล ก็มีปริพาชกมาถามพระพุทธเจ้าเหมือนกันว่าทำไมอย่างนี้ๆ พระพุทธเจ้าก็ยกตัวอย่างประมาณว่า )

เปรียบเสมือนสถานที่สองที่ ใส่เกลือ 2 แห่ง ( โดยปริมาณเกลือเท่ากัน )

ที่แรกใส่ในแก้มน้ำดื่ม ที่ๆสองใส่โอ่งน้ำ
เธอจะสำคัญข้อความนี้ว่าเช่นใด ?

ก็แน่นอนครับ ความเค็มย่อมมาเปรียบกันไม่ได้ระหว่าง ใส่เกลือในแก้วน้ำกับลงในโอ่งน้ำ

kewzaza2002
9th July 2012, 19:11
ท่านครับ ตัวผมเป็นคนที่ไม่ฝักใฝ่ในศาสนามากมาย แต่มีข้อสงสัยซัก 2-3 ข้อ

1.การที่ผมไม่ฝักใฝ่ในศาสนา ถือว่าเป็นบาปไหมครับ
2.บาปและบุญคล้ายๆกฏหมายใช่ไหมครับ ที่ต้องการให้คนอยู่ในกฏระเบียบในสังคม
3.สมัยพุืทธกาลตอนไร้ศาสนา มนุษย์มีสภาพอย่างไรครับ

Type-7442
9th July 2012, 19:28
ท่านครับ ตัวผมเป็นคนที่ไม่ฝักใฝ่ในศาสนามากมาย แต่มีข้อสงสัยซัก 2-3 ข้อ

1.การที่ผมไม่ฝักใฝ่ในศาสนา ถือว่าเป็นบาปไหมครับ
2.บาปและบุญคล้ายๆกฏหมายใช่ไหมครับ ที่ต้องการให้คนอยู่ในกฏระเบียบในสังคม
3.สมัยพุืทธกาลตอนไร้ศาสนา มนุษย์มีสภาพอย่างไรครับ


1 ไม่บาปครับ
2. ไม่ใช่ครับ ไม่มีใครห้ามคุณทำกุศลกรรม ไม่มีใครห้ามคุณทำอกุศลกรรม เพียงแต่ว่าหากท่านทำกรรมไปแล้ว ท่านก็จะได้รับผลของกรรมที่ท่านทำไว้ในเวลาถัดมาครับ
3. พุทธกาลคือมีศาสนาพุทธเกิดขึ้นแล้วครับ อย่างไรก็ตาม ถึงจะไม่มีศาสนาพุทธเกิดขึ้นมา มนุษย์ก็เป็นมนุษย์เหมือนปัจจุบันแหละครับ
ประกอบด้วย ขัน ๕ และมีอวิชชา

samekubpom
9th July 2012, 20:37
อยากรู้ว่าคนเราเกิดมาทำไม
(ที่บอกว่าเกิดมาใช้เวรกรรม ผมไม่ค่อยเชื่อนะ ตายไปตกนรกโดนทรมาน เกิดมาลืมความทรมานนั้นทำชั่วต่อ เพื่ออะไร)

แล้วผมต้องทำยังไงให้ ชาติหน้าของผม หรือ ชาตินี้มีความสุขชีวิตสบาย

nakiann123
9th July 2012, 20:41
เท่าที่ผมได้ยินมา

ฆ่าหมู ชาติหน้าเกิดเป็นหมู

ฆ่าไก่ ชาติหน้าเกิดเป็นไก่

ถ้าฆ่าคน ชาติหน้าต้องเกิดเป็นคนแน่ ๆ ~

TBFlFaPaPb
9th July 2012, 20:51
เท่าที่ผมได้ยินมา

ฆ่าหมู ชาติหน้าเกิดเป็นหมู

ฆ่าไก่ ชาติหน้าเกิดเป็นไก่

ถ้าฆ่าคน ชาติหน้าต้องเกิดเป็นคนแน่ ๆ ~
งั้นผมจะไปฆ่าณเดช :o



ป.ล. อยากทราบว่า ถ้าเราพบสุนัขที่กำลังจะตาย เราควรจะทำไงจะดีกว่าครับ ระหว่าง ฆ่าให้ตายเพื่อไม่ให้ทรมาน หรือปล่อยไว้แบบนั้นต่อไป (ถึงควรจะพาไปรักษาจะดีที่สุด แต่ถ้ามีให้เลือก 2 ข้อนี้จะทำยังไงดีครับ?)

doggyshock
9th July 2012, 21:40
สัตว์มันมีตายไปเป็นผีมั้ยครับ:confused:

Type-7442
9th July 2012, 21:47
สัตว์มันมีตายไปเป็นผีมั้ยครับ:confused:

ไม่มีครับผม

Type-7442
9th July 2012, 21:50
งั้นผมจะไปฆ่าณเดช :o



ป.ล. อยากทราบว่า ถ้าเราพบสุนัขที่กำลังจะตาย เราควรจะทำไงจะดีกว่าครับ ระหว่าง ฆ่าให้ตายเพื่อไม่ให้ทรมาน หรือปล่อยไว้แบบนั้นต่อไป (ถึงควรจะพาไปรักษาจะดีที่สุด แต่ถ้ามีให้เลือก 2 ข้อนี้จะทำยังไงดีครับ?)



ปล่อยไว้แบบนั้นครับ เป็นเวรกรรมของสุนัขตัวนั้น ( หากพาไปรักษาได้ ทำได้ก็จะดีครับ เราจะได้บุญ แต่ถ้าไม่ทำก็ไม่บาปครับ )
แต่อย่าฆ่าครับการฆ่าเป็น ปาณาติบาตครับ ; วิบากของปาณาติบาทนั้นคือ มีโรคมาก ขี้เป็น , อายุสั้นครับ

PalMMeR
9th July 2012, 21:55
การทำให้ผู้อื่นถึงตายโดยไม่ได้ตั้งใจ จะบาปเท่ากับตั้งใจฆ่าไหมครับ

VERNERON
9th July 2012, 21:59
คนเราตายแล้วไปอยู่ไหน....
http://www.tlcthai.com/women/11045/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99/

Type-7442
9th July 2012, 22:01
การทำให้ผู้อื่นถึงตายโดยไม่ได้ตั้งใจ จะบาปเท่ากับตั้งใจฆ่าไหมครับ


ไม่ได้ตั้งใจจริงหรือปล่าวล่ะครับ
คืออยากจะบอกให้เข้าใจก่อนว่า

กรรมนั้นจะมีิวิบากก็ต่อเมื่อมีเจตนาครับ จะบาปจะบุญจากการกระทำนั้น ดูเอาจากเจตนาเป็นหลักครับ



ในกรณีที่ไม่ได้ตั้งใจเลย (สักนิด) ไม่บาปครับ ถึงแม้ว่าจะเป็นการฆ่าคนก็ตาม
ในกรณีที่ไม่ได้ตั้งใจ ( คือทำไปแล้ว แต่ระหว่างทำก็นึกขึ้นได้ แต่หยุดไม่ทันเสียแล้ว ) ก็บาปครับผม แต่บาปแบบนี้จะเรียกว่า ; ด่างหรือพร้อยนะครับ คือ บาปแหละครับ
ในกรณีที่ตั้งใจ ก็บาปแน่นอนครับ

krittaphat04
9th July 2012, 22:01
เอ่อ มีอยู่วัดนึงที่สร้างยาน UFO อยู่ คิดว่าเขากำลังจะช่วยคนตอนโลกแตก แล้วบินขึ้นหนีไปตามกาแล็คซี่ต่างๆ อ่ะ

Type-7442
9th July 2012, 22:02
คนเราตายแล้วไปอยู่ไหน....
http://www.tlcthai.com/women/11045/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99/


ผู้อ่านคนอื่นอย่าเชื่อนะครับ นี่ืคือคำสาวก พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสไว้


ถ้าอยากรู้ว่าตายแล้วไปไหนผมจะอธิบายให้ตาม พระไตริฏก ธรรมวินัย ธรรมะจากพระโอษฏ์เลยครับ


วัจฉะ! เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สำหรับสัตว์ผู้ที่ยังมีอุปาทาน
(เชื้อ) อยู่, ไม่ใช่สำ หรับสัตว์ผู้ที่ไม่มีอุปทาน. วัจฉะ! เปรียบเหมือนไฟ
ที่มีเชื้อ ย่อม โพ ลงขึ้น ได้, ที่ไม่มีเชื้อ ก็โพ ล งขึ้น ไม่ได้, อุป ม านี้ฉัน ใด
อุปไมยก็ฉันนั้น; วัจฉะ! เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สำหรับสัตว์ผู้ที่ยังมี
อุปาทานอยู่, ไม่ใช่สำหรับสัตว์ผู้ที่ไม่มีอุปทาน.

"พระโคมดมผู้เจริญ! ถ้าสมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล, สมัย
นั้น พระโคดมย่อมบัญญัติ ซึ่งอะไร ว่าเป็นเชื้อแก่เปลวไฟนั้น ถ้าถือว่ามันยังมีเชื้ออยู่?"

วัจฉะ! สมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล, เราย่อม
บัญญัติเปลวไฟนั้น ว่า มีลมนั่นแหละเป็นเชื้อ. วัจฉะ! เพราะว่า สมัยนั้น
ลมย่อมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น.

"พระโคดมผู้เจริญ ถ้าสมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วย
การอื่น, สมัยนั้นพระโคมดม ย่อมบัญญัติ ซึ่งอะไร ว่าเป็นเชื้อแก่สัตว์นั้น ถ้าถือว่า มัน
ยังมีเชื้อยู่?"

วัจฉะ! สมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น,
เรากล่าว สัตว์นี้ ว่ามีตัณ หานั่นแหละเป็นเชื้อ; เพราะว่า สมัยนั้น ตัณหา
ย่อมเป็นเชื้อของสัตว์นั้น แล.


- สฬา. สํ. ๑๘/๔๘๕/๘๐๐.

EviL ANgle
9th July 2012, 22:03
การทำให้ผู้อื่นถึงตายโดยไม่ได้ตั้งใจ จะบาปเท่ากับตั้งใจฆ่าไหมครับ

ไม่เท่าครับ เรื่องบาปเท่ากันไม่เท่ากันนี่มันละเอียดครับ มีตั้งใจมาก ตั้งใจน้อยอีก ฆ่าเพราะความจำเป็น ฆ่าเพราะความสนุก นู่นนี่เยอะ


เรื่องจุดเริ่มต้น ผมเคยอ่านมาเขาอธิบายไว้ว่ามันเหมือนวงกลมไม่มีจุดเริ่มต้นไม่มีจุดจบ อ่านไปอ่านมางงเหมือนกัน
แต่เรื่อง อจินไตย (สิ่งที่ไม่ควรคิด ตรรกะของคนธรรมดาไม่มีทางเข้าใจได้) แบบนี้อย่าไปคิดมากเลยคิดมากเป็นบ้าเปล่าๆ(จริงๆนะ)
แถมก็ไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์ด้วย แบบที่พระพุทธเจ้าบอก ความรู้มีเป็นป่าใหญ่เรียนเท่าไรไม่รู้หมด ทรงเอาสิ่งที่จำเป็นหยิบมาสอนแค่กำมือเดียว

Type-7442
9th July 2012, 22:05
เอ่อ มีอยู่วัดนึงที่สร้างยาน UFO อยู่ คิดว่าเขากำลังจะช่วยคนตอนโลกแตก แล้วบินขึ้นหนีไปตามกาแล็คซี่ต่างๆ อ่ะ


อาจจะมีจริงมั้งครับ แต่ก็ช่างเขาเถอะครับ ไม่ต้องรอโลกแตกก็ได้ครับ คนเราจะตายตอนไหนก็ไม่รู้เลย ( พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อาุยุคนเราจะอยู่จะตาย สั้นเพียงแค่ลมหายใจเข้าออกครับ )
ต่อให้โลกแตกจริงๆ แต่ถ้าเราเข้าใจอะไรๆ ก็ไม่สะเทือนเราหรอกครับ

ไม่เห็นต้องดิ้นรนอะไรขนาดนั้นเลย คนที่พยายามหนีความตายต่างหาก ที่ไม่มีทางเจอหนทางพ้นทุกข์ที่แท้จริง

EviL ANgle
9th July 2012, 22:08
jkg มีกระทู้ธรรมบ้างก็ดีแฮะ ให้เด็กสนใจกันมั่ง

Type-7442
9th July 2012, 22:09
ไม่เท่าครับ เรื่องบาปเท่ากันไม่เท่ากันนี่มันละเอียดครับ มีตั้งใจมาก ตั้งใจน้อยอีก ฆ่าเพราะความจำเป็น ฆ่าเพราะความสนุก นู่นนี่เยอะ


เรื่องจุดเริ่มต้น ผมเคยอ่านมาเขาอธิบายไว้ว่ามันเหมือนวงกลมไม่มีจุดเริ่มต้นไม่มีจุดจบ อ่านไปอ่านมางงเหมือนกัน
แต่เรื่อง อจินไตย (สิ่งที่ไม่ควรคิด ตรรกะของคนธรรมดาไม่มีทางเข้าใจได้) แบบนี้อย่าไปคิดมากเลยคิดมากเป็นบ้าเปล่าๆ(จริงๆนะ)
แถมก็ไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์ด้วย แบบที่พระพุทธเจ้าบอก ความรู้มีเป็นป่าใหญ่เรียนเท่าไรไม่รู้หมด ทรงเอาสิ่งที่จำเป็นหยิบมาสอนแค่กำมือเดียว


+ 1 นะครับ

แต่เสริมนิดนะครับ สิ่งที่พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ควรคิด หรือ คิดไปก็เสียเวลาปล่าว และเป็นเหตุให้เกิดความวิปลาสได้ มี 4 อย่างครับ

1. ฌาน
2. กรรม
3. โลกจินดา ( เรื่องต่างๆของโลกอะครับ โลกนี้มันมีอะไรเยอะแยะมากมายไปหมด )
4. จำไม่ได้ละครับ ขี้เกียจไปเปิดหนังสือพุทธวจนดู แต่เท่าที่จำได้รู้สึกจะเป้น วิสัยของตถาคตมั้งครับ ไม่แน่ใจ ( ตถาคต = พระพุทธเจ้าเรียกใช้แทนตัวเองเวลาพูดกับสาวก )

ASSASSIN S
9th July 2012, 22:12
อยากถามการfapบาปไหมไม่ได้เล่นนะ!ถามจริงๆ.ทำให้อสุจิตายอย่างไร้ประโยชน์.ทำให้คนไม่ได้เกิดขึ้นมา เลิยอยากถามครับ


ปลไม่ได้ล้อเล่น

bank9398
9th July 2012, 22:23
ทำไมต้องมีเอกภพ ทำไมเกิดมาใช้กรรม มันเหมือนเกมอ่ะครับ ชาติที่แล้วเกิดมา ทำไรไว้มั่งไม่รู้หรอก ชาตินี้เกิดมาก็ต้องรับกรรมโดยที่เราก็ไม่รู้เราทำอะไรไป ตอนไหนก็คือเหมือนโดนเอาคืนมันหมายความไง นิโรค โกรธ หลง = ทุกข์ ทำให้เกิดบาปทางจิตใจ หมายความว่าอย่างง งง ครับ ท่านช่วยตอบปัญหาผมที่สิครับ

bank9398
9th July 2012, 22:24
อยากถามการfapบาปไหมไม่ได้เล่นนะ!ถามจริงๆ.ทำให้อสุจิตายอย่างไร้ประโยชน์.ทำให้คนไม่ได้เกิดขึ้นมา เลิยอยากถามครับ


ปลไม่ได้ล้อเล่น

บาปครับ เขาเรียกน้ำเคลื่อนผิดศิลของพระอ่ะครับ


ถ้าจะ Fap ควรอย่างให้ใครเกิดทุกข์ก็พอ ครับ ถ้าตัวเองสบายมันก็สบายครับ ไม่บาป แต่ผิดศิลของพระครับ

EviL ANgle
9th July 2012, 22:33
ก็นะ ความจริงบางคนที่ไม่อยากรู้อะไรเลยเขาปฏิบัติตามคำสอน และศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้า(ศาสนาอะไรตาม)
เขายังดูมีความสุขกว่าคนที่สงสัยมาก(เช่นผม)ซะอีก

Satyric
9th July 2012, 22:41
มนุษย์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่โฉดชั่วสิ้นดี

Type-7442
11th July 2012, 18:15
อยากถามการfapบาปไหมไม่ได้เล่นนะ!ถามจริงๆ.ทำให้อสุจิตายอย่างไร้ประโยชน์.ทำให้คนไม่ได้เกิดขึ้นมา เลิยอยากถามครับ


ปลไม่ได้ล้อเล่น


ไม่บาปครับ เพราะอสุจิที่ว่านั้น ยังไม่มีวิญญาณก้าวลงมารู้ นามรูปครับ จึงไม่นับว่ายังไม่เป็น"สัตว์"

Type-7442
11th July 2012, 18:23
ทำไมต้องมีเอกภพ ทำไมเกิดมาใช้กรรม มันเหมือนเกมอ่ะครับ ชาติที่แล้วเกิดมา ทำไรไว้มั่งไม่รู้หรอก ชาตินี้เกิดมาก็ต้องรับกรรมโดยที่เราก็ไม่รู้เราทำอะไรไป ตอนไหนก็คือเหมือนโดนเอาคืนมันหมายความไง นิโรค โกรธ หลง = ทุกข์ ทำให้เกิดบาปทางจิตใจ หมายความว่าอย่างง งง ครับ ท่านช่วยตอบปัญหาผมที่สิครับ

คือผมก็ยังงงๆคำถามนะครับ แต่ถ้าอธิบายเป็นประโยคๆไปนะครับ

:ask ทำไมต้องมีเอกภพ
:answer ไม่ควรใช้คำว่าทำไมครับ เพราะเอกภพมันก็มีอย่างนั้นของมันอยู่แล้วเป็น ธรรมชาติ คือเป็นเช่นนั้นอยู่แ้ล้วครับถึงเราจะไม่เกิดมา มันก็มีเอกภพของมันอยู่ตามปรกติครับ เป้น ตถาตา

:ask ทำไมเกิดมาใช้กรรม
:answer เป็นเพราะกรรม จากชาติที่แล้วครับ ( โดยตัณหาจากภพที่แล้วเป้นเชื้อ ; กล่าวคือเพราะอวิชชาครับ )
เมื่อทำกรรมก็ต้องมรับวิบากที่ทำกรรมไว้ หากยังไม่สามารถทำให้ธรรมสองอย่างที่ชื่อ วิมุตติและวิชชา บริบูรณ์ได้ ก็ไม่ต้องหวังว่าจะพ้นกรรมครับ

ถ้าถามว่าแล้วชาติีที่แล้วๆของที่แล้วๆๆ ล่ะ ผมจะตอบว่า สังสารวัฎหาที่สิ้นสุดไม่ได้
พระพุทธเจ้าทรงเปรียบไว้ว่า น้ำตาที่เราร้องไห้ในสังสารวัฏที่เกิดๆตายๆ นั้น มากกว่าน้ำใน มหาสมุทรทั้ง 4
เลือดที่ไหลออกจากคอเพราะการโดนฆ่าในสังสารวัฎนั้นที่เกิดๆตายๆนั้น มากกว่าน้ำในหมาสมุทรทั้ง 4

ซึ่งสังสารวัฎนั้นไม่ใช่ 1 กัป ไม่ใช่ 10 กัป ไม่ใช่ 100 กัป แต่มากกว่านั้นครับ
( พระพุทธเจ้าเปรียบการเวลา 1 กัปคือว่า >> มีภูเขาหินทรงตัน ข้างในทึบไม่ใช่โพรง สูง 1 โยชน์ กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์ ( 1 โยชน์ เท่ากับ 16 กิโลเมตร )
ทุกๆ 100 ปี จะมีเทวดาเอาผ้าธรรมดามาปัด 1 ครั้ง แล้วขึ้นไปอีก 100 ปี แล้วลงมาใหม่, ทำเช่นนี้เรื่อยๆจนภูเขาลูกนั้นแบนเท่าพื้นปฐพีทั้งลูก เวลาที่ทำความเพียรนี้ ยังไม่นานเท่าเวลา 1 กัปป์ )


:ask นิโรค โกรธ หลง = ทุกข์ ทำให้เกิดบาปทางจิตใจ หมายความว่าอย่างง งง ครับ
:answer นิโรธ แปลว่า หนทางที่จะดับทุกข์ หรือหนทางที่จะพ้นไปครับ คนละเรื่องกับโกรธและหลงนะครับ

ASSASSIN S
11th July 2012, 19:03
ตกลงบาปไหมเนี่ย

Type-7442
11th July 2012, 19:04
ตกลงบาปไหมเนี่ย

ไม่บาปครับผม :yes

samekubpom
11th July 2012, 19:45
ตกลงจะตอบผมมั้ยเนี่ย

eyazawa2456
11th July 2012, 19:55
ไม่บาปครับผม :yes

มั่วทุกประการเลยครับ ท่านกินไอโฟนแทนข้าว มะกี้ก็ลบหลู่ประเพณีไปแล้วนะ

ตามที่พระเคยบอกว่า การสื่อในกาม เช่น การดู รวมถึงการช่วยตัวเองด้วย บาปทุกประการ :(

Type-7442
11th July 2012, 19:58
มั่วทุกประการเลยครับ ท่านกินไอโฟนแทนข้าว

ตามที่พระเคยบอกว่า การสื่อในกาม เช่น การดู รวมถึงการช่วยตัวเองด้วย บาปทุกประการ :(

พระก็ืคือสาวกครับ ผมศึกษาพุทธวจนมาครับ คือคำของตถาคต

ศีลข้อที่1 กล่าวว่า ห้ามฆ่าหรือเบียดเบียน"สัตว์"

สัตว์ในที่นี่หมายถึง (ตถาคตทรงนิยามคำว่าสัตว์เป็นอย่างไร ) สิ่งมีชีวิตมี มันขันธ์ ๕ " ประกอบขึ้น " อย่าง " สบูรณ์ " คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ซึ่งในสมาปฏิจสมุปบาท วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป ซึ่ง อสุจิ ไม่มี วิญญาณ เมื่อไม่มี วิญญาณ ก็ไม่มี ธรรมชาติไปรู้ขัน อีก 4 ขันธ์ที่เหลือคือ รูป เวทนา สัญญา และ สังขาร

อสุจิคิดได้หรอครับ ? อสุจิ พอใจไม่พอใจได้หรอครับ ? อสุจิมีความทรงจำหรอครับ ?



ไปหาข้อมูลมาให้ดีก่อนครับ ไม่งั้นอาจจะถูกสวนกลับอย่างมีเหตุผลได้

eyazawa2456
11th July 2012, 20:14
พระก็ืคือสาวกครับ ผมศึกษาพุทธวจนมาครับ คือคำของตถาคต

ศีลข้อที่1 กล่าวว่า ห้ามฆ่าหรือเบียดเบียน"สัตว์"

สัตว์ในที่นี่หมายถึง (ตถาคตทรงนิยามคำว่าสัตว์เป็นอย่างไร ) สิ่งมีชีวิตมี มันขันธ์ ๕ " ประกอบขึ้น " อย่าง " สบูรณ์ " คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ซึ่งในสมาปฏิจสมุปบาท วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป ซึ่ง อสุจิ ไม่มี วิญญาณ เมื่อไม่มี วิญญาณ ก็ไม่มี ธรรมชาติไปรู้ขัน อีก 4 ขันธ์ที่เหลือคือ รูป เวทนา สัญญา และ สังขาร

อสุจิคิดได้หรอครับ ? อสุจิ พอใจไม่พอใจได้หรอครับ ? อสุจิมีความทรงจำหรอครับ ?



ไปหาข้อมูลมาให้ดีก่อนครับ ไม่งั้นอาจจะถูกสวนกลับอย่างมีเหตุผลได้


อย่าพูดทั้งๆที่ไม่รู้จริงจะดีกว่านะ แล้วทุกวันนี้ ท่านเกิดมาจากอะไร กอไผ่หรอ ถ้าไม่ได้เกิด จาก ไข่ และ อสุจิ มารวมกันทุกคนเกิดมาจาก อสุจิ

พระก็คืนพระที่สอนพระพุทธศาสนา แล้วใครที่รู้จริงทั้งหมดละ เจ้าอาวาสงั้นหรอ หรือว่าท่าน เหมือนท่านจะเป็นพระเจ้างั้นแหล่ะ สามารถกำหนดว่าพระพูดเท็จ

แล้วถ้าพระพูดเท็จ แล้วใครจะมาสอนความรู้เรื่องศาสนาได้ครบถ้วนเหมือนพระละ ถ้าไม่มีพระก็ไม่มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ

และถ้าไม่มีพระก็คงไม่มีใครเค้าวัด โดยเฉพาะคนเฒ่า คนแก่ ที่เค้าไปฟังพระเทศน์ คุณจะกว่าหาว่า ที่พระเทศน์ มาโกหกงั้นหรอ

พระทุกคนเค้าอยู่ในศิลนะครับ แค่คิดถึงเรื่อง ลามก ก็บาปแล้ว ท่าน ไม่รู้จริงอย่ามาพูด ไม่อยากดราม่าหรอกนะ

duchyzaza
11th July 2012, 20:17
อย่าพูดทั้งๆที่ไม่รู้จริงจะดีกว่านะ แล้วทุกวันนี้ ท่านเกิดมาจากอะไร กอไผ่หรอ ถ้าไม่ได้เกิด จาก ไข่ และ อสุจิ มารวมกันทุกคนเกิดมาจาก อสุจิ

พระก็คืนพระที่สอนพระพุทธศาสนา แล้วใครที่รู้จริงทั้งหมดละ เจ้าอาวาสงั้นหรอ หรือว่าท่าน เหมือนท่านจะเป็นพระเจ้างั้นแหล่ะ สามารถกำหนดว่าพระพูดเท็จ

พระทุกคนเค้าอยู่ในศิลนะครับ แค่คิดถึงเรื่อง ลามก ก็บาปแล้ว ท่าน ไม่รู้จริงอย่ามาพูด ไม่อยากดราม่าหรอกนะ


งั้นผู้ชายทุกคนก็ปาป สินะครับ :) 5555555555555+

Resistance
11th July 2012, 20:20
อย่าพูดทั้งๆที่ไม่รู้จริงจะดีกว่านะ แล้วทุกวันนี้ ท่านเกิดมาจากอะไร กอไผ่หรอ ถ้าไม่ได้เกิด จาก ไข่ และ อสุจิ มารวมกันทุกคนเกิดมาจาก อสุจิ

พระก็คืนพระที่สอนพระพุทธศาสนา แล้วใครที่รู้จริงทั้งหมดละ เจ้าอาวาสงั้นหรอ หรือว่าท่าน เหมือนท่านจะเป็นพระเจ้างั้นแหล่ะ สามารถกำหนดว่าพระพูดเท็จ

พระทุกคนเค้าอยู่ในศิลนะครับ แค่คิดถึงเรื่อง ลามก ก็บาปแล้ว ท่าน ไม่รู้จริงอย่ามาพูด ไม่อยากดราม่าหรอกนะ


เกิดเป็นผู้ชาย บาปหนักเหลือเกิน

Type-7442
11th July 2012, 20:22
อย่าพูดทั้งๆที่ไม่รู้จริงจะดีกว่านะ แล้วทุกวันนี้ ท่านเกิดมาจากอะไร กอไผ่หรอ ถ้าไม่ได้เกิด จาก ไข่ และ อสุจิ มารวมกันทุกคนเกิดมาจาก อสุจิ

พระก็คืนพระที่สอนพระพุทธศาสนา แล้วใครที่รู้จริงทั้งหมดละ เจ้าอาวาสงั้นหรอ หรือว่าท่าน เหมือนท่านจะเป็นพระเจ้างั้นแหล่ะ สามารถกำหนดว่าพระพูดเท็จ

พระทุกคนเค้าอยู่ในศิลนะครับ แค่คิดถึงเรื่อง ลามก ก็บาปแล้ว ท่าน ไม่รู้จริงอย่ามาพูด ไม่อยากดราม่าหรอกนะ



คำว่าดราม่ามันไม่มีหรอกครับ ถ้าตราบใดเรายังคุยกันด้วยเหตุผล และดูเหมือนว่าเราสองคนจะคุยกันด้วยเหตุผล ไม่มีคำว่าดราม่าหรอกครับ
มันอยู่ที่ มาตรฐานและความหมายของคำว่า ดราม่าแต่ละคนจะเป็นอย่างไร

เข้าเรื่องดีกว่าครับ
; ผมรู้จริงครับ ทุกวันนี้ผมเกิดมาจากอวิชชาครับ ( ตามหลักความจริงที่สุดเลยนะครับ จาก ปฏิจมุปบาท )
แล้วพระที่บอกว่า สอนพุทธศาสนา ส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็ไมได้ศึกษาคำพูดของตถาคตนี่ครับ ลองไปเปิดนะครับ วัดนาป่าพง พุทธวจน
ผมไม่อยากต่อความยาวสาวความยืดครับ เอาเหตุผลหลักๆดีกว่า
, ภิกษุทีว่า ท่านอาจไม่ได้โกหกก็จริงครับ แต่ท่านไม่รู้มากกว่า ท่านใช้คำของสาวก ซึ่งไม่ใช่คำของตถาคต ซึ่งก็ไม่ถูกต้องตามจริง 100%

eyazawa2456
11th July 2012, 20:26
งั้นผู้ชายทุกคนก็ปาป สินะครับ :) 5555555555555+


เกิดเป็นผู้ชาย บาปหนักเหลือเกิน

ทุกคนบนโลกล้วนมีบาปครับ ไม่เว้น ชาย และ หญิง พระเองก็ด้วย ก่อนที่พระจะมาบวชทุกคนก็ต้องล้วนเคยทำบาปกันมาหมดแหล่ะครับ

มันบาปตั้งแต่เรากินเนื้อสัตว์ ทั้งหลาย แม้ว่าเราไม่ได้เป็นคนฆ่า ทำไมถึงบาปไปด้วยนะหรอ ก็เพราะมนุษย์ต้องการที่จะกินเนื้อสัตว์ สัตว์เลยถูกฆ่า

ถ้าไม่มีความต้องการในกินเนื้อ สัตว์ สัตว์ ก็คงไม่ถูกฆ่าหรอกครับ

eyazawa2456
11th July 2012, 20:28
คำว่าดราม่ามันไม่มีหรอกครับ ถ้าตราบใดเรายังคุยกันด้วยเหตุผล และดูเหมือนว่าเราสองคนจะคุยกันด้วยเหตุผล ไม่มีคำว่าดราม่าหรอกครับ
มันอยู่ที่ มาตรฐานและความหมายของคำว่า ดราม่าแต่ละคนจะเป็นอย่างไร

เข้าเรื่องดีกว่าครับ
; ผมรู้จริงครับ ทุกวันนี้ผมเกิดมาจากอวิชชาครับ ( ตามหลักความจริงที่สุดเลยนะครับ จาก ปฏิจมุปบาท )
แล้วพระที่บอกว่า สอนพุทธศาสนา ส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็ไมได้ศึกษาคำพูดของตถาคตนี่ครับ ลองไปเปิดนะครับ วัดนาป่าพง พุทธวจน
ผมไม่อยากต่อความยาวสาวความยืดครับ เอาเหตุผลหลักๆดีกว่า
, ภิกษุทีว่า ท่านอาจไม่ได้โกหกก็จริงครับ แต่ท่านไม่รู้มากกว่า ท่านใช้คำของสาวก ซึ่งไม่ใช่คำของตถาคต ซึ่งก็ไม่ถูกต้องตามจริง 100%

ผมใช้คำว่าสาวก ตรงไหนครับ ขอให้ชี้แจงด่วน

Type-7442
11th July 2012, 20:34
ผมใช้คำว่าสาวก ตรงไหนครับ ขอให้ชี้แจงด่วน

พระที่ท่านว่าไงครับ(ภิกษุ)

EviL ANgle
12th July 2012, 15:36
อย่าพูดทั้งๆที่ไม่รู้จริงจะดีกว่านะ แล้วทุกวันนี้ ท่านเกิดมาจากอะไร กอไผ่หรอ ถ้าไม่ได้เกิด จาก ไข่ และ อสุจิ มารวมกันทุกคนเกิดมาจาก อสุจิ

พระก็คืนพระที่สอนพระพุทธศาสนา แล้วใครที่รู้จริงทั้งหมดละ เจ้าอาวาสงั้นหรอ หรือว่าท่าน เหมือนท่านจะเป็นพระเจ้างั้นแหล่ะ สามารถกำหนดว่าพระพูดเท็จ

แล้วถ้าพระพูดเท็จ แล้วใครจะมาสอนความรู้เรื่องศาสนาได้ครบถ้วนเหมือนพระละ ถ้าไม่มีพระก็ไม่มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ

และถ้าไม่มีพระก็คงไม่มีใครเค้าวัด โดยเฉพาะคนเฒ่า คนแก่ ที่เค้าไปฟังพระเทศน์ คุณจะกว่าหาว่า ที่พระเทศน์ มาโกหกงั้นหรอ

พระทุกคนเค้าอยู่ในศิลนะครับ แค่คิดถึงเรื่อง ลามก ก็บาปแล้ว ท่าน ไม่รู้จริงอย่ามาพูด ไม่อยากดราม่าหรอกนะ


-ก็อสุจิมันไม่มีวิญญาณไงครับ ถ้ายังไม่เกิดการปฏิสนธิก็ไม่มีวิญญาณ
-(ข้อนี้ไม่แน่ใจ) พระโสดาบัน รู้ขั้นหนึ่ง พระอรหันต์ รู้ขั้นหนึ่ง ผู้ที่รู้จริงทั้งหมดคือ พระพุทธเจ้า ผู้ที่มีสมาธิแน่วแน่สามารถทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้

สรุป fap ไม่บาปเพราะไม่ได้ฆ่าสัตว์ แต่บาปเพราะมีจิตใจลามก

Type-7442
12th July 2012, 18:17
สรุปคือ FAP ไม่บาป แต่เป็นอกุศลธรรม เพราะใฝ่ในกามคุณ เป็นเหตุผลให้เกิด อนุสัย (ความเคยชิน)

koyoty
12th July 2012, 19:09
ทำไมเวลาเราเกิดแต่ละชาติ
ต้องลืมความทรงจำในชาติที่ผ่านมา (รวมถึงนรก+สวรรค์) ด้วยครับ

เช่น ถ้าตกนรกแล้วจะโดนทรมารโหดๆ แล้วเราจะไม่ทำความชั่วในชาติหน้าอีกใช่ไหมครับ
แต่ทำไมต้องให้ลืม เหมือนเป็นการลงโทษที่ไร้ประโยชน์ -*-

Type-7442
12th July 2012, 19:23
ทำไมเวลาเราเกิดแต่ละชาติ
ต้องลืมความทรงจำในชาติที่ผ่านมา (รวมถึงนรก+สวรรค์) ด้วยครับ

เช่น ถ้าตกนรกแล้วจะโดนทรมารโหดๆ แล้วเราจะไม่ทำความชั่วในชาติหน้าอีกใช่ไหมครับ
แต่ทำไมต้องให้ลืม เหมือนเป็นการลงโทษที่ไร้ประโยชน์ -*-

ความจำคือสัญญาขันธ์ สัญญาขันธ์คือขันธ์ที่ต้องมีวิญญาณขันธ์เข้าไปรู้
เมื่อรูปดับลง ( ตาย ) วิญญาณก็ไม่มีที่อยู่อาศัย เมื่อวิญญาณไม่มีที่อยู่อาศัย นามรูปจึงไม่เกิดขึ้น ( อธิบายตามหลัก ปฏิจสมุปบาท )
เมื่อนามรูปไม่เิกิดขึ้น สฬายตนะ ( สฬายตนะ คือ อายตนะภายใน 6 อย่าง คือ ตา หู จมูก กาย ใจ ) ย่อมไม่เกิดขึ้น
ซึ่งสัญญา ( ความจำ ) จะเกิดขึ้นได้ก็ต่้อเมื่อมีผัสสะเป้นปัจจัย ( ผัสสะ คือ การรับรู้ทางอายตนะ , อายตนะภายใน 6 + อายตนะภายนอก 6 = การเกิดขึ้นของผัสสะ )

แต่ที่คนเราเกิดมานั้น เพราะ มีตัณหาเป็นเชื่อแห่งการได้อัตภาพใหม่ วิญญาณจึงปฏิสนธิใหม่ก้าวลงสู่ครรภ์
เมื่อวิญญาณเกิดขึ้น วิญญาณย่อมเป็นปัจจัยให้นามรูป เมื่อนามรูปมีก็เป็ปัจจัยให้ สฬายตนะ แล้วก็ไล่กันไปจนถึงเกิด ภพ และ ชาติ ( เมื่อชาติเกิด เกิด แก่ เจ็บ ตาย สุข ทุกข์ ก็เกิดขึ้นครบถ้วน )

นี่คือเป็นเหตุที่เราจำไม่ได้


อีกประการหนึ่งสั้นๆก็คือ สัญญาเป็นสิ่งไม่เที่ยง

muek9999
12th July 2012, 20:59
อย่างที่บอก นรกอยู่ในใจ จะเผาผลาญจิตใจเราให้เหมือนอยู่ในนรกนี่

สรุปแล้ว ผมตายไปก็เกิดใหม่เลยใช่มั้ยครับ

หรือว่า นรกมีจริง ถ้ามีจริงรบกวนขอข้อมูล แต่ ถ้ามีรูปมาด้วยจะเป้นอันดีมากเลยครับ

ขอบคุณมากครับผม

:thank:thank:thank

Arbadius'z
12th July 2012, 23:27
ผมอยากรู้ สงสัยมาก ทหาร เวลาสู้รบ ปกป้องแผ่นดิน ต้องฆ่าทหาร อีกฝ่าย แล้ว คือคนเหล่านั้น ปกป้องแผ่นดินแต่ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน เพื่อปกป้องแผ่นดิน พวกเขาจะมีบาปไหมครับ
กรณี คล้ายๆกัน ตำรวจจำเป็นต้องฆ่าโจร จริงๆ บาปไหมครับ ? อีกกรณีหนึ่ง โจรถูกสังหาร(ประหารชีวิต) ผู้สังหาร(เพรชฆาต) โดยการฉีดยาจะเป็นบาปไหม ?? ผมสงสัย มากๆเลยครับ
อีกอย่างเรื่อง ปีนต้นงิ้ว(ชู้สาว) นี่หมายถึงยังไงครับ รัก หรือ ว่า มีอะไรกันแล้ว หรือเราคิด คือบางทีความรักเราก็ไม่แน่ใจในตัวเองเลย จะบาปไหมครับ ??


อีกอย่างนะผมกลัวนรก T_T กลัวมากกกกกก กลัวจนไม่อยากมีศาสนาเลยอะ ไม่อยากไปเลยกลัว T_T หือออ
คือตอนนี้ผมไม่ค่อยยึดศาสนาพุทธนะ แต่ว่า ผมก็ทำความดีนะ ไม่ค่อยด่าใคร ช่วยเหลือแบ่งปัน แต่ กับพ่อผมมันต่างอะ พ่อผมชอบเครียด ผมก็ชอบแกล้งบางทีก็ขึ้นเสียงด้วย แบบว่ามันแปลกๆอะ มีแต่กับพ่อเท่านั้นที่ผมเถียง ด้วย แต่ผมไม่เคยตบตีพ่อแม่เลย อย่างมากก็เถียง(ด่าด้วยมั้งT_T อันนี้คือเครียดจริงๆแต่นานมากแล้วละ)อาจมองผมไม่ดีนะแต่ผมว่าผมไม่ดีจริงๆแหละในด้านครอบครัว ผมว่าท่าผมมีลูก โอ้เวรกรรมคงตามผมทัน T_T

ใครไม่ชอบก็ขอโทษด้วยนะครับ

Type-7442
13th July 2012, 17:20
ผมอยากรู้ สงสัยมาก ทหาร เวลาสู้รบ ปกป้องแผ่นดิน ต้องฆ่าทหาร อีกฝ่าย แล้ว คือคนเหล่านั้น ปกป้องแผ่นดินแต่ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน เพื่อปกป้องแผ่นดิน พวกเขาจะมีบาปไหมครับ
กรณี คล้ายๆกัน ตำรวจจำเป็นต้องฆ่าโจร จริงๆ บาปไหมครับ ? อีกกรณีหนึ่ง โจรถูกสังหาร(ประหารชีวิต) ผู้สังหาร(เพรชฆาต) โดยการฉีดยาจะเป็นบาปไหม ?? ผมสงสัย มากๆเลยครับ
อีกอย่างเรื่อง ปีนต้นงิ้ว(ชู้สาว) นี่หมายถึงยังไงครับ รัก หรือ ว่า มีอะไรกันแล้ว หรือเราคิด คือบางทีความรักเราก็ไม่แน่ใจในตัวเองเลย จะบาปไหมครับ ??


อีกอย่างนะผมกลัวนรก T_T กลัวมากกกกกก กลัวจนไม่อยากมีศาสนาเลยอะ ไม่อยากไปเลยกลัว T_T หือออ
คือตอนนี้ผมไม่ค่อยยึดศาสนาพุทธนะ แต่ว่า ผมก็ทำความดีนะ ไม่ค่อยด่าใคร ช่วยเหลือแบ่งปัน แต่ กับพ่อผมมันต่างอะ พ่อผมชอบเครียด ผมก็ชอบแกล้งบางทีก็ขึ้นเสียงด้วย แบบว่ามันแปลกๆอะ มีแต่กับพ่อเท่านั้นที่ผมเถียง ด้วย แต่ผมไม่เคยตบตีพ่อแม่เลย อย่างมากก็เถียง(ด่าด้วยมั้งT_T อันนี้คือเครียดจริงๆแต่นานมากแล้วละ)อาจมองผมไม่ดีนะแต่ผมว่าผมไม่ดีจริงๆแหละในด้านครอบครัว ผมว่าท่าผมมีลูก โอ้เวรกรรมคงตามผมทัน T_T

ใครไม่ชอบก็ขอโทษด้วยนะครับ

:ask ผมอยากรู้ สงสัยมาก ทหาร เวลาสู้รบ ปกป้องแผ่นดิน ต้องฆ่าทหาร อีกฝ่าย แล้ว คือคนเหล่านั้น ปกป้องแผ่นดินแต่ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน เพื่อปกป้องแผ่นดิน พวกเขาจะมีบาปไหมครับ
กรณี คล้ายๆกัน ตำรวจจำเป็นต้องฆ่าโจร จริงๆ บาปไหมครับ ? อีกกรณีหนึ่ง โจรถูกสังหาร(ประหารชีวิต) ผู้สังหาร(เพรชฆาต) โดยการฉีดยาจะเป็นบาปไหม ??
:answer ฆ่าสัตว์อย่างไรก็บาปครับ เป็นการทำลายชีวิตผู้อื่น ยังไงก็บาปโดยไม่ต้องสงสัยครับ จะเป็นไปเพื่อเหตุผลอะไร ผิดชอบชั่วดี กฏหมาย หรือ ปกป้องแผ่นดินไร อะไรก็ตาม การฆ่าหรือเบียดเบียนสัตว์อีกเป็นอกุศลกรรมครับ

ปีนต้นงิ้ว(ชู้สาว) นี่หมายถึงยังไงครับ รัก หรือ ว่า มีอะไรกันแล้ว หรือเราคิด คือบางทีความรักเราก็ไม่แน่ใจในตัวเองเลย จะบาปไหมครับ ??
:answer ศีลข้อ 3 คือ ประมาณว่าไปพรากบุุคคลที่มีเจ้าของแล้ว หรือ อยู่ภายใต้การดูแลของคนอื่น โดยเจ้าของหรือผู้ดูแลเขาที่มีสิทธิ์ไม่จำยอม ก็ถือว่าผิดศีลข้อ 3 ครับ
( ผมหา พุทธวจน ในส่วน กาเมสุมิจฉาจาราไม่เจอ ถ้าสนใจจะแปะไว้ให้ครับ ) คือ อธิบายแบบเข้าใจง่ายๆคือก็
ไปยุ่งกับคนที่มีแฟนแล้ว โดยเราคิดมากกว่าคนรู้จัก หรือ แย่งแฟนคนอื่นก็บาปครับ


ส่วนในส่วนของเรื่องนรกนั้น ผมเองก็ไม่ได้ศึกษาในส่วนนี้เท่าไหร่นักเพราะไม่เห็นความสำคัญ จึงไม่อยากคอนเฟิร์มคำตอบนะครับ เพราะในส่วน พุทธวจน เองผมก็ยังอ่านไม่เจอส่วนของ นรกวิสัย

ส่วนเรื่องทำความดีนั้น ก็ขึ้นอยู่กับ "เพดาน" ของการทำความดีแต่ละคนครับ คนเราก็มีคำจำกัดความคำว่า " ทำความดี " แต่งต่างกันไป
; ส่วนการเถียงบิดา ( เถียงหรือชี้แจงเหตุผลนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเจตนา ) หรือ ด่านั้น เป็นอกุศลธรรม, ขึ้นชื่อว่าเป็นบุุคคลอกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ

Type-7442
13th July 2012, 17:24
อย่างที่บอก นรกอยู่ในใจ จะเผาผลาญจิตใจเราให้เหมือนอยู่ในนรกนี่

สรุปแล้ว ผมตายไปก็เกิดใหม่เลยใช่มั้ยครับ

หรือว่า นรกมีจริง ถ้ามีจริงรบกวนขอข้อมูล แต่ ถ้ามีรูปมาด้วยจะเป้นอันดีมากเลยครับ

ขอบคุณมากครับผม

:thank:thank:thank

:ask ผมตายไปก็เกิดใหม่เลยใช่มั้ยครับ
:answer สัตว์โดยส่วนมากจะเป็นเช่นนั้น แต่ไม่เสมอไปครับ ถ้าเราสามารถทำให้ธรรม 2 อย่างที่ชื่อวิชชาและวิมุตติ บริบูรณ์ได้ ก็ไม่ต้องเกิดอีกแล้วครับ

ส่วนเรื่องนรกนั้นขออภัยด้วยครับ ผมไม่เห็นความสำคัญของส่วนนี้ ผมจึงไม่ได้ศึกษา

moochote
13th July 2012, 18:35
ผมมีครอบครัวใช้ชีวิตอย่างปุถุชนคนหนา ทำอย่างไรจะเข้าถึงกระแสนิพพานโดยที่ยังเป็นฆราวาสอยู่ ควรจะแสวงหาอาจารย์หรือศึกษาด้วยตนเอง และถ้าต้องหาอาจารย์จะรู้ได้อย่าง
ไรว่าอาจารย์ผู้นี้แนะนำเราได้อย่างแท้จริง ขอคำชี้แนะด้วยครับ

Type-7442
13th July 2012, 19:08
ผมมีครอบครัวใช้ชีวิตอย่างปุถุชนคนหนา ทำอย่างไรจะเข้าถึงกระแสนิพพานโดยที่ยังเป็นฆราวาสอยู่ ควรจะแสวงหาอาจารย์หรือศึกษาด้วยตนเอง และถ้าต้องหาอาจารย์จะรู้ได้อย่าง
ไรว่าอาจารย์ผู้นี้แนะนำเราได้อย่างแท้จริง ขอคำชี้แนะด้วยครับ

ลอง คำตรัสของตถาคตส่วนนี้ดูนะครับ

ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์
ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ
ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึกไม่มี
ใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบาน
แล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้
กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์
พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
ประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตามตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น
ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือคนที่เกิดในตระกูล
อื่นใดในภายหลัง ย่อมฟังธรรมนั้น. ครั้นฟังแล้ว ย่อมเกิด
ศรัทธาในตถาคต. กุลบุตรนั้นผู้ประกอบอยู่ด้วยศรัทธา
ย่อมพิจารณาเห็นว่า
ฆราวาส คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี;
ส่วน บรรพชา เป็นโอกาสว่าง

มันไม่เป็นไปได้โดยง่ายที่เราผู้อยู่ครองเรือนเช่นนี้
จะประพฤติพรหมจรรย์นั้น ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดย
ส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดสะอาดดีแล้ว.
ถ้ากระไรเราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด
ออกจากเรือนไปบวชเป็นผู้ไม่มีเรือนเถิด....” .

มู. ม. ๑๒/๔๘๙/๔๕๔.



แต่อย่าพึ่งท้อครับ ผมบอกได้สั้นๆว่า " ท่านได้โน้มเอียงเข้าสู่กระแสนิพพานแล้ว ท่านได้โน้มเอียงสิ่งที่ประเสิฐที่สุด ท่านได้โน้มเอียงเข้าสู่ความดับลงแห่งทุกข์ทั้งมวล "

ท่านไม่จำเป็นต้องหาอาจารย์ครับ ( ไม่ต้องลังเลในคำตอบของผม เพราะถ้าผมไม่แน่ใจ ผมจะไม่ตอบ ) แค่ท่านศึกษาสุตตันตะ ( ความรู้ ) คือ คำของตถาคต เท่านี้ก็เีพียงไปในการบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุให้บรรลุได้แล้วครับ
ส่วนเหตุผลว่า ทำไมต้องใช้แต่คำของตถาคตนั้น หากอยากรู้ก็หลังไมค์ครับ


ถ้าสนใจจริงๆ หลังไมค์มาได้ครับ

muek9999
13th July 2012, 22:35
:ask ผมตายไปก็เกิดใหม่เลยใช่มั้ยครับ
:answer สัตว์โดยส่วนมากจะเป็นเช่นนั้น แต่ไม่เสมอไปครับ ถ้าเราสามารถทำให้ธรรม 2 อย่างที่ชื่อวิชชาและวิมุตติ บริบูรณ์ได้ ก็ไม่ต้องเกิดอีกแล้วครับ

ส่วนเรื่องนรกนั้นขออภัยด้วยครับ ผมไม่เห็นความสำคัญของส่วนนี้ ผมจึงไม่ได้ศึกษา

ขอบคุณมากครับ ขอรบกวนถามอีกซักคำถามนะครับ

ทั้ง 2 อย่างที่นายบอก มันคืออะไรหรอครับ ผมขอความหมายของมันหน่อยได้มั้ย

แล้วถ้าเรามีครบทั้ง 2 อย่าง เราก็อยู่บนสวรรค์ตลอดไป เลยใช่มั้ยครับ ?

moochote
13th July 2012, 23:22
ผมเพิ่งเป้นสมาชิกใหม่ครับไม่มีความรู่ทางด้านเวบบร์อดเท่าใดนัก รบกวน จขทก.แนะนำผมด้วยสื่ออื่นๆจะได้ไหมครับ
หรือ แอดมาที่เมลล์ moochote@hotmail.com ก็ได้ครับผมจะได้รบกวนถามปัญหาข้อสงสัยครั้งต่อไปครับ

O'z NEWBIE IN THE H.H.
13th July 2012, 23:33
แล้วถ้าเกิดว่า เราไม่มีศาสนาไม่มีที่พึ่งทางใจ ไม่มีความเชื่อไม่มีความงมงาย เรายังจะเชื่อเรื่องพวกนี้อยู่อีกไหมครับ อย่างเช่นการตกนรกและขึ้นสวรรค์ ถ้าคุณไม่มีความเชื่อเรื่องพวกนี้ นรกและสวรรค์ก็ยังจะมีอยู่อีกงั้นหรอครับ ก็จะมาถามแค่นี้แหละครับเพราะผมไม่เชื่ออะไรที่งมงายมากๆของพระพุทธศานาเลย อย่างเช่นขอหวยขออะไรพวกนี้เนี่ยไม่เชื่อเลยครับ เชื่อแต่หลักธรรมและคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเพียงเท่านั้นแล้วบทสวดต่างๆนาๆที่พระภิกษุหรือพระอื่นๆที่เค้าบอกว่าดังว่าดีะไรเนี่ย เราควรจะเชื่อไหมครับ ???

bank9398
14th July 2012, 07:50
:ask พระพุทธเจ้าเหนือกว่าธรรมหรือไม่

Type-7442
14th July 2012, 16:59
ขอบคุณมากครับ ขอรบกวนถามอีกซักคำถามนะครับ

ทั้ง 2 อย่างที่นายบอก มันคืออะไรหรอครับ ผมขอความหมายของมันหน่อยได้มั้ย

แล้วถ้าเรามีครบทั้ง 2 อย่าง เราก็อยู่บนสวรรค์ตลอดไป เลยใช่มั้ยครับ ?


วิชชาคือ ธรรมๆหนึุ่งที่ มีความรู้ทั่วพร้อมในสรรพสิ่ง
รู้ในอะไร ? ( มันพูดได้หลายแง่มุมนะึครับ แต่จะยกตัวอย่างมา )

รู้ว่านี่ทุกข์
รู้ว่านี่สาเหตุแห่งทุกข์
์รู้ว่านี่คือความดับทุกข์
รู้ว่านี่คือแนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์

หรืออีกนัยหนึ่งกล่าวคือ รู้อย่างชัดเจนว่า ทุกสิ่งเป็นทุกข์ มีความเปลี่ยนแปลง และไม่ใช่ตัวตน
นี่คือความหมายของ วิชชา กล่าวคือเป็นธรรมๆหนึ่งที่ปราศจากอวิชชา

ส่วนวิมุตตินั้นผมขอตอบว่า วิมุตติคืออะไรน่ะครับ
แต่ไม่ขอตอบว่า วิมุตติเป็นอย่างไร เพราะ วิมุตติคือ อสังขตธรรม เป็นธรรมที่ถูกปรุึงแต่งไม่ได้ คือเราอยู่ในโลกสมมุติครับ ไม่มีทางไปรู้ไอสิ่งที่ชื่อ วิมุตติได้
เหมือนกับว่า คุณไปถามคนตาบอดว่า สีเขียว สีฟ้า สีเหลืองเป็นอย่างไรนั้นแหละครับ เค้าก็ไม่รู้ ก็กรณีเดียวกัน

ฉะนั้น วิุมุตติคือ
" อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ประการนี้ ๓ ประการ
เป็นไฉน คือ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความเสื่อม ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปร
ปรวน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ "

ในส่วนของวิมุตตินี่ ถ้าอ่านแล้วงงไม่ต้องสงสัยนะครับ เพราะ จขกท ก็ไม่ได้รู้ 100% เหมือนกัน มันเป็นสิ่งที่ ปัจจัตตัง คือรู้ได้ด้วยตัวเองจากการปฏิบัติธรรมน่ะครับ

( นี่คือกรณีแรกนะครับ การอธิบายว่าวิมุตติเป็นอย่างไร ในสายปฏิจสมุปบาทนั้นก็พอที่จะสามารถอธิบายได้อยู่ เกี่ยวกับประมาณว่า วิญญาณไม่ไปจับอารมณ์ ซึ่ง
ส่วนนี้ก็ค่อนข้างยาว และ จขกท แนะนำให้ไปศึกษาพุทธวจนเองจะดีกว่าครับ )


และถ้าคนเรามีครบทั้ง 2 อย่างนี้ ก็จบแล้วครับ
คุณก็จะไม่มีตัวตนในโลกนี้ โลกหน้า และโลกทั้งสอง
กิจที่ควรทำที่สุดในทำให้สำเร็จไปแล้ว สิ่งที่ต้องทำอีกไม่มีแล้ว
คือ ท่านไม่ต้องเกิดแล้วครับ

อารมณ์ประมาณว่า เหมือนไฟดับไปเพราะเชื้อเพลิงหมดนั้นแหละครับ

Type-7442
14th July 2012, 17:02
:ask พระพุทธเจ้าเหนือกว่าธรรมหรือไม่

:answer ธรรมทั้งหลายไม่เป็นสิ่งที่ควรยึดมั่นถือมั่น ก็เพราะทุกสิ่ง ไม่เที่ยง และไม่ใช่ตัวตน
พระพุทธเจ้าก็เป็น พระอรหันต์ จะเอา " ตัวตน " ที่ไหนมาเหนือกว่าธรรมล่ะครับ ในเมื่อทุกๆสิ่งมันเช่นนั้นของมันครับ

Type-7442
14th July 2012, 17:08
แล้วถ้าเกิดว่า เราไม่มีศาสนาไม่มีที่พึ่งทางใจ ไม่มีความเชื่อไม่มีความงมงาย เรายังจะเชื่อเรื่องพวกนี้อยู่อีกไหมครับ อย่างเช่นการตกนรกและขึ้นสวรรค์ ถ้าคุณไม่มีความเชื่อเรื่องพวกนี้ นรกและสวรรค์ก็ยังจะมีอยู่อีกงั้นหรอครับ ก็จะมาถามแค่นี้แหละครับเพราะผมไม่เชื่ออะไรที่งมงายมากๆของพระพุทธศานาเลย อย่างเช่นขอหวยขออะไรพวกนี้เนี่ยไม่เชื่อเลยครับ เชื่อแต่หลักธรรมและคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเพียงเท่านั้นแล้วบทสวดต่างๆนาๆที่พระภิกษุหรือพระอื่นๆที่เค้าบอกว่าดังว่าดีะไรเนี่ย เราควรจะเชื่อไหมครับ ???

พุทธศาสนาไม่้ต้องใช้ความเชื่อครับ
แต่อาศัยศรัทธาในการหันเข้ามาสนใจ เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีเหตุผลอย่างสิ้นเิชิง ไร้สิ่งงมงายหรือไม่มีเหตุผลใดๆ จริงๆไม่เรียกว่าศาสนาก็ไม่ผิดครับ เรียกว่า กลุ่มคนที่แสวงหาทางพ้นทุกข๋อย่างแท้จริงก็ไม่ผิดครับ

ส่วน บทสวดต่างๆอะไรๆนั้นก็อย่าไปเชื่อเลยครับ ก็แค่คำพูด ก็แค่การออกเสียง ไม่มีอะไรหรอกครับ

มนุษย์ทุกคนมีกรรมเป็นสิ่งดำเนินให้เป็นไปครับ ไม่ว่าจะกรรมจากการกระทำในปัจจุบัน หรือ กรรมจากในส่วนที่เราเคยทำมาในกาลเวลาฝ่ายอดีตแล้วส่งวิบากมา
การที่ไปเชื่อ บทสวดมนต์ไปเชื่อขอพร ไหว้บนบานศาลกล่าวอะไรนั้น ถือว่าไม่มีตนเองเป็นที่พึ่ง
เป็นการเห้นผิดว่า ตนเองนั้น มีสิ่งอื่นมาบันดาล ซึ่งเป็นมิจฉาทิฐิ เห็นผิดในความจริง

Type-7442
14th July 2012, 17:11
ผมเพิ่งเป้นสมาชิกใหม่ครับไม่มีความรู่ทางด้านเวบบร์อดเท่าใดนัก รบกวน จขทก.แนะนำผมด้วยสื่ออื่นๆจะได้ไหมครับ
หรือ แอดมาที่เมลล์ moochote@hotmail.com ก็ได้ครับผมจะได้รบกวนถามปัญหาข้อสงสัยครั้งต่อไปครับ

cloningvat@live.com นะครับ , แอดไปแล้วครับ

TEENOY '
14th July 2012, 18:22
จำเป็นมั้ยครับว่าการทำบาปแล้วมันตามติดตัวมาต้องเป็นแค่ศาสนาพุทธ ?
หรือว่าศาสนาอื่น ๆ ไม่เป็น ?

pug1
14th July 2012, 18:27
จำเป็นมั้ยครับว่าการทำบาปแล้วมันตามติดตัวมาต้องเป็นแค่ศาสนาพุทธ ?
หรือว่าศาสนาอื่น ๆ ไม่เป็น ?

ไม่จำเป็นครับ เพียงแต่เหมือนกับว่าศาสนาอื่นจะไม่ได้สอนเรื่องนี้ไว้เฉยๆครับ ถึงจะเป็นคนศาสนาไหนก็ตาม ถ้าเราได้ทำกรรมหรือบาปไว้แล้ว ท้ายที่สุด กรรมหรือบาปนั้นมันก็ต้องตามสนองเราจนได้อยู่ดีแหละครับ

คุณบอม
14th July 2012, 18:51
พุทธศาสนาไม่้ต้องใช้ความเชื่อครับ
แต่อาศัยศรัทธาในการหันเข้ามาสนใจ เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีเหตุผลอย่างสิ้นเิชิง ไร้สิ่งงมงายหรือไม่มีเหตุผลใดๆ จริงๆไม่เรียกว่าศาสนาก็ไม่ผิดครับ เรียกว่า กลุ่มคนที่แสวงหาทางพ้นทุกข๋อย่างแท้จริงก็ไม่ผิดครับ

ส่วน บทสวดต่างๆอะไรๆนั้นก็อย่าไปเชื่อเลยครับ ก็แค่คำพูด ก็แค่การออกเสียง ไม่มีอะไรหรอกครับ

มนุษย์ทุกคนมีกรรมเป็นสิ่งดำเนินให้เป็นไปครับ ไม่ว่าจะกรรมจากการกระทำในปัจจุบัน หรือ กรรมจากในส่วนที่เราเคยทำมาในกาลเวลาฝ่ายอดีตแล้วส่งวิบากมา
การที่ไปเชื่อ บทสวดมนต์ไปเชื่อขอพร ไหว้บนบานศาลกล่าวอะไรนั้น ถือว่าไม่มีตนเองเป็นที่พึ่ง
เป็นการเห้นผิดว่า ตนเองนั้น มีสิ่งอื่นมาบันดาล ซึ่งเป็นมิจฉาทิฐิ เห็นผิดในความจริง
ผมว่าคำว่าเชื่อกับศรัทธาก็นิยามเดียวกันนะครับ บทสวดนั้น จะให้ไม่เชื่อก็เกินไปครับ อย่างสวดมนต์แล้วรวย มันทำได้จริงครับ เพราะบทสวดต่างๆเป็นเครื่องโยงหรืออุบายให้จิตเป็นสมาธิ และที่มันเกิดผลเพราะเป็นผลจากการที่จิตของเรานิ่งรวมเป็นหนึ่งทำให้จิตมีกำลังขึ้นมา สามารถทำสิ่งที่เหลือวิสัยที่คนทั่วไปจะทำได้ครับ

คุณบอม
14th July 2012, 18:55
ไม่จำเป็นครับ เพียงแต่เหมือนกับว่าศาสนาอื่นจะไม่ได้สอนเรื่องนี้ไว้เฉยๆครับ ถึงจะเป็นคนศาสนาไหนก็ตาม ถ้าเราได้ทำกรรมหรือบาปไว้แล้ว ท้ายที่สุด กรรมหรือบาปนั้นมันก็ต้องตามสนองเราจนได้อยู่ดีแหละครับ
กรรม = การกระทำ ครับ กรรมไม่ได้แปลว่าบาปครับ
กรรมดี = ทำดี
กรรมชั่ว = ทำชั่ว

คุณบอม
14th July 2012, 19:00
:answer ธรรมทั้งหลายไม่เป็นสิ่งที่ควรยึดมั่นถือมั่น ก็เพราะทุกสิ่ง ไม่เที่ยง และไม่ใช่ตัวตน
พระพุทธเจ้าก็เป็น พระอรหันต์ จะเอา " ตัวตน " ที่ไหนมาเหนือกว่าธรรมล่ะครับ ในเมื่อทุกๆสิ่งมันเช่นนั้นของมันครับ
คุณต้องสอนให้เค้ายึดก่อนนะครับ คุณต้องให้เค้ายึดความดีก่อนซิครับ ถ้าชีวิตนี้ไม่ยึดอะไรซํกอย่างก็เหลวซิครับ

pug1
14th July 2012, 19:02
กรรม = การกระทำ ครับ กรรมไม่ได้แปลว่าบาปครับ
กรรมดี = ทำดี
กรรมชั่ว = ทำชั่ว

ครับ ผมถึงแยกเป็นสองอย่างไงหละครับ กรรมกับบาป เพียงแต่ผมคงจใะช้คำเชื่อมไม่เหมาะสมใช่ไหมครับ ควรจะเปลี่ยน "หรือ" เป็น "และ" ขออภัยด้วยครับ

คุณบอม
14th July 2012, 19:08
ครับ ผมถึงแยกเป็นสองอย่างไงหละครับ กรรมกับบาป เพียงแต่ผมคงจใะช้คำเชื่อมไม่เหมาะสมใช่ไหมครับ ควรจะเปลี่ยน "หรือ" เป็น "และ" ขออภัยด้วยครับ
เออ มันก็ยังไม่ใช่อยู่ดีละครับ เพราะ คำว่ากรรมในที่นี้เป็น กริยา ครับ คุณจะใช่คำว่ากรรมในการแทน คำว่า "ดี" ไม่ได้นะครับ

คุณบอม
14th July 2012, 19:19
แล้วถ้าเกิดว่า เราไม่มีศาสนาไม่มีที่พึ่งทางใจ ไม่มีความเชื่อไม่มีความงมงาย เรายังจะเชื่อเรื่องพวกนี้อยู่อีกไหมครับ อย่างเช่นการตกนรกและขึ้นสวรรค์ ถ้าคุณไม่มีความเชื่อเรื่องพวกนี้ นรกและสวรรค์ก็ยังจะมีอยู่อีกงั้นหรอครับ ก็จะมาถามแค่นี้แหละครับเพราะผมไม่เชื่ออะไรที่งมงายมากๆของพระพุทธศานาเลย อย่างเช่นขอหวยขออะไรพวกนี้เนี่ยไม่เชื่อเลยครับ เชื่อแต่หลักธรรมและคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเพียงเท่านั้นแล้วบทสวดต่างๆนาๆที่พระภิกษุหรือพระอื่นๆที่เค้าบอกว่าดังว่าดีะไรเนี่ย เราควรจะเชื่อไหมครับ ???
นรกสวรรค์ยังไงก็ต้องมีครับ
ขอยกมาเลยละกันครับ
ถาม : นรกเป็นที่ที่ลงโทษสัตว์ สัตว์ทุกตัวตนก็รักสุขแล้วเกลียดทุกข์ นรกก็เป็นที่ที่มอบความทุกข์ให้กับสัตว์ทั้งหลาย เมื่อสัตว์ได้รับความทุกข์นั้นแล้ว สัตว์จะเข็ดหลาบแล้วจดจำไหมครับ ? ถ้านรกไม่ได้มีไว้ให้สัตว์จดจำ แล้วนรกจะมีประโยชน์อะไร ?

ตอบ : นรกไม่ได้เกิดมาเพื่อประโยชน์ นรกเกิดมาเพราะคุณสร้างขึ้นมาเอง ทุกสิ่งที่เราทำ ไม่ว่าจะดีหรือชั่วก็ตาม เท่ากับว่าเราได้สร้างนรก สวรรค์ พรหม พระนิพพานขึ้นมา ในเมื่อเราทำ ถึงวาระเราก็ต้องรับผลอันนั้น เขาถึงใช้คำว่า "กฎของกรรม" แต่ว่าขณะเดียวกันสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เมื่อผ่านการเกิดในภพภูมิใหม่ ถ้าความจำส่วนนี้ถ้าไม่ได้รับการฝึกหัดก็จะลบเลือนไป

เหตุที่เป็นดังนั้นก็เพราะว่า ถ้าเราทำความดีเพื่อต้องการไปสวรรค์ก็ไม่ใช่ความดีที่แท้จริง ขณะเดียวถ้าเราไม่ทำความชั่วเพราะกลัวนรก ก็ไม่ใช่การทำความดีหนีชั่วที่แท้จริงเหมือนกัน ฉะนั้น..สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะต้องเกิดจากน้ำใสใจจริงของเรา ว่าเราต้องการละชั่วทำดีเพื่อมรรคผลหรือว่าเพื่อความดีนั้นจริงๆ

เหมือนอย่างกับเขาไม่ได้ต้องการที่จะสร้างคุกขึ้นมา แต่เพราะคนไปปล้น ไปฆ่า ไปก่ออาชญากรรมต่างๆ จึงจำเป็นที่ต้องมีคุกขึ้นมาเพื่อเอาคนทั้งหลายเหล่านี้ไปรวมกันไว้ ไม่ให้ไปสร้างความลำบากเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น แต่ขณะเดียวกันเราก็จะเห็นว่า นักโทษจำนวนมากด้วยกันเข้าคุกไปแล้วก็ใช่ว่าจะเข็ดหลาบ หากแต่กลายเป็นไปฝึกวิชาจนกระทั่งทำชั่วได้ถนัดขึ้น เป็นการพัฒนาขึ้นในทางชั่ว ไม่ใช่พัฒนาขึ้นในทางดี

ฉะนั้น..สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มีขึ้นไม่ได้หวังประโยชน์ต่อการที่ลงโทษแล้วให้หลาบจำ แต่ว่ามีขึ้นเพราะการกระทำของเขาเอง ตัวเขาทำตัวเขาเอง เขาจึงได้รับกรรมนั้นๆ พอศึกษาไปแล้วจะรู้ว่าคนเราชั่วกว่าที่คิด แต่ขณะเดียวกันพอทำความดีก็ดีกว่าที่คิดอีกเหมือนกัน


สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๕

Type-7442
14th July 2012, 19:21
ผมว่าคำว่าเชื่อกับศรัทธาก็นิยามเดียวกันนะครับ บทสวดนั้น จะให้ไม่เชื่อก็เกินไปครับ อย่างสวดมนต์แล้วรวย มันทำได้จริงครับ เพราะบทสวดต่างๆเป็นเครื่องโยงหรืออุบายให้จิตเป็นสมาธิ และที่มันเกิดผลเพราะเป็นผลจากการที่จิตของเรานิ่งรวมเป็นหนึ่งทำให้จิตมีกำลังขึ้นมา สามารถทำสิ่งที่เหลือวิสัยที่คนทั่วไปจะทำได้ครับ

เชื่อ ก็คือการที่เราฝังใจ เชื่อโดยมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็ได้ แต่ศรัทธา คือความเชื่อที่มีมูลมาจากเหตุผล

สวนเรื่องบทสวดมนต์นั้น ไม่สามารถทำให้รวยได้จริง เพราะการกระทำของเราต่างหากที่เป็นปัจจัย ( ถ้าสวดแล้วรวยจริง ก็ขอพุทธวจนในพระไตรปิฏกมารับรองนะครับ )

ส่วนที่บอกว่าการสวดมนต์ต่างๆนั้น เป็นเครื่องโยงหรืออุบายให้จิตมีสมาธิ นั้นก็ไม่จริงครับ ( จริงอยู่อาจจะเป็นสมาธิอย่างโลก ไม่ใช่สมาธิที่เหมาะแก่การปฏิบัติ ไม่ใช่สมาธิที่เหมาะแก่การดำรงฌานให้เกิดขึ้น )
เพราะดูจากส่วนของที่ตถาคตตรัสไว้

ประโยชน์ของกำรสำธยำยธรรม ๑. เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม (หนึงในเหตุห้าประการเพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม) ่ อํ. ปญฺจก. ๒๒/๑๖๑/๑๕๕
๒. เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ (หนึงในธรรมให้ถึงวิมุตติห้าประการ) ่ อํ ปญฺจก. ๒๒/๒๓/๒๖
๓. เป็นอาหารของความเป็นพหูสูตร อํ. ทสก. ๒๔/๑๒๐/๗๓
๔. เป็นองค์ประกอบของการเป็นบริษัทที่เลิศ อํ. ทุก. ๒๐/๖๘/๒๙๒
๕. ทําให้ไม่เป็นมลทิน อํ. อฎฺก. ๒๓/๑๔๙/๑๐๕
๖. เป็นบริขารของจิตเพื่อความไม่มีเวรไม่เบียดเบียน (หนึงในห้าบริขารของจิต) ่ ม. มู. ๑๓/๕๐๐/๗๒๘
๗. เป็นเหตุให้ละความง่วงได้ (หนึงในแปดวิธีละความง่วง) ่ อํ. สตฺตก. ๒๓/๗๓/๕๘
( ไม่มีข้อไหนปรากฏว่า ว่าเป็นอุบายให้จิตเป็นสมาธิ )


นอกจากนี้ เราควรปฏิบัติืธรรมมากว่า การสวดมนต์ เพราะอะไร ? เพราะท่านจะเป็นได้แค่ นักสวด มิใช่ผู้อยู่ด้วยวิหารธรรม ( สวดได้ แต่ควรเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ในส่วนของ 7 ข้อด้านบน และ ควรใช้เวลาไปในการปฏิบัติมากกว่ามาก )
ดูได้จาก พุทธวจนในส่วนนี้

ข้อควรระวังและวิธีป้องกันในการสาธยายธรรม อีกอย่างหนึ่ง , ภิกษุทำการสาธยายธรรม ตามที่ ฟัง ได้เรียนมาโดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้นๆ
ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด) ยังมิใช่ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)
เธอไม่ใช้วันทั้งวันให้เปลืองไปด้วยการเรียนธรรมนั้น ๆ ไม่เริดร้างจากการหลีกเร้น, ประกอบตามซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจ
ในภายในเนืองๆ. ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).... อํ. ปญฺจก. ๒๒/๙๙-๑๐๐/๗๓-๗๔



ส่วนที่ท่านกล่าวว่า สามารถทำสิ่งที่เหลือวิสัยที่คนทั่วไปจะทำได้
ก็ไม่ใช่ครับ เพราะว่า คนทุกคนสามารถทำได้ครับ
ถ้าเป็นอย่างเช่นนั้นจริง ก็ขอพุทธวจนมารองรับด้วยครับ

Type-7442
14th July 2012, 19:24
คุณต้องสอนให้เค้ายึดก่อนนะครับ คุณต้องให้เค้ายึดความดีก่อนซิครับ ถ้าชีวิตนี้ไม่ยึดอะไรซํกอย่างก็เหลวซิครับ

ถ้าชีวิตนี้ยึดก็ไม่พ้นทุกข์สักทีไงครับ

ควรอยู่ครับ ไม่ใช่ยึด ในพุทธวจน ธรรมต่างๆพระพุทธเจ้าก็ให้เป้นเครื่องอยู่ทั้งนั้นครับ
การปฏิบัติธรรมคือค่อยๆ ให้คลายลง , ถอดถอน จนสิ้นสุดครับ

ถ้ายึดจริงๆ ก็ไม่ต่างจากการทำให้ นันทิ เกิดขึ้นครับ ซึ่งนันทิท้ายสุดก็ทำให้เกิดทุกข์

Type-7442
14th July 2012, 19:27
นรกสวรรค์ยังไงก็ต้องมีครับ
ขอยกมาเลยละกันครับ
ถาม : นรกเป็นที่ที่ลงโทษสัตว์ สัตว์ทุกตัวตนก็รักสุขแล้วเกลียดทุกข์ นรกก็เป็นที่ที่มอบความทุกข์ให้กับสัตว์ทั้งหลาย เมื่อสัตว์ได้รับความทุกข์นั้นแล้ว สัตว์จะเข็ดหลาบแล้วจดจำไหมครับ ? ถ้านรกไม่ได้มีไว้ให้สัตว์จดจำ แล้วนรกจะมีประโยชน์อะไร ?

ตอบ : นรกไม่ได้เกิดมาเพื่อประโยชน์ นรกเกิดมาเพราะคุณสร้างขึ้นมาเอง ทุกสิ่งที่เราทำ ไม่ว่าจะดีหรือชั่วก็ตาม เท่ากับว่าเราได้สร้างนรก สวรรค์ พรหม พระนิพพานขึ้นมา ในเมื่อเราทำ ถึงวาระเราก็ต้องรับผลอันนั้น เขาถึงใช้คำว่า "กฎของกรรม" แต่ว่าขณะเดียวกันสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เมื่อผ่านการเกิดในภพภูมิใหม่ ถ้าความจำส่วนนี้ถ้าไม่ได้รับการฝึกหัดก็จะลบเลือนไป

เหตุที่เป็นดังนั้นก็เพราะว่า ถ้าเราทำความดีเพื่อต้องการไปสวรรค์ก็ไม่ใช่ความดีที่แท้จริง ขณะเดียวถ้าเราไม่ทำความชั่วเพราะกลัวนรก ก็ไม่ใช่การทำความดีหนีชั่วที่แท้จริงเหมือนกัน ฉะนั้น..สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะต้องเกิดจากน้ำใสใจจริงของเรา ว่าเราต้องการละชั่วทำดีเพื่อมรรคผลหรือว่าเพื่อความดีนั้นจริงๆ

เหมือนอย่างกับเขาไม่ได้ต้องการที่จะสร้างคุกขึ้นมา แต่เพราะคนไปปล้น ไปฆ่า ไปก่ออาชญากรรมต่างๆ จึงจำเป็นที่ต้องมีคุกขึ้นมาเพื่อเอาคนทั้งหลายเหล่านี้ไปรวมกันไว้ ไม่ให้ไปสร้างความลำบากเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น แต่ขณะเดียวกันเราก็จะเห็นว่า นักโทษจำนวนมากด้วยกันเข้าคุกไปแล้วก็ใช่ว่าจะเข็ดหลาบ หากแต่กลายเป็นไปฝึกวิชาจนกระทั่งทำชั่วได้ถนัดขึ้น เป็นการพัฒนาขึ้นในทางชั่ว ไม่ใช่พัฒนาขึ้นในทางดี

ฉะนั้น..สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มีขึ้นไม่ได้หวังประโยชน์ต่อการที่ลงโทษแล้วให้หลาบจำ แต่ว่ามีขึ้นเพราะการกระทำของเขาเอง ตัวเขาทำตัวเขาเอง เขาจึงได้รับกรรมนั้นๆ พอศึกษาไปแล้วจะรู้ว่าคนเราชั่วกว่าที่คิด แต่ขณะเดียวกันพอทำความดีก็ดีกว่าที่คิดอีกเหมือนกัน


สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๕

ผมก็ไม่ได้อ่านจนจบนะครับ ถูกหรือปล่าวก็ไม่รู้ เพราะเป็นคำของสาวก ไม่ใช่คำของตถาคต
แนะนำให้ศึกษาแต่คำของตถาคตครับ

คุณบอม
14th July 2012, 19:34
เชื่อ ก็คือการที่เราฝังใจ เชื่อโดยมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็ได้ แต่ศรัทธา คือความเชื่อที่มีมูลมาจากเหตุผล

สวนเรื่องบทสวดมนต์นั้น ไม่สามารถทำให้รวยได้จริง เพราะการกระทำของเราต่างหากที่เป็นปัจจัย ( ถ้าสวดแล้วรวยจริง ก็ขอพุทธวจนในพระไตรปิฏกมารับรองนะครับ )

ส่วนที่บอกว่าการสวดมนต์ต่างๆนั้น เป็นเครื่องโยงหรืออุบายให้จิตมีสมาธิ นั้นก็ไม่จริงครับ ( จริงอยู่อาจจะเป็นสมาธิอย่างโลก ไม่ใช่สมาธิที่เหมาะแก่การปฏิบัติ ไม่ใช่สมาธิที่เหมาะแก่การดำรงฌานให้เกิดขึ้น )
เพราะดูจากส่วนของที่ตถาคตตรัสไว้

ประโยชน์ของกำรสำธยำยธรรม ๑. เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม (หนึงในเหตุห้าประการเพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม) ่ อํ. ปญฺจก. ๒๒/๑๖๑/๑๕๕
๒. เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ (หนึงในธรรมให้ถึงวิมุตติห้าประการ) ่ อํ ปญฺจก. ๒๒/๒๓/๒๖
๓. เป็นอาหารของความเป็นพหูสูตร อํ. ทสก. ๒๔/๑๒๐/๗๓
๔. เป็นองค์ประกอบของการเป็นบริษัทที่เลิศ อํ. ทุก. ๒๐/๖๘/๒๙๒
๕. ทําให้ไม่เป็นมลทิน อํ. อฎฺก. ๒๓/๑๔๙/๑๐๕
๖. เป็นบริขารของจิตเพื่อความไม่มีเวรไม่เบียดเบียน (หนึงในห้าบริขารของจิต) ่ ม. มู. ๑๓/๕๐๐/๗๒๘
๗. เป็นเหตุให้ละความง่วงได้ (หนึงในแปดวิธีละความง่วง) ่ อํ. สตฺตก. ๒๓/๗๓/๕๘
( ไม่มีข้อไหนปรากฏว่า ว่าเป็นอุบายให้จิตเป็นสมาธิ )


นอกจากนี้ เราควรปฏิบัติืธรรมมากว่า การสวดมนต์ เพราะอะไร ? เพราะท่านจะเป็นได้แค่ นักสวด มิใช่ผู้อยู่ด้วยวิหารธรรม ( สวดได้ แต่ควรเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ในส่วนของ 7 ข้อด้านบน และ ควรใช้เวลาไปในการปฏิบัติมากกว่ามาก )
ดูได้จาก พุทธวจนในส่วนนี้

ข้อควรระวังและวิธีป้องกันในการสาธยายธรรม อีกอย่างหนึ่ง , ภิกษุทำการสาธยายธรรม ตามที่ ฟัง ได้เรียนมาโดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้นๆ
ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด) ยังมิใช่ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)
เธอไม่ใช้วันทั้งวันให้เปลืองไปด้วยการเรียนธรรมนั้น ๆ ไม่เริดร้างจากการหลีกเร้น, ประกอบตามซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจ
ในภายในเนืองๆ. ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).... อํ. ปญฺจก. ๒๒/๙๙-๑๐๐/๗๓-๗๔



ส่วนที่ท่านกล่าวว่า สามารถทำสิ่งที่เหลือวิสัยที่คนทั่วไปจะทำได้
ก็ไม่ใช่ครับ เพราะว่า คนทุกคนสามารถทำได้ครับ
ถ้าเป็นอย่างเช่นนั้นจริง ก็ขอพุทธวจนมารองรับด้วยครับ
ไอ้ผมก็ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฏกครับ พอดีผมศึกษาเรื่องจิต พระไตรปิฏก บางทีก็เริ่มเพี้ยนแล้วครับ ผ่านมือมาหลายครับ และปัจจุบันยังมีการตั้งกลุ่มวิจัยพระไตรปิฏก ขึ้นมาอีกแบบว่าอันไหนที่ตนคิดว่าไม่จริงก็เอาออก มันมีอยู่ ผมเลยหันมาทางด้านจิตซะมากกว่า
แล้วคุณจะบอกว่าสวดมนต์ทำจิตให้ถึงฌานไม่ได้ ผมว่าไม่จริงนะ คุณลองดูองประกอบของ ของปฐมฌานก่อน วิตก วิจารณ์ ปิติิ สุข อุเบกขา เอกัคคตารมณ์

คุณบอม
14th July 2012, 19:42
ถ้าชีวิตนี้ยึดก็ไม่พ้นทุกข์สักทีไงครับ

ควรอยู่ครับ ไม่ใช่ยึด ในพุทธวจน ธรรมต่างๆพระพุทธเจ้าก็ให้เป้นเครื่องอยู่ทั้งนั้นครับ
การปฏิบัติธรรมคือค่อยๆ ให้คลายลง , ถอดถอน จนสิ้นสุดครับ

ถ้ายึดจริงๆ ก็ไม่ต่างจากการทำให้ นันทิ เกิดขึ้นครับ ซึ่งนันทิท้ายสุดก็ทำให้เกิดทุกข์
คุณๆก่อนที่จะปล่อยน่ะมันต้องยึดก่อนสิ ให้ยึดในพระรัตนตรัยก่อนยึดความดีก่อน ไม่งั้นจะเอาความดีที่ไหนไปช่วยสงเสริมให้เข้าถึงมรรคผลนิพนานละครับ และคุณจะบอกว่าธรรมของเป็นพระพุทธเจ้า ให้มาเป็นเครื่องอยู่ซะทั้งหมดมันก็ไม่ถูกนะคุณ เพราะไอ้วิธีการปฎิบิติธรรมเพื่อพ้นทุกข์นะมัน ก็คือธรรมที่พระพุทธเจ้าให้มาเหมือนกันนะครับ

คุณบอม
14th July 2012, 19:45
ผมก็ไม่ได้อ่านจนจบนะครับ ถูกหรือปล่าวก็ไม่รู้ เพราะเป็นคำของสาวก ไม่ใช่คำของตถาคต
แนะนำให้ศึกษาแต่คำของตถาคตครับ
สาวก=พระสงฆ์ ซึ่งอยู่ในองค์ประกอบของพระรัตนตรัย ถ้าไม่มีพระสงฆ์คุณก็คงไม่มีวันได้รับรู้ถึงหลักธรรม ไม่มีคนเรียบเรียงพระไตรปิฏกขึ้นมาหรอกครับ คุณก็น่าจะรู้นะพระไตรปิฏกเล่มแรกเกิดจากใคร? ก็พระสาวกอีกนั้นแหละคุณ

pug1
14th July 2012, 19:48
เออ มันก็ยังไม่ใช่อยู่ดีละครับ เพราะ คำว่ากรรมในที่นี้เป็น กริยา ครับ คุณจะใช่คำว่ากรรมในการแทน คำว่า "ดี" ไม่ได้นะครับ ครับ กรรมคือการกระทำครับ ผมทราบในส่วนนี้ดีครับ ว่าแต่ท่านเข้าใจว่าผมหมายถึงยังไงหรือ???

Type-7442
14th July 2012, 19:50
ไอ้ผมก็ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฏกครับ พอดีผมศึกษาเรื่องจิต พระไตรปิฏก บางทีก็เริ่มเพี้ยนแล้วครับ ผ่านมือมาหลายครับ และปัจจุบันยังมีการตั้งกลุ่มวิจัยพระไตรปิฏก ขึ้นมาอีกแบบว่าอันไหนที่ตนคิดว่าไม่จริงก็เอาออก มันมีอยู่ ผมเลยหันมาทางด้านจิตซะมากกว่า
แล้วคุณจะบอกว่าสวดมนต์ทำจิตให้ถึงฌานไม่ได้ ผมว่าไม่จริงนะ คุณลองดูองประกอบของ ของปฐมฌานก่อน วิตก วิจารณ์ ปิติิ สุข อุเบกขา เอกัคคตารมณ์

เรื่องปฐมฌานเข้าใจผิดแล้วครับท่าน
พระพุทธเจ้าอธิบายปฐมฌานดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ เพราะสงัดจากกามทั้งหลาย
เพราะสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงฌานที่หนึ่ง
อันมีวิตกวิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่;
- ส่วนหนึ่งจาก มหา. ที. 10/348/299

ยังไม่มี อุเบกขานะครับ ซึ่งอุเบกขาจริงๆ จะปรากฏในฌานที่ 4 เท่านั้น
ส่วนเอกัคคตา อะไรก็ยิ่งเป็นเรื่องนอกแนวครับ คำนี่พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสออกมาเลย คำพูดออกสาวกทั้งนั้น

ส่วนการสวดมนต์แล้วทำให้จิตถึงฌานได้จริงนั้น ขอพุทธวจนะ หรือ คำสอนของพระพุทธเข้ามากำชับด้วยครับ

Type-7442
14th July 2012, 19:51
สาวก=พระสงฆ์ ซึ่งอยู่ในองค์ประกอบของพระรัตนตรัย ถ้าไม่มีพระสงฆ์คุณก็คงไม่มีวันได้รับรู้ถึงหลักธรรม ไม่มีคนเรียบเรียงพระไตรปิฏกขึ้นมาหรอกครับ คุณก็น่าจะรู้นะพระไตรปิฏกเล่มแรกเกิดจากใคร? ก็พระสาวกอีกนั้นแหละคุณ


ก็ถูกครับ แต่พระสงฆ์สมัยนี้ คิดคำสอนขึ้นมาเอง มิใช่คำสอนพระพุทธเจ้าไงครับ ดังนั้นเราควรมาศึกษาพุทธวจนมากที่สุด

Type-7442
14th July 2012, 19:52
คุณๆก่อนที่จะปล่อยน่ะมันต้องยึดก่อนสิ ให้ยึดในพระรัตนตรัยก่อนยึดความดีก่อน ไม่งั้นจะเอาความดีที่ไหนไปช่วยสงเสริมให้เข้าถึงมรรคผลนิพนานละครับ และคุณจะบอกว่าธรรมของเป็นพระพุทธเจ้า ให้มาเป็นเครื่องอยู่ซะทั้งหมดมันก็ไม่ถูกนะคุณ เพราะไอ้วิธีการปฎิบิติธรรมเพื่อพ้นทุกข์นะมัน ก็คือธรรมที่พระพุทธเจ้าให้มาเหมือนกันนะครับ

ไม่ยึดครับ อยู่ครับ
พระพุทธเจ้าบอกอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นคือมั่น
แล้วจะไปยึดอะไรอีกครับ พระพุทธเจ้าก็บอกอยู่ชัดๆว่า ไม่ยึด

คุณบอม
14th July 2012, 19:53
เรื่องปฐมฌานเข้าใจผิดแล้วครับท่าน
พระพุทธเจ้าอธิบายปฐมฌานดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ เพราะสงัดจากกามทั้งหลาย
เพราะสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงฌานที่หนึ่ง
อันมีวิตกวิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่;
- ส่วนหนึ่งจาก มหา. ที. 10/348/299

ยังไม่มี อุเบกขานะครับ ซึ่งอุเบกขาจริงๆ จะปรากฏในฌานที่ 4 เท่านั้น
ส่วนเอกัคคตา อะไรก็ยิ่งเป็นเรื่องนอกแนวครับ คำนี่พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสออกมาเลย คำพูดออกสาวกทั้งนั้น

ส่วนการสวดมนต์แล้วทำให้จิตถึงฌานได้จริงนั้น ขอพุทธวจนะ หรือ คำสอนของพระพุทธเข้ามากำชับด้วยครับ
อ่าเรื่อง อุเบกขาผมว่าผมพลาด แต่เรื่องเอกัคคตา ผมว่าผมไม่พลาดจะท่านนะก็จิตแน่วแน่อยู่ในสิ่งนั้นไงครับ

คุณบอม
14th July 2012, 19:55
ครับ กรรมคือการกระทำครับ ผมทราบในส่วนนี้ดีครับ ว่าแต่ท่านเข้าใจว่าผมหมายถึงยังไงหรือ???
ก็ผมเห็นท่าน บอกว่า ท่านใช้คำผิดจาก"หรือ" เป็น "และ" งั้นช่างเหอะครับ เดี๋ยวจะงงกันหนัก 55555

Type-7442
14th July 2012, 19:57
อ่าเรื่อง อุเบกขาผมว่าผมพลาด แต่เรื่องเอกัคคตา ผมว่าผมไม่พลาดจะท่านนะก็จิตแน่วแน่อยู่ในสิ่งนั้นไงครับ

ขอพระสูตร บาลีสยามรัฐมา ยืนยันด้่วยครับ แต่ผมขอยืนยันมา พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสคำว่า เอกัคคตาเลย
เพราะเมื่อก่อนผมก็ รู้จักคำนี้เหมือนกัน
แต่พอมาศึกษาคำของพระศาสดา ก็ทิ้งไปเลยครับ

ผมขอถามหน่อยนะครับ
สติ คืออะไรครับ ?

คุณบอม
14th July 2012, 19:59
ผมขอถามนิดนึงนะครับ คุณวิธีการปฏิบัติธรรม ของคุณ คุณใช้วิธีไหนครับ

moochote
14th July 2012, 19:59
คุณๆก่อนที่จะปล่อยน่ะมันต้องยึดก่อนสิ ให้ยึดในพระรัตนตรัยก่อนยึดความดีก่อน ไม่งั้นจะเอาความดีที่ไหนไปช่วยสงเสริมให้เข้าถึงมรรคผลนิพนานละครับ และคุณจะบอกว่าธรรมของเป็นพระพุทธเจ้า ให้มาเป็นเครื่องอยู่ซะทั้งหมดมันก็ไม่ถูกนะคุณ เพราะไอ้วิธีการปฎิบิติธรรมเพื่อพ้นทุกข์นะมัน ก็คือธรรมที่พระพุทธเจ้าให้มาเหมือนกันนะครับ
เปรียบดังเราพายเรือข้ามแม่น้ำใหญ่พอถึงฝั่งเราก็ไม่ได้แบกเรือนั้นไปด้วย แต่ก่อนที่จะข้ามได้ก็ต้องใช้เรือ ประมาณนี้หรือป่าวครับ ใช้ธรรมเป็นเครื่องมือแต่ไม่ยึดติดในธรรม
อีกอย่างครับ การสนทนาในกระทู้นี้ถ้าเป็นไปเพื่อคลายกิเลสให้จางลงนั้นเป็นสิ่งที่ควร แต่อีกด้านอาจทำให้เรายึดติดในทิฐิของตนได้ อันนี้ก็สำคัญนะ (ความเห็นส่วนตัว)

คุณบอม
14th July 2012, 20:00
ขอพระสูตร บาลีสยามรัฐมา ยืนยันด้่วยครับ แต่ผมขอยืนยันมา พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสคำว่า เอกัคคตาเลย
เพราะเมื่อก่อนผมก็ รู้จักคำนี้เหมือนกัน
แต่พอมาศึกษาคำของพระศาสดา ก็ทิ้งไปเลยครับ

ผมขอถามหน่อยนะครับ
สติ คืออะไรครับ ?
สติคือการระลึกรู้ครับผม

Type-7442
14th July 2012, 20:01
ผมขอถามนิดนึงนะครับ คุณวิธีการปฏิบัติธรรม ของคุณ คุณใช้วิธีไหนครับ

อานาปานสติ และ สติปัฐาน 4 ครับ

Type-7442
14th July 2012, 20:02
สติคือการระลึกรู้ครับผม

รู้อะไรครับ

คุณบอม
14th July 2012, 20:02
เปรียบดังเราพายเรือข้ามแม่น้ำใหญ่พอถึงฝั่งเราก็ไม่ได้แบกเรือนั้นไปด้วย แต่ก่อนที่จะข้ามได้ก็ต้องใช้เรือ ประมาณนี้หรือป่าวครับ ใช้ธรรมเป็นเครื่องมือแต่ไม่ยึดติดในธรรม
อีกอย่างครับ การสนทนาในกระทู้นี้ถ้าเป็นไปเพื่อคลายกิเลสให้จางลงนั้นเป็นสิ่งที่ควร แต่อีกด้านอาจทำให้เรายึดติดในทิฐิของตนได้ อันนี้ก็สำคัญนะ (ความเห็นส่วนตัว)ผมก็ยังไม่ไว้ใจตัวเองนะ ผมว่าการสนทนาในครั้งนี้ผมกำลังยึดมานะทิฐิอยู่เหมือนกัน ไม่งั้นผมคงจบไปนานแล้ว 5555

คุณบอม
14th July 2012, 20:03
รู้อะไรครับ
ก็การระลึกรู้เฉยๆนี่ครับยังไม่มีสัมปชัญญะ มาร่วมด้วยนี่ครับ

Type-7442
14th July 2012, 20:08
ก็การระลึกรู้เฉยๆนี่ครับยังไม่มีสัมปชัญญะ มาร่วมด้วยนี่ครับ

สติไม่ใช่การระลึกรู้เฉยๆครับ

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ภิกษุเป็นผู้มีสติเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ตามเห็นกาย
ในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้;
เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็น
ประจำ....;
เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ ....;
เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ.

- สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๐/๓๗๔-๓๘๑.

คุณบอม
14th July 2012, 20:14
สติไม่ใช่การระลึกรู้เฉยๆครับ

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ภิกษุเป็นผู้มีสติเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ตามเห็นกาย
ในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้;
เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็น
ประจำ....;
เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ ....;
เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ.

- สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๐/๓๗๔-๓๘๑.
ขยายความด้วยก็ดีนะครับ เพราะในนั้นมีคำว่า สัมปชัญญะ รวมอยู่ด้วยครับ พออ่านแล้วก็งง ครับว่าใจความร่วมนั้นพูดถึงสติอย่างเดียวหรือไม่ พอดีปัญญายังไม่ถึงครับ

Wiz Khalifa
14th July 2012, 20:20
ตายแล้วไปไหน?

Type-7442
14th July 2012, 20:20
ขยายความด้วยก็ดีนะครับ เพราะในนั้นมีคำว่า สัมปชัญญะ รวมอยู่ด้วยครับ พออ่านแล้วก็งง ครับว่าใจความร่วมนั้นพูดถึงสติอย่างเดียวหรือไม่ พอดีปัญญายังไม่ถึงครับ


ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็น
อย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบ
ในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู
การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร,
การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ,
การไป การหยุด, การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด
การนิ่ง, ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มี
สัมปชัญญะ.
- สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๐/๓๗๔-๓๘๑.

จริงๆแล้ว พระพุทธเจ้าทรง แนะนำว่า จงเป็นผู้มีสติคู่กันไปกับมีสัมปชัญญะ


ไม่ใช่ปัญญาไม่ถึง แต่ปัญญาคุณกับผมก็พอกัน เพียงแค่ผมศึกษาในส่วนที่ถูกต้องกว่าเท่าันั้นเอง

Type-7442
14th July 2012, 20:21
ตายแล้วไปไหน?

99.99 % ของสัตว์โลก ตายแล้วไปเิกิดใหม่ครับ ( อธิบายโดยสายปฏิจสมุปบาท )

คุณบอม
14th July 2012, 20:27
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็น
อย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบ
ในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู
การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร,
การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ,
การไป การหยุด, การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด
การนิ่ง, ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มี
สัมปชัญญะ.
- สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๐/๓๗๔-๓๘๑.

จริงๆแล้ว พระพุทธเจ้าทรง แนะนำว่า จงเป็นผู้มีสติคู่กันไปกับมีสัมปชัญญะ


ไม่ใช่ปัญญาไม่ถึง แต่ปัญญาคุณกับผมก็พอกัน เพียงแค่ผมศึกษาในส่วนที่ถูกต้องกว่าเท่าันั้นเอง
อันนั้นที่คุณยกมาน่ะ พอดีผมไม่เรียกสัมปะชัญญะอย่างเดียวนะสิิครับ พอดีผมเรียกรวมเป็นสติสัมปชัญญะเลยครับ
ของผมมีเสริมด้วยนะ ผมรู้ เวทนา รู้ธรรมมารมณ์ ด้วยอะดิ
อะๆ อีกอย่าง สัมผัสด้วยครับ

steroids
14th July 2012, 20:34
ท่านลึกซึ้งกันจริงๆ ผมกำลังจะบวชแวะเข้ามาอ่านเพลืนๆครับ ได้ความรู้ครับ

คุณบอม
14th July 2012, 20:38
ท่านลึกซึ้งกันจริงๆ ผมกำลังจะบวชแวะเข้ามาอ่านเพลืนๆครับ ได้ความรู้ครับ
5555 ผมว่าผมยังเข้าใจไม่ลึกซึ้งนะ มันยังตื้นๆอยู่นะ จะให้เข้าใจจริงผมว่าต้องปฏิบัติให้เข้าถึงมากกว่านี้หน่อย
เอ้อ แนะนำนิดนึงครับ จะไปบวช รู้ ปราชิก4 กับ สังฆาทิเลส 13 ไว้สักหน่อยก็ดีนะครับ 2 อย่างนี่ท่องให้ขึ้นใจเลยครับ

Type-7442
14th July 2012, 20:40
อันนั้นที่คุณยกมาน่ะ พอดีผมไม่เรียกสัมปะชัญญะอย่างเดียวนะสิิครับ พอดีผมเรียกรวมเป็นสติสัมปชัญญะเลยครับ
ของผมมีเสริมด้วยนะ ผมรู้ เวทนา รู้ธรรมมารมณ์ ด้วยอะดิ

จริงๆ อานาปานสติก็รวบยอดหมดแล้วครับ ( ไม่ต้องคอยมาว่า เอ้ะ นี่เรา สติอยู่ เราสัมปชัญญะอยู่ หรืออะไรอย่างไร )

เพราะว่า อานาปานสติทำให้ธรรม 4 อย่างบริบูรณ์
ธรรม 4 อย่าง บริบูรณ์คืออะไร ธรรม 4 อย่างนั้นคือ สติปัฐาน 4
เมื่อ สติปัฐาน 4 บริบูรณ์ ก็ย่อมทำให้ ธรรม 7 อย่างบริบูรณ์
ธรรม 7 อย่างคืออะไร ธรรม 7 อย่างนั้นคือ โพชฌงค์ 7
เมื่อ โพชฌงค์ 7 บริบูรณ์ ธรรมสองอย่างที่ชื่อ วิชชาและวิมุตติก็บริบูรณ์ได้

คุณบอม
14th July 2012, 20:45
จริงๆ อานาปานสติก็รวบยอดหมดแล้วครับ ( ไม่ต้องคอยมาว่า เอ้ะ นี่เรา สติอยู่ เราสัมปชัญญะอยู่ หรืออะไรอย่างไร )

เพราะว่า อานาปานสติทำให้ธรรม 4 อย่างบริบูรณ์
ธรรม 4 อย่าง บริบูรณ์คืออะไร ธรรม 4 อย่างนั้นคือ สติปัฐาน 4
เมื่อ สติปัฐาน 4 บริบูรณ์ ก็ย่อมทำให้ ธรรม 7 อย่างบริบูรณ์
ธรรม 7 อย่างคืออะไร ธรรม 7 อย่างนั้นคือ โพชฌงค์ 7
เมื่อ โพชฌงค์ 7 บริบูรณ์ ธรรมสองอย่างที่ชื่อ วิชชาและวิมุตติก็บริบูรณ์ได้
เอ ผมว่าอานาปานสติไม่รวบนะ ผมว่าสติปัฐฐาน 4 ต่างหากที่รวบ เพราะอานาปานสติ เป็นสมถ กำหนดแต่ลม อย่างเดียว ไม่ได้กำหนดรู้อายตนะ6 นะครับ

Type-7442
14th July 2012, 20:50
เอ ผมว่าอานาปานสติไม่รวบนะ ผมว่าสติปัฐฐาน 4 ต่างหากที่รวบ เพราะอานาปานสติ เป็นสมถ กำหนดแต่ลม อย่างเดียว ไม่ได้กำหนดรู้อายตนะ6 นะครับ

โอ้วว ผิดถนัดเลยครับ พระพุทธเจ้าตรัสว่า แค่อานาปานสติเข้าวิมุตติได้นะครับ อานาปานสติเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา ได้หมดครับ
( เพราะพระพุทธเจ้าก็ใช้ อานาปานสติเป็นวิหารธรรมเช่นกัน )

แค่กำหนดลมอย่างเดียวนี่ล่ะครับ ไปตั้งแต่ ปฐมฌานถึงสัญญาเวทิยิตนิโรธเลย

ส่วนอายตนะ 6 ก็ กำหนดอยู่ใน สติปัฐาน 4 แล้วครับไง
วิญญาณจะรู้แึ้ค่ 4 อย่างนี่เท่านั้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร ซึ่ง อายตนะ 6 หรือ 12 ก็อยู่แค่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร ครับ


เสริมนิดนะครับ แนะนำให้ขึ้นอยู่กับคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น มิใช่คิดขึ้นเอง และ ปักใจเชื่อจากที่เราคิดขึ้นเอง

คุณบอม
14th July 2012, 21:00
โอ้วว ผิดถนัดเลยครับ พระพุทธเจ้าตรัสว่า แค่อานาปานสติเข้าวิมุตติได้นะครับ อานาปานสติเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา ได้หมดครับ
( เพราะพระพุทธเจ้าก็ใช้ อานาปานสติเป็นวิหารธรรมเช่นกัน )

แค่กำหนดลมอย่างเดียวนี่ล่ะครับ ไปตั้งแต่ ปฐมฌานถึงสัญญาเวทิยิตนิโรธเลย

ส่วนอายตนะ 6 ก็ กำหนดอยู่ใน สติปัฐาน 4 แล้วครับไง
วิญญาณจะรู้แึ้ค่ 4 อย่างนี่เท่านั้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร ซึ่ง อายตนะ 6 หรือ 12 ก็อยู่แค่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร ครับ
นี่ๆ ท่านๆ ไอ้สมาบัติ8 นี่พระพทธเจ้าได้ตอน ที่ไปฝึกกับอาฬารดาบสกาลามโคตร และอุทกดาลบสรามบุตร แล้วนะมันเป็นแค่สมถะ เป็นแค่ฐานเองนะ
ถ้าท่านว่าอานาปานสติ เป็นทั้งสมถและวิปัสสนา ทำไมถึงต้องไป ต่อที่สติปัฐฐานละครับ
ปล.ส่วน อายตนะ6 น่ะผมยกมาเพราะจะบอกว่าในอานาปานสติไม่มีการกำหนดรู้ ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมมารมณ์

คุณบอม
14th July 2012, 21:06
เสริมนิดนะครับ แนะนำให้ขึ้นอยู่กับคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น มิใช่คิดขึ้นเอง และ ปักใจเชื่อจากที่เราคิดขึ้นเอง
ที่ผมรู้ผมก็ไม่ได้คิดขึ้นเอง และผมก็ขึ้นอยู่กับคำสอนของพระพุทธเจ้าเหมือนกันครับ ผมไม่ได้เก่งขนาดคิดค้นขึ้นใหม่ครับ แต่ประเด็นที่เราคิดไม่เหมือนกันนั้น เพราะว่า คุณยึดพระไตรปิฏก แล้วเหมือนว่าคุณจะไม่เชื่อพระสงฆ์

Type-7442
14th July 2012, 21:11
นี่ๆ ท่านๆ ไอ้สมาบัติ8 นี่พระพทธเจ้าได้ตอน ที่ไปฝึกกับอาฬารดาบสกาลามโคตร และอุทกดาลบสรามบุตร แล้วนะมันเป็นแค่สมถะ เป็นแค่ฐานเองนะ
ถ้าท่านว่าอานาปานสติ เป็นทั้งสมถและวิปัสสนา ทำไมถึงต้องไป ต่อที่สติปัฐฐานละครับ
ปล.ส่วน อายตนะ6 น่ะผมยกมาเพราะจะบอกว่าในอานาปานสติไม่มีการกำหนดรู้ ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมมารมณ์


:ask ถ้าท่านว่าอานาปานสติ เป็นทั้งสมถและวิปัสสนา ทำไมถึงต้องไป ต่อที่สติปัฐฐานละครับ
:answer อ่านให้เข้าใจนะครับ นี่อธิบายเลย

อานาปานสติบริบูรณ์
ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ
แล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔
ให้บริบูรณ์ได้ ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขาร
ให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ
หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและ
ลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข
หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ
จิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำ
จิตตสังขารให้รำงับ” หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็น
อย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นเวทนา
อันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทงั้ หลายอยเู่ปน็ ประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่
หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็น
จิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ
มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็น
สิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำหายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ
เป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและ
โทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔
ให้บริบูรณ์ได้.

