PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : ATO/ATC ตอนที่ 2 เทคนิคและวิธีการซื้อขายเพื่อให้ได้ราคาดีที่สุด



joker
23rd June 2016, 00:33
ในบทความครั้งก่อน เราพูดเรื่องของ หลักการและแนวคิดของการซื้อขาย ATO/ATC ในวันนี้เราจะมาดูรายละเอียดที่ลงลึกไปกว่านั้น

http://www.jokergameth.com/stock/20160621-ato1.jpg

ความพิเศษของการซื้อขายในช่วง ATO/ATC ก็คือ เราสามารถใช้ข้อมูลต่างๆในณ,ขณะนั้น เพื่อหาราคาซื้อหรือขายที่เหมาะสมได้ โดยในช่วงนั้นสามารถยกเลิกคำสั่งซื้อขายได้หากเราต้องการ ครับ.. ยกเลิกได้หากเราต้องการ เราจะมาดูตัวอย่างดีกว่า เพราะจะได้เห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด และเหมือนกับบทความที่แล้ว เราจะใช้ PTTEP เป็นตัวอย่าง

จากรูปคือคำสั่งซื้อขายเมื่อเวลา 9:30น. (ช่วงเวลา ATO/ATC) แถวซ้ายมือคือราคาที่มีคนต้องการซื้อ แถวขวาคือราคาของคนที่ต้องการขาย ระบบจะอิงราคาปิดครั้งก่อนเป็นหลัก (80.00) แล้วเอาราคาที่มีผู้ต้องการซื้อที่ "มากกว่า" ราคาปิดมาเรียงลำดับจากด้านบนลงมาล่าง โดยอิงจากราคาที่มีผู้ให้มากที่สุดไว้ด้านบน ราคาแรกคือ ATO หมายถึงซื้อที่ราคาเท่าไรก็ได้ การซื้อแบบ ATO นี้คนซื้อต้องจ่ายเงินในราคาสูงสุด (ราคา Ceiling 104 บาท) เช่นหาก A ต้องการซื้อ PTTEP ที่ราคา ATO จำนวน 100 หุ้น A จำเป็นต้องมีเงินไม่ต่ำกว่า 10,400 บาท ถึงจะซื้อ PTTEP ในราคา ATO ได้ (ในความเป็นจริง A จะไม่เสียเงินเยอะถึงขนาดนั้น เพราะราคาเปิดจะถูกคำนวนอีกครั้ง และคืนเงินส่วนที่เกินให้ เมื่อได้ราคาเปิดที่แท้จริง)

มีคนต้องการซื้อที่มากกว่า 80 บาทอยู่ 3 กลุ่มคือที่ราคา ATO, 82 และ 81 บาทตามลำดับ ในบางครั้งอาจจะมีราคาซื้อมากกว่านี้ และจะทำให้ดันบรรทัดราคา 80 บาทลงไปด้านล่างจนไม่เห็นบรรทัดที่เป็นราคาปิดของครั้งก่อน (ในกรณีที่มีคนต้องการซื้อมากกว่า 5 กลุ่มราคา) สำหรับคนที่ให้ราคาต่ำกว่า 80 บาท ก็จะเอาไปรวมกับคำสั่งซื้อปกติที่เคยมีอยู่แล้วก่อนหน้านี้ โดยจะต้องไปเข้าแถวต่อคิวเหมือนคำสั่งซื้อโดยทั่วไป

http://www.jokergameth.com/stock/20160621-ato2.jpg

ในทำนองเดียวกัน กับฝั่งขาย (แถวขวามือ) ระบบจะเรียงราคาขายที่ "น้อยกว่า" ราคาปิดมาเรียงลำดับจากด้านบนลงมาล่าง โดยอิงจากราคาขายที่ถูกที่สุดอยู่ด้านบน ราคาแรกคือ ATO หมายถึง ต้องการขายแน่นอนราคาเท่าไรก็ได้ ก็จะยอมขาย แต่ในความเป็นจริงแล้วราคาที่ขายได้คือราคาเปิดที่แท้จริงนั่นเอง จากบทความก่อนเรารู้แล้วว่าราคาเปิดจะดูได้จากค่า Proj Open ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการซื้อและขายขณะนั้น แต่ถ้าเราไม่มองค่า Proj Open นี้ล่ะ เราจะมีวิธีการคิดคำนวณยังไง?

ง่ายๆครับ ให้เราดูที่ราคาปิดเป็นหลัก (ในตัวอย่างคือ 80 บาท) จากนั้นนับราคารวมของบรรทัดที่อยู่เหนือราคาปิดนั้นรวมกัน จากตัวอย่างก็คือกรอบทางซ้ายมือที่มีผู้ต้องการซื้อ นับได้ 35,700 ส่วนทางขวามือนับได้เพียง 3,400 นั่นหมายถึงจะมีผลต่างของความต้องการซื้อ ไปกินที่ราคาทางขวามือจนถึงช่วงราคาที่ 81 บาท ถึงจะพอดีกับจำนวนของความต้องการซื้อนั้น ซึ่งนั่นก็คือราคาเปิดนั่นเอง

หากใครมีหัวทางการเล่นเกม เราจะรู้ว่ามีเทคนิคให้เล่น ในช่วงการซื้อขายแบบนี้ หากเรามีหุ้น PTTEP อยู่ในมือ แล้วเราต้องการขายโดยไม่อยากจะรอคิว จากตัวอย่างเรารู้อยู่แล้วว่าราคาเปิดจะเป็น 81.00 บาท หากเราตั้งราคาไว้ที่ 81.00 บาท เราจะต้องไปเข้าคิวที่ 20,500 เป็นต้นไป เพราะว่ามีคนรอขายอยู่ก่อนหน้าเราอยู่แล้ว แต่ในช่วง ATO/ATC แบบนี้ เราสามารถตั้งราคาขายให้ต่ำกว่าปกติได้ โดยตั้งราคาไว้ต่ำกว่า 80 บาท (79.75 บาท หรือ 70 บาท หรือเท่าไรก็ได้ขอให้ต่ำกว่า 80 บาทก็พอ หรือจะตั้งเป็นแบบ ATO ก็ได้) เมื่อถึงเวลาเปิดตลาด ราคาที่เราจะขายได้ก็คือ 81 บาท เท่ากับราคา Proj Open นั่นเอง แบบนี้เราก็จะขายหุ้นในราคาที่เราพอมองเห็นได้ก่อน และสามารถขายได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคิวครับ

Agent47
7th July 2016, 17:08
ขอโทษนะครับช่วยอธิบายให้หน่อยครับ ยัง งงๆ อยู่ครับ
"ง่ายๆครับ ให้เราดูที่ราคาปิดเป็นหลัก (ในตัวอย่างคือ 80 บาท) จากนั้นนับราคารวมของบรรทัดที่อยู่เหนือราคาปิดนั้นรวมกัน จากตัวอย่างก็คือกรอบทางซ้ายมือที่มีผู้ต้องการซื้อ นับได้ 35,700 ส่วนทางขวามือนับได้เพียง 3,400 นั่นหมายถึงจะมีผลต่างของความต้องการซื้อ ไปกินