PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : ว่าด้วยเรื่องของ ภาษาถิ่น ในประเทศไทย



Speedy-K.O.
24th January 2016, 21:22
ภาษาถิ่น เป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน และอาจจะแตกต่างจากภาษาในท้องถิ่นอื่นทั้งทางด้านเสียง คำและ การใช้คำ ภาษาถิ่น เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งถ้อยคำ
และสำเนียง ภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์ ลักษณะความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาค ของประเทศไทย บางทีเรียกว่า ภาษาท้องถิ่น และหากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก เช่นภาษาถิ่นใต้ ก็มีภาษาสงฃลา ภาษานคร ภาษาตากใบ ภาษาสุราษฎร์ เป็นต้น ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย เป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ และวัฒนธรรมทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นสมบัติมรดกของชาติต่อไป ซึ่งภาษาถิ่นจะเป็นภาษาพูด หรือภาษาท่าทางมากกว่าภาษาเขียนภาษาถิ่นของไทยจะแบ่งตาม ภูมิศาสตร์หรือท้องถิ่นที่ผู้พูดภาษา นั้นอาศัยอยู่ในภาค ต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4 ถิ่นใหญ่ ๆ คือ ภาษาถิ่นกลาง ภาษาถิ่นเหนือ ภาษาถิ่นอีสานและภาษาถิ่นใต้




http://www.mx7.com/i/1a0/XQvj4T.jpg

ภาษาถิ่นกลาง
ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี(ไอ้หม๋า) ราชบุรี นครปฐม อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดเหล่านี้ มีสำเนียงพูดที่แตกต่างกันออกไป จะมีลักษณะเพี้ยนเสียงไปจากภาษากลางที่เป็นภาษามาตรฐาน




http://www.mx7.com/i/64f/sekGW9.jpg

ภาษาถิ่นเหนือ
หรือภาษาถิ่นพายัพ (คำเมือง) ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา ลำปาง น่าน ลำพูน ตาก แพร่ เป็นต้น
ตัวอย่างคำของคำเมือง : http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter4-4.html




http://www.mx7.com/i/928/45Qlar.jpg

ภาษาถิ่นอีสาน
อีสาน ภาษาถิ่นอีสานของประเทศไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันในประเทศลาว แต่ภาษาอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาไทย ภาษาถิ่นอีสานมีภาษาถิ่นย่อยหลายภาษา ได้แก่ ภาษาที่ชนกลุ่มใหญ่ในภาคอีสานใช้พูดจากัน ซึ่งใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สกลนคร หนองคาย นครพนม ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด เลย ชัยภูมิ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เป็นต้น
ตัวอย่างคำของภาษาถิ่นอีสาน : http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter4-5.html



http://www.mx7.com/i/6ae/8nFZP.jpg

ภาษาถิ่นใต้
ภาษาถิ่นใต้(แหลงใต้) ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม 14 จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช เป็นต้น และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาษาถิ่นใต้ ยังมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เป็นภาษาถิ่นใต้ ภาคตะวันออก เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ตรัง สตูล ภาษาถิ่นใต้ตะวันตก เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดกระบี่ พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานีและชุมพร และภาษาถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดนราธิวาส และ ปัตตานี ในแต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เช่น ภาษาถิ่นระนอง ภาษาถิ่นภูเก็ต ภาษาถิ่นพัทลุง ภาษาถิ่นสงขลา เป็นต้น ภาษาถิ่นย่อยเหล่านี้อาจจะมีเสียง และคำที่เรียกสิ่งเดียวกันแตกต่างกันออกไป
ตัวอย่างคำของแหลงใต้ : http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter4-6.html




http://www.mx7.com/i/5a5/rBAoAr.jpg

ภาษาถิ่นตะวันออก
วิเศษ ชาญประโคน (2550, หน้า 40-41) ได้กล่าวถึง ภาษาถิ่นตะวันออกว่าเป็นภาษาย่อย ที่ใช้พูดจากัน ในท้องถิ่นตะวันออกมี ระยอง จันทบุรี ตราด เป็นต้น(เคยได้ยินม่ะ ระยองฮิน่ะ นั่นภาษาถิ่นตะวันออก)
ตัวอย่างคำภาษาถิ่นตะวันออก : http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter4-7.html



เพื่อนๆชาว JKG เป็นคนจังหวัดไหนครับ ส่งสำเนียงบ้านเกิดตัวเองหน่อยซิ อิอิ
ปล.ขอซัพไทยกลางตามหน่อยก็ดีเน้อ ฮ่าๆๆ

