PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : ปัญหาครอบครัว ช่วยด้วยครับ



darkperson50
13th February 2014, 18:59
คือผมเป็นพวกไม่นับถือศาสนาอ่ะครับ ประมาณเอทิส แล้วพ่อแม่+ญาติผมนับถือพุทธหมดเลย
ทีนี้เขาก็ไม่ยอมรับในสิ่งที่ผมเป็น ผมพยายามอธิบายไปแล้ว ท่านก็ไม่เข้าใจ และคัดค้านตลอด
เมื่อปีที่แล้วพี่คนนึงในญาติหันไปนับถือศาสนาคริสต์ก็โดนด่าเละเลยครับ ว่านอกรีต ไม่นับถือเหมือนพุทธตามพวกเขา
ผมจะพูดกับพ่อแม่ให้ยอมรับยังไงดีครับ ช่วยด้วยครับ T_T

O'z NEWBIE IN THE H.H.
13th February 2014, 19:25
ความจริงคำถามนี้นายไม่น่าจะมาถามนะครับ สุดท้ายมันก็อยู่ที่ตัวนายแหละครับ ไม่มีใครบังคับความคิดของใครได้หรอกครับ ความศรัทธา 9ล9 ก็เช่นกัน ถ้าเค้าบอกให้นายนับถือพุทธสุดท้ายนายจะนับถือไหมละ ถ้าเค้าบังคับให้ไหว้แต่ใจนายไม่ศรัทธาไม่เข้าถึงมันจะได้อะไร ผมก็เจอครับแบบนี้ สุดท้ายผมก็ยึดมั่นในอุดมคติของตัวเอง แต่ผมยังโชคดีที่เจอพ่อแม่ที่ยังรับฟังผมบ้าง ผมเคยล้อเล่นกับแม่ขำๆนะครับ ตอนยายเข้าโรงบาล แล้วหลังจากออกจากโรงบาล ยายเค้าให้ลูกประคำ****า ยายบอกให้นับลูกประคำแล้วท่องมนต์ไปด้วย ผมก็เลยบอกแม่ไปว่า ทำไมตอนยายเข้าโรงบาลไม่ให้ยายเค้าท่องมนต์ไปละเผื่อหาย :o (ขอโทษที่ร่ายยาวครับ) ไปละนานๆโพสที ฟิ้วววว !

samasamon
14th February 2014, 07:22
ถ้าเขาไม่ยอมรับเรา เราก็ทำตัวเป็นพุทธ ใจอศาสนาไป ก็จบ

kingcesar
14th February 2014, 08:16
คือเรื่องพวกนี้มันแล้วแต่คนครับ เรื่องศาสนามันเป็นประเด็นอ่อนไหว เสี่ยงต่อการแตกหัก ถ้าไม่มั่นใจว่าคู่สนทนาจะยอมรับความคิดเห็นของเรา
ก็อย่าหยิบยกขึ้นมาพูดกับคู่สนทนาเลยครับ คุณไม่มีศาสนา ก็ไม่มีไป ไม่ต้องไปบอก ไปรายงานคนในครอบครัวหรอกว่า เฮ้ย ผมไม่มีศาสนานะ
เดี๋ยวเรื่องมันจะยาว อย่างว่าแหละ

อีกอย่างนะครับ Atheist ไม่ได้แปลว่า คนไร้ศาสนา แต่เป็นคำที่นิยามถึง คนที่ไม่ได้เชื่อมั่นในการมีอยู่ของพระเจ้า
ในทางปฏิบัติและในเชิงหลักการ ศาสนาพุทธก็เป็นอีกหนึ่งศาสนาที่มีแนวทางเป็น Atheist คือ เป็นศาสนาที่ไม่มี God มีแต่ Prophet

หากคุณจะบอกว่าไม่ได้นับถือศาสนา แล้วจะบอกว่าเป็น Atheist นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะ Atheist มันก็เป็นอีกลัทธินึงที่ตั้งขึ้นมา
ที่จริง ควรจะบอกว่าเป็น Non-Religious มากกว่าครับ รบกวนทำความเข้าใจใหม่ด้วยครับ



