PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : Google Doodle : โรซาลินด์ เอลซี แฟรงคลิน ผู้ค้นพบ DNA (25 กรกฎาคม)



titan888
25th July 2013, 19:14
http://upic.me/i/ht/31_20130725120239..jpg (http://upic.me/show/46130687)


โรซาลินด์ เอลซี แฟรงคลิน เป็นนักเคมีและผลึกวิทยาชาวอังกฤษผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นพบดีเอ็นเอ ตลอดจนศึกษาโครงสร้างของ อาร์เอ็นเอ และไวรัส แม้ในตอนแรกเธอจะทำงานวิจัยด้านถ่านหินและการศึกษาด้วยรังสีเอกซ์
โรซาลินด์ เอลซี แฟรงคลิน (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 — 16 เมษายน พ.ศ. 2501) เป็นนักเคมีและผลึกวิทยาชาวอังกฤษผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นพบดีเอ็นเอ ตลอดจนศึกษาโครงสร้างของ อาร์เอ็นเอ และไวรัส แม้ในตอนแรกเธอจะทำงานวิจัยด้านถ่านหินและการศึกษาด้วยรังสีเอกซ์ แต่เทคนิคที่เธอใช้ก็ได้นำมาศึกษาโครงสร้างของสารชีวโมเลกุลจนทำให้เพื่อนร่วมงานของเธอได้รับรางวัลโนเบล อย่างไรก็ตาม ด้วยการทำงานในสถานที่ที่มีรังสีเอกซ์อยู่มาก ทำให้เธอต้องถึงแก่กรรมก่อนวัยอันควร

โรซาลินด์ แฟรงคลิน เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 ในตระกูลนายธนาคารเชื้อสายยิว ที่ตำบลนอตติงฮิล (Notting Hill) ของกรุงลอนดอน เข้าเรียนที่โรงเรียนสตรีเซนต์พอลในวัยเด็ก และเมื่ออายุ 18 ปีก็เข้าศึกษาที่วิทยาลัยนิวน์แฮม อันเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตร์สาขาวิชาเคมี และได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับสอง หลังจากนั้นโรซาลินด์จึงเข้ารับราชการเป็นเจ้าพนักงานผู้ช่วยวิจัยที่สถาบันวิจัยอรรถประโยชน์ถ่านหินแห่งสหราชอาณาจักร (British Coal Utilization Research Association; BCURA) ศึกษาสมบัติความพรุนของถ่านหินจนมีแรงบันดาลใจทำดุษฎีนิพนธ์หัวข้อ สมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของสารคอลลอยด์อินทรีย์เทียบกับถ่านหิน โดยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็ได้ให้ปริญญาเอกแก่เธอเมื่อ พ.ศ. 2488


ในช่วงฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2496 โรซาลินด์ได้เดินทางไปราชการที่สหรัฐอเมริกา แต่แล้วเรื่องไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อเธอพบเนื้องอกที่ช่องท้อง จนทำให้ไม่สามารถสวมกระโปรงได้อย่างปกติ ไม่นานนักเธอเข้ารับการผ่าตัดในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน ผลปรากฏพบเนื้องอกสองก้อนในช่องท้อง นับแต่นั้นมา โรซาลินด์ต้องเข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาสลับกับการพักฟื้น กำลังใจของเธอในขณะนั้นมาจากเพื่อนร่วมงานและญาติ ๆ ในจำนวนนั้นก็มีแอนน์ ซายร์ (Anne Sayre) ฟรานซิส คริก และภรรยา โอดิล คริก (Odile Crick) นอกจากนี้ โรแลนด์ แฟรงคลิน (Roland Franklin) และนินา แฟรงคลิน (Nina Franklin) ผู้เป็นหลานน้า ก็ยังให้กำลังใจในช่วงเวลาที่แย่ที่สุดในชีวิตด้วย

แม้โรซาลินด์ (Rosalind Franklin) จะต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคร้าย และอาการของเธอก็ทรง ๆ ทรุด ๆ แต่ก็หาให้เธอได้ละความเพียรในงานวิจัยไม่ ระหว่างนั้นเอง โรซาลินด์และเพื่อนร่วมงานได้มุ่งมั่นทำงานวิจัยและผลิตบทความทาวิชาการ โดยในปี พ.ศ. 2499 กลุ่มวิจัยของเธอตีพิมพ์บทความ 7 ฉบับ และในปี พ.ศ. 2500 ก็ตีพิมพ์บทความได้ 6 บทความ ปีเดียวกันนั้นเอง กลุ่มวิจัยยังได้ศึกษาไวรัสโปลิโอ โดยได้รับทุนวิจัยจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา

ไม่นานนัก โรซาลินด์ (Rosalind Franklin) ล้มป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาลในกรุงลอนดอน อาการก็กลับคลายลงจนช่วงต้นปี พ.ศ. 2501 เธอก็ได้กลับไปทำงานในฐานะนักวิจัยสมทบสาขาชีวฟิสิกส์เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ครั้นถึงวันที่ 30 มีนาคม ปีเดียวกันนั้นเอง เธอก็ล้มป่วยซ้ำอีก ในที่สุดนักเคมีผู้พากเพียรแต่โชคร้ายผู้นี้ก็ถึงแก่กรรมลงเมื่อวันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2501 ด้วยโรคปอดบวมและมะเร็งรังไข่ระยะที่สอง รวมอายุได้ 37 ปี
เดือนมกราคม พ.ศ. 2494 โรซาลินด์เข้าเป็นผู้ช่วยวิจัยที่หน่วยวิจัยชีวฟิสิกส์ ณ ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยลอนดอน ภายใต้การนำของจอห์น แรนดอล และเริ่มทำงานเป็นนักวิจัยรังสีเอกซ์ที่ราชวิทยาลัยและนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาความแตกต่างกันของสายใยดีเอ็นเอจนกระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ. 2496 โรซาลินด์ก็ได้ข้อสรุปแน่นอนว่าดีเอ็นเอมีโครงสร้างเป็นเกลียว



ผลงานที่รู้จักกันดีของโรซาลินด์ แฟรงคลิน คือ โฟโต 51 หรือภาพถ่ายจากการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ของดีเอ็นเอ

http://upic.me/i/gv/photo_51_x-ray_diffraction_image.jpg (http://upic.me/show/46130644)

ซึ่งต่อมานำไปสู่การค้นพบโครงสร้างเกลียวคู่ของดีเอ็นเอ เจมส์ วัตสัน และฟรานซิส คริก แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้นำข้อมูลของเธอไปใช้ในการตั้งสมมติฐานว่าด้วยโครงสร้างของดีเอ็นเอ โฟโต 51 ได้ให้รายละเอียดยืนยันว่าดีเอ็นเอมีโครงสร้างเป็นรูปเกลียวอย่างชัดเจน แต่จากการที่โรซาลินด์มิได้รับรู้ว่าคณะวิจัยของเจมส์ วัตสัน ได้นำรูปของเธอไปใช้สร้างแบบจำลองโดยไม่บอกกล่าวขออนุญาตเลย จึงทำให้บทบาทของเธอในการค้นพบดีเอ็นเอถูกมองข้ามไปโดยสิ้นเปล่า

จากการทำงานหนักและต้องอยู่ในที่ที่มีรังสีเอ็กซ์อยู่มากทำให้ โรซาลินด์ แฟรงคลิน ถึงแก่กรรมในวันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2501 ขณะที่มีอายุเพียง 37 ปี ด้วยโรคปอดบวมและมะเร็งรังไข่ระยะที่สอง


เกียรติยศของ Rosalind Franklin หลังจากที่ถึงแก่กรรม

พ.ศ. 2525 องค์กรนักเคมีสตรี (ไอโอตาซิกมาพาย) ของสหรัฐอเมริกา ยกย่องให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
พ.ศ. 2535 คณะกรรมการมรดกแห่งชาติอังกฤษ ประกาศให้บ้านที่โรซาลินด์ แฟรงคลินอาศัยในวัยเยาว์ เป็นมรดกแห่งชาติ
พ.ศ. 2536 ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยลอนดอน เปลี่ยนชื่อหอพักออร์ชาร์ด (Orchard Residence) เป็นหอโรซาลินด์ แฟรงคลิน
พ.ศ. 2537 ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยลอนดอน ตั้งชื่อหอพักที่วิทยาเขตแฮมสเตดเป็นชื่อแฟรงคลิน เพื่อเป็นเกียรติยศ
พ.ศ. 2538 วิทยาลัยนิวน์แฮม มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สร้างหอพักแฟรงคลินขึ้น แล้วตั้งอนุสาวรีย์ของเธอไว้ในสวนด้วย
พ.ศ. 2540 วิทยาลัยเบิร์กเบค (วิทยาลัยภาคพิเศษ) มหาวิทยาลัยลอนดอน เปิดห้องปฏิบัติการโรซาลินด์ แฟรงคลิน
พ.ศ. 2540 ดาวเคราะห์น้อย 9241 รอสแฟรงคลิน ถูกค้นพบและตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติยศ
พ.ศ. 2541 หอภาพบุคคลกรุงลอนดอน แขวนภาพของโรซาลินด์ แฟรงคลิน ไว้ข้าง ๆ รูปของเพื่อนร่วมงานของเธอ
พ.ศ. 2543 ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยลอนดอน เปิดอาคารแฟรงคลิน-วิลคินส์ เพื่อเป็นเกียรติแก่โรซาลินด์และมอริสในฐานะที่เคยทำงานที่วิทยาลัยแห่งนี้
พ.ศ. 2541 สถาบันมะเร็งแห่งชาติอเมริกา สถาปนารางวัลโรซาลินด์ อี. แฟรงคลิน เพื่อสตรีในวงการวิทยาศาสตร์

แหล่งข้อมูล http://variety.thaiza.com/
http://www.kidmak.com/day/rosalind-franklin-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%8B%E0%B8%B5-%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%9A-dna/