PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : [ข่าว]คนไทยร้องจ๊ากค่าไฟจ่อพุ่ง5บาท จากผลการคำนวณแผนพัฒนาผลิตไฟฟ้าฉบับล่าสุด



teerachai212
14th May 2014, 12:03
http://image.ohozaa.com/i/4dd/jUf910.jpg (http://image.ohozaa.com/view2/xAsOFJtOOZOhkDa6)






แนวโน้มค่าไฟฟ้าตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับปรับปรุงใหม่ หรือ PDP 2557-2573 มีสิทธิ์ทะลุ 5 บาท หลังการคำนวณเบื้องต้นของ สนพ. 3 แนวทาง เน้นเชื้อเพลิงถ่านหิน-นิวเคลียร์ เพื่อลดการใช้ก๊าซธรรมชาติที่กำลังจะหมดจากอ่าวไทย ขณะนี้รอความชัดเจนตัวเลขการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak) รอบใหม่ เตือนการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเสี่ยงด้านความมั่นคง


นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงความคืบหน้าการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ หรือ PDP (Power Development Plan) ปี 2557-2573 ว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการค่าพยากรณ์ครั้งล่าสุด ยังไม่สามารถระบุค่าพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า (Load-forecast) ฉบับใหม่ได้ แม้ว่าจะเกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดใหม่ (Peak) ไปเมื่อวันที่ 23 เมษายน

ที่ผ่านมาถึง 26,942 เมกะวัตต์ (ทำลายสถิติ Peak ปีก่อนที่ 26,598.1 เมกะวัตต์) ไปแล้วก็ตาม แต่ สนพ.ยังเชื่อมั่นว่าอาจจะเกิด Peak ขึ้นใหม่อีกครั้งในเดือนพฤษภาคม ฉะนั้นทาง สนพ.จึงเห็นควรที่จะรอให้ได้ตัวเลขความต้องการใช้ไฟที่ชัดเจนก่อน เพื่อให้แผน PDP คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในการหารือเพื่อจัดทำแผน PDP ฉบับใหม่ สนพ.ยังคงยึด 3 ทางเลือกคือ 1) ลดการใช้ก๊าซธรรมชาติ หันมาใช้กำลังผลิตจากถ่านหินเป็นหลักและเชื้อเพลิงประเภทอื่น ๆ 2) กำลังผลิตหลักจะมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ (ไม่มีก๊าซ) และ 3) เน้นการใช้พลังงานทดแทนและการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน

ทั้งนี้ในการคำนวณอัตราค่าไฟฟ้าตามแผน PDP ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (ปี 2555-2557) จะอยู่ระหว่าง 4-4.50 บาท/หน่วย ซึ่งจัดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่ สนพ.จะต้องคงไว้ในแผน PDP ฉบับใหม่ด้วย

(ปี 2557-2573) แต่ถ้าหากพิจารณาจากอัตราค่าเชื้อเพลิงในปัจจุบันโดยเฉพาะราคาก๊าซธรรมชาติที่ยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นแล้วมีความเป็นไปได้ว่าอัตราค่าไฟฟ้าในแผน PDP ฉบับใหม่จะพุ่งขึ้นสูงระหว่าง 4.50-5 บาท/หน่วยในช่วงท้ายแผนได้

"โจทย์สำคัญของแผน PDP ฉบับใหม่จึงอยู่ที่ว่า เราจะรักษาระดับอัตราค่าไฟฟ้าไม่ให้สูงจนเกิดผลกระทบต่อประชาชนและสภาพเศรษฐกิจโดยรวมได้อย่างไร โดยเฉพาะการรักษาระดับค่าไฟฟ้าตลอดช่วง 10-15 ปีแรกของแผนให้ไม่เกิน 5 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้ในบางทางเลือกที่คำนวณค่าไฟออกมาเบื้องต้นพบว่า ค่าไฟพุ่งขึ้นไปถึง 6 บาท/หน่วย ซึ่งเราต้องตัดทางเลือกดังกล่าวทิ้งไปทันที ตรงนี้ขึ้นอยู่กับประชาชนด้วยว่า จะเลือกโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงอย่างไร โดยขณะนี้โรงไฟฟ้าถ่านหินยังคงเป็นโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนผลิตไฟฟ้าต่ำที่สุดอยู่"