ถ้ายังไหว้ผี,บูชาเทพเจ้าต่างๆ และหน้าบ้านยังมีศาลพระภูมิ มันก็ไม่ใช่ศาสนาพุทธแล้วหล่ะครับ เพราะศาสนาพุทธไม่ได้สอนเรื่องพวกนี้เน้นหลุดพ้นเป็นหลัก

คือมันมีกลไกอะไรอย่างหนึ่งที่เรียกว่า Syncretism หรือการผสานความเชื่อทางศาสนาน่ะครับ
ศาสนาจำเป็นต้องถูกปรุงแต่งเพื่อที่จะสามารถปรับตัวเข้ากับพื้นที่ที่เข้าไปขยายอาณาเขตได้
สมัยก่อนแถบภูมมิภาคอุษาคเนย์นี้เป็นภูมิภาคที่มีการนับถือผี นับถือสิ่งเหนือธรรมชาติ (Surreal)
กรรมวิธีและกระบวนการการเผยแผ่ศาสนาจึงจำเป็นต้องผนวกรวมความเชื่อท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความสะดวก
ในการเผยแผ่ศาสนาครับ ทำให้มีหลายๆครั้งที่ศาสนาพุทธในไทยและหลายๆที่ในภูมิภาคอุษาคเนย์
เข้าไปพัวพันกับประเด็นเกี่ยวกับเรื่องผีๆ หรือสิ่งเหนือธรรมชาติครับ

ผมคิดว่า ศาสนาสมัยนี้เนี่ยมีหลายศาสนาที่ถูกปรุงแต่งเนื้อหา เนื้อความ หรือแก่นแท้ไปจากอดีตเยอะเลยล่ะครับ
เพราะเหตุผลที่ว่าต้องการปรับตัวให้เข้ากับสมัยใหม่ ปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ หรือภูมิอาณาบริเวณที่แผ่เข้าไป


-;2425898']ท่านไม่ต้องนับถือศาสนาพุทธก็ได้ เพราะศาสนาพุทธไม่ได้สอนให้นับถือครับ แต่เขาสอนสิ่งที่ธรรมชาติมันมีอยู่ คุณจะนับถือหรือไม่นับถือมันก็ยังมีอยู่อย่างนั้น
เช่น

ธรรมนิยาม

นิยาม หรือนิยามะ (บาลี)กำหนดอันแน่นอน, ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ, กฎธรรมชาติ นิยาม 5 ประการนี้ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและในอนันตจักรวาล ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปตามกฎทั้ง 5 ประการนี้ทั้งสิ้น

1.ธรรมนิยาม (General Laws) อันได้แก่กฎไตรลักษณ์ทั้ง3 คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (ดูที่ ธรรมนิยามสุตตัง)คือ ธาตุทั้งปวงเป็นมีสถานะเป็นกระแส สั่นสะเทือน(คลื่น) ผันผวน ไม่แน่นอน สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ้งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา สัตว์ทั้งปวงย่อมต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น เป็นกฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับสิ่งทั้งหลาย เป็นกฎสากลที่ครอบคลุมความเป็นไปทั้งฝ่ายจิตและฝ่ายวัตถุ กฎข้อนี้มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางที่สุดของทุกนิยาม กฎนิยามทั้งปวงอยู่ภายใต้กฎข้อนี้ เป็นกฎธรรมนิยามนี้ก็ทำให้เกิดนิยามข้ออื่น และนิยามข้ออื่นๆที่สัมพันธ์กันก็ทำให้เกิดกฎธรรมนิยามอันนี้ เช่นกัน (เช่น การจุดไม้ขีดไฟ - อุตุนิยาม >ทำให้เกิดการเผาไหม้เปลี่ยนแปลงสูญสลายไป - ธรรมนิยาม)

