PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : ภัยเงียบจากกล่องโฟม... กินสบายแต่ตายไว..



speaknase
7th February 2013, 16:22
http://www.clipmass.com/upload/news/58/57785_full.jpg

หลายคนคงเคยชินกับการรับประทานอาหารแบบใส่กล่องโฟมกันใช่ไหมล่ะ เพราะสะดวก รวดเร็ว กินที่ไหนก็ได้ ประหยัดเวลาทำอาหาร และที่สำคัญทานเสร็จก็ไม่ต้องล้างอีกด้วย แต่เพื่อน ๆ เชื่อหรือไม่คะว่า ท่ามกลางความสะดวกสบาย กล่องโฟมก็แฝงไปด้วยภัยร้ายที่อาจคร่าชีวิตคุณได้ในที่สุด


โดย นพ.วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ บริษัทบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ได้ให้ความรู้ว่า กล่องโฟมที่ใช้ตามท้องตลาดทั่วไป (Styrofoam) เป็นของเสียเหลือทิ้งสีดำ ๆ จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ประกอบด้วยสารสไตรีน (Styrene) มีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิง

อาหารตามสั่งที่บรรจุกล่องโฟม จึงเป็นแหล่งสะสมสารสไตรีน ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง สมองเสื่อมง่ายหงุดหงิดง่าย มีผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ และเป็นสารก่อมะเร็งอีก 3 ชนิด ถ้าเป็นผู้ชายรับประทานเข้าไปมาก ๆ มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ขณะที่ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม และทั้งสองเพศมีโอกาสสูงต่อการเป็นมะเร็งตับ แม้จะไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำก็ตาม

สำหรับสไตรีน ถือเป็นสารอันตรายที่สหรัฐฯ เพิ่งประกาศขึ้นบัญชีสารก่อมะเร็ง หญิงมีครรภ์ที่รับประทานอาหารบรรจุในกล่องโฟม ลูกมีโอกาสสมองเสื่อมเป็นเอ๋อ อวัยวะบางส่วนพิการ ส่วนคนทั่วไปถ้ารับประทานอาหารกล่องโฟมทุกวัน วันละอย่างน้อย 1 มื้อ ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงกว่าคนปกติถึง 6 เท่า

http://www.lifegoodfood.com/wp-content/uploads/2012/05/2005_04070037_resize.jpg

ทั้งนี้ ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับสารสไตรีนในกล่องโฟมได้ง่ายถึง 5 ปัจจัยได้แก่

1. อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นหรือเย็นลง ทำให้สไตรีนซึมเข้าสู่อาหารได้สูง

2. ถ้าปรุงอาหารโดยใส่น้ำมัน น้ำส้มสายชูแอลกอฮอล์ จะดูดสารสไตรีนจากกล่องโฟมได้มากกว่าปกติ

3. ถ้าซื้ออาหารใส่กล่องทิ้งไว้นาน ๆ ไม่ได้รับประทาน อาหารจะดูดสารสไตรีนได้มาก

4. ถ้านำอาหารที่บรรจุโฟมเข้าไมโครเวฟ สไตรีนจะไหลออกมาในปริมาณมาก

5. ถ้าอาหารสัมผัสพื้นที่ผิวกล่องโฟมมาก ๆ รวมถึงร้านไหนตัดถุงพลาสติกใสรองอาหาร ขอบอกว่าได้รับสารก่อมะเร็ง 2 เด้ง ทั้งสไตรีนและไดออกซินจากถุงพลาสติกเลยทีเดียว

นพ.วีรฉัตร กล่าวเตือนด้วยว่า อาหารตามสั่งหรือข้าวราดแกงกับไข่ดาวหรือไข่เจียวร้อน ๆ อาจจะไปละลายผนังกล่องโฟม เสมือนรับประทานอาหารคลุกสไตรีนไปด้วย ถึงกระนั้นไข่ดิบที่วางขายในแผงไข่พลาสติก สารสไตรีนมีโอกาสวิ่งเข้าในเปลือกไข่ได้เช่นกัน ถ้าเลือกไข่ดิบควรเลือกซื้อจากแผงไข่กระดาษจะปลอดภัยที่สุด

Credit: Clipmass

Markrura
7th February 2013, 17:11
ขอแย้งครับ!!!
ข้อมูลอันนี้ ที่มาจริงๆมันมาจาก Forward mail ความน่าเชื่อถือไม่มีเลยครับ

ส่วนอันนี้เป็นข้อมูลที่ อมยิ้มชื่อ Lazy reurn แย้งไว้ในห้องหว้ากอ


กระบวนการผลิตพอลิสไตรีน จาก สไตรีน นั้น ก็คือการพอลิเมอร์ไรซ์ตัว styrene ให้กลายเป็นพอลิเมอร์นั้นแลครับ ส่วนพอจะเอาไปทำโฟม ก็จะนำเม็ด PS ไปผสมกับ blowing agent หรือสารที่โดนความร้อนแล้วจะปล่อยพวกก๊าซออกมา ทำให้เกิดเป็นวัสดุที่มีรูพรุนหน่ะครับ(กล่องโฟมน้ำหนักเบาเพราะเป็นวัสดุที่มีลักษณะคล้ายฟองอากาศโดนอัดกันไว้ครับ)

