PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : Google Doodle : Ada Lovelace โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก (10 ธันวาคม)



titan888
10th December 2012, 09:51
http://upic.me/i/g8/ada_lovelaces_197th_birthday1.jpg (http://upic.me/show/41795942)



Ada Lovelace มีชื่อเต็มว่า Lady Augusta Ada Byron, Countess of Lovelace (เอดา ไบรอน เลิฟเลซ) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) เป็นบุคคลสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์ที่น่าเรียนรู้ประวัติของท่านเป็นอย่างยิ่งเพราะท่านคือโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก
Ada Lovelace ศึกษาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และได้รู้จักกับ ชาร์ลส แบบเบจ ในงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง เธอได้ใช้ความรู้ความสามารถในการสร้างภาษาสำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ
เครื่องมือนี้สามารถรับโปรแกรมและทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมได้ โดยท่านได้เสนอเทคนิคการเขียนโปรแกรมแบบวนรอบซ้ำ ๆ ที่เรียกว่า loop จนเป็นพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เธอเชื่อว่าต่อไปเครื่องมืออันนี้จะมีความสามารถที่จะแต่งเพลงที่ซับซ้อน สร้างภาพกราฟิก นำมาใช้เพื่อการคำนวณขั้นสูง และพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ได้
เอดาได้แนะนำแบบเบจให้ลองเขียนแผนผังการทำงาน ของเครื่องมืออันนี้ให้สามารถคำนวณ Bernoulli numbers ขึ้นมา ต่อมาแผนการทำงานที่แบบเบจเขียนนั้นได้ถูกยกย่องว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์แรกของโลก เธอจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก
ต่อมาไม่นานสุขภาพของเธอก็เริ่มมีปัญหาและก็เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 37 ปีเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯก็ได้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISO ขึ้นมาตัวแรก และได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Ada Lovelace ว่า ภาษา “ADA”


*เพิ่มเติม*

http://upic.me/i/k8/ada-lovelace.jpg (http://upic.me/show/41795936)

เอดา เลิฟเลซ เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่น่าเรียนรู้ชีวประวัติท่านเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นผู้หญิงที่เก่งทั้งในด้านกาพย์กลอนและคณิตศาสตร์ และได้รับยกย่องให้เป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลกจากผลงานที่ท่านช่วยให้เครื่องจักร analytical engine ที่ออกแบบโดย ชาร์ลส์ แบบเบจ สามารถรับโปรแกรมและทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมได้ โดยท่านได้เสนอเทคนิคการเขียนโปรแกรมแบบวนรอบซ้ำ ๆ ที่เรียกว่า loop การเขียนโปรแกรมแบบวนรอบบนี้สำคัญมาก เพราะถ้าหากไม่ใช้แนวคิดนี้แล้วโปรแกรมที่เขียนจะมีความยาวมาก และผิดพลาดได้ง่ายและการใช้โปรแกรมย่อย (subroutine) เพื่อคำนวณฟังก์ชันก์ย่อยที่ได้ใช้งานบ่อย ๆ ฝังอยู่ในโปรแกรมหลัก โปรแกรมหลักสามารถเรียกใช้โปรแกรมย่อยทำงานได้เลยโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมใหม่ ซึ่งในปัจจุับนนี้ทุกภาษาต่างก็มีความสามารถในการวนซึ้า และการใช้โปรแกรมย่อย

เอดา เลิฟเลซเป็นธิดาของกวี ลอร์ด ไบรอน แต่ท่านได้ไม่เพียงแต่ชอบในการแต่งกลอนเท่านั้น ท่านยังสนใจในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ด้วย หลังจากศึกษาผลงานเครื่องจักรวิเคราะห์ของ ชาร์ลส์ แบบเบจ ท่านได้เขียนคำแนะนำให้กับแบบเบจว่าจะทำให้เครื่องจักรนี้สามารถคำนวณเลขเบอร์นูลลีได้อย่างไร (Bernoulli numbers คือจำนวนอนุกรมที่อยู่ในรูป )

ในปี ค.ศ. 1979 กระทรวง สหรัฐอเมริกาได้สร้างภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมขึ้นมา แล้วตั้งชื่อว่าภาษาเอดา "Ada programming language" เพื่อเป็นเกียรติแก่ เอดา จากภาพด้านบน เป็นหนังสือที่เขียนโดยคุณหญิงเอดา ชื่อหนังสือคือ "Ada, The Enchantress of Numbers: เอดากับมนต์เสน่ห์แห่งตัวเลข"

*เพิ่มเติ่มย่อ*

เกิดเมื่อปี ค.ศ.1816 ต่อมาพ่อแม่ของเธอก็แยกทางกัน ทางคุณแม่ของเอดาคิดว่า การศึกษาจะทำให้ลูกสาวได้ประโยชน์มากในอนาคต ตอนนั้นเอดาก็เลยถูกเลี้ยงมาให้เป็นผู้หญิงสมัยใหม่ ที่เรียนรู้ทั้งเรื่องวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ต่างจากผู้หญิงสมัยก่อนๆ คือสังคมชั้นสูง แต่งสวยไปวันๆ

พออายุ 18 ปี เอดาได้ไปงานเลี้ยงอาหารค่ำที่บ้านของ Mrs. Somerville จนได้พบกับ Charles Babbage (บิดาของคอมพิวเตอร์) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคณิตศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับอย่างสูง เอดาได้สนใจในแนวคิดของ Babbage มากๆจนอาสา เป็นผู้ช่วยงานและพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือการคิดสร้างภาษา(Progrmming)สำหรับเครื่อง Analytical Engine จากนั้นก็พัฒนาและคิดค้นแนวคิดต่างๆมาเรื่อยๆ

ในยุคนั้น ผู้หญิงอย่างเอดาก็ไม่ได้รับการยกย่องในงานทางวิทยาศาสตร์มากนัก แต่เธอก็ได้กำลังจากจากสามี ที่คอยให้ความเห็นอกเห็นใจ เอาใจช่วยในการฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรคต่างๆ จนเธอได้การยอมรับในภายหลัง

เอดาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่อปี ค.ศ.1852 ต่อมาปี ค.ศ.1979 ได้มีการตั้งชื่อคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบไร้คนควบคุมเครื่องหนึ่งซึ่งพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกาว่า "เอดา" เพื่อเป็นเกียรติให้กับเธอด้วย

เอดาจึงเป็นคนแรกที่มีแนวคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการคำนวณ และไม่เพียงแต่คำนวณได้เท่านั้น เอดายังสามารถคาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้าได้อีกว่า ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะสามารถนำมาใช้สร้างเสียงดนตรีและช่วยกระบวนการ อุตสาหกรรมได้


แหล่งข้อมูล: http://www.comfixclub.com/
:http://www.softbizplus.com
:http://www.3.ipst.ac.th