2.อุตุนิยาม(Physical Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของปรากฏการณ์ ในธรรมชาติ เกี่ยวกับวัตถุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด หลักของอุตุนิยาม ตามแนวพระพุทธศาสนามุ่งให้ผู้ที่เข้าใจเกี่ยวกับกฎธรรมชาติที่ว่าด้วยวัตถุ อุตุนิยาม คือลักษณะสภาวะต่างๆของธาตุทั้ง5 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ ซึ่งก็คือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆเมื่อมีเหตุปัจจัยเพียงพอก็จะเป็นไปโดยไม่มีใครเป็นผู้กำหนดหรือห้ามได้ เช่น การที่จะเกิดฝนตก ก็มีเหตุปัจจัยเพียงพอให้เกิดฝนตก เช่น การระเหยของน้ำบนดิน การรวมตัวของก้อนเมฆ การเกิดลมพัด การกระทบกับความเย็น ก่อให้เกิดฝนตก เป็นต้น ตลอดจนปรากฏการณ์ทางวัตถุอื่นๆ เช่น การเคลื่อนที่ของจักรวาล แรงดึงดูด แผ่นดินไหว ฟ้าผ่า เป็นต้น ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้ พระพุทธศาสนาถือว่าเกิดขึ้นเพราะวัตถุธาตุต่างๆคือดินน้ำลมไฟอากาศปรับเปลี่ยนสภาวการณ์ของตัวเอง เพราะอิทธิพลจากการปรับสถานะธาตุตามอุณหภูมิคือความร้อนและเย็น ดังนั้นกฎข้อนี้จึงชื่อว่า อุตุนิยาม (อุตุในพระไตรปิฎกแปลว่าพลังงาน,ฤดู,ความร้อนเย็น)
ขอเพิ่มเติม ดิน น้ำ ลม ไฟ ใน ที่นี้ก็คือพวก ของแข็ง ของเหลว แก๊ส พลังงาน แต่คนมัยก่อนเรียกดินน้ำลมไฟ

3.พีชนิยาม (Biological Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปในพันธุกรรม กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ เชื้อโรค กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์โดยเฉพาะ กฎข้อนี้จึงหมายรวมในเรื่องของร่างกายและกระบวนการทำงานของสิ่งมีชีวิตต่างๆที่เกิดจากการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมด้วย สิ่งที่เรียกว่ากฎพีชนิยามนี้ทำให้เมื่อเรานำเมล็ดข้าวเปลือกไปเพาะ ต้นที่งอกออกมาจะต้องเป็นต้นข้าวเสมอ หรือช้างเมื่อออกลูกมาแล้วย่อมเป็นลูกช้างเสมอ (หว่านพืชเช่นไรย่อมได้ผลเช่นนั้น) ความเป็นระเบียบนี้พระพุทธศาสนาค้นพบว่าเป็นผล มาจากการควบคุมของมัชเฌนธรรม คือ 1.กฎสมตา(การปรับสมดุล) 2.กฎวัฏฏะ(การหมุนวนเวียน) และ 3.กฎปัจจยาการ(การมีหน้าที่ต่อกัน)นั่นเอง พีชนิยามเป็นกฎธรรมชาติในฝ่ายที่เป็นระเบียบตรงกันข้ามกับธรรมนิยามซึ่งเป็นกฎธรรมชาติในฝ่ายที่ไม่มีระเบียบ

4.จิตนิยาม (Psychic Laws) คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของจิต พระพุทธศาสนา ค้นพบว่า คนเราประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ร่างกายและจิตใจ จิตนิยามคือกฎธรรมชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการทำงานของจิตเท่านั้น กระบวนการของความคิด พระพุทธศาสนาเชื่อว่าสัตว์โลก ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของชีวิต คือ จิต จิตในทัศนะของพุทธศาสนาเป็นสิ่งต่างหากจากกาย ในฐานะที่เป็นสิ่งหนึ่งต่างหากจากกาย จิตก็มีกฎเกณฑ์ในการทำงาน เปลี่ยนแปลงและแสดงพฤติกรรม เป็นแบบฉบับเฉพาะตัว จิตนิยาม ได้แก่ นามธาตุ คือ จิตและเจตสิกที่เป็นธรรมธาตุ