ปี 2011 สหรัฐอเมริกาขึ้นทะเบียนว่าสไตรีนเป็นสารที่มีแนวโน้มก่อมะเร็งจริงๆ และการสลายตัวของ PS ก็สามารถก่อให้เกิดสารอันตรายที่ก่อมะเร็งได้หลายตัว ทั้ง styrene, benzene, toluene เป็นต้น แต่ผมว่าบทความนี้มีการบิดเบือนหลายประการทีเดียว

1. อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นหรือเย็นลง ทำให้สไตรีนซึมเข้าสู่อาหารได้สูง
- อันนี้ไม่เป็นความจริง การเย็นลงไม่ได้มีส่วนทำให้สไตรีนมอนอเมอร์สลายตัวออกมาแต่อย่างใด และการสลายตัวของ PS ให้ได้สไตรีนนั้น
- PS foam นั้นมีจุดหลอมเหลวไม่สูงมากนักก็จริง แต่จุด degradation temp ของมันค่อนข้างสูงครับ มีงานวิจัยเสนอที่ทดสอบด้วย TGA-FITR หรือ pyrolysis-GC ระบุว่า ไม่มีการสลายตัวของ PS ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 220 C ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่อาหารอย่าง ข้าว หรือแกงที่ราด จะมีอุณหภูมิถึงระดับนั้นได้

2. ถ้าปรุงอาหารโดยใส่น้ำมัน น้ำส้มสายชูแอลกอฮอล์ จะดูดสารสไตรีนจากกล่องโฟมได้มากกว่าปกติ
- PS ถูกละลายโดยน้ำมันได้ง่ายครับ แต่ด้วยอุณหภูมิต่ำ น้ำมันไม่สามารถทำลายพันธของ PS ทำให้เกิดการสลายตัวได้
- น้ำส้มสายชูและแอลกอฮอล์ ก็ไม่สามารถทำปฏิกิริยา hyrolysis สายโซ่ PS ได้เช่นกัน อันนี้มั่ว

3. ถ้าซื้ออาหารใส่กล่องทิ้งไว้นานๆไม่ได้รับประทาน อาหารจะดูดสารสไตรีนได้มาก
- PS มีความคงตัวสูงที่อุณหภูมิห้องและแสงแดดครับ ยกเว้นคุณเอาไปใส่อาหาร แล้วเอาไปฉายรังสี UV ที่ irradiance สูงๆ จะทำให้เกิดการสลายตัวของ PS ปลดปล่อยพวก สไตรีนออกมาได้เช่นกัน แต่ในชีวิตประจำวัน ไม่มีใครในโลกเอาของกินใส่กล่องไปอาบแสง UV ในเตาอบ UV watt สูงๆ ก่อนรับประทาน

4. ถ้านำอาหารที่บรรจุโฟมเข้าไมโครเวฟ สไตรีนจะไหลออกมาในปริมาณมาก และ
- คลื่นไมโครเวฟ ไม่มีพลังงานเพียงพอจะทำลายพันธะโคเวเลนต์ระหว่าง C-C ได้ครับผม แต่ก็ไม่ควรเอามันเข้า microwave อยู่ดี เพราะมันทนความร้อนไม่ได้สูงนัก จุดหลอมเหลวของมันไม่มากครับ

5. ถ้าอาหารสัมผัสพื้นที่ผิวกล่องโฟมมากๆ รวมถึงร้านไหนตัดถุงพลาสติกใสรองอาหาร ขอบอกว่าได้รับสารก่อมะเร็ง 2 เด้ง ทั้งสไตรีนและไดออกซินจากถุงพลาสติกเลยทีเดียว
- อันนี้เข้าทำนองเลอะเทอะ LDPE film(ถุงพลาสติก) จะเอา dioxin มาจากไหน ????

สรุป โฟม เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมเพราะกระบวนการผลิต กับ การย่อยสลายได้ยากครับ

ปล. ในหว่าอกยังมีการกล่าว ถึงนพ.วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ ว่าเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ และกรรมการบริหารของบริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
จึงอาจมีเจตนาที่จะปล่อยข่าวเท็จเกี่ยวกับกล่องโฟม เพื่อทำให้ผู้บริโภคเกิดการเข้าใจผิดแล้วต่อต้านกล่องโฟมหนักขึ้น เพื่อจะได้ขายผลิตภัณของตัวเองครับ

Magma Blast
7th February 2013, 18:23
สรุปจริงรึเปล่าครับเนี้ย (เกือบวิ่งไปเทข้าวออกจากกล่องแล้ว :heat )

ballba
7th February 2013, 18:36
ผมกินทุกวัน

ยังไม่ตาย สบายดีครับ 55

ไม่รู้ดิผมก็กินปกติ พ่อผมก็ชอบกินข้าวกล่อง

ballpoi007
7th February 2013, 18:44
ผมว่าไม่เกี่ยวนะครับไม่งั้นองค์การ อนามัยคงออกมาแล้วละครับ

doggyshock
7th February 2013, 20:01
ดีนะผมไม่กินข้าวในกล่องโฟม ผมกินแต่ตัวโฟม :pleasantry

Little Jacob
7th February 2013, 20:18
จริงไม่จริงไม่รู้ แต่ต่อไประวังไว้ก่อนดีกว่า แล้วผมก็กินแบบนี้เกือบทุกวันด้วยสิ:dntknw