PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : [Space & Future @JKG Club News]#11 อัญมณีจากอวกาศ



godzaz777
17th November 2012, 15:05
อัญมณีจากอวกาศ หมายถึง อุกกาบาตหรือสะเก็ดดาว (Meteorite) ที่ตกลงสู่พื้นโลก วัตถุเหล่านั้น
แท้จริงแล้วคือ หินหรือแร่บนดาวเคราะห์ต่างๆ (Terrestrial rock) เช่น ดาวอังคาร
(Mars) ดาวเคราะห์น้อย (Asteroids) รวมถึงดวงจันทร์ของโลก

โดยมี องค์ประกอบของหินรวมตัวกัน เป็นผลึกสายแร่ (Crystalline Minerals)
แสดงลักษณะพิเศษเกิดขึ้นต่าง หินแร่บนโลก และมีการเปลี่ยนแปลง รูปทรง
โครงสร้างจากความร้อน ขณะตกลงสู่พื้นโลก เกิดการเสียดสีกับชั้นบรรยากาศ
องค์ประกอบของธาตุต่างๆ จึงมีความเป็นเฉพาะตัว

นอกจากนั้น พบว่าแต่ละชิ้นมีอายุเก่าแก่นับล้านปี สามารถนำมาตรวจวิเคราะห์
หาหลักฐานเชื่อมโยง ไปถึงแหล่งกำเนิดวัตถุต่างๆ ในระบบสุริยะได้

ความสำคัญเหล่านั้น เป็นบทบาทที่สำคัญต่อระบบ ธรณีวิทยาของโลก จากการ
ผสมผสานทางเคมีของธาตุต่างๆ ที่มาจากแหล่งอื่นนอกโลก กับแร่ธาตุบนโลก
ก่อให้เกิดขบวนการ ทางธรรมชาติอย่างหลากหลาย เอื้อต่อระบบชีวิตมนุษย์
เป็นทรัพย์สินแห่งธรรมชาติ เปรียบดังอัญมณี ที่ล้ำค่าต่อโลก

http://www.sunflowercosmos.org/mineralogy/gem_from_space/meteorite_hunting_1.jpg

การค้นหาสะเก็ดดาว ในโครงการ Scientists of the Antarctic Search for Meteorites (ANSMET)

http://www.sunflowercosmos.org/mineralogy/gem_from_space/meteorite_hunting_2.jpg

การค้นหาสะเก็ดดาว ในป่าที่มีต้นไม้ทึบ มีโอกาสพบยาก

http://www.sunflowercosmos.org/mineralogy/gem_from_space/meteorite_hunting_4.jpg

การค้นหาสะเก็ดดาว ในที่โล่งมีโอกาสพบง่าย

http://www.sunflowercosmos.org/mineralogy/gem_from_space/meteorite_hunting_3.jpg

เครื่องมือช่วยในการค้นหา สะเก็ดดาว

การศึกษาและสืบค้น เรื่องแร่สะเก็ดดาว จึงเป็นความสำคัญของโลกที่จะให้ค้นพบ
ทั้งภูมิหลังที่ถูกบันทึกไว้จากสะเก็ดดาว และท้าทายไปสู่อนาคต ของระบบโลกที่
อาจมีการเปลี่ยนแปลง ต่อการผสมผสานกันในธรรมชาติ

การแบ่งประเภทของแร่สะเก็ดดาว

1.ประเภทก้อนหิน (Stones)
เป็นการก่อตัวของหินรวมกันเป็นก้อนหินจากแร่ Silicate (มีทั่วไปในดาวเคราะห์
โลกและล่องลอยในอวกาศ) มักมีลายผลึกเล็กๆ (Crystalline) โดยต้องใช้กล้อง
ขยายช่วยในการสังเกต จึงจะพบว่ามีข้อแตกต่างระหว่าง แร่สะเก็ดดาวกับหินบน
พื้นโลก

2.ประเภทก้อนเหล็ก (Irons)
เป็นการก่อตัวจาก Irons , Nickel , Cobalt , Sulfur และธาตุอื่นประกอบมากกว่า
10% มีลักษณะเป็นโลหะผสม (Irons Alloyed)

