PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : เงินเฟ้อจะส่งผลกระทบต่อ ค่าเงิน ยังไงบ้างครับ?



ShadowStePz
27th August 2011, 23:44
:) ใครมีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ ขอแชร์ความรู้หน่อยครับ

LookPhet
27th August 2011, 23:57
ตามความคิดของผมนะครับ

สมมุติว่า ตอนนี้ 1 เหรียญสหรัฐ = 35 บาทไทย

ถ้าเงินเฟ้อคงจะเป็นแบบ 1 เหรียญสหรัฐ = 40+ บาทไทย

แบบค่าเงินในประเทศนั้นถูกลงอะครับ

จะพยายามหาข้อมูลมาให้ครับ

ปล.ความคิดเด็ก ม.2

LookPhet
28th August 2011, 00:01
ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) คืออะไร เกิดจากอะไร วัดอย่างไร และถ้าสูงขึ้นมาก ๆ จะเกิดอะไรขึ้น

ภาวะเงินเฟ้อคืออะไร?
หลายคนเมื่อได้ยินคำว่าเงินเฟ้อ อาจจะสงสัยว่าเงินเฟ้อคืออะไร แล้วเมื่อไรถึงจะเรียกว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ คำว่าภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งก็จะมีผลทำให้ค่าของเงินที่เราถืออยู่ลดลง ตัวอย่างของค่าของเงินที่ลดลงเช่น ราคาน้ำมันเคยอยู่ที่ 14 บาทต่อลิตร สมมติเราเคยเติมน้ำมัน 10 ลิตร ก็จะใช้เงิน 140 บาท แต่ปัจจุบัน ราคาน้ำมันได้กลายเป็น 28 บาทต่อลิตร หากเราใช้เงินเท่าเดิมคือ 140 บาท เราจะเติมน้ำมันได้เพียง 5 ลิตร ไม่ใช่ 10 ลิตรแบบที่เคยเติมได้ ซึ่งหากต้องการที่จะเติมน้ำมัน 10 ลิตร เท่าเดิม แปลว่าเราต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นเป็น 280 บาท หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ การเกิดภาวะเงินเฟ้อ จะทำให้เงินจำนวนเท่าเดิมที่เราถืออยู่มีค่าลดลง ทำให้ซื้อของได้น้อยลง


ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อราคาน้ำมันแพงขึ้นแบบนี้ ต้นทุนในการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตที่จะส่งไปขายยังที่ต่าง ๆ ก็ย่อมต้องสูงขึ้น และทำให้ราคาสินค้าชนิดอื่นๆ ต้องขึ้นราคาตามไปด้วย แต่การที่มีสินค้าแค่ชนิดใดชนิดหนึ่งแพงขึ้น จะยังไม่เรียกว่าเงินเฟ้อ เพราะภาวะเงินเฟ้อหมายถึง ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วๆ ไปแพงขึ้น ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจจะมีราคาสินค้าบางอย่างถูกลงด้วยในเวลาเดียวกัน แต่โดยรวม ๆ แล้ว หากราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น และเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปสักพักหนึ่ง ถึงจะเรียกได้ว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ โดยที่เราจำเป็นต้องรู้เรื่องเงินเฟ้อ ก็เพื่อที่จะใช้สำหรับวัดค่าครองชีพหรือมาตรฐานการครองชีพของเรา (ประชาชน) ว่าดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร

เงินเฟ้อเกิดจากอะไร?
ภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้นได้จากหลายๆ สาเหตุ แต่ส่วนใหญ่ในทางวิชาการมักจะแบ่งสาเหตุการเกิดเงินเฟ้อได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ ได้แก่ Cost-push inflation และ Demand-pull inflation
(1) เกิดจากต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า Cost-push inflation ซึ่งต้นทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าอาจจะสูงขึ้นได้จากทั้งส่วนผสมหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า ค่าจ้างแรงงาน รวมทั้งค่าขนส่งสินค้า มีราคาแพงขึ้น เช่น กรณีของราคาน้ำมันที่แพงขึ้นก็เป็นตัวอย่างได้ หรือการที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน หรือเกิดน้ำท่วม ภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตเกษตรเสียหาย ราคาสินค้าเกษตรก็แพงขึ้น เป็นต้น หรือแม้แต่ในกรณีที่ค่าเงินบาทอ่อนลง จาก 35 บาท เป็น 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ซึ่งหมายถึงว่าเราต้องใช้เงินบาทจำนวนที่มากขึ้นเพื่อไปซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศมาผลิต) หรือแม้แต่การที่รัฐบาลเก็บภาษีเพิ่มขึ้น เช่น การเก็บภาษีบุหรี่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา หรืออาจเกิดจากผู้ผลิตต้องการกำไรที่สูงขึ้นจึงขึ้นราคาสินค้า ซึ่งไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ก็จะมีส่วนทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นได้
ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ อาจจะเกิดขึ้นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรืออาจเกิดขึ้นพร้อมๆ กันก็ได้ ซึ่งหากเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และทำให้ราคาสินค้าและบริการหลายๆ ชนิดแพงขึ้นพร้อมๆ กัน ความรุนแรงของเงินเฟ้อก็จะมากขึ้นด้วย




(2) เกิดจากความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า Demand-pull inflation ส่วนใหญ่ในช่วงที่ปกติ ผู้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่ก็ย่อมจะวางแผนการผลิตสินค้าโดยดูว่ามีคนต้องการซื้อสินค้าของเราเท่าไรในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้น ปริมาณสินค้าที่มีในตลาดก็น่าจะอยู่ใกล้เคียงกับความต้องการซื้อสินค้า แต่หากความต้องการสินค้าและบริการสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่สินค้าและบริการที่เป็นที่ต้องการมีอยู่ในตลาดมีไม่พอ ก็ย่อมทำให้ราคาสินค้าและบริการแพงขึ้นได้ ซึ่งเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น คนจะยิ่งรีบใช้เงินซื้อสินค้าและบริการมาตุนไว้ ก่อนที่ค่าเงินที่มีอยู่จะลดลง เพราะซื้อสินค้าได้น้อยลง ราคาสินค้าและบริการจะยิ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นไปกว่าเดิม เพราะคนจะยิ่งรีบใช้เงินที่มีอยู่
อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้ว หน่วยงานของทางการก็มักจะไม่ปล่อยให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง โดยทางการอาจจะเข้ามากำกับดูแลการปรับขึ้นราคาสินค้า ตัวอย่างเช่น การขอความร่วมมือให้ ขสมก. เลื่อนการขึ้นค่ารถเมล์ไปก่อน หรืออนุญาตให้ค่ารถเมล์ปรับขึ้นราคาได้บ้างนิดหน่อย เป็นต้น หรือในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย อาจใช้นโยบายการเงินเพื่อดูแลปัญหาเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนน้อยที่สุด


เงินเฟ้อวัดอย่างไร?
อัตราเงินเฟ้อในประเทศไทยวัดโดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งได้ประกาศอัตราเงินเฟ้อเป็นประจำทุกเดือน โดยวิธีวัดอัตราเงินเฟ้อทำได้โดยการวัดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาของสินค้าและบริการกลุ่มหนึ่ง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งระดับราคาของสินค้าและบริการ ใช้ชื่อว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index-CPI) ตัวอย่างการคำนวณอัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 โดยเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีก่อน ซึ่งคือเดือนกุมภาพันธ์ 2549 เพื่อที่จะบอกว่าราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปแพงขึ้นหรือถูกลงเมื่อเปรียบเทียบกัน โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ที่ประกาศโดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า อยู่ที่ 114.5 ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ปี 2549 อยู่ที่ 111.9



ดังนั้น
อัตราเงินเฟ้อของเดือนกุมภาพันธ์ 2550
ซึ่งอันนี้จะมีความหมายว่า ระดับราคาสินค้าและบริการโดยรวมมีราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน 2.3% หรือหากเรามีเงินจำนวนเท่าเดิมกับปีที่แล้ว ค่าของเงินที่เราถืออยู่จะด้อยค่าไป 2.3% ซึ่งทำให้ซื้อของได้น้อยลง


ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์


ถ้าเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก ๆ จะเกิดอะไรขึ้น?
โดยปกติแล้ว หากเงินเฟ้อสูงขึ้นนิด ๆ หน่อย ๆ (ปกติตามหลักวิชาการคือเงินเฟ้อที่สูงไม่เกิน 5% จะเรียกเงินเฟ้ออย่างอ่อน (Mild inflation)) จะเป็นสิ่งที่ดีที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้ เพราะจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิตมีการลงทุนขยายการผลิต และมีการจ้างงาน ซึ่งทำให้เศรษฐกิจประเทศขยายตัวได้ดี ไม่มีผลเสียต่อเศรษฐกิจ แต่หากเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก ๆ และสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนยากที่จะคาดเดาได้ว่าเงินเฟ้อจะเป็นเท่าไร (Hyper inflation) จะมีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะจะทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถวางแผนการผลิตและลงทุนได้ เพราะไม่รู้ว่าวัตถุดิบที่จะซื้อเข้ามาราคาจะเป็นเท่าไร จะตั้งราคาสินค้าเท่าไร เพื่อให้ยังมีกำไร ขณะที่ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคเองก็ไม่แน่ใจว่าราคาสินค้าจะแพงขึ้นอีกหรือไม่ เงินจำนวนเท่าเดิมที่มีอยู่ในกระเป๋าก็ด้อยค่าลงไป เพราะข้าวของแพงขึ้น ทำให้ซื้อของได้น้อยลง ธุรกิจก็ขายของได้น้อยลง ซึ่งที่สุดแล้วจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศแย่ลงได้
โดยสรุปคือ ภาวะเงินเฟ้อใช้เพื่อวัดค่าครองชีพของประชาชน ภาวะเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นต่อเมื่อราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นต่อเนื่อง หากสูงขึ้นแล้วปรับลดลง จะไม่นับว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเงินเฟ้อในระดับอ่อนๆ จะไม่สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ แต่หากเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงๆ จะทำให้ค่าของเงินที่เรามีอยู่ด้อยค่าลงไป ทำให้ซื้อของได้น้อยลง ธุรกิจไม่สามารถผลิตหรือลงทุนได้เพราะมีความไม่แน่นอนเรื่องราคาอยู่สูง ซึ่งจะมีผลกระทบทางลบต่อระบบเศรษฐกิจในที่สุด

เครดิต : http://www.vcharkarn.com/varticle/34764

jkk
28th August 2011, 02:59
นึกภาพไม่ออก อ่านกระทู้นี้


http://board.palungjit.com/f6/%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%88-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-161572.html


อยากให้เมืองไทยเป็นแบบนี้ไหมล่ะ..

kingcesar
28th August 2011, 08:59
ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) คืออะไร เกิดจากอะไร วัดอย่างไร และถ้าสูงขึ้นมาก ๆ จะเกิดอะไรขึ้น

ภาวะเงินเฟ้อคืออะไร?
หลายคนเมื่อได้ยินคำว่าเงินเฟ้อ อาจจะสงสัยว่าเงินเฟ้อคืออะไร แล้วเมื่อไรถึงจะเรียกว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ คำว่าภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งก็จะมีผลทำให้ค่าของเงินที่เราถืออยู่ลดลง ตัวอย่างของค่าของเงินที่ลดลงเช่น ราคาน้ำมันเคยอยู่ที่ 14 บาทต่อลิตร สมมติเราเคยเติมน้ำมัน 10 ลิตร ก็จะใช้เงิน 140 บาท แต่ปัจจุบัน ราคาน้ำมันได้กลายเป็น 28 บาทต่อลิตร หากเราใช้เงินเท่าเดิมคือ 140 บาท เราจะเติมน้ำมันได้เพียง 5 ลิตร ไม่ใช่ 10 ลิตรแบบที่เคยเติมได้ ซึ่งหากต้องการที่จะเติมน้ำมัน 10 ลิตร เท่าเดิม แปลว่าเราต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นเป็น 280 บาท หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ การเกิดภาวะเงินเฟ้อ จะทำให้เงินจำนวนเท่าเดิมที่เราถืออยู่มีค่าลดลง ทำให้ซื้อของได้น้อยลง


ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อราคาน้ำมันแพงขึ้นแบบนี้ ต้นทุนในการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตที่จะส่งไปขายยังที่ต่าง ๆ ก็ย่อมต้องสูงขึ้น และทำให้ราคาสินค้าชนิดอื่นๆ ต้องขึ้นราคาตามไปด้วย แต่การที่มีสินค้าแค่ชนิดใดชนิดหนึ่งแพงขึ้น จะยังไม่เรียกว่าเงินเฟ้อ เพราะภาวะเงินเฟ้อหมายถึง ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วๆ ไปแพงขึ้น ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจจะมีราคาสินค้าบางอย่างถูกลงด้วยในเวลาเดียวกัน แต่โดยรวม ๆ แล้ว หากราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น และเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปสักพักหนึ่ง ถึงจะเรียกได้ว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ โดยที่เราจำเป็นต้องรู้เรื่องเงินเฟ้อ ก็เพื่อที่จะใช้สำหรับวัดค่าครองชีพหรือมาตรฐานการครองชีพของเรา (ประชาชน) ว่าดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร

เงินเฟ้อเกิดจากอะไร?
ภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้นได้จากหลายๆ สาเหตุ แต่ส่วนใหญ่ในทางวิชาการมักจะแบ่งสาเหตุการเกิดเงินเฟ้อได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ ได้แก่ Cost-push inflation และ Demand-pull inflation
(1) เกิดจากต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า Cost-push inflation ซึ่งต้นทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าอาจจะสูงขึ้นได้จากทั้งส่วนผสมหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า ค่าจ้างแรงงาน รวมทั้งค่าขนส่งสินค้า มีราคาแพงขึ้น เช่น กรณีของราคาน้ำมันที่แพงขึ้นก็เป็นตัวอย่างได้ หรือการที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน หรือเกิดน้ำท่วม ภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตเกษตรเสียหาย ราคาสินค้าเกษตรก็แพงขึ้น เป็นต้น หรือแม้แต่ในกรณีที่ค่าเงินบาทอ่อนลง จาก 35 บาท เป็น 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ซึ่งหมายถึงว่าเราต้องใช้เงินบาทจำนวนที่มากขึ้นเพื่อไปซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศมาผลิต) หรือแม้แต่การที่รัฐบาลเก็บภาษีเพิ่มขึ้น เช่น การเก็บภาษีบุหรี่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา หรืออาจเกิดจากผู้ผลิตต้องการกำไรที่สูงขึ้นจึงขึ้นราคาสินค้า ซึ่งไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ก็จะมีส่วนทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นได้
ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ อาจจะเกิดขึ้นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรืออาจเกิดขึ้นพร้อมๆ กันก็ได้ ซึ่งหากเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และทำให้ราคาสินค้าและบริการหลายๆ ชนิดแพงขึ้นพร้อมๆ กัน ความรุนแรงของเงินเฟ้อก็จะมากขึ้นด้วย




(2) เกิดจากความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า Demand-pull inflation ส่วนใหญ่ในช่วงที่ปกติ ผู้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่ก็ย่อมจะวางแผนการผลิตสินค้าโดยดูว่ามีคนต้องการซื้อสินค้าของเราเท่าไรในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้น ปริมาณสินค้าที่มีในตลาดก็น่าจะอยู่ใกล้เคียงกับความต้องการซื้อสินค้า แต่หากความต้องการสินค้าและบริการสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่สินค้าและบริการที่เป็นที่ต้องการมีอยู่ในตลาดมีไม่พอ ก็ย่อมทำให้ราคาสินค้าและบริการแพงขึ้นได้ ซึ่งเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น คนจะยิ่งรีบใช้เงินซื้อสินค้าและบริการมาตุนไว้ ก่อนที่ค่าเงินที่มีอยู่จะลดลง เพราะซื้อสินค้าได้น้อยลง ราคาสินค้าและบริการจะยิ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นไปกว่าเดิม เพราะคนจะยิ่งรีบใช้เงินที่มีอยู่
อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้ว หน่วยงานของทางการก็มักจะไม่ปล่อยให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง โดยทางการอาจจะเข้ามากำกับดูแลการปรับขึ้นราคาสินค้า ตัวอย่างเช่น การขอความร่วมมือให้ ขสมก. เลื่อนการขึ้นค่ารถเมล์ไปก่อน หรืออนุญาตให้ค่ารถเมล์ปรับขึ้นราคาได้บ้างนิดหน่อย เป็นต้น หรือในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย อาจใช้นโยบายการเงินเพื่อดูแลปัญหาเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนน้อยที่สุด


