PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : แนวโน้มถ้าเปลียนระบบการศึกษา



exodus
14th December 2012, 03:47
ผมลองมาคิดเล่นๆเรื่องระบบการศึกษาไทยว่ามันอาจจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไรเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง

ประเด็นแรกคือประเด็นของเวลาเรียน เมืองไทยอนาคตจะเรียนวันละประมาณ 5 ชั่วโมง หมายถึงเข้าเรียน 8 โมงและเลิกบ่ายโมง
ประเด็นที่สองคือการเรียนเป็นการเรียนรู้แบบเปิด และ brainstorm เพื่อเน้นการระดมความคิด วิเคราะห์ แยกแยะ เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้
ประเด็นที่สามคือปรับหลักสูตรที่เปิดกว้างเพื่อสอดคล้องกับรูปแบบการเรียนในประเด็นที่สอง
ประเด็นที่สี่คือปรับมาตรฐานการตัดสินและวัดผลรวมถึงการสอบเพื่อเลื่อนชั้นหรือเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย

เมื่อรวมทั้ง 4 ประเด็นโดยจะใช้แม่แบบคือการศึกษาของต่างประเทศเป็นหลักเพื่อหาแนวโน้มนะครับ

เรื่องเวลาเรียนคงถูกใจใครหลายๆคนแน่นอนเพราะเวลาเรียนลดลลง ส่วนเรื่องการเรียนแบบเปิดดูเหมือนจะเป็นปัญหาพอสมควร เพราะการเรียนแบบเปิดนั้นเน้นการทำงานจริง สิ่งที่พบเจอส่วนใหญ่คือการรวมหัวกันทำงานนั้นเด็กบ้านเราค่อนข้างย่ำแย่ คือมักจะมีคนที่ทำงานหนักและคนที่ไม่ทำอะไรเลยอยู่ จริงอยู่ที่มันสอดคล้องกับความคิดหลายๆคนว่า เรียนมาไม่เห็นจะได้ใช้งานจริง และการเรียนแบบนี้ทำให้คุณได้ใช้งานจริง แต่คนที่ทำงานมันก็มีแค่คนที่ทำ และคนที่ได้ประโยชน์ก็คือคนที่ทำนั่นแหละเพราะเขาจะได้ คิด วิเคราะห์ และหาบทสรุปอย่างจริงจัง คนที่รอผลสรุปของกลุ่มจะไม่ได้อะไรเลย เพราะการเรียนรู้นี้เน้นที่กระบวนการหาคำตอบ ไม่ใช่คำตอบสำเร็จรูปอย่างที่ครูจะเอามาป้อนในการเรียนปกติที่เป็นอยู่ ตัวหลักสูตรเองก็มีแค่แก่น หรือประเด็นสำคัญๆส่วนคำตอบให้นักเรียนไปศึกษาเอาเอง ไม่ว่าจะจากหนังสืออ้างอิงในห้องสมุดต่างๆ วารสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมถึงงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ งานอาจจะมีแค่ชิ้นเดียว แต่เป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้ความรู้ตลอดทั้งภาคการศึกษาเหมือนทำโปรเจคต์ ซึ่งแน่นอนเวลา 5 ชั่วโมงที่คุณมาเรียนอาจจะเป็นเวลาเล็คเชอร์นิดๆหน่อยๆ(ประมาณ 4 วิชา)เพื่อแนะแนวนักเรียนและช่วยกันทำโปรเจคต์ให้เดินหน้าตามที่เล็คเชอร์ แต่ถามว่ามันพอไหมสำหรับทำงาน 4 วิชาของคุณ แน่นอนว่ามันไม่พอหรอก ที่ต่างประเทศเหมือนจะเรียนสบาย แต่การศึกษานอกโรงเรียนของเขาก็จัดว่าจริงจังทีเดียว ส่วนการวัดผลก็อย่างที่บอกว่าการเรียนนั้น เน้นไปที่กระบวนการหาคำตอบ เพราะฉะนั้นการวัดผลก็จะวัดที่ ระบบความคิดเป็นหลัก ไม่ใช่แค่คำตอบที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นถ้าระบบความคิดของคุณมีประสิทธิภาพสูงก็จะสามารถผ่านไปได้ แต่ถ้าระบบความคิดของคุณมีประสิทธิภาพต่ำหรือเพี้ยน(ไม่ว่าจะเป็นตรรกะวิบัติ มโนตรรกะเอาเอง ฯลฯ) คุณก็มีสิทธิที่จะไม่ผ่านเอาง่ายๆเหมือนกัน แต่ประเด็นการวัดผลมันอยู่ที่ การเรียนลักษณะนี้นั้นไม่มีการสอบไล่ แต่วัดผลเอาจากเกรด มหาวิทยาลัยรัฐจะคัดลำดับนักศึกษาจากเกรดโดยตรง นั่นหมายความว่า ตลอด 12 ปีที่คุณเรียน คุณจะต้องฟิตรักษาระดับเกรดเฉลี่ยของคุณอย่างบ้าคลั่ง โดยการตัดเกรดนั้นจะมี "มาตรฐานเดียว" ต่างจากโรงเรียนไทยที่ไม่มีมาตรฐานเกรดกลาง คุณจะพบว่าเด็กที่เรียนได้เกรด 4 ของโรงเรียนหนึ่ง อาจมีระดับแค่เกรด 2 ปลายๆในอีกโรงเรียน ซึ่งมันก็เป็นเช่นนี้แหละ