3.ประเภทก้อนหินปนเหล็ก (Stony - Iron)
เป็นการก่อตัวผสมกันระหว่าง ประเภทก้อนหิน กับประเภทก้อนเหล็กปนกันโดยมี
อัตราส่วนระหว่าง 2 ชนิดนั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการผสมกัน จากหินไปสู่เหล็กหรือ
จากเหล็กไปสู่หินโดยปริมาตร

http://www.sunflowercosmos.org/mineralogy/gem_from_space/gem_1.jpg

http://www.sunflowercosmos.org/mineralogy/gem_from_space/gem_2.jpg

http://www.sunflowercosmos.org/mineralogy/gem_from_space/gem_3.jpg

http://www.sunflowercosmos.org/mineralogy/gem_from_space/gem_4.jpg

http://www.sunflowercosmos.org/mineralogy/gem_from_space/gem_5.jpg

http://www.sunflowercosmos.org/mineralogy/gem_from_space/gem_7.jpg

http://www.sunflowercosmos.org/mineralogy/gem_from_space/gem_8.jpg

อัตราการพบแร่สะเก็ดดาว

คงจะเป็นไปไม่ได้ ที่เราจะเฝ้าคอยการตกของแร่สะเก็ดดาว เพื่อไปเก็บในทันที
ทั้งที่สะเก็ดดาวนั้นตกลงบนพื้นโลกทุกวันตลอดทั้งปี โดยมีอัตราการตกลงมาของ
ประเภทก้อนหิน 94 % ประเภทก้อนเหล็ก 5 % ประเภทก้อนหินปนเหล็ก 1 %

ด้วยอัตราการตกดังกล่าว อาจจะตกลงบริเวณมหาสมุทร ภูเขาไฟ ป่าทึบ ลำธาร
พื้นที่เป็นหิมะ ทะเลทราย ถูกทิ้งทับถมไว้ในเวลานับสิบปี อาจจะนับหลายแสนปี
จึงไปพบเข้า

ส่วนอัตราการพบ ตัวเลขกลับมีข้อแตกต่างกัน คือ พบประเภทก้อนหิน 69 %
พบประเภทก้อนเหล็ก 28 % และพบก้อนหินปนเหล็ก 3 % เหตุผลเพราะว่า

เมื่อตกลงมาแล้ว สะเก็ดดาวถูกทอดทิ้งตามลักษณะภูมิประเทศที่กล่าวถึง ทำให้
สภาพอากาศของโลกเป็นตัวการเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบสะเก็ดดาว ยิ่งทำให้ยุ่ง
ยาก ในการวิเคราะห์ขึ้นไปอีก

ปัจจุบันเราใช้ตัวเลข ในการสำรวจพบโดยแบบบังเอิญ (Search Random) สุ่มตัวอย่างบริเวณทะเลทราย Sahara และทวีป Antarctic สรุปกำหนดเป็นดังนี้

ประเภทก้อนหิน 56 % ประเภทก้อนเหล็ก 40 % และประเภทหินปนเหล็ก 4 %
เป็นมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตามเราสามารถพบ แร่สะเก็ดดาวตาม
ถนน หน้าประตูหน้าบ้าน หรือแม้แต่ในเหมืองที่ลึกลงไป โดยมีลักษณะเฉพาะ
สังเกตเบื้องต้นได้ ดังนี้

ลักษณะเฉพาะ ของหินและแร่สะเก็ดดาว

การวินิจฉัยเบื้องต้นนั้นต้องอาศัยการสังเกต ความเข้าใจและประสบการณ์ มักพบ
ว่าการซื้อขายเพื่อการสะสม ด้วยของแท้มีราคาสูงมาก จำเป็นต้องมีการตรวจสอบ
จากห้องปฎิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ และรับรองด้วยการประกาศอย่างเป็นทางการ
มีชื่อ และรหัส ข้อมูล น้ำหนัก แหล่งที่พบบันทึกแสดงไว้ด้วย

http://www.sunflowercosmos.org/mineralogy/gem_from_space/gem_17.jpg

ส่วนใหญ่บริเวณสะเก็ดดาวตกลงมา สังเกตุพบว่าในสภาพแวดล้อมนั้นๆ
จะเห็น สะเก็ดดาว อยู่ท่ามกลาง หินชนิดเดิมของพื้นที่อย่างเห็นได้ชัด

http://www.sunflowercosmos.org/mineralogy/gem_from_space/gem_18.jpg

สะเก็ดดาว จะดูโดดเด่นและแตกต่างจากแหล่งหินหรือบริเวณนั้นอย่างชัดเจน
ความหนาแน่น (Density)
ส่วนใหญ่จะมีความหนาแน่นมากกว่าหินทั่วไปบนโลก ในขนาดปริมาตรเดียวกัน
แร่สะเก็ดดาวมีน้ำหนักมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่าง เช่น

