PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : ผมส่งสัยแหะเรื่อง หากเราเดินทางข้ามในอวกาศ หรือข้ามจักรวาล...



animeth
25th April 2014, 18:25
คือจะอธิบายยังไงดีละ ในอวกาศก็เหมือนถนนบนโลกมีอุปศักมากมายที่ขว้างอยู่ หากเราเดินทางด้วยความเร็วมากๆ เราจะมีโอกาศชนกับกับวัตถุที่ลอยอยู่ในอวกาศหรือไม่?
ผมส่งสัยเพราะ ยานอวกาศที่ถูกส่งไปสำรวจข้อมูลกับข้อมูลของมนุษย์ หรือแผ่นเสียงที่เคยบรรทึกว่าพวกเราเป็นพวกยังไงกับยานนั้น ถูกส่งไปตั้งหลายปีเเล้วแต่กับไม่ ชนกับอะไรสักอย่างเเละยัง ส่งข้อมูลของ ดาวต่างๆที่มันผ่านไปมาให้เราได้ดูกัน


อีกข้อมูลนึงที่ทำให้ผมรู้ว่า กาแลคชี่เป็ฯอ่ะไรที่ใหญ่มากกกกกกกก
http://upic.me/i/4n/52untitled-1.png

จากที่ผมเขียน (โดยเมาส์ = =) เส้นวงกลมใหญ่ในคือ กาแลคชี่ของเรา หรือที่หลายเรียกว่า ทางช้างเผือก ละนะ :yes
วงกลม ที่ 2 ที่รอบ Earth คือ ระยะที่เรามองเห็นดวงดาว เเล้วนอกนั้นละ? คือเป็ฯที่ ที่ แสงยังส่องมาไม่ถึงโลกเลยละครับ ดังนั้น ขนาดแสงที่ว่าเร็วที่สุดเเล้วยัง ส่องมาไม่ถึงโลกเลย

คงเป็นเรื่องยากเเล้วละที่เราจะเดินทางข้าม กาแลคชี่ = = z


ยังไมาเสนอความคิแต่ละคนกันนะครับ :)

postgeno159
25th April 2014, 18:32
หากเราเดินทางด้วยความเร็วมากๆ เราจะมีโอกาศชนกับกับวัตถุที่ลอยอยู่ในอวกาศหรือไม่

เป็นประเด็นที่น่าสงสัยจริงๆ

kachanking
25th April 2014, 18:55
สิ่งแรกที่ผมจะบอกคือคุณวาดสเกลผิดคับ ทางช้างเผือกมีเส้นผ่านศูนย์กลางแค่ 100,000–120,000 ปีแสง ซึ่งมันควรจะเล็กกว่าวงกลมที่คุณวงไว้ว่า 60,000 ล้านปีแสงมากๆ ไม่งั้นทำไม Hubble ถึงมองเห็นกาแล็กซี่อื่นจริงมะ

คำถามที่ว่า "หากเราเดินทางด้วยความเร็วมากๆ เราจะมีโอกาศชนกับวัตถุที่ลอยอยู่ในอวกาศหรือไม่" คำตอบง่ายๆเลยคือ "มีคับ"

ยานวอยเอเจอร์ 1 ที่ตอนนี้ออกนอกระบบสุริยะไปแล้ว (ไปพร้อมกับแผ่นจารึกที่บ่งบอกถึงการมีตัวตนของอารยธรรมของมนุษย์ และแผนที่ที่ช่วยบอกตำแหน่งว่าเราอยู่ไหน) ก็ไม่ได้ชนกับอะไรเลย ข้อมูลที่วอยเอเจอร์ 1 ส่งกลับมาคืออวกาศภายนอกนั้นมันว่างเปล่ามากคับ แทบไม่มีอะไรเลย แม้แต่แถบดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดีซึ่งถือว่าเป็นบริเวณที่มีเทหวัตถุหนาแน่นเป็นพิเศษ ยานอวกาศก็ยังสามารถผ่านไปได้โดยไม่เกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นเลย

ตรงกันข้าม รอบโลกของเราที่ห้อมล้อมไปด้วยขยะอวกาศ กลับเป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่า