เงินเฟ้อวัดอย่างไร?
อัตราเงินเฟ้อในประเทศไทยวัดโดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งได้ประกาศอัตราเงินเฟ้อเป็นประจำทุกเดือน โดยวิธีวัดอัตราเงินเฟ้อทำได้โดยการวัดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาของสินค้าและบริการกลุ่มหนึ่ง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งระดับราคาของสินค้าและบริการ ใช้ชื่อว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index-CPI) ตัวอย่างการคำนวณอัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 โดยเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีก่อน ซึ่งคือเดือนกุมภาพันธ์ 2549 เพื่อที่จะบอกว่าราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปแพงขึ้นหรือถูกลงเมื่อเปรียบเทียบกัน โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ที่ประกาศโดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า อยู่ที่ 114.5 ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ปี 2549 อยู่ที่ 111.9



ดังนั้น
อัตราเงินเฟ้อของเดือนกุมภาพันธ์ 2550
ซึ่งอันนี้จะมีความหมายว่า ระดับราคาสินค้าและบริการโดยรวมมีราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน 2.3% หรือหากเรามีเงินจำนวนเท่าเดิมกับปีที่แล้ว ค่าของเงินที่เราถืออยู่จะด้อยค่าไป 2.3% ซึ่งทำให้ซื้อของได้น้อยลง


ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์


ถ้าเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก ๆ จะเกิดอะไรขึ้น?
โดยปกติแล้ว หากเงินเฟ้อสูงขึ้นนิด ๆ หน่อย ๆ (ปกติตามหลักวิชาการคือเงินเฟ้อที่สูงไม่เกิน 5% จะเรียกเงินเฟ้ออย่างอ่อน (Mild inflation)) จะเป็นสิ่งที่ดีที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้ เพราะจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิตมีการลงทุนขยายการผลิต และมีการจ้างงาน ซึ่งทำให้เศรษฐกิจประเทศขยายตัวได้ดี ไม่มีผลเสียต่อเศรษฐกิจ แต่หากเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก ๆ และสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนยากที่จะคาดเดาได้ว่าเงินเฟ้อจะเป็นเท่าไร (Hyper inflation) จะมีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะจะทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถวางแผนการผลิตและลงทุนได้ เพราะไม่รู้ว่าวัตถุดิบที่จะซื้อเข้ามาราคาจะเป็นเท่าไร จะตั้งราคาสินค้าเท่าไร เพื่อให้ยังมีกำไร ขณะที่ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคเองก็ไม่แน่ใจว่าราคาสินค้าจะแพงขึ้นอีกหรือไม่ เงินจำนวนเท่าเดิมที่มีอยู่ในกระเป๋าก็ด้อยค่าลงไป เพราะข้าวของแพงขึ้น ทำให้ซื้อของได้น้อยลง ธุรกิจก็ขายของได้น้อยลง ซึ่งที่สุดแล้วจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศแย่ลงได้
โดยสรุปคือ ภาวะเงินเฟ้อใช้เพื่อวัดค่าครองชีพของประชาชน ภาวะเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นต่อเมื่อราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นต่อเนื่อง หากสูงขึ้นแล้วปรับลดลง จะไม่นับว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเงินเฟ้อในระดับอ่อนๆ จะไม่สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ แต่หากเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงๆ จะทำให้ค่าของเงินที่เรามีอยู่ด้อยค่าลงไป ทำให้ซื้อของได้น้อยลง ธุรกิจไม่สามารถผลิตหรือลงทุนได้เพราะมีความไม่แน่นอนเรื่องราคาอยู่สูง ซึ่งจะมีผลกระทบทางลบต่อระบบเศรษฐกิจในที่สุด

เครดิต : http://www.vcharkarn.com/varticle/34764

พูดยืดยาว อย่างข้างบน คนอ่านบางคนคงขี้เกียจอ่านแย่เลยนะครับ - -

ทำไมนายไม่อ่านให้เสร็จก่อนแล้วค่อยมาสรุป+เรียบเรียงให้เขาฟังล่ะครับ มันจะดูกระชับกว่าเอาบทความมาให้เขาอ่านแบบนี้นะครับ