นายเสมอใจกล่าวเพิ่มเติมว่าหากพิจารณาทางเลือกที่ 3 หรือการเน้นไปที่พลังงานทดแทนและการซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้าน ทาง สนพ.พบว่า ต้นทุนค่าไฟฟ้าของพลังงานทดแทนค่อนข้างสูง จึงต้องเพิ่มการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่มีต้นทุนผลิต 2.60 บาท/หน่วยจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเฉลี่ยอัตราค่าไฟไม่ให้สูงมากเกินไป

แต่ยังมีข้อกังวลว่า การพึ่งพาไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านมากไปอาจจะมีความเสี่ยงด้านความมั่นคง ในขณะที่ทางเลือกที่ 1 การใช้ก๊าซ ประชาชนยอมรับ แต่อัตราค่าไฟฟ้ามีแนวโน้มปรับขึ้นตามราคาก๊าซตลอด

ส่วนสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับผู้ผลิตเอกชนรายใหญ่ (IPP) ตามแผน PDP ฉบับใหม่ จะรักษาสัดส่วนการผลิตไว้ที่ระดับ 50 : 50 ต่อไปหรือไม่นั้น หากพิจารณาศักยภาพของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ IPP ในปัจจุบันที่มีทั้งเงินลงทุนและเทคโนโลยีแล้ว มีความเป็นไปได้ว่า ในระดับนโยบาย "อาจจะ" ปรับสัดส่วนใหม่ เช่น 60 : 40 ก็เป็นได้ เพราะปัจจุบันกำลังผลิตใหม่ของ กฟผ.ยังไม่สามารถพัฒนาได้

"การคงสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าไว้ที่ 50 : 50 ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิดไฟฟ้าดับ ที่ผ่านมาก็เคยดับแล้วในพื้นที่ภาคใต้ กระทรวงพลังงานพยายามให้อุตสาหกรรมไฟฟ้ามีการแข่งขันกันมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทั้งที่เป็น SPP หรือ IPP กฟผ.เองก็มีการตั้งบริษัทลูก ไม่ว่าจะเป็น EGCO และ RATCH ที่ สนพ.มองคือ กฟผ.ได้เปรียบคนอื่น ๆ ค่อนข้างมาก ทั้งในเรื่องของที่ดินที่มีรวมกว่า 1,000 ไร่"

ด้านนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า อัตราค่าไฟฟ้าในอนาคตจะต้องสอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย เพราะเมื่อพิจารณาจากอัตรา

ค่าไฟในปัจจุบัน (3.96 บาท/หน่วย) ถือว่าส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมค่อนข้างมาก และไม่ใช่เฉพาะแค่ผู้ประกอบการไทยที่ได้รับผลกระทบ แต่อาจจะกระทบต่อการตัดสินใจของนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงเกินไปจนไม่จูงใจ

แต่หากมีการใช้พลังงานที่ช่วยปรับเพิ่มสมรรถนะในการผลิตได้แต่ต้องเพิ่มต้นทุนก็จะต้องมาเปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาดอีกว่าต้นทุนคู่แข่งเป็นอย่างไร ทั้งในประเทศและตลาดโลก โดยราคาต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมต้องสอดคล้องกันทั้งต้นทุนพลังงานและเสถียรภาพของพลังงานที่ใช้ คงต้องดูแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) ที่ชัดเจนอีกครั้งว่าภาพรวมของราคาค่าไฟฟ้าในอนาคตจะเป็นอย่างไร

นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ ที่ปรึกษาประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า หากมีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าในอนาคต จะต้องสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจของโลก สำหรับผู้ประกอบการจะต้องมีความพร้อมรับมือ เพราะราคาพลังงานเป็นสิ่งที่จะต้องปรับตัวขึ้นตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่อาจจะมากน้อยหรือช้าเร็วก็ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย

ส่วนการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมนั้นมองว่าพลังงานทุกชนิดมีความแตกต่างกัน เช่น ถ่านหินก็ยังมีความจำเป็นในอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องใช้หม้อต้มขนาดใหญ่ หากใช้แก๊สจะเป็นการเพิ่มต้นทุน ส่วนการขนส่งก็ยังต้องใช้แก๊สและส่วนพลังงานทดแทนอื่น ๆ ก็ควรนำมาปรับใช้ในอุตสาหกรรมตามความเหมาะสม นอกจากนี้ก็คงจะต้องมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน เพื่อการแข่งขันในตลาดโลก