จริงๆวอยเอเจอร์ 1 ก็เดินทางเร็วมากๆแล้วนะ (17 กิโลเมตรต่อวินาที) แต่สมมุติเราเดินทางให้เร็วกว่านั้นอีก เอาแบบเร็วเข้าใกล้แสงเลย อันนี้ผมก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน เพราะคุณจะโดยผลของสัมพันธภาพของไอสไตล์เข้าไป ทำให้อะไรหลายๆอย่างที่คุณคิดว่ามันควรจะเป็นยังงั้นยังงี้มันไม่ใช่ 555

ปล. อย่าว่าแต่การเดินทางข้ามกาแล็กซี่เลยคับ ตอนนี้แค่เดินทางไปดาวอังคารยังยากเลย

Michiri
25th April 2014, 19:07
ผมอยากรู้เหมือนกันว่าหากเราเดินทางไปเรื่อยๆๆๆๆ มันจะไปสุดที่ตรงไหน หรือว่าจะไม่มีที่สิ้นสุด

theerapatau
25th April 2014, 19:13
ตามที่ได้ยินมาเอกภพกำลังขยายตัวอยู่ครับและขยายไปเรื่อยๆคำถามคือ ไอส่วนที่เอกภพยังขยายไปไม่ถึงมันคืออะไร

opaljj
25th April 2014, 19:22
ตามที่ได้ยินมาเอกภพกำลังขยายตัวอยู่ครับและขยายไปเรื่อยๆคำถามคือ ไอส่วนที่เอกภพยังขยายไปไม่ถึงมันคืออะไร

เท่าที่อ่านมาจากหนังสือของสตีเฟ่น เขาบอกว่ามันคืออวกาศเพราะอวกาศแปลว่าว่างเแล่า ชื่อหนังสือ จักรวาลในเลือกนัต

JumpskyJ
25th April 2014, 19:34
การที่เราเดินทางเร็วเหนือแสง เหมือนในหนัง starwar startrek รุ่นเรา (เกิด 35-40) จะมีโอกาศได้เห็นไหมน้อออ

เป็นความฝันเล็กๆ 555 อยากเที่ยวจักรวาล

fuseten
25th April 2014, 19:37
น่าตื่นเต้วว

Benzt2h
25th April 2014, 19:39
เป็นคำถามน่าคิดดีครับผอบเรื่องนึ้พอดี
ถามว่ามีโอกาศชนไมผมตอบว่ามีแต่น่าจะน้อยมากๆเพราะการที่ส่งยานขึ้นไปก็หลายลำแตายังไม่มีที่ชนเลบมันน่าจะน้อยมากๆ
เดินทางข้ามนึ่ผมว่ามันเป็นอะไรจะท้าทายคนถึงขีดสุดกับการที่เราจะเสี่บงเดินทสงในความเร็วแสงเพราะยังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างการจะสร้างอะให้ทันได้ในนะดับความเร็วยังเป็นแค่ฝันคงอีกไกลแถมจะใช้อะไรเป็นพลังเขาลอกพลังงานอนันยังไม่พอเลยในการเดินทางความเร็วแสงเพราะมันเกิดพลังงานช้าถ้าไม่รู้คืออะไรพลังงานนิวเครย์ยะและครับแต่มีทางเป็นได้ยุที่จะเดินทางคือใช้การแช่แข็งแบบในอวตาลหรือสตาร์แท

kachanking
25th April 2014, 19:40
การที่เราเดินทางเร็วเหนือแสง เหมือนในหนัง starwar startrek รุ่นเรา (เกิด 35-40) จะมีโอกาศได้เห็นไหมน้อออ

เป็นความฝันเล็กๆ 555 อยากเที่ยวจักรวาล

เสียใจด้วยคับ กฎทางฟิสิกส์ในปัจจุบันบอกว่าเป็นไปไม่ได้ 555+
คุณทำได้อย่างมากก็แค่เดินทางด้วยความเร็วเข้าใกล้แสง แต่คุณไม่มีทางเดินทางด้วยความเร็วที่เร็วกว่าแสงหรือแม้แต่เร็วเท่ากับแสงก็ไม่มีทางทำได้ เว้นซ่ะแต่ว่าในอนาคตจะมีคนที่สามารถแย้งกฎนี้ได้

noomha
25th April 2014, 19:48
สิ่งแรกที่ผมจะบอกคือคุณวาดสเกลผิดคับ ทางช้างเผือกมีเส้นผ่านศูนย์กลางแค่ 100–120 ปีแสง ซึ่งมันควรจะเล็กกว่าวงกลมที่คุณวงไว้ว่า 60,000 ล้านปีแสงมากๆ ไม่งั้นทำไม Hubble ถึงมองเห็นกาแล็กซี่อื่นจริงมะ