สรุป การเรียนในรูปแบบนี้นั้นผมมองเห็นว่าเป็นการขยายโอกาสมากขึ้นกับนักเรียน แต่เฉพาะกับเด็กที่เรียนดีและเด็กที่ทุ่มเทเรียนจริงๆจังๆเท่านั้น เด็กที่เรียนในระดับกลางๆ(สำหรับมาตรฐานกลาง)อาจพอไปได้ แต่ก็อาจะเป็นกลุ่มนักเรียนระดับรอง สำหรับคนที่การเรียนตกต่ำหรือเรียนไปเล่นไปแทบจะปิดโอกาสที่จะลืมตาอ้าปากไปเลย เหมือนมันคัดแยกอย่างชัดเจน "เกินไป" ด้วยซ้ำว่ากลุ่มไหนคือบุคคลที่รัฐจะสนับสนุนให้เรียนต่อ และกลุ่มไหนที่ควรจะมีแค่การศึกษาภาคบังคับเท่านั้น แน่นอนว่าคนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปนั้นจะมีประสิทธิภาพที่สูงมาก อย่างน้อยที่สุดก็สูงกว่าที่ได้จากรูปแบบการเรียนเดิมๆของไทย เพียงแต่ว่ามันไม่ได้สูงเพราะศักยภาพในการพัฒนาอย่างเดียว แต่สูงเพราะมันไม่ "อุ้ม" คนที่ผลการเรียนตกต่ำหรือเด็กที่หัวช้าเหมือนระบบการศึกษาปัจจุบัน

ปล. สุดท้ายผมอยากจะบอกว่าทุกอย่างมันมีช่องโหว่ทั้งนั้นแม้แต่การศึกษาในรูปแบบนี้เองก็วัดระสิทธิภาพจริงๆจังๆไม่ค่อยจะได้ เพราะมันเป็นแค่การสร้างคุณสมบัติโดยตรงแล้วจับเอาคนที่เด่นๆเท่านั้นมาพ้ฒนาศักยภาพให้ถึงขีดสุด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่พลาดไปในการศึกษาช่วงแรกนั้นจะไม่มีศักยภาพเลย อันที่จริงผมเองก็เคยดูหนังเสียดสีระบบการศึกษาของชาวอเมริกันเรื่อง accepted อยู่เหมือนกันนะ ใครชอบดูหนังก็ลองไปหาดูก็แล้วกันครับ รับรองว่าไม่ใช่หนังที่ดูยาก :yes

yauzalam
14th December 2012, 03:56
ข่าวดีมีสาระ ถ้าพูดถึงความเป็นไปได้ก็ดีครับ สำหลับคนตั้งใจเรียน
แต่อีกมุมส่วนใหญ่ก็ไม่ดีเพราะเด็กไม่ตั้งใจเรียน อาจเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอีกนานครับ:rtfm

BoonTew
14th December 2012, 09:59
ถ้าจะเปลี่ยนผมว่าต้องเปลี่ยนค่านิยมทางการศึกษาก่อนเลย

โรงเรียนดัง=โอกาสทางสังคม+งานจะดีตามไปด้วย เป็นค่านิยมที่ปิดกั้นคนมีความสามารถที่มีทุนเรียนได้แค่โรงเรียน-มหาวิทยาลัยทั่วไป

การไปโรงเรียนติว ไม่ใช่การเสริมให้เด็กเก่งขึ้นแต่ทำให้เด็กทำข้อสอบได้คะแนนเยอะๆ+สอบเข้าได้ (เด็กจะทำข้อสอบอัตนัยไม่ค่อยได้) ทั้งๆที่โรงเรียนติวเหมาะกับเด็กที่เรียนไม่ทันเพื่อน-หัวช้าจำเป็นต้องเรียนเสริมต่างหาก

ประเทศที่เรียนกันวันนึงไม่กี่ชั่วโมง การเรียนไม่จบแค่ที่โรงเรียน กลับบ้านต้องมีผู้ปกครองคอยดูแลด้วย เด็กที่การเรียนตกต่ำครู+ผู้ปกครองต้องรับผิดชอบร่วมกัน บ้านเราจะโทษโรงเรียนอย่างเดียว

ผมว่าปัญหาการศึกษาบ้านเรามันโยงกันวุ่นวาย ต่างคนต่างโทษกัน โยนความรับผิดชอบกันไปมา บางทีอาจเป็นเพราะสังคมไทยที่สร้างค่านิยมการศึกษาให้เด็กมานานแล้ว

เด็กก็ก้มหน้าก้มตาเรียนไปโดยไม่รู้ว่าเพื่ออะไร เอาไปทำอะไรได้ เหมือนสายพานผลิตบัณฑิตเลย เน้นปริมาณ

!!Thank!!
14th December 2012, 11:27
ทำ locker ที่เก็บของส่วนตัวไว้ให้เด็กๆ จะได้ไม่ต้องแบกหนังสือไปหลายเล่ม หนักก็หนัก เอาแบบพี่มะกันเลยนะ 55555+

Zidane
14th December 2012, 11:41
สามประเด็นแรก ก็ ทำให้โดดเรียนกันเป็นแถบๆแล้วครับ

!!Thank!!
14th December 2012, 11:51
เรียนบ้านเหอะ อยากให้คนไทยทุกคนเรียนบ้านให้หมดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ 555555555555555555555+++

redfoottttt
14th December 2012, 12:06
ผมลองมาคิดเล่นๆเรื่องระบบการศึกษาไทยว่ามันอาจจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไรเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง

ประเด็นแรกคือประเด็นของเวลาเรียน เมืองไทยอนาคตจะเรียนวันละประมาณ 5 ชั่วโมง หมายถึงเข้าเรียน 8 โมงและเลิกบ่ายโมง
ประเด็นที่สองคือการเรียนเป็นการเรียนรู้แบบเปิด และ brainstorm เพื่อเน้นการระดมความคิด วิเคราะห์ แยกแยะ เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้
ประเด็นที่สามคือปรับหลักสูตรที่เปิดกว้างเพื่อสอดคล้องกับรูปแบบการเรียนในประเด็นที่สอง
ประเด็นที่สี่คือปรับมาตรฐานการตัดสินและวัดผลรวมถึงการสอบเพื่อเลื่อนชั้นหรือเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย

เมื่อรวมทั้ง 4 ประเด็นโดยจะใช้แม่แบบคือการศึกษาของต่างประเทศเป็นหลักเพื่อหาแนวโน้มนะครับ

เรื่องเวลาเรียนคงถูกใจใครหลายๆคนแน่นอนเพราะเวลาเรียนลดลลง ส่วนเรื่องการเรียนแบบเปิดดูเหมือนจะเป็นปัญหาพอสมควร เพราะการเรียนแบบเปิดนั้นเน้นการทำงานจริง สิ่งที่พบเจอส่วนใหญ่คือการรวมหัวกันทำงานนั้นเด็กบ้านเราค่อนข้างย่ำแย่ คือมักจะมีคนที่ทำงานหนักและคนที่ไม่ทำอะไรเลยอยู่ จริงอยู่ที่มันสอดคล้องกับความคิดหลายๆคนว่า เรียนมาไม่เห็นจะได้ใช้งานจริง และการเรียนแบบนี้ทำให้คุณได้ใช้งานจริง แต่คนที่ทำงานมันก็มีแค่คนที่ทำ และคนที่ได้ประโยชน์ก็คือคนที่ทำนั่นแหละเพราะเขาจะได้ คิด วิเคราะห์ และหาบทสรุปอย่างจริงจัง คนที่รอผลสรุปของกลุ่มจะไม่ได้อะไรเลย เพราะการเรียนรู้นี้เน้นที่กระบวนการหาคำตอบ ไม่ใช่คำตอบสำเร็จรูปอย่างที่ครูจะเอามาป้อนในการเรียนปกติที่เป็นอยู่ ตัวหลักสูตรเองก็มีแค่แก่น หรือประเด็นสำคัญๆส่วนคำตอบให้นักเรียนไปศึกษาเอาเอง ไม่ว่าจะจากหนังสืออ้างอิงในห้องสมุดต่างๆ วารสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมถึงงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ งานอาจจะมีแค่ชิ้นเดียว แต่เป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้ความรู้ตลอดทั้งภาคการศึกษาเหมือนทำโปรเจคต์ ซึ่งแน่นอนเวลา 5 ชั่วโมงที่คุณมาเรียนอาจจะเป็นเวลาเล็คเชอร์นิดๆหน่อยๆ(ประมาณ 4 วิชา)เพื่อแนะแนวนักเรียนและช่วยกันทำโปรเจคต์ให้เดินหน้าตามที่เล็คเชอร์ แต่ถามว่ามันพอไหมสำหรับทำงาน 4 วิชาของคุณ แน่นอนว่ามันไม่พอหรอก ที่ต่างประเทศเหมือนจะเรียนสบาย แต่การศึกษานอกโรงเรียนของเขาก็จัดว่าจริงจังทีเดียว ส่วนการวัดผลก็อย่างที่บอกว่าการเรียนนั้น เน้นไปที่กระบวนการหาคำตอบ เพราะฉะนั้นการวัดผลก็จะวัดที่ ระบบความคิดเป็นหลัก ไม่ใช่แค่คำตอบที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นถ้าระบบความคิดของคุณมีประสิทธิภาพสูงก็จะสามารถผ่านไปได้ แต่ถ้าระบบความคิดของคุณมีประสิทธิภาพต่ำหรือเพี้ยน(ไม่ว่าจะเป็นตรรกะวิบัติ มโนตรรกะเอาเอง ฯลฯ) คุณก็มีสิทธิที่จะไม่ผ่านเอาง่ายๆเหมือนกัน แต่ประเด็นการวัดผลมันอยู่ที่ การเรียนลักษณะนี้นั้นไม่มีการสอบไล่ แต่วัดผลเอาจากเกรด มหาวิทยาลัยรัฐจะคัดลำดับนักศึกษาจากเกรดโดยตรง นั่นหมายความว่า ตลอด 12 ปีที่คุณเรียน คุณจะต้องฟิตรักษาระดับเกรดเฉลี่ยของคุณอย่างบ้าคลั่ง โดยการตัดเกรดนั้นจะมี "มาตรฐานเดียว" ต่างจากโรงเรียนไทยที่ไม่มีมาตรฐานเกรดกลาง คุณจะพบว่าเด็กที่เรียนได้เกรด 4 ของโรงเรียนหนึ่ง อาจมีระดับแค่เกรด 2 ปลายๆในอีกโรงเรียน ซึ่งมันก็เป็นเช่นนี้แหละ