Cr. Sanook

Mcarmy
14th May 2014, 12:15
5 บาท สงสัยอนาคต ประเทศไทยต้อง ใช้ น้ำมันตะเกียงจุดไฟ แล้วแหละ
ไม่รู้ว่าในขนะเดียวกัน ประเทศอื่นอาจจะยังใช้ไฟอยู่

sanookun
14th May 2014, 12:17
งี้แหล่ะคนไทย บ่นค่าไฟแพง ไปตก ไฟไม่พอใช้ แต่เวลาเขาขอสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเนี่ยออกมาประท้วงกันจัง = =

jeepthai
14th May 2014, 12:41
รักธรรมชาติ ก็ต้องแลกด้วยสตางค์ที่จ่ายเยอะขึ้น และความไม่แน่นอนของพลังงานสะอาด (ลม แดด)

ชอบพลังงานมั่นคง ก็ต้องเสี่ยงกับปัญหากัมมันตภาพรังสี

บ้านเมืองเติบโตขึ้นทุกวัน หนึ่งคนเปิดไฟเปิดทีวี พร้อมกับทีหลายๆดวง หลายๆจอ ต้องคิดแล้วละ ว่าจะประหยัด... หรือ เพิ่มปริมาณการผลิตไฟฟ้า...

Kyosuke Ayame
14th May 2014, 12:51
OH GOD ตายละ ตายแล้ว ตายแน่ๆ แพงขนาดนี้ !!!

~FeaR~
14th May 2014, 13:34
อนาคต แสงอาทิตย์ที่เราไม่ชอบ จะกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุด

http://www.diseaseproof.com/uploads/image/SUNMAN.jpg

CanDiiZ
14th May 2014, 13:43
ค่าไฟอพาร์ทเม้นต์ 7 - 8 บาท

เคยมีทีนึงตอนเรียน ค่าไฟอนนั้น 4 บาทกว่าๆนี่แหละ แต่ไม่รู้ว่าจุดเท่าไหร่จำไม่ได้

ทีนี้ เค้าขึ้นค่า FT อีก 10 สตางค์ต่อหน่วย แต่ก็เป็น 4 บาทกว่าอยู่ดี ที่ผมอยู่มันขึ้น 50 สตางค์เลยอ่ะ -*- โคตรหน้าเลือด

อนาคต ก็มีแต่จะแพงขึ้นๆ เพราะพลังงานมันก็ลดลงๆ โลกก็กำลังตายลงทุกวัน

notty
14th May 2014, 13:45
โรงไฟฟ้านิวเครียล์เลยครับ ที่เดียวได้ทั้งประเทศ เอาอณาเขตเท่าๆกับตำบลน่าจะปลอดภัยครับ

master765mb
14th May 2014, 13:46
ถ้ามันขึ้น หอมันจะเท่าไหร่ละเนี่ยทุกวันนี้นอนพัดลม ค่าไฟยังเดือน ละ 1,000เลย เพราะเปิดคอม 2 เครื่องฮาๆ

psychogunz
14th May 2014, 13:59
ตอนผมอยู่พัทยาทำไมไม่มีค่า ft ก็ไม่รู้ครับ เปิดแอร์ 2 ตัว tv led 2 เครื่อง เล่นเกมส์อีกทั้งวัน เสียค่าไฟ 1500-1700
กลับมาอยู่บ้านทีต่างจังหวัด เปิดแต่ tv กับคอม แอร์ไม่มี + ค่า ft โดนเท่ากันเลยครับค่าไฟ ทำไมพัทยาไม่มีค่า ft แปลกมาก
ที่แปลกสุดๆคือ ขายเหล้าเบียร์ได้ทั้งวัน ประเทศเดียวกันทำไมกฎหมายต่างกัน งง

TheGNIK
14th May 2014, 14:18
พนักงานการไฟฟ้านี่มันช่างดีจริง
มีโบนัสทุกปี ใช้ไฟฟรีอีกต่างหาก สวัสดิการอีกเพียบ
จะบอกอะไรให้อย่างนึง ทุกหน่วยงานใหญ่ๆ การไฟฟ้าปล่อยแรงดันไฟเกินตัวเกือบทั้งหมดแหละครับ เพราะเขาถือว่าไฟที่เกินเป็นกำไรของเขา
แล้วยังมีหน้ามาปรับค่า ft อีก พอจะแปรรูปก็ยกพวกประท้วง กลัวไม่ได้ทำงานสบายๆเหมือนเดิม
ทุกวันนี้ไฟฟ้าในประเทศ เกินครึ่งนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านทั้งนั้น
หรือเพราะนี่คือประเทศไทยวะ?