คำถามที่ว่า "หากเราเดินทางด้วยความเร็วมากๆ เราจะมีโอกาศชนกับวัตถุที่ลอยอยู่ในอวกาศหรือไม่" คำตอบง่ายๆเลยคือ "มีคับ"

ยานวอยเอเจอร์ 1 ที่ตอนนี้ออกนอกระบบสุริยะไปแล้ว (ไปพร้อมกับแผ่นจารึกที่บ่งบอกถึงการมีตัวตนของอารยธรรมของมนุษย์ และแผนที่ที่ช่วยบอกตำแหน่งว่าเราอยู่ไหน) ก็ไม่ได้ชนกับอะไรเลย ข้อมูลที่วอยเอเจอร์ 1 ส่งกลับมาคืออวกาศภายนอกนั้นมันว่างเปล่ามากคับ แทบไม่มีอะไรเลย แม้แต่แถบดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดีซึ่งถือว่าเป็นบริเวณที่มีเทหวัตถุหนาแน่นเป็นพิเศษ ยานอวกาศก็ยังสามารถผ่านไปได้โดยไม่เกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นเลย

ตรงกันข้าม รอบโลกของเราที่ห้อมล้อมไปด้วยขยะอวกาศ กลับเป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่า

จริงๆวอยเอเจอร์ 1 ก็เดินทางเร็วมากๆแล้วนะ (17 กิโลเมตรต่อวินาที) แต่สมมุติเราเดินทางให้เร็วกว่านั้นอีก เอาแบบเร็วเข้าใกล้แสงเลย อันนี้ผมก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน เพราะคุณจะโดยผลของสัมพันธภาพของไอสไตล์เข้าไป ทำให้อะไรหลายๆอย่างที่คุณคิดว่ามันควรจะเป็นยังงั้นยังงี้มันไม่ใช่ 555

ปล. อย่าว่าแต่การเดินทางข้ามกาแล็กซี่เลยคับ ตอนนี้แค่เดินทางไปดาวอังคารยังยากเลยเขาวาดถูกแล้วครับ เขาไม่ได้วาดทางช้างเผือก แต่เขาวาดว่าตอนนี้เราเห็นอวกาศแค่ไหนแล้ว เพราะการที่เราจะเห็นมันได้ต้องมีแสงวิ่งมาหาเราก่อนครับ ซึ่งโดยสรุปแล้ว เราจะเห็นดาวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆครับ


ส่วนเรื่องการที่จะเดินทางเร็วมากๆ ผมคิดว่านะ ย้ำนะว่าคิดเอาเองอันเนี่ย ต้องชนแน่ๆครับ ถึงแม้ว่า%มันน้อย แต่ถ้าโดนแค่สเก็ดหินอุกาบาต เล็กๆ มันอาจทำความเสียหายร้ายแรงได้ เพราะเราพุ่งไปหามันด้วยความเร็วสูงมาก ปล.มั่วแล้วเรา555

windows
25th April 2014, 19:50
คือกว่าจะออกจากกาแลกซีของเราได้ก็ ถึงจะไปด้วยความเร็วเท่าแสง ก็ตายเกิดตายเกิดไม่รู้กี่รอบละ :o

Icescorpio
25th April 2014, 19:59
ขนาดแสงยังเดินทางใช้เวลาเป็น ร้อยๆ ล้านๆปีกว่าจะถึง
แล้วจะมีอะไรช่วยให้เดินทางเร็วกว่าแสง

ก็คงจะมีแต่รูหนอน ที่จะเป็นไปได้ แต่มันจะไปโผล่ที่ไหนแค่นั้นเอง -0-
ขนาดแสงที่ว่าเดินทางได้เร็วแล้ว แต่ก็โดนหลุมดำดูดไปได้เลย -0-