5.กรรมนิยาม (Karmic Laws) คือกฎแห่งเหตุผล ที่ครอบคลุมความเป็นไปในฝ่ายจิตวิญญาณโดยเฉพาะ อันได้แก่ กฎแห่งกรรมเป็นกฎแห่งการให้ผลของการกระทำ กฎอันเป็นเหตุเป็นผลของธรรมชาติทางนามธรรม คือการกระทำของจิต ที่เกิดจากเจตนาของจิต อันเป็นมโนกรรม(กรรมจากความนึกคิดต่างๆ) ตลอดจนอาจเป็นเหตุให้ทำ กายกรรม(กรรมจากการกระทำทางร่างกาย)และวจีกรรม(กรรมจากการสื่อสาร) และมีการให้ผลเป็นวิบากกรรม คือกรรมสามารถให้ผลแสดงออกมาในสภาพทางกายหรือทางวัตถุได้ ซึ่งการให้ผลของกรรมมีลักษณะเป็นอจินไตย คือไม่อาจเข้าใจได้ด้วยการคิดทางตรรกะ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งเรื่องทั้งปวง แสดงว่าทรงค้นพบนิยามหรือกฎธรรมชาติทั้ง 5 เหล่านี้ พระองค์ทรงสอนเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับธรรมนิยามจิตนิยาม และกรรมนิยาม พระองค์ทรงสอนเรื่อง อุตุนิยามและพีชนิยามเพียงเล็กน้อย ในทางกลับกัน นักวิทยาศาสตร์ศึกษาเน้นในส่วนที่ เกี่ยวกับอุตุนิยามและพีชนิยาม ไม่ค่อยสนใจในส่วนธรรมนิยาม จิตนิยาม และกรรมนิยามนี่คือจุดเน้นที่ต่างกัน ระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนาจึงมองภาพรวมของโลกและชีวิตได้กว้างขวางมากกว่า

ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ นิยามเป็นกฎธรรมชาติสากลที่ครอบคลุม 5 กฎย่อย ดังที่กล่าวมาแล้ว แม้พระพุทธศาสนาจะศึกษาเน้นเรื่องธรรมนิยามจิตนิยามและกรรมนิยามก็จริง ถึงกระนั้น พระพุทธศาสนา ก็ไม่ปฏิเสธเรื่องอุตุนิยามและพีชนิยามที่เป็นจุดเน้นของวิทยาศาสตร์ เพราะเหตุนี้เอง พระพุทธศาสนาจึง ไม่ขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์

ดังนั้น ความคิดที่ว่าศาสนาพุทธสอนว่าทุกอย่างเกิดขึ้นจากกฎแห่งกรรมเท่านั้น ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นความคิดที่ไม่สมบูรณ์ เพราะกฎธรรมชาติไม่ได้มีแค่กฎแห่งกรรมเท่านั้น แต่ยังมีกฎธรรมชาติต่างๆรวมกันแล้วถึง 5 กฎ และแต่ล่ะกฎก็สำคัญเท่าๆกัน ดังนั้นการวิเคราะห์ใดๆในทางพระพุทธศาสนา จึงต้องอิงกฎธรรมชาติกฎอื่นๆทุกกฎร่วมด้วย

จากการค้นพบธรรมะดังกล่าวนี้ ทำให้เราทราบว่า ความรู้เรื่องจักรวาลวิทยาเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่ง ของธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบเท่านั้น ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่พระองค์ทรงค้นพบ แล้วมิได้นำมาตรัสให้ฟัง และเรื่องที่นำมาตรัสเล่านั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ฟังได้ข้อคิดแนวทางในการ ปฏิบัติธรรมอันนำไปสู่ความพ้นทุกข์ซึ่งเป็นเรื่องหลักในชีวิต

credit : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1

ผมว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าศาสนาพุทธคืออะไร


ผมว่าศาสนาพุทธนี่เอามาตีความแล้วได้เป็นทฤษฎีในสาขาปรัชญาได้เยอะดีนะ ผมยังแปลกใจกับเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน


ในวันที่โลกต้องการความจริงมากกว่าความเชื่อ ต้องการหลักการมากกว่าหลักจริยธรรม ในวันนั้นศาสนาจะหายไปจะคงเหลือแต่คนที่ไม่มีที่ยึดเหนี่ยว เมื่อหลักการอยู่เหนือหลักจริยธรรม วันนั้นความสงบจะหายไป

วันใดที่สถาบันการเมืองในประเทศโลกที่สามสามารถแยกตัวออกจากการควบคุม/อิทธิพลของสถาบันศาสนาได้ ก็วันนั้นแหละครับ

ILoVePaNgYa
14th February 2014, 08:29
ถ้ายังไหว้ผี,บูชาเทพเจ้าต่างๆ และหน้าบ้านยังมีศาลพระภูมิ มันก็ไม่ใช่ศาสนาพุทธแล้วหล่ะครับ เพราะศาสนาพุทธไม่ได้สอนเรื่องพวกนี้เน้นหลุดพ้นเป็นหลัก

niknana
14th February 2014, 08:32
แสดงว่าพ่อ แม่ ญาติ พี่น้องก็ยังไม่เข้าถึงศาสนาพุทธจริงๆสิครับ

พอผมโตมานี้ผมก็ไม่แน่ใจตัวเองว่าผมนับถือศาสนาพุทธจริงๆหรือเปล่า เพราะ แค่คำว่า อะระหังสัมมา ผมยังไม่เข้าใจเลยว่ามันแปลว่าอะไร แล้วมีใครที่บอกตัวเองว่านับถือศาสนาพุทธ เข้าใจความหมายบทสวดที่ท่องกันทุกวันบ้างไหมครับ
ผมเคยบอกกับคนที่บ้านไปว่า ตอนนี้ผมยังไม่มีศาสนา ที่บ้านเข้าก็ค้านแล้วก็ดุผมนิดหน่อย ผมก็บอกเหตุผลไป(ต้องเป็นเหตุผลจริงๆนะ ไม่ใช่เหตุผลส่วนตัว)
เขาก็เถียงไม่ออกได้แต่บอกว่า โตแล้วหวังว่าจะคิดอะไรเองได้

แต่ผมจะตอนผมจะบวชพระ ผมตั้งใจไว้ว่า จะศึกษาศาสนาพุทธอย่างจริงจังในช่วงเวลานั้น จะได้ใช้คำว่านับถือศาสนาพุทธได้อย่างเต็มปาก

-[ MaFaKaAlex ]-
14th February 2014, 09:38
ท่านไม่ต้องนับถือศาสนาพุทธก็ได้ เพราะศาสนาพุทธไม่ได้สอนให้นับถือครับ แต่เขาสอนสิ่งที่ธรรมชาติมันมีอยู่ คุณจะนับถือหรือไม่นับถือมันก็ยังมีอยู่อย่างนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง
เช่น

ธรรมนิยาม

นิยาม หรือนิยามะ (บาลี)กำหนดอันแน่นอน, ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ, กฎธรรมชาติ นิยาม 5 ประการนี้ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและในอนันตจักรวาล ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปตามกฎทั้ง 5 ประการนี้ทั้งสิ้น

1.ธรรมนิยาม (General Laws) อันได้แก่กฎไตรลักษณ์ทั้ง3 คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (ดูที่ ธรรมนิยามสุตตัง)คือ ธาตุทั้งปวงเป็นมีสถานะเป็นกระแส สั่นสะเทือน(คลื่น) ผันผวน ไม่แน่นอน สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ้งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา สัตว์ทั้งปวงย่อมต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น เป็นกฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับสิ่งทั้งหลาย เป็นกฎสากลที่ครอบคลุมความเป็นไปทั้งฝ่ายจิตและฝ่ายวัตถุ กฎข้อนี้มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางที่สุดของทุกนิยาม กฎนิยามทั้งปวงอยู่ภายใต้กฎข้อนี้ เป็นกฎธรรมนิยามนี้ก็ทำให้เกิดนิยามข้ออื่น และนิยามข้ออื่นๆที่สัมพันธ์กันก็ทำให้เกิดกฎธรรมนิยามอันนี้ เช่นกัน (เช่น การจุดไม้ขีดไฟ - อุตุนิยาม >ทำให้เกิดการเผาไหม้เปลี่ยนแปลงสูญสลายไป - ธรรมนิยาม)