Kellidev
14th May 2014, 14:39
ไฟฟ้าจากพลังงานลม น้ำ แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ มีให้หมดโดยเฉพาะแสงอาทิตย์แต่ไม่ทำ ไม่เอา
เพราะต้นทุนสูง เลยไปเอาแหล่งพลังงานต้นทุนต่ำๆแทนแต่ก็เป็นพลังงานชนิดที่ไม่ยั่งยืนสุดท้ายเดี๋ยวก็หมดอีก

มีแหล่งพลังงานอีกแหล่งที่น่าสนใจแต่ยุ่งยากสักหน่อยคือการแปรรูปขยะมูลฝอยให้เป็นเซลล์เชื้อเพลิง
น่าจะเป็นอีกตัวเลือกที่ดีเพราะนอกจากจะเป็นการลดขยะแล้วยังได้พลังงานมาใช้อีกด้วย แต่สำหรับส่วนที่ยุ่งยาก
นั่นก็คือกระบวนการคัดแยกขยะ ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ต้นทุนสูง

ปล.แหล่งพลังงานในประเทศไทยมีมากมายให้เลือกใช้ถ้าอยากจะใช้จริงๆแต่เราติดปัญหาเรื่องผลตอบแทนอย่างเดียว
เพราะบางอย่างต้องลงทุนสูงทำให้เกิดความกลัวว่าลงทุนไปแล้วมันจะคุ้มหรือเปล่า
ปล2.อยากให้ลงทุนเรื่องพลังงานจากแสงอาทิตย์จริงๆน่าจะคุ้มแน่ๆ ประเทศเรามันสมควรทำเรื่องนี้ที่สุดในโลกละ

vasanchai
14th May 2014, 14:54
ขึ้นมันเข้าไปเอาให้รวย

jiratyanta
14th May 2014, 15:00
พนักงานการไฟฟ้าไม่เสียค่าไฟหรอคับ?

golfts
14th May 2014, 15:33
ต้องเลือกระหว่าง ngo กับค่าไฟฟ้าไทยแล้วแหละ

kom007
14th May 2014, 15:43
ตามหอพักคงจะ 10 บาท ทุกวันนี้ 7 บาทก็ตูดแหกอยู่แล้ว

*พวกมึ งอย่าคิดแต่กำไรมากสิ เห็นใจประชาชนด้วย

manshinoda
14th May 2014, 16:36
สร้างเขื่อนสาละวินเหอะครับ จะได้มีไฟฟ้าพอใช้

youthgts
14th May 2014, 16:41
เดี๋ยวพอมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เดี๋ยวก็อย่างนู้น อย่างงี้ อย่างไม่ต้องสร้าง พอค่าไฟสูงขึ้นก็จะออกไปประท้วง ประเทศไทยจริงๆเลย

powerown
14th May 2014, 17:01
=ตวามจริงที่ทางรัฐยังไม่บอกให้รู้=

1. ถามว่ากีาชธรรมชาติจะหมดจริงไหม? ตอบว่าจริงครับในประเทศไทยแหล่งก๊าซธรรมชาติมีน้อย "แต่" หากทางเราไม่นำก๊าซธรรมชาติที่มีไปออกขายหรือนำไปเติมรถยนต์ ใช้แค่การผลิตไฟฟ้ากับหุงต้ม ประเทศเราจะมีก๊าซธรรมชาติ ใช้อย่างน้อยๆ 40-50 ปีได้ แต่นี่ความจริงที่ ปตท กับรัฐไม่บอกกลัวกำไรที่น้อยหากประชาชนรู้ความจริงข้อนี้ พลังงานทุกชนิดราคาขายนั้นกำไรมหาศาล นักการเมืองทุกคนก็มีหุ้นอยู่ใน ปตท ทั้งนั้น

2. อีกอย่างคือน้ำมันดิบมันก็เหมือนก๊าซธรรมชาตินั้นแหละครับ เข้าแก็ปเดียวกันอย่างคิดว่าประเทศเราไม่มีแหล่งน้ำมันนะ บอกเลยว่ามีครับแต่ไม่มหาศาลเท่านั้นเอง ทุกวันใช้น้ำมันแพงเพราะออกไปขายกันหมด ง่ายๆ -91- ไทยขุด+ผลิตเอง=ใช้ลิตรล่ะ 40 กว่าบาท / เขมร นำเข้า100%=ใช้ลิตรล่ะ 28 บาท / พม่า นำเข้า100%=ใช้ลิตรล่ะ 29 บาท จริงๆทั้ง 2 ประเทศเขามีนะแหล่งน้ำมันแค่ยังไม่เปิดให้ใครสัมปทานแค่นั้นเอง อ้อลืมไป / สิงค์โปร (ไม่มีห่าไรเลย)=ใช้ลิตรล่ะ 28 บาท เพราะไทยขายให้ถูกๆ