HANG-ON
25th April 2014, 22:49
มีโอกาสชนรึเปล่า ต้องมีแน่นอนครับถ้าโดนวัตถุในอวกาศมาขวาง
ถ้าจะเดินทางข้ามเวลา ต้องทำความเร็วได้เท่ากับหรือมากกว่าแสง แต่ปัจจุบันยังไม่มีอะไรที่เร็วกว่าแสง
ฉะนั้น การเดินทางข้ามเวลา ข้ามกาแลคซี่ ลืมไปได้เลย แค่จะไปดวงจันทร์ยังใช้เวลา3-5วัน
ยานนิว ฮอร์ไรซันส์ถูกปล่อยไปดาวพลูโตเมื่อ 19 มกราคม ปี49 จนตอนนี้8ปีมาล่ะ เพิ่งจะเข้าวงโคจรของดาวพลูโตเอง

ปล. ระยะทางจากโลก>พลูโต เท่ากับการไปกลับ โลก-ดวงอาทิตย์ 20 รอบ (ยังเป็นแค่เศษเสี้ยวในส่วน100ของ1ปีแสง)

Benzt2h
25th April 2014, 23:16
มีโอกาสชนรึเปล่า ต้องมีแน่นอนครับถ้าโดนวัตถุในอวกาศมาขวาง
ถ้าจะเดินทางข้ามเวลา ต้องทำความเร็วได้เท่ากับหรือมากกว่าแสง แต่ปัจจุบันยังไม่มีอะไรที่เร็วกว่าแสง
ฉะนั้น การเดินทางข้ามเวลา ข้ามกาแลคซี่ ลืมไปได้เลย แค่จะไปดวงจันทร์ยังใช้เวลา3-5วัน
ยานนิว ฮอร์ไรซันส์ถูกปล่อยไปดาวพลูโตเมื่อ 19 มกราคม ปี49 จนตอนนี้8ปีมาล่ะ เพิ่งจะเข้าวงโคจรของดาวพลูโตเอง

ปล. ระยะทางจากโลก>พลูโต เท่ากับการไปกลับ โลก-ดวงอาทิตย์ 20 รอบ (ยังเป็นแค่เศษเสี้ยวในส่วน100ของ1ปีแสง)

มีธาตุที่ไวกว่าแสงแล้วนะครับนักวิทย์เขาทำได้แล้วเห็นข่าวยุแต่เป็นแค่ทดลองในเครื่องเร่งอนุภาค

godog585858
25th April 2014, 23:19
ประเด็นจะอยู่ ตาม BlackHole ของ อวกาศนี่แหละครับ หรือ พวก Worm Hole อ่ะครับ เกี่ยวกับ เรื่อง การดึงมิติน่ะครับ

kachanking
25th April 2014, 23:48
http://upic.me/i/4n/52untitled-1.png

จากที่ผมเขียน (โดยเมาส์ = =) เส้นวงกลมใหญ่ในคือ กาแลคชี่ของเรา หรือที่หลายเรียกว่า ทางช้างเผือก ละนะ :yes
วงกลม ที่ 2 ที่รอบ Earth คือ ระยะที่เรามองเห็นดวงดาว เเล้วนอกนั้นละ? คือเป็ฯที่ ที่ แสงยังส่องมาไม่ถึงโลกเลยละครับ ดังนั้น ขนาดแสงที่ว่าเร็วที่สุดเเล้วยัง ส่องมาไม่ถึงโลกเลย


เขาวาดถูกแล้วครับ เขาไม่ได้วาดทางช้างเผือก แต่เขาวาดว่าตอนนี้เราเห็นอวกาศแค่ไหนแล้ว เพราะการที่เราจะเห็นมันได้ต้องมีแสงวิ่งมาหาเราก่อนครับ ซึ่งโดยสรุปแล้ว เราจะเห็นดาวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆครับ

เขาบอกว่าวงกลมใหญ่คือทางช้างเผือก (เส้นผ่านศูนย์กลาง 100,000 ปีแสง) วงกลมเล็กรอบ Earth คือระยะที่เรามองเห็นดวงดาว (60,000 ล้านปีแสง)