:ask อานาปานสติไม่มีการกำหนดรู้ ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมมารมณ์
:answer ในส่วนนี้คิดเองหรือฟังของคำสาวกมาใช้มั้ยครับ ? ; ลองพิจารณาดูดีๆนะครับ
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์นั้น จะรับรู้ได้ก็เพราะไม่ใช่แค่ กาย เวทนา จิต ธรรม หรอครับ ?

ถ้าอธิบายในสายปฏิจสมุปบาทก็คือ วิญญาณ > นามรูป > สฬายตนะ > ผัสสะ
ซึ่งจริงๆ ตั้งแต่มี สังขารเกิดขึ้นมา ก็มีขันธ์ ๕ (ที่มีอวิชชา) ครบหมดแล้วครับ

Type-7442
14th July 2012, 21:14
ที่ผมรู้ผมก็ไม่ได้คิดขึ้นเอง และผมก็ขึ้นอยู่กับคำสอนของพระพุทธเจ้าเหมือนกันครับ ผมไม่ได้เก่งขนาดคิดค้นขึ้นใหม่ครับ แต่ประเด็นที่เราคิดไม่เหมือนกันนั้น เพราะว่า คุณยึดพระไตรปิฏก แล้วเหมือนว่าคุณจะไม่เชื่อพระสงฆ์

ถ้าขึ้นอยู่กับคำสอนพระพุทธเจ้าจริง แล้ว เอกัคคตามาจากไหนครับ , อุเบกขาปรากฏในฌาน 1 มาจากไหนครับ ?
ประเด็นที่เราคิดไม่เหมือนกันนั้นก็เพราะว่า คุณไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง หรือ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ

ส่วนที่บอกว่า คุณเหมือนจะไม่เชื่อพระสงฆ์นั้น
ผมจะอธิบายว่า ผมเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น แต่ไม่เชื่อคำสอนของสาวกที่คิดขึ้นมาเอง ( ถ้าสาวกนำคำของตถาคตมาสอน ผมก้รับฟังแน่นอน )

คุณบอม
14th July 2012, 21:17
ถ้าขึ้นอยู่กับคำสอนพระพุทธเจ้าจริง แล้ว เอกัคคตามาจากไหนครับ , อุเบกขาปรากฏในฌาน 1 มาจากไหนครับ ?
ประเด็นที่เราคิดไม่เหมือนกันนั้นก็เพราะว่า คุณไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง หรือ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ

ส่วนที่บอกว่า คุณเหมือนจะไม่เชื่อพระสงฆ์นั้น
ผมจะอธิบายว่า ผมเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น แต่ไม่เชื่อคำสอนของสาวกที่คิดขึ้นมาเอง ( ถ้าสาวกนำคำของตถาคตมาสอน ผมก้รับฟังแน่นอน )
อุเบกขาในฌาน 1 ผมก็ยอมรับแล้วไงครับว่าผมพลาดแล้วท่านจะยกขึ้นมาำทำไมอีก
แล้วคุณจะรู้ได้ไงว่าอันไหน พระท่านคิดเองอันไหนพระท่านนำคำสอนมาประยุกต์ เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจง่ายขึ้น

Type-7442
14th July 2012, 21:24
อุเบกขาในฌาน 1 ผมก็ยอมรับแล้วไงครับว่าผมพลาดแล้วท่านจะยกขึ้นมาำทำไมอีก
แล้วคุณจะรู้ได้ไงว่าอันไหน พระท่านคิดเองอันไหนพระท่านนำคำสอนมาประยุกต์ เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจง่ายขึ้น

แค่ประยุกต์ก็ผิดแล้วครับ ลองอ่านพระสูตรนี้ต่างๆนี้ดูนะครับ
เพราะ พระสูตรที่ผมยกมานี่ คือตัวอย่างอย่างชัดเจนว่า ทำไมต้องคำพูดของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ทำไมจึงห้ามเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขใดๆ

ทำไมต้องพุทธวจน ? ( อ่านให้ดีนะครับ คุณจะเข้าใจอะไรอีกเยอะเลย หากคุณได้อ่านพระสูตรเช่นนี้ก่อน คุณคงไม่ถามคำถามผมอย่างที่แล้วมาด้านบน )



๑. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูดทุกถ้อยคำ จึงไม่ผิดพลาด
อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการ
กล่าวเรื่องนั้นๆ ย่อมตั้งไว้ ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิต
ดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคย
ได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.
มหาสัจจกสูตร มู.ม. ๑๒ / ๔๖๐ / ๔๓๐
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๒๔๗
๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรม
ที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก), เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล
(อกาลิโก), เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก), ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
(โอปนยิโก), อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ).
มหาตัณหาสังขยสูตร ม. ม. ๑๒ / ๔๘๕ / ๔๕๐.
ปฎิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ น. ๔๓๑
๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน
ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลา
ระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำ
เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็น
ประการอื่นเลย.
อิติวุ. ขุ. ๒๕ / ๓๒๑ / ๒๙๓
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๒๘๕
๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า
อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตกหรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หา
เนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป) ภิกษุทั้งหลาย!
เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิม
ของตัวกลองหมดสิ้นไปเหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,
สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง เป็นชั้น
โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่.
เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่า
เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่อง
นอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมา
กล่าวอยู่, เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่า
เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของ
ตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วย
เรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
นิทาน. สํ. ๑๖ / ๓๑๑ / ๖๗๒-๓
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๑๐๗
๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่
เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่
ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก
มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำ
สุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะ
รู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน
ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?” ดังนี้.
ด้วยการ ทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้
ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทา ลงได้
ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๒ / ๒๙๒
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๓๕๒
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา
เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะ
ทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา-อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง คมฺภีรตฺถา-
มีอรรถอันลึกซึ้ง โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วย
เรื่องสุญญตา อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไป
ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์
กลอนมีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าว
ของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี
เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้
เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร
ดังนี้. เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้
หงายขึ้นได้ ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
มีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน
ปฏิปุจฉาวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา
เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อ
สุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอนมีอักษร
สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก
อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้
ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะ เหล่าใด
อันเป็น ตถาคตภาษิตอันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระ ประกอบ
ด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟัง
ด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่ง
ที่ควรศึกษา เล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว
ก็สอบถาม ซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็น
อย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้
หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตา
ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัท
ที่เลิศ ในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้นคือ บริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกา
จิตวินีตา (บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป:ไม่อาศัย
ความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.
ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๑ / ๒๙๒
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น น. ๕๐๕
๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลายจักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิก
ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้ว อย่าง
เคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความ
เสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๔๖๕
๗. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้นถึงแม้ จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็น
มรรคที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค)
เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค). ภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้
เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมาย
ที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมา-
สัมพุทธะกับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ
ขนฺธ. สํ. ๑๗ /๘๑ / ๑๒๕
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น น. ๗๒๑
๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้อง
พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก
ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็นมูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรม
ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธ
วจน ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่
บอกสอน เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ, เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตร
ทั้งหลาย ก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป. ภิกษุทั้งหลาย !
นี่เป็นมูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป...
(ในที่นี้ยกมาเพียง 2 ข้อ จาก 4 ข้อ ของเหตุเจริญแห่งพระศาสนา)
จตุกฺก. อํ. ๒๑ /๑๙๘ / ๑๖๐
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๓๕๕
๙. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน
๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุข้าพเจ้าได้สดับรับ
มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของ
พระศาสดา”...
๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่
พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุ
ผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมากเป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น
คำสอนของพระศาสดา”...
๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุ
ผู้เป็นเถระ อยู่รูปหนึ่งเป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอน
ของพระศาสดา”...
เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบท
และพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลง
สันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุ
นี้รับมาผิด” เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลง
ในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำรัสของพระ
ผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี”เธอทั้งหลายพึงจำ
มหาปเทส.. นี้ไว้
อุปริ. ม. ๑๔ / ๕๓ / ๔๑
อริยวินัย น. ๓๙๙
๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป
อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า “ธรรมวินัยของพวกเรามี
พระศาสดา ล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา” ดังนี้. อานนท์ ! พวกเธอ
อย่าคิดอย่างนั้น. อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว
แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลายโดยกาล
ล่วงไปแห่งเรา
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตามจักต้องมีตน
เป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ; มีธรรมเป็นประทีป
มีธรรม เป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่น เป็นสรณะ เป็นอยู่ อานนท์! ภิกษุพวกใด
เป็นผู้ใคร่ ในสิกขา, ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ใน สถานะอันเลิศที่สุดแล.
มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที. ๑๐ / ๑๕๙ / ๑๒๘
อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่า
เป็นบุรุษ คนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย.... เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า... เธอทั้งหลาย
อย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย
ม. ม. ๑๓ / ๔๒๗ / ๔๖๓.

ติดตามการเผยแผ่พระธรรม ตามหลักพุทธวจน
โดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสต.ถิผโล วัดนาป่าพง คลอง ๑๐ ลำลูกกา ปทุมธานี
หรือที่ www.watnapahpong.org

คุณบอม
14th July 2012, 21:26
:ask ถ้าท่านว่าอานาปานสติ เป็นทั้งสมถและวิปัสสนา ทำไมถึงต้องไป ต่อที่สติปัฐฐานละครับ
:answer อ่านให้เข้าใจนะครับ นี่อธิบายเลย

อานาปานสติบริบูรณ์
ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ
แล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔
ให้บริบูรณ์ได้ ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขาร
ให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ
หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและ
ลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข
หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ
จิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำ
จิตตสังขารให้รำงับ” หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็น
อย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นเวทนา
อันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทงั้ หลายอยเู่ปน็ ประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่
หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็น
จิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ
มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็น
สิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำหายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ
เป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและ
โทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔
ให้บริบูรณ์ได้.

:ask อานาปานสติไม่มีการกำหนดรู้ ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมมารมณ์
:answer ในส่วนนี้คิดเองหรือฟังของคำสาวกมาใช้มั้ยครับ ? ; ลองพิจารณาดูดีๆนะครับ
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์นั้น จะรับรู้ได้ก็เพราะไม่ใช่แค่ กาย เวทนา จิต ธรรม หรอครับ ?

ถ้าอธิบายในสายปฏิจสมุปบาทก็คือ วิญญาณ > นามรูป > สฬายตนะ > ผัสสะ
ซึ่งจริงๆ ตั้งแต่มี สังขารเกิดขึ้นมา ก็มีขันธ์ ๕ (ที่มีอวิชชา) ครบหมดแล้วครับ
ผมก็อาจจะพลาดไปจริงๆ เพิ่งนึกได้ว่าถ้าอานาปานสติ มีความสำคัญ
ผมว่าผมพลาดไปจริงๆอะแหละ ครับ
แต่ยังไง ผมก็ว่าเป็นแค่สมถะนะครับ

Type-7442
14th July 2012, 21:45
เอาเถอะครับ ขอให้โชคดีกับการปฏิบัติธรรมแล้วกัน สุดแล้วแต่ปัญญา

andylnw27
14th July 2012, 21:48
จขกท. ศึกษาได้ลึกมากเลยครับ

ส่วนมากที่ผมสงสัยก็มีคนถามหมดแล้ว

แล้วผมมีปัญหา คือ ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการชนะใจคนเอง...ขาดวินัย...(ทำตามสิ่งที่ตนเองคิดไม่ได้ เช่น ว่าจะนอน2ทุ่ม ก็เป็นเที่ยงคืน)

ช่วยแนะนำธรรมะที่เหมาะสมกับผมด้วยนะครับ

ปล.ผมศึกษาได้ดีจากการฟัง

คุณบอม
14th July 2012, 21:48
เอาเถอะครับ ขอให้โชคดีกับการปฏิบัติธรรมแล้วกัน สุดแล้วแต่ปัญญา
ครับน้อมรับ ผมก็เริ่มเหนื่อยครับ 5555 ไม่รู้ทำไปเพื่ออะไร

bank9398
14th July 2012, 23:08
พระพุทธ ท่านเคยมีกรรมหรือไม่
ท่านเริ่มปฎิบัติทำแต่ความดีเมื่อชาติไหน
(ผมถามแนว ๆ ว่า พระพุทธเจ้า ตรัสรู้หาวิธีพ้นทุกข์ หรือ กรรม นี้ตั่งแต่เมื่อไร )

ปล.พระพุทธเจ้าเคยเกิดเป็นสัจเดจฉาเหมือนกัน ก็แปลว่าท่านก็ต้องรับกรรมเหมือนกันใช่ไหม

คุณบอม
14th July 2012, 23:26
พระพุทธ ท่านเคยมีกรรมหรือไม่
ท่านเริ่มปฎิบัติทำแต่ความดีเมื่อชาติไหน
(ผมถามแนว ๆ ว่า พระพุทธเจ้า ตรัสรู้หาวิธีพ้นทุกข์ หรือ กรรม นี้ตั่งแต่เมื่อไร )

ปล.พระพุทธเจ้าเคยเกิดเป็นสัจเดจฉาเหมือนกัน ก็แปลว่าท่านก็ต้องรับกรรมเหมือนกันใช่ไหม
ทุกคนมีกรรมเป็นของตนหมดครับ ไม่มีข้อยกเว้น ในเมื่อมีกรรมก็ต้องรับกรรม ส่วนเริ่มทำความดีตอนไหนผมไม่ทราบ แต่เริ่มปราถนา พุทธภูมิ หรือ ต้องการที่จะเป็นพระพุทธเจ้านี่พอรู้
ปล.ไม่มีหลักฐานอะไร ถ้าต้องการที่น่าเชื่อถือก็ รอจขกท.ครับ

~!-!eRo~
15th July 2012, 01:23
เอ้อ จขกท ลึกซึ้งในพระธรรมมากครับ

ผมอยากรู้ว่าท่านรู้มากเเค่ไหนน่ะครับ ^^'

:ask การนั่งสมาธิทุกวันก่อนนอน สักวันล่ะประมาณ 10 นาทีนี้ ได้บุญมั้ยครับ ?

Type-7442
15th July 2012, 08:54
เอ้อ จขกท ลึกซึ้งในพระธรรมมากครับ

ผมอยากรู้ว่าท่านรู้มากเเค่ไหนน่ะครับ ^^'

:ask การนั่งสมาธิทุกวันก่อนนอน สักวันล่ะประมาณ 10 นาทีนี้ ได้บุญมั้ยครับ ?

อยู่ที่ว่านั่งสมาธิแบบไหนครับ ถ้าเป็นอานาปานสติ ก็เป็นสิ่งที่อาณิสงฆ์สูงครับ
พระพุทธเจ้ากล่าวไ้ว้ประมาณว่า ถ้ามีความเพียรประกอบในอานาปานสติ สิ่งที่หวังได้จะมีแค่ 2 อย่าง
1. เป็นพระอนาคามี ( อริยบุุคคลชั้นที่ 3 ผู้ที่ไม่กลับมาเกิดอีก )
2. พระอรหันต์ในชาตินี่เลย

ที่บอกว่านั่งวันละ 10 นาทีนั้น อย่าคิดว่ามันน้อยไปหรืออะไรยังไงนะครับ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสิญว่า บุุคคลที่เจริญอานาปานสติแม้เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว ท่านก็กล่าวว่าเป็นผู้ไม่ห่างจากฌาน เป็นผู้ไม่ห่างจากนิพพาน
ค่อยๆำไปครับ ว่างก็ทำ ไม่ว่างก็ไม่ต้องทำ
( ถึงพระพุทธเจ้าบอกว่า อาณิสงฆ์จะมีแค่ 2 อย่าง แต่ตั้งแต่ผมปฏิบัติมา ชีวิตก็ดีขึ้นเรื่อยๆนะครับ
คือ ชนะใจตัวเองไำด้ง่ายขึ้น , เป็นคนเด็ดขาดไม่ลังเล , ไม่่ค่อยโกรธหรือเคียดแค้นและอิจฉา ; สำหรับผมนะ )


ส่วนอยากจะบอกว่า ถ้าหวังว่าการนั่งสมาธิ เพื่อให้ได้บุญให้เกิดความสบายในชีวิตนั้น เสียใจด้วยครับ
( การนั่งสมาธิที่เป็น กรรมประเภท ไม่ดำไม่ขาว ส่งวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อการหลุดพ้น )
ถ้ารูปของท่านดับไปก่อน ( ตาย ) วิบากของการทำิอานาปานสติ ก็จะส่งผลในชาติต่อๆไปครับ

Type-7442
15th July 2012, 09:04
จขกท. ศึกษาได้ลึกมากเลยครับ

ส่วนมากที่ผมสงสัยก็มีคนถามหมดแล้ว

แล้วผมมีปัญหา คือ ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการชนะใจคนเอง...ขาดวินัย...(ทำตามสิ่งที่ตนเองคิดไม่ได้ เช่น ว่าจะนอน2ทุ่ม ก็เป็นเที่ยงคืน)

ช่วยแนะนำธรรมะที่เหมาะสมกับผมด้วยนะครับ

ปล.ผมศึกษาได้ดีจากการฟัง

จริงๆ จขกท ก็เป็นคนที่ชนะใจตัวเองยากมากเหมือนกัน แต่ว่าผมก็ไม่รู้ว่าท่านสนใจธรรมะแค่ไหนอะไรยังไง
เพราะอย่างเคสของผม คำเตือนของพระพุทธเจ้านั้นมีผลกับผมมากเวลาขี้เกียจ

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท พวกเธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจในภายหลังเลย. - สฬา. สํ. ๑๘/๔๔๑/๖๗๔.