ส่วนตัวผมนั้นเป็นคนมาจากจังหวัดพิษณุโลก เหนือก็ไม่ใช่กลางก็ไม่เชิง(เหนือตอนล่างกลางตอนบน) แต่พูดคำเมืองไม่ได้เลย แต่ช่วงแรกก็มาเรียนที่เมืองกรุงเทพก่อนทำงาน(ตอนเรียนกรุงเทพนั้นผม 24 ปีล่ะ) ก็เจอเพื่อนๆจากหลายๆภาคมารวมกัน ไม่ว่าจะเหนือ ใต้ ออก ตก รึภาคกลางก็ตาม แรกๆก็งงๆนะ ว่าเวลาเขาเจอคนบ้านเดียวกันแล้วคุยไรกัน(ฟังไม่รู้เรื่อง) ต้องให้เขาแปลไทยอีกที ฮ่าๆๆ ก็น่าค้นหาดีครับ


Credit : http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter4-2.html http://upic.me/i/ff/zorori04.gif


แหม่ ตั้งกระทู้จะอี้ ขึ้นมา ถือว่าดีเลยครับเนาะ ผมก็คนเจียงใหม่แหละ อู้กำเมืองได้ แต่หลายๆคน เป็นคนเจียงใหม่ อู้บ่ได้ก็มีเน้อ

ภาษาถิ่นคงต้องฮักษากั๋นไว้หนา คนบ่าเดี่ยว อู้ไทยกันไปเสียแล้ว ผมก็ใคร่ฟัง สำเนียงของภาคต่างๆ เนาะ เพราะว่ามันมีเอกลักษณ์ดี และมันเป็นวัฒนธรรมตี้ควรฮักษาไว้

ผมเกยทำรายการวิทยุ ส่งงานอาจารย์ ก็ได้นำเรื่องวัฒนธรรมตึง 4 ภาคมาใจ้ นี่แหละครับ ซึ่งก็ผ่านไปด้วยดี

บ่ว่าเฮาจะเป๋นไผ มาจากไหน อาจมีความต่างตาง เชื้อชาติ ภาษา ความเป็นอยู่ แต่อย่างใดเฮาก็คือคนไทยเหมือนกั๋นครับ (ฟัง บ่าเข้าใจ๋ก็ขอสุมาโตยเน้อครับ 555)
จัดเต็มเลยคำเมือง ฮ่าๆๆ ฟังออกแค่บางคำ อู้(พูด) สุมา(ขอโทษ) โตย(ด้วย) ฮัก(รัก) ได้แค่นี้ล่ะนะ

potaepuf
24th January 2016, 21:31
แหม่ ตั้งกระทู้จะอี้ ขึ้นมา ถือว่าดีเลยครับเนาะ ผมก็คนเจียงใหม่แหละ อู้กำเมืองได้ แต่หลายๆคน เป็นคนเจียงใหม่ อู้บ่ได้ก็มีเน้อ

ภาษาถิ่นคงต้องฮักษากั๋นไว้หนา คนบ่าเดี่ยว อู้ไทยกันไปเสียแล้ว ผมก็ใคร่ฟัง สำเนียงของภาคต่างๆ เนาะ เพราะว่ามันมีเอกลักษณ์ดี และมันเป็นวัฒนธรรมตี้ควรฮักษาไว้

ผมเกยทำรายการวิทยุ ส่งงานอาจารย์ ก็ได้นำเรื่องวัฒนธรรมตึง 4 ภาคมาใจ้ นี่แหละครับ ซึ่งก็ผ่านไปด้วยดี

บ่ว่าเฮาจะเป๋นไผ มาจากไหน อาจมีความต่างตาง เชื้อชาติ ภาษา ความเป็นอยู่ แต่อย่างใดเฮาก็คือคนไทยเหมือนกั๋นครับ (ฟัง บ่าเข้าใจ๋ก็ขอสุมาโตยเน้อครับ 555)

sattawat1979
24th January 2016, 21:32
ผมคนกรุงเทพครับ อยู่มาตั้งแต่ ป.2 แล้ว :)

แต่เท่าที่เห็นมาเว็ป JKG นี้ อยู่ภาคเหนือกันเยอะเลย

nervanamaya
16th February 2016, 15:32
คนนครครับ นครราชสีมา

pukan
24th February 2016, 13:30
เจียงฮาย ขอเสียงหน่อย

BenzdezzS
24th February 2016, 13:36
คนสระบุรีครับ ก็ใช้ภาษากลางปกติ แต่ผมไปเที่ยวเชียงใหม่ เชียงราย ได้ยินคนที่นู้นอู้คำเมืองแล้วชอบมากกกกกกก (โดยเฉพาะแม่ญิง)
อยากเรียนรู้ภาษาถิ่นภาคเหนือมากๆครับ 55555 ผมว่าภาษาเขาสวย ดูฟังสบายๆ เรียบง่ายดี

chok1047
24th February 2016, 14:47
ผมคนจันทบุรีครับ ใช้กลางเป็นส่วนใหญ่

ILoVePaNgYa
25th February 2016, 18:42
ตอนมาเรียนมน.ใหม่ๆ เจอภาษาโขทัยไป ผมก็ฟังไม่ออกเหมือนกันครับ...

hisotomz
30th March 2016, 21:47
ผมคนเหนือครับ พูดกลางแล้วเสียงมันแหลม พูดไม่คล่องปาก เหมือนต้องนึกก่อนพูดนิดหนึ่ง