ถ้าผมเข้าใจผิดก็ขออภัยด้วยคับ

หรือว่าเขาต้องการจะสื่อว่า วงกลมใหญ่คือระยะที่เรามองเห็นดาว ส่วนวงกลมเล็ก (60,000 ล้านปีแสง) คือทางช้างเผือก ซึ่งมันก็ไม่ใช่อยู่ดี เพราะทางช้างเผือกเส้นผ่านศูนย์กลางแค่ 100,000 ปีแสง
หรืออีกแบบ วงกลมเล็ก (ุ60,000 ล้านปีแสง) คืออวกาศที่เรามองเห็น แล้ววงกลมใหญ่ละคืออะไร คงไม่ใช่กาแล็กซี่ทางช้างเผือกหรอกนะ

เอาเป็นว่าอย่าไปสนใจเรื่องหยิบย่อยพวกนี้เลย ผมไปหาคำตอบของคำถามอีกข้อมาให้คุณเจ้าของกระทู้แล้ว 55

เจ้าของกระทู้ถามว่า "วงกลม ที่ 2 ที่รอบ Earth คือ ระยะที่เรามองเห็นดวงดาว เเล้วนอกนั้นละ? คือเป็ฯที่ ที่ แสงยังส่องมาไม่ถึงโลกเลยละครับ ดังนั้น ขนาดแสงที่ว่าเร็วที่สุดเเล้วยัง ส่องมาไม่ถึงโลกเลย" ผมเรียบเรียงใหม่ให้เข้าใจง่ายๆว่า เรามีระยะในการมองเห็นจำกัด ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่เรามีอยู่ ปัจจุบันเรามองเข้าไปในอวกาศได้ไกลสุด 45,700 ล้านปีแสง (เล็กกว่า 60,000 ล้านปีแสงในรูปอีก 55+) แล้วคุณเจ้าของกระทู้เขาอยากรู้ว่าที่ระยะไกลกว่านั้นมีอะไร เราสามารถมองเห็นมันได้ไหม

คำตอบคือได้คับ แต่ต้องใช้เทคโนโลยีที่สูงกว่าในปัจจุบัน
ที่ระยะ 45,700 ล้านปีแสง ไม่มีดาว ไม่มีกาแล็กซี่ เพราะมันยังไม่ก่อตัวขึ้นมา สิ่งที่เขาเห็นคือ Cosmic microwave background (http://en.wikipedia.org/wiki/Cosmic_microwave_radiation) ซึ่งเป็นเอกภพ 380,000 ปี หลังเกิด Big bang
และที่ระยะไกลออกไป (ไม่เกิน 46,600 ล้านปีแสง) จะเป็นเอกภพในช่วงเวลาหลังเกิด Big bang น้อยกว่า 380,000 ปี ปัจจุบันฝากความหวังไว้กับการตรวจจับ Gravitational waves (http://en.wikipedia.org/wiki/Gravitational_wave) ซึ่งคาดว่าจะให้ภาพของเอกภพได้ในระดับ 0.00001 วินาที หลังเกิด Big bang
และที่ระยะมากกว่า 46,600 ล้านปีแสงออกไป เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเห็นอะไร เพราะมันคือการมองไปยังห้วงเวลาก่อนการเกิด Big bang ซึ่งไม่มีใครยืนยันได้ว่ามันมีสภาพเป็นยังไง


มีธาตุที่ไวกว่าแสงแล้วนะครับนักวิทย์เขาทำได้แล้วเห็นข่าวยุแต่เป็นแค่ทดลองในเครื่องเร่งอนุภาค

ผมว่าไม่น่าจะใช้เครื่องเร่งอนุภาคนะคับ เพราะทฤษฎีสัมพันธภาพของไอสไตน์บังคับให้เครื่องเร่งอนุภาคไม่สามารถเร่งอนุภาคได้เทียบเท่าหรือเร็วกว่าความเร็วแสง (ปัจจุบันเครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่ที่สุด แรงที่สุด ทรงพลังที่สุดในโลกยังเร่งอนุภาคเล็กๆให้เร็วได้แค่ 0.999999991 ของความเร็วแสงเองคับ)
แต่เราค้นพบอนุภาคที่เร็วกว่าแสงมานานแล้วจากปรากฏการณ์ Cherenkov radiation (http://en.wikipedia.org/wiki/Cherenkov_radiation) ซึ่งไม่ได้ขัดแย้งกับกฎและทฤฎีทางฟิสิกส์ใดๆ พบเห็นได้ทั่วไปตามเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
ละก็ยังมีอนุภาคแปลกๆอีกหลายตัวที่เร็วกว่าแสงโดยไม่ขัดแย้งกับกฎฟิสิกส์ใดๆ แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าไหร่