3. ใครยังคิดไม่ออกว่าทำไมต้องว่า ปตท อย่างนั้นอย่างนี้ง่ายๆครับ ปตท ที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ โดยทางรับเป็นใจให้ทุกเรื่อง(เนื่องจากนักการเมืองทุกระดับก็มีหุ้น) สมมุติ ปตท ขุดได้ 1แสน Bl/วัน แล้วแจงต่อรัฐว่าขุด 6 หมื่นBL/วัน 4 หมื่นหายไปไหน??? ไม่มีวันรู้ แล้ว 6 หมื่นนั้น ใช้ในประเทศแค่ 4 หมื่น อีก 2 หมื่นส่งออกแบบถูกต้อง แล้วพอประเทศไม่พอใช้ทางรัฐก็จะเช้ามาว่าช่วยเหลือโดยการซื้อจากต่างประเทศ?? คิดออกยังครับ เงินที่ซื้อนั้นไม่ใช่มาจาก ปตท นะมันเป็นเงิน "ภาษี" ของพวกคุณกับผมนั้นแหละ พวกนักการเมืองกับผู้ถือหุ้นไม่ต้องเสียอะไรเลยรับอย่างเดียว ใช้เงินประเทศในการซื้อน้ำมันดิบ ที่เหลือคงคิดออกนะ

powerown
14th May 2014, 17:02
ยังมีเรื่อง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อีกยังไม่ได้พิมพ์ บอก

ManKP
14th May 2014, 17:05
ประท้วงงงงงงงง ปตท

jeditrainer
14th May 2014, 18:50
จริง ๆ ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์นี่ช่วยแก้ปัญหาได้เยอะเลยนะ แต่ก็นั่นแหละ คนไทยหละหลวมเรื่อง
มาตรการรักษาปลอดภัยรวมถึงการบำรุงรักษาด้วย ขนาดญี่ปุ่นที่ว่าเข้มแล้วยังเกิดปัญหาได้เลย แต่ถ้ามันจำเป็น
จริง ๆ ก็ควรต้องทำแหละ

tg-thaigamer
14th May 2014, 21:43
ที่ต่างประเทศเขาไม่คัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพราะเขามีความรู้ และเข้าใจหากเกิดเหตุการณ์ต่างๆ

แต่คนไทยแหล่ะครับ ที่กลัวว่ามันจะเป็นนู้นเป็นนี่ หากศึกษาจริงๆแล้วโรงเก็บปฏิกรณ์นิวเคลียร์หุ้มหลายชั้นมาก เครื่องบินชนยังไม่เป็นไรเลย และรอบๆโรงไฟฟ้าจะมีเครื่องตรวจสอบกัมมันตรังสีหากมีการรั่วไหลมันจะแจ้งเตือน
แต่ก็เข้าใจว่าการจะตั้งได้มันมีหลายปัจจัย และยิ่งญี่ปุ่นว่าที่เทคโนล้ำแต่ยังเกิดปัญหารังสีรั่วไหลได้ตอนเกินแผ่นดินไหม เลยต้องเลื่อนแผนทบทวนไปอีกนานกว่าจะได้สร้างและเห็นอย่างจริงจัง


ส่วนคนที่บอกว่าทำไมไม่สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เยอะๆ มองอีกแง่ดูนะ มันสามารถผลิตได้แค่ตอนมีแดด แล้วต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก ดังนั้นมันไม่เพียงพอต่อความต้องการ

ส่วนแรงลม มองอีกมุมนะ แม้ว้าสะอาดก้จริง แต่ก็ไม่มีใครอยากสร้างหรอก เพราะถ้าสร้างแล้วเวลาฟ้าผ่า มันเสียงดังมาก และโครตรบกวน

ส่วนพลังงานความร้อนใต้พิภพ ในประเทศไทยมีที่เดียวอยู่ภาคเหนือ แต่ก็ไม่เพียงพอต่อการผลิต ได้น้อย

ดังนั้นในคหสต. นิวเคลียร์อ่ะดีที่สุดและ

I AM LEGEND
14th May 2014, 22:10
อยากได้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

bloodtea
15th May 2014, 03:38
ข่าว แน้น มากครับ แต่ก็ถือว่าได้ความรู้ใหม่เลย เล่นถึง 5 บาท ต่อหน่วยเลยเหรอเนี่ย