สรุป การเรียนในรูปแบบนี้นั้นผมมองเห็นว่าเป็นการขยายโอกาสมากขึ้นกับนักเรียน แต่เฉพาะกับเด็กที่เรียนดีและเด็กที่ทุ่มเทเรียนจริงๆจังๆเท่านั้น เด็กที่เรียนในระดับกลางๆ(สำหรับมาตรฐานกลาง)อาจพอไปได้ แต่ก็อาจะเป็นกลุ่มนักเรียนระดับรอง สำหรับคนที่การเรียนตกต่ำหรือเรียนไปเล่นไปแทบจะปิดโอกาสที่จะลืมตาอ้าปากไปเลย เหมือนมันคัดแยกอย่างชัดเจน "เกินไป" ด้วยซ้ำว่ากลุ่มไหนคือบุคคลที่รัฐจะสนับสนุนให้เรียนต่อ และกลุ่มไหนที่ควรจะมีแค่การศึกษาภาคบังคับเท่านั้น แน่นอนว่าคนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปนั้นจะมีประสิทธิภาพที่สูงมาก อย่างน้อยที่สุดก็สูงกว่าที่ได้จากรูปแบบการเรียนเดิมๆของไทย เพียงแต่ว่ามันไม่ได้สูงเพราะศักยภาพในการพัฒนาอย่างเดียว แต่สูงเพราะมันไม่ "อุ้ม" คนที่ผลการเรียนตกต่ำหรือเด็กที่หัวช้าเหมือนระบบการศึกษาปัจจุบัน

ปล. สุดท้ายผมอยากจะบอกว่าทุกอย่างมันมีช่องโหว่ทั้งนั้นแม้แต่การศึกษาในรูปแบบนี้เองก็วัดระสิทธิภาพจริงๆจังๆไม่ค่อยจะได้ เพราะมันเป็นแค่การสร้างคุณสมบัติโดยตรงแล้วจับเอาคนที่เด่นๆเท่านั้นมาพ้ฒนาศักยภาพให้ถึงขีดสุด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่พลาดไปในการศึกษาช่วงแรกนั้นจะไม่มีศักยภาพเลย อันที่จริงผมเองก็เคยดูหนังเสียดสีระบบการศึกษาของชาวอเมริกันเรื่อง accepted อยู่เหมือนกันนะ ใครชอบดูหนังก็ลองไปหาดูก็แล้วกันครับ รับรองว่าไม่ใช่หนังที่ดูยาก :yes

คนโง่เรีนแบบไหนก็โง่แหละ มันเป็นที่ตั้งแต่พ่อแม่สอนมาแล้ว!! คิดดูตอนนี้พวกเด็กที่เล่นไปเรียนไปอย่างที่คุณว่ามันทำอะไรอยู่ มันก็ทำอย่างที่มันทำไง คือรอลอกคนอื่นไง คิดกลับด้วยครับ อย่าคิดทางเดียว สู้เอาเวลาไปส่งเสริมให้คนที่มีความตั้งใจดีกว่า อย่างน้อยก็ดีกว่าตอนนี้แหละ !!

DkTaP82
14th December 2012, 12:19
เรียนธรรมะ และโลกจะสดใส..:yes