2.อุตุนิยาม(Physical Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของปรากฏการณ์ ในธรรมชาติ เกี่ยวกับวัตถุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด หลักของอุตุนิยาม ตามแนวพระพุทธศาสนามุ่งให้ผู้ที่เข้าใจเกี่ยวกับกฎธรรมชาติที่ว่าด้วยวัตถุ อุตุนิยาม คือลักษณะสภาวะต่างๆของธาตุทั้ง5 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ ซึ่งก็คือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆเมื่อมีเหตุปัจจัยเพียงพอก็จะเป็นไปโดยไม่มีใครเป็นผู้กำหนดหรือห้ามได้ เช่น การที่จะเกิดฝนตก ก็มีเหตุปัจจัยเพียงพอให้เกิดฝนตก เช่น การระเหยของน้ำบนดิน การรวมตัวของก้อนเมฆ การเกิดลมพัด การกระทบกับความเย็น ก่อให้เกิดฝนตก เป็นต้น ตลอดจนปรากฏการณ์ทางวัตถุอื่นๆ เช่น การเคลื่อนที่ของจักรวาล แรงดึงดูด แผ่นดินไหว ฟ้าผ่า เป็นต้น ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้ พระพุทธศาสนาถือว่าเกิดขึ้นเพราะวัตถุธาตุต่างๆคือดินน้ำลมไฟอากาศปรับเปลี่ยนสภาวการณ์ของตัวเอง เพราะอิทธิพลจากการปรับสถานะธาตุตามอุณหภูมิคือความร้อนและเย็น ดังนั้นกฎข้อนี้จึงชื่อว่า อุตุนิยาม (อุตุในพระไตรปิฎกแปลว่าพลังงาน,ฤดู,ความร้อนเย็น)
ขอเพิ่มเติม ดิน น้ำ ลม ไฟ ใน ที่นี้ก็คือพวก ของแข็ง ของเหลว แก๊ส พลังงาน แต่คนมัยก่อนเรียกดินน้ำลมไฟ

3.พีชนิยาม (Biological Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปในพันธุกรรม กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ เชื้อโรค กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์โดยเฉพาะ กฎข้อนี้จึงหมายรวมในเรื่องของร่างกายและกระบวนการทำงานของสิ่งมีชีวิตต่างๆที่เกิดจากการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมด้วย สิ่งที่เรียกว่ากฎพีชนิยามนี้ทำให้เมื่อเรานำเมล็ดข้าวเปลือกไปเพาะ ต้นที่งอกออกมาจะต้องเป็นต้นข้าวเสมอ หรือช้างเมื่อออกลูกมาแล้วย่อมเป็นลูกช้างเสมอ (หว่านพืชเช่นไรย่อมได้ผลเช่นนั้น) ความเป็นระเบียบนี้พระพุทธศาสนาค้นพบว่าเป็นผล มาจากการควบคุมของมัชเฌนธรรม คือ 1.กฎสมตา(การปรับสมดุล) 2.กฎวัฏฏะ(การหมุนวนเวียน) และ 3.กฎปัจจยาการ(การมีหน้าที่ต่อกัน)นั่นเอง พีชนิยามเป็นกฎธรรมชาติในฝ่ายที่เป็นระเบียบตรงกันข้ามกับธรรมนิยามซึ่งเป็นกฎธรรมชาติในฝ่ายที่ไม่มีระเบียบ