____________

ผมขออธิบายง่ายๆตามนิยามความเข้าใจของผมนะครับ

เงินเฟ้อ ก็คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ค่าเงินต่ำลง คนมีเงินเยอะขึ้น แล้วก็ค่าครองชีพสูงขึ้น (= คนมีเงินมากขึ้น แต่ซื้อของได้ในปริมาณเท่าเดิม)

ส่งผลกระทบที่ดีต่อ พ่อค้าแม่ค้าแล้วก็พวกนักธุรกิจ เพราะขายของได้ราคาแพงขึ้น

ส่วนผลเสียจะตกอยู่ที่พวกมีรายได้ประจำ เพราะไอ้คนพวกนี้มันจะชอบฝากเงินในธนาคาร แล้วรอกินดอกเบี้ย พอเงินเฟ้อ ค่าเงินก็ลดลง ซื้อของได้น้อยลง

จบ.. สั้นๆ ได้ใจความ ไม่ยืดเยื้อ



แล้วก็เงินฝืด ผมจะลงไว้ เผื่อมีคนถามอีก จะได้มาอ่านให้จบในนี้เลย :D

เงินฝืดก็คือ ภาวะเศรษฐกิจ ที่เงินมีค่ามากขึ้น คนมีเงินน้อยลง แล้วก็ค่าครองชีพลดลง (= ของราคาถูกลง แต่คนไม่มีปัญญาซื้อ)

ผลกระทบที่ดีสำหรับคนที่มีรายได้ประจำอะไรพวกนี้ มันจะเฮเลย เพราะของถูกลง ไอ้พวกนี้มีมันเป็นคนที่ชอบเอาเงินไปฝากธนาคารกินดอกเบี้ย(ตามที่บอกไปด้านบน) มันก็เอาเงินไปซื้อของโดยไม่เดือดร้อนไร

ส่วนผลเสียจะไปตกที่พวก ผู้ผลิต คนซื้อของได้น้อยลง = ขาดทุน , พวกลูกจ้าง และพวกแรงงานมันจะตกงาน เพราะเศรษฐกิจซบเซาตกต่ำ (สังเกตดู มันจะเสียหายเป็นทอดๆ)

เท่านี้แหละ จบครับ ผมขอพูดไปตามนี้นะ เพราะผมเข้าใจอย่างนี้

folk20310
28th August 2011, 11:44
สรุป คือ ผมจะบอกให้ ไม่ต้องไปสนใจหรอก ภาวะเงินเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดกันเองให้มันเป็นสิ่งกำหนดค่าของสิ่งนั้นๆมากกว่า ลองคิดกันดูถ้าเราคิดว่าหินธรรมดามีค่ามันก็มีค่าได้ เห็นไหมมันอยู่ที่คนเราจะให้ความสำคัญมากกว่า

แต่ว่าถ้าถามว่าแล้วจะเอาไหมเงิน ผมก็ตอบว่า เอา -*- (ไปไหนวะเรา อิอิ ) ขำๆครับล้อเล่นๆ

menoskun
28th August 2011, 12:39
บางคนอาจคิดว่า เงินเฟ้อคงไม่มีผลกระทบอะไร เพราะของเเพงขึ้นเราก็ได้เงินมากขึ้น นั้นมันก็จริง เเต่ถ้ามองในอีกมุงของที่เรา สามารถผลิตเองได้โดยไม่นำเข้า มันก็ไม่มีปัญหาอะไร เเต่ถ้า ของที่เราจะนำเข้าล่ะ ถ้าเงินเฟ้อ 100% สินค้านำเข้า(ยกตัวอย่างรถยนต์) ก็เเพงขึ้นอีก 1 เท่า ถ้าเฟ้อเท่า ซิมบับเวคือ 11000000% รถก็จะเเพงขึ้น อีก 11000000 เท่า ป้าด !! จากรถคันละ 300000 จะกลายเป็น 330000000000000 บาท เเม่เจ้า ดังนั้น เงินประเทศเราก็เท่ากับไม่มีค่าในสายตาชาวโลกเลย สินค้านำเข้าไม่ต้องพูดถึง ไม่มีปัญญานำเข้าเเน่นอน ไม่ว่าจะน้ำมัน พลังงาน อาหาร เสื้อผ้า ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ จะเกิดอะไรขึ้นก็ ลองนึกเล่นๆดูละกันเนาะ -*-