ประเภทก้อนหินสะเก็ดดาว มีค่าเฉลี่ยความหนาแน่น 3.5 3.8 กรัม/ลบซม.
(หินอัคนีจากใต้เปลือก โลกมีความหนาแน่น 2.7 กรัม/ลบ.ซม.) สะเก็ดดาวประเภทก้อนหินปนก้อนเหล็ก ความหนาแน่น 7.5 - 7.9 กรัม/ลบ.ซม.

ขนาด (Size)
โดยทั่วไป มีขนาดเล็กเท่าฝุ่นผงจนใหญ่มโหฬาร จากการสำรวจพบมักมีขนาด
เฉลี่ยเท่าลูกฟุตบอล สำหรับขนาดใหญ่ๆ มักจะเป็นประเภทก้อนเหล็ก ทั้งนี้เพราะ

ขณะพุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก จะมีความต้านทานกำลังความเคลื่อนไหว (Aero
-dynamic) ดีกว่าประเภทก้อนหิน ความเร็วของการพุ่งสู่พื้นโลก ลักษณะมุมตรง
(เหนือศีรษะ) จะมีความเร็ว ประมาณ 17 กม./วินาที

อย่างไรก็ตาม ขนาดของสะเก็ดดาวนั้น ขณะเมื่อพุ่งผ่านชั้นบรรยากาศมีความร้อน
สูงมากถูกหลอมละลายให้ เปลี่ยนแปลงขนาดที่แท้จริง

แต่ก็จะเป็นก้อนใหญ่อยู่มักไม่แตก หากเป็นประเภทก้อนหินมักจะแตกกระจาย
พบเป็นชิ้นส่วนย่อยๆ

รูปทรง (Shapes)
ขณะที่แร่สะเก็ดดาวพุ่งสู่พื้นโลก รูปแบบการตกมีผลต่อรูปทรงที่จะเปลี่ยนแปลง
ทำให้เป็นข้อสังเกต พิจารณา จากรูปทรงเบื้องต้นได้ 3 แบบ

Spherical Shape (รูปทรงกลมมน)
เกิดจากลักษณะการพุ่งตกลงแบบมุม กว้างหมุนขว้างแบบรอบทิศทางทำให้เกิด
มุมมนโดยรอบทั้งหมด ของสะเก็ดดาว

Cone Shape (รูปทรงกรวย)
เกิดจากลักษณะการพุ่งตกลง แบบมุมจากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย ด้านหนึ่ง
ด้านใดทำให้มีลักษณะทรง ด้านที่พุ่งลงสู่พื้น โลกของสะเก็ดดาวเป็นรูปทรงกรวย

Shield Shape (รูปทรง กระดองเต่าหรือโล่)
เกิดจากลักษณะการพุ่งตกลงแบบไม่มีการหมุน ทำให้ด้านที่พุ่งสู่พื้นโลก เป็นรูป
คล้ายกระดองเต่า ความชัดเจนของรูปทรงดังกล่าว ขึ้นอยู่กับการรักษาอัตราการ
ตกช้า-เร็ว การรักษาแนววิถีของการพุ่งลงด้วย

http://www.sunflowercosmos.org/mineralogy/gem_from_space/gem_14.jpg

http://www.sunflowercosmos.org/mineralogy/gem_from_space/gem_13.jpg

http://www.sunflowercosmos.org/mineralogy/gem_from_space/gem_12.jpg

ที่มา http://alien-ufo-thailan.blogspot.com/2012/09/blog-post_25.html

tomjungza
17th November 2012, 15:17
มีแต่ของหายาก

godzaz777
18th November 2012, 08:34
ดันนิสนึง เผื่อใครยังไม่ได้อ่าน