4.จิตนิยาม (Psychic Laws) คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของจิต พระพุทธศาสนา ค้นพบว่า คนเราประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ร่างกายและจิตใจ จิตนิยามคือกฎธรรมชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการทำงานของจิตเท่านั้น กระบวนการของความคิด พระพุทธศาสนาเชื่อว่าสัตว์โลก ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของชีวิต คือ จิต จิตในทัศนะของพุทธศาสนาเป็นสิ่งต่างหากจากกาย ในฐานะที่เป็นสิ่งหนึ่งต่างหากจากกาย จิตก็มีกฎเกณฑ์ในการทำงาน เปลี่ยนแปลงและแสดงพฤติกรรม เป็นแบบฉบับเฉพาะตัว จิตนิยาม ได้แก่ นามธาตุ คือ จิตและเจตสิกที่เป็นธรรมธาตุ

5.กรรมนิยาม (Karmic Laws) คือกฎแห่งเหตุผล ที่ครอบคลุมความเป็นไปในฝ่ายจิตวิญญาณโดยเฉพาะ อันได้แก่ กฎแห่งกรรมเป็นกฎแห่งการให้ผลของการกระทำ กฎอันเป็นเหตุเป็นผลของธรรมชาติทางนามธรรม คือการกระทำของจิต ที่เกิดจากเจตนาของจิต อันเป็นมโนกรรม(กรรมจากความนึกคิดต่างๆ) ตลอดจนอาจเป็นเหตุให้ทำ กายกรรม(กรรมจากการกระทำทางร่างกาย)และวจีกรรม(กรรมจากการสื่อสาร) และมีการให้ผลเป็นวิบากกรรม คือกรรมสามารถให้ผลแสดงออกมาในสภาพทางกายหรือทางวัตถุได้ ซึ่งการให้ผลของกรรมมีลักษณะเป็นอจินไตย คือไม่อาจเข้าใจได้ด้วยการคิดทางตรรกะ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งเรื่องทั้งปวง แสดงว่าทรงค้นพบนิยามหรือกฎธรรมชาติทั้ง 5 เหล่านี้ พระองค์ทรงสอนเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับธรรมนิยามจิตนิยาม และกรรมนิยาม พระองค์ทรงสอนเรื่อง อุตุนิยามและพีชนิยามเพียงเล็กน้อย ในทางกลับกัน นักวิทยาศาสตร์ศึกษาเน้นในส่วนที่ เกี่ยวกับอุตุนิยามและพีชนิยาม ไม่ค่อยสนใจในส่วนธรรมนิยาม จิตนิยาม และกรรมนิยามนี่คือจุดเน้นที่ต่างกัน ระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนาจึงมองภาพรวมของโลกและชีวิตได้กว้างขวางมากกว่า

ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ นิยามเป็นกฎธรรมชาติสากลที่ครอบคลุม 5 กฎย่อย ดังที่กล่าวมาแล้ว แม้พระพุทธศาสนาจะศึกษาเน้นเรื่องธรรมนิยามจิตนิยามและกรรมนิยามก็จริง ถึงกระนั้น พระพุทธศาสนา ก็ไม่ปฏิเสธเรื่องอุตุนิยามและพีชนิยามที่เป็นจุดเน้นของวิทยาศาสตร์ เพราะเหตุนี้เอง พระพุทธศาสนาจึง ไม่ขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์

ดังนั้น ความคิดที่ว่าศาสนาพุทธสอนว่าทุกอย่างเกิดขึ้นจากกฎแห่งกรรมเท่านั้น ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นความคิดที่ไม่สมบูรณ์ เพราะกฎธรรมชาติไม่ได้มีแค่กฎแห่งกรรมเท่านั้น แต่ยังมีกฎธรรมชาติต่างๆรวมกันแล้วถึง 5 กฎ และแต่ล่ะกฎก็สำคัญเท่าๆกัน ดังนั้นการวิเคราะห์ใดๆในทางพระพุทธศาสนา จึงต้องอิงกฎธรรมชาติกฎอื่นๆทุกกฎร่วมด้วย