ถ้าฟังเก่ง ว่างๆก็ลองฟังดูนะครับ สิ่งนี้มีประโยชน์มาก
ถ้าฟังไม่เข้าใจลองหาความหมายคำที่ไม่เข้าใจดูะครับ

http://media.watnapahpong.org/video/D6YA2A555U73/ปฏิจจสมุปบาท-4

~!-!eRo~
15th July 2012, 13:46
อยู่ที่ว่านั่งสมาธิแบบไหนครับ ถ้าเป็นอานาปานสติ ก็เป็นสิ่งที่อาณิสงฆ์สูงครับ
พระพุทธเจ้ากล่าวไ้ว้ประมาณว่า ถ้ามีความเพียรประกอบในอานาปานสติ สิ่งที่หวังได้จะมีแค่ 2 อย่าง
1. เป็นพระอนาคามี ( อริยบุุคคลชั้นที่ 3 ผู้ที่ไม่กลับมาเกิดอีก )
2. พระอรหันต์ในชาตินี่เลย

ที่บอกว่านั่งวันละ 10 นาทีนั้น อย่าคิดว่ามันน้อยไปหรืออะไรยังไงนะครับ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสิญว่า บุุคคลที่เจริญอานาปานสติแม้เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว ท่านก็กล่าวว่าเป็นผู้ไม่ห่างจากฌาน เป็นผู้ไม่ห่างจากนิพพาน
ค่อยๆำไปครับ ว่างก็ทำ ไม่ว่างก็ไม่ต้องทำ
( ถึงพระพุทธเจ้าบอกว่า อาณิสงฆ์จะมีแค่ 2 อย่าง แต่ตั้งแต่ผมปฏิบัติมา ชีวิตก็ดีขึ้นเรื่อยๆนะครับ
คือ ชนะใจตัวเองไำด้ง่ายขึ้น , เป็นคนเด็ดขาดไม่ลังเล , ไม่่ค่อยโกรธหรือเคียดแค้นและอิจฉา ; สำหรับผมนะ )


ส่วนอยากจะบอกว่า ถ้าหวังว่าการนั่งสมาธิ เพื่อให้ได้บุญให้เกิดความสบายในชีวิตนั้น เสียใจด้วยครับ
( การนั่งสมาธิที่เป็น กรรมประเภท ไม่ดำไม่ขาว ส่งวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อการหลุดพ้น )
ถ้ารูปของท่านดับไปก่อน ( ตาย ) วิบากของการทำิอานาปานสติ ก็จะส่งผลในชาติต่อๆไปครับ

เงิบ เเล้วการนั่งสมาธิมันมีกี่เเบบอ่ะครับ งง

คืออยากนั่งก่อนนอนอ่ะครับ = ='' เผื่อจิตใจจะได้สงบตอนนอน

ปล. เเละฝันร้ายนี้เกิดจากอะไรเหรอครับ

Type-7442
15th July 2012, 14:06
เงิบ เเล้วการนั่งสมาธิมันมีกี่เเบบอ่ะครับ งง

คืออยากนั่งก่อนนอนอ่ะครับ = ='' เผื่อจิตใจจะได้สงบตอนนอน

ปล. เเละฝันร้ายนี้เกิดจากอะไรเหรอครับ

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ
แล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔
ให้บริบูรณ์ได้ ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขาร
ให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ
หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและ
ลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข
หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ
จิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำ
จิตตสังขารให้รำงับ” หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็น
อย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นเวทนา
อันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทงั้ หลายอยเู่ปน็ ประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่
หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็น
จิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ
มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็น
สิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำหายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ
เป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและ
โทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔
ให้บริบูรณ์ได้.


เลือกเอาครับ ว่าชอบ กาย หรือชอบเวทนา หรือ ชอบจิต หรือ ชอบธรรม


่ส่วนฝันร้ายเป้นเรื่องปรกติของธรรมชาติกายมนุษย์ครับ ก็เป็นความฝันปรกติเพียงแค่เหตุการณ์ในฝันแตกต่างกันออกไป
ฝันดีบ้าง ฝันร้ายบ้าง ฝันไม่ดีไม่ร้ายบ้าง ไม่ฝันบ้าง ก็ปรกติครับ ไม่มีอะไรแปลก

คุณบอม
15th July 2012, 14:51
เงิบ เเล้วการนั่งสมาธิมันมีกี่เเบบอ่ะครับ งง

คืออยากนั่งก่อนนอนอ่ะครับ = ='' เผื่อจิตใจจะได้สงบตอนนอน

ปล. เเละฝันร้ายนี้เกิดจากอะไรเหรอครับ
มี 40 แบบ ครับ กรรมฐาน 40

Type-7442
15th July 2012, 16:09
มี 40 แบบ ครับ กรรมฐาน 40


ไม่มีกรรมฐาน 40 ครับ

คุณบอม
15th July 2012, 16:45
ถ้าไม่ใช่คำตรัสของพระพุทธเจ้าก็อย่าตอบกระทู้คนอื่นให้เข้าใจผิดเลยเถอะครับ
เพราะ กรรมฐาน 40 ก็เป็นคำของสาวกที่คิดขึ้นมาเอง ไม่ปรากฏในพระไตรปิฏกทั้งฉบับ บาลีสยามรัฐ และ ฉบับมหามงกุฏและมหาจุฬาด้วยครับ

ไม่มีกรรมฐาน 40 ครับ

นี่คือกระทู้ธรรมะที่ผมตั้งมา ตอบปัญหาของพุทธสาวกด้วยคำของตถาคตเท่านั้น หากอยู่ในวิสัยที่ผมตอบได้ เพราะเป็นคำสอนที่ถูกต้องตามจริง
ถ้าไม่ใช่ ก็อย่าตอบกระทู้ให้คนอื่นเข้าใจผิดหรือเกิด มิจฉาทิฐิเลยครับ

เพราะที่ผมดู ผมพยายามอธิบายคุณไปหลายเรปแล้วว่า คำไหนคือคำตถาคต อะไรอย่างไรๆ แต่คุณก็เอาคำสาวกมาใช้อีกอยู่ดี ยังขึ้นอยู่กับความคิดคุณเองหรือคำของสาวกคนอื่นๆเหมือนเดิม
อ่า อันนี้ผมขอโทษด้วย ถ้าผมไม่รู้จริง พอดีผมไม่ได้ศึกษาโดยตรงเหมือนคุณ เรื่องกรรมฐาน 40 นั้นก็เช่นกัน ผมไม่รู็ว่าในพระไตรปิฎกมีหรือไม่เพราะผมไม่ไ้ด้ศึกษามา

andylnw27
17th July 2012, 03:29
ผมก็อ่านมาเยอะ แต่ปฏิบัติมาเล็กน้อย
เช่น นั่งสมาธิก่อนไปทำงาน นานเท่่าไหร่ไม่รู้ แค่ตั้งนาฬิกาใว้ ถึงเวลาก็ไป

สังเกตุได้เลยว่า รู้สึกตัวทั่วพร้อมมากขึ้น จะขยับแขน ขยับขารู้สึกตัวหมด มีสติมากๆ
ผมชอบความรู้สึกแบบนี้มากเลย

jackyjacky
17th July 2012, 20:57
ปล.ผมผิดที่ขุดกระทู้รึปล่าวเนี่ย - - แต่สนใจกระทู้นี้จริงๆครับ
เอาล่ะเข้าเรื่องอยากรู้หลายเรื่องเลยครับ ขอความกรุณด้วย

1.กัปป์ คือทุกๆ 100 ปี จะมีเทวดาเอาผ้าธรรมดามาปัด 1 ครั้ง แล้วขึ้นไปอีก 100 ปี แล้วลงมาใหม่, ทำเช่นนี้เรื่อยๆจนภูเขาลูกนั้นแบนเท่าพื้นปฐพีทั้งลูก- แน่นอนว่ามันต้องเกินล้านปีสินะครับ แล้วยุคนั้นมันเป็นยุคไดโนเสาร์เลยไม่ใช่หรอครับ :confused:
2.การเถียงพ่อแม่เป็น อกุศลธรรม คือการอกตัญญู แล้วถ้าสมมุติว่า พ่อกับแม่สั่งให้เราไปฆ่าคน แล้วเราไม่ทำตามแล้วบอกพ่อแม่ว่ามันไม่ดี เราก็บาปหรอครับ
3.ถ้าเราเถียง(เรียกว่า โต้แย้งเพื่อปรับความเข้าใจละกันครับ)พ่อแม่ แบบว่า พ่อกับแม่พูดในสิ่งที่ไม่ถูกให้เราฟัง แล้วเราก็เถียงเค้าไป เราบาปใช่ปะครับ แล้วจะได้รับผลกรรมรึปล่าวครับ
4.คนที่ไม่ได้บวชเป็นพระ จะมีโอกาศบรรลุธรรมได้มั้ยครับ เช่นแบบว่า พนักงานเงินเดือน หรือ ช่างก่อสร้าง จะมีสิทธิบรรลุธรรมโดยไม่บวชมั้ยครับ
5.คนที่เกิดมาแล้วอยู่ใน ศาสนาอื่น เช่น คริส หรือ อิสลาม จะบรรลุธรรมและเข้าสู่นิพพานได้มั้ยครับ(ไม่เอาแบบจะบรรลุในชาติหน้านะครับ ขอแบบในชาตินั้นๆเลย)
6.ถ้าคนจากข้อ6บรรลุธรรมได้ แสดงว่าไม่ได้บรรลุจากพระพุทธศาสนาสิครับ
7.ถ้าเราเจอสัตว์บาดเจ็บแล้วเราเดินผ่านปล่อยเค้าไป แล้วเค้าแค้นเราที่เราไม่ช่วยเค้าทั้งๆที่ช่วยได้ ถ้าเค้าแค้นแล้วอาคาตเรา เราจะเป็นอะไรมั้ยครับ
8.ถ้า FAP แล้วบาปเพราะมีจิตใจอกุศล และเกิดความเคยชิน นี่คือเราต้องได้รับผลกรรมหรอครับในสิ่งที่เราทำไป
9.อกุศลธรรม คืออะไรครับ มันคือบาปหรอครับ ต้องได้รับกรรมหรอครับ
10.อวิชชาพวกคุณไสย์หรือไสยศาสตร์ ถ้าเกิดเราโดนเข้าคือกรรมของเราหรอครับ
11.ขอถามเกี่ยวกับพุทธประวัตินิดนึงนะครับ คือ พระพุทธเจ้าเคยโดนคนเล่นไสยศาสตร์ไส่มั้ยครับ
12.ถ้าคำพูดที่ว่า สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจเป็นจริง แสดงว่าเมื่อตายไปก็ไม่ได้ไป นรก - สวรรค์สิครับ
13.ถ้า เอกภพ มันเป็นอย่างนั้นของมันอยู่แล้ว แล้วเทวดาหรือเทพต่างๆ เกิดมาได้ยังไงครับ
14.(ที่จริงอยากถามเรื่องเทพ เทวดาอีกเยอะนะครับ แต่ จขกท บอกจะไม่ตอบเรื่องนี้ -0-)
15.เรื่องชาติก่อนสุดท้ายของพระพุทธเจ้าครับ ที่เกี่ยวกับเรื่องการให้ทานน่ะครับ ผมจำชื่อไม่ได้
อยากทราบว่า ที่เค้าให้ ลูก ให้ เมีย ให้ ทุกอย่างนะครับ มันเป็นบุญเรื่องทานก็จริง แต่ว่ามันไม่เป็นบาปหรอครับ ที่ให้เมียตัวเองให้ลูกตัวเองกับคนอื่น ทั้งๆที่เมียและลูกก็ไม่เห็นด้วย
16.การนั่งสมาธิให้ถูกคือการที่เรารู้ตัว รู้ลมหายใจ จดจ่อไปที่ลมหายใจอย่างเดียว หรือที่ถูกคือ นั่งให้เข้าสู่ภวังค์(ผมก็ไม่แน่ใจนะครับว่ามันแปลว่าอะไร แต่ในความหมายของผมคือ แบบไม่นึกอะไรอยู่ในหัว หัวโลง ปล่อยตัวตามสบาย)ครับ เพราะเค้าบอกว่า การนั่งสมาธิ ทำให้มีความสุข ผมลองนั่งแบบให้รู้ตัวเสมอมันไม่มีความสุขน่ะครับ แต่นั่งแบบให้หัวโล่งมันมีความสุขกว่า สรุปอันไหนคืออันที่ถูกต้องครับ
17.เค้าบอก การสวดมนต์ทำให้บรรลุได้ การสวดมนต์ทำให้กันเรื่องร้ายๆได้(เช่นบทสวดกันภัย) ผมอยากรู้ว่ามันจริงหรอครับ เพราะว่าเวลาสวดมนต์นี่มันเป็นคำบาลีสันสกฤตไม่ใช่หรอครับ เราก็ไม่รู้ความหมายมันอยู่ดี
18.เค้าบอกว่า การให้สังคทานกับพระสงค์โดยไม่เจาะจงรูปมีบุญมาก ผมอยากรู้ว่า การที่เราไถ่ชีวิตโคกระบือมันไม่ได้บุญมากกว่าหรอครับ เพราะเราช่วยชีวิต ชีวิตนึงเลยนะครับ แต่การให้สังคทานกับพระ ก็แค่ช่วยให้พระมีข้าวกินอิ่มแค่1มือหรือ2มื้อเท่านั้นเอง แล้วก็มียารักษาโรค แต่ยารักษาโลกนี่มันแทบจะล้นวัดเลยนะครับ สังคทานชุดนึงมียาตั้งกี่ตัว แล้วมีคนให้สังทานตั้งกี่คน
19.พระไม่ไส่กางเกงใน ไม่เป็นไส้เลื่อนหรอครับ ? - - อันนี้ไม่ได้จะลบหลู่นะครับ แต่สงสัย
---ปล. จขกท.ยังอยู่ปล่าวเอ่ย - 0- -------
ถามเยอะไปหน่อย แต่ผมสงสัยๆจริงๆครับ

Type-7442
18th July 2012, 18:14
คำถามไหนไม่แน่ใจ จะไม่ตอบนะครับ

1. ( เข้าใจว่าคงเป็นโลกก่อนหน้าโลกนี้อีก เพราะกาลเวลายาวนานมาก เพราะอย่างไร ตถาคตเองไม่พูดความเท็จอยู่แล้ว )

2. :answer ไม่บาปครับ

3. :answer อยู่เจตนาครับ

4. :answer
ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์
ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ
ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึกไม่มี
ใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบาน
แล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้
กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์
พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
ประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตามตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น
ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือคนที่เกิดในตระกูล
อื่นใดในภายหลัง ย่อมฟังธรรมนั้น. ครั้นฟังแล้ว ย่อมเกิด
ศรัทธาในตถาคต. กุลบุตรนั้นผู้ประกอบอยู่ด้วยศรัทธา
ย่อมพิจารณาเห็นว่า
ฆราวาส คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี;
ส่วน บรรพชา เป็นโอกาสว่าง

มันไม่เป็นไปได้โดยง่ายที่เราผู้อยู่ครองเรือนเช่นนี้
จะประพฤติพรหมจรรย์นั้น ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดย
ส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดสะอาดดีแล้ว.
ถ้ากระไรเราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด
ออกจากเรือนไปบวชเป็นผู้ไม่มีเรือนเถิด....” .

มู. ม. ๑๒/๔๘๙/๔๕๔.

5. :answer ปรับความเข้าใจใหม่ก่้อนว่า มนุษย์ทุกคนที่สมประกอบด้านสติปัญญาสามารถบรรลุทำได้ทุกคนครับ ไม่มีเกี่ยงว่า ชาติใด นับถือศาสนาใด
ส่วนการบรรลุธรรมในชาตินี้หรือชาติหน้านั้นก็อยู่กับ ตัวเราเองครับ แล้ววิบากกรรมในกาลเวลาฝ่ายอดีตก็เ็ป็นปัจจัยเช่นกัน

6. :answer ก็คำสอนของตถาคต ก็บรรลุจากคำสอนตถาคต ตอบเช่นนี้จะถูกกว่าครับ

7. :answer ไม่ครับ

8. :answer วิบากคือเป้นอนุสัย คือเป็นเหตุให้ล่าช้าในการพ้นทุกข์ครับ

9. อกุศลธรรมคือ ธรรมที่เป็นไปเพื่อความตกต่ำเ็ป็นธรรมดา เป้นไปเพื่อ ทุคติ วินิบาต และ เปรตวิสัย ; เช่นพวก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

10. อวิชชาแปลว่าความไม่รู้
แต่ถ้าตอบจากบริบทของคำถามแล้ว ก็เกิดจากเวรกรรมครับ เพราะเราไปกำหนดไม่ได้ เราเลือกไม่ได้ว่าจะโดนหรือไม่โดน อะไรที่เราไปกำหนดมันไม่ได้ หรือมันมาเองโดยเลือกไม่ได้ เรียกว่าวิบากกรรมครับ

11. :answer ไม่ตอบพุทธประวัติครับ

13. :answer เกิดมาจากตัณหาครับ

14. :answer ดีแล้วครับ เพราระรู้ไปก็เท่านั้น หาประโยชน์ได้น้อย

15. :answer ไม่ตอบพุทธประวัติครับ

16. :answer จริงอยากจะยกพุทธวจนมาตอบ เพราะเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดครับ
แต่เกรงว่าจะไม่ค่อยเข้าใจแน่ๆ
; รู้ลมหายใจเข้า และออกอย่างชัดเจน ให้วิญญาณไปเกาะอยู่กับรูป แค่นี้ครับ ถ้าหลุดไปคิดเรื่องอื่นก็ดึงกลับมาที่ลมหายใจ เห็นแค่นี่เถอะครับ ทำไปบ่อยๆจนชิน จนชำนาญ ธรรมต่างๆจะออกมาเองครับ

17. :answer ใครบอกครับ ? ตถาคตไม่เคยกล่าวครับ ; ไม่จริงครับ