kinggolem79
26th April 2014, 00:09
ตอนนี้ทฤษฏีที่น่าสนใจและเป็นไปดูสูงก็น่าจะเป็นพวกรูหนอนนะครับ แต่ผมยังสงสัยการวาร์ปในStar Trek อยู่เลย ขณะวาปเราจะหลุดไปอีกมิติหรือเราสร้างรูหนอนส่วนตัวขึ้นมาา

มึนนนนน

hades051
26th April 2014, 00:20
ลองไปอ่านหนังสือชื่อ ประวัติโดยย่อของหลุมดำ ดูครับ ของสติเฟ่น ฮอกกิ้นส์ เข้าใจง่ายดัวยครับ เล่มหนามาก

ปล.นักวิทยาศาสตร์เค้าแถลงการว่าค้นพบอนุภาคพระเจัาแล้ว แต่ต้องรอยืนยันผลอะไรอีกที ลองไปเปิดในกูเกิลดูคับ ความรู้เยอะ

ASSASSIN S
26th April 2014, 00:36
คุณรู้หรือไม่ขนาดในสถานีดาวเทียมของโลกนักบินอวกาศยังเสี่ยงอันตรายจากเศษสิงแปลกปลอมจากอวกาศเลยเขาถึงใด้ออกแบบชุดอวกาศให้หนามากไง

animeth
26th April 2014, 13:53
ขอโทษที่มาตอบช้านะครับหลายคนส่งสัยคือ ที่วงกลมใหญ่ๆสุดคือกาแลคชี่ของเราอ่ะครับ เเล้ววงกลมเล็กๆคือ ระยะที่แสงสามารถส่องมาถึงเราครับ
ผมอ่านๆหลายๆความเห็นก็มีประโยชน์มากๆนะครับเพราะผมเองก็ชมเรื่องพวกนี้อยู่เเล้ว

ผมอ่านข้อสมุติฐานของ ดอกเดอร์ ฮอฟคิง หลายๆอย่างที่เค้าสามารถอธิบายได้อย่างดีแต่มีบางอย่างที่กำลังเป็นข้อปริศนา
อย่างเช่น
ใครเป็นผู้สร้าง? ผมหมายถึงทั้งหมดก่อนที่ Big bang จะเกิดขึ้นมีอะไรอยู่ก่อน และ เเล้วเรื่องทฏษีมิติอื่นละ? หรือ จักรวาลอื่นละ?
เหมือนกับผมจับมดมาใส่ในบ้านเล็กๆในกล่องเเก้ว พวกมดจะรู้ไมว่าผมเป็นคนสร้างกล่องแก้วให้พวกมันอาศัยอยู่?


เเล้วทึกคนคิดว่าพวกเราจะสาารถท่องอวกาศในยุคนี้สำเสร็จหรือไม เช่น อีกไม่เกิน 80 ปี เราจะท่องได้หรือไม?

ผมจำได้ผ่านว่า หากต้องการท่องจักรวาล พวกเราจะมีมีแหล่งพลังใหม่ ที่ให้พลังที่มหาศาลในการขับเคลื่อนหรือเร่งให้เร็วกว่าแสง แต่ปัจุบันเราไม่สามารถหาพลังนั้นได้
แต่ที่ ห้องปฏิบัติการหรือเครื่องเร่งอนุภาคที่ ประเทศสวีตเชอร์แลน ได้พบพลังงานที่ว่าเเล้ว?
คือการที่ประจุ หรือ อนุภาค 2 วิ่งชนกัน เกิดการระเบิดของพลังงานขึ้นมา แต่มันไม่สามารถอยู่หรือแสดงที่เราเห็นได้ มันเกิดขึ้นเพียงเสียววินาที ผมคิดว่าอนาคต คงจะพัฒนาให้เกิดการพลิตพลังอย่างว่านี้ขึ้นมาครับ