จากการค้นพบธรรมะดังกล่าวนี้ ทำให้เราทราบว่า ความรู้เรื่องจักรวาลวิทยาเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่ง ของธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบเท่านั้น ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่พระองค์ทรงค้นพบ แล้วมิได้นำมาตรัสให้ฟัง และเรื่องที่นำมาตรัสเล่านั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ฟังได้ข้อคิดแนวทางในการ ปฏิบัติธรรมอันนำไปสู่ความพ้นทุกข์ซึ่งเป็นเรื่องหลักในชีวิต

credit : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1

ผมว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าศาสนาพุทธคืออะไร

bank9398
14th February 2014, 10:47
ทำตัวเป็นกลาง แต่ คงยึด อุดมคติของเราไว้ และ จงยอมรับ กับ ทุกศาสนา ถึงจะไม่นับถือก็เถอะ

arabas
14th February 2014, 11:11
ในวันที่โลกต้องการความจริงมากกว่าความเชื่อ ต้องการหลักการมากกว่าหลักจริยธรรม ในวันนั้นศาสนาจะหายไปจะคงเหลือแต่คนที่ไม่มีที่ยึดเหนี่ยว เมื่อหลักการอยู่เหนือหลักจริยธรรม วันนั้นความสงบจะหายไป

BoonTew
14th February 2014, 11:20
แหม่ ทำเป็นศาสนาประจำตระกูลไปได้ ของแบบนี้มันห้ามกันได้ซะที่ไหน

เอทิสตอนนี้ก็แทบจะเป็นอีกศาสนาหนึ่งไปแล้ว มีข้อดีข้อเสียเหมือนกัน

เรื่องยังขาดรายละเอียดหลายๆอย่าง ที่พ่อแม่ต่อต้านเพราะจขกท.เป็นเอทิสที่ดูถูกศาสนาอื่นหรือเปล่า

ญาติที่หันไปนับถือศาสนาคริสต์เป็นพวกคริสต์หากินแบบหลอกลวงหรือเปล่า ถ้าเป็นเพราะความใจแคบของผู้ใหญ่เองก็จบกัน

pondsif01
14th February 2014, 17:22
บ้านผมก็พุทธทั้งบ้าน และผมก็เป็นพวกไม่มีศาสนา ส่วนเอทิส นี้คือพวกอเทวนิยม คือพวกที่ไม่นับถือพระเจ้าก็อาจจะเป็นได้หลายศาสนาครับ

ส่วนตัวบ้านผมและทั้งหมู่บ้านก็รู้ว่าผมเป็นศาสนาอะไร ขึ้นอยู่กับการอธิบายเวลาเค้าถามครับ ไม่ใช่เที่ยวไปประกาศตัวเองว่าเจ๋งไม่มีศาสนา ด่าคนอื่นว่างมงายไร้สาระ เรื่องความเชื่อมันละเอียดอ่อนครับ เวลา

ครอบครัวทำกิจกรรมศาสนาก็อยู่ด้วยก็ได้ครับ แต่ทำตามความเชื่อเรา คอยช่วยงานก็พอไม่ต้องไหว้พระหรือทำบุญ ถ้าเป็นผมเวลาบ้านไปทำบุญหรือมีงานบุญ ผมก็ไปเป็นตากล้อง เวลาคุยกับพระผมก็ไม่ได้พนม

มือ คุยกันเหมือนคนปกติ และเพื่อนสนิทผมทั้งกลุ่มก็เป็นพุทธแบบไทยๆ ที่มีความเชื่อเยอะ ผมก็ยังอยู่กันได้เลย ขอแค่เราไม่ไปก้าวก่ายความเชื่อครับ

อย่าคิดว่าการทำตัวเป็นเอทิสแล้วเท่ครับ ผมเจอบ่อยพวกนี้ คนบางคนเค้ามีศาสนาก็ดีครับจะได้มีสิ่งไว้คอยนำทาง เพื่อสร้างความหวัง ให้ชีวิต ส่วนตัวผมเชื่อในเรื่องกฏหมายและสิทธิความเป็นชีวิตมากกว่า

Zaaaaaaaaaa
14th February 2014, 17:28
นับถือ พระถังซัมจั๋ง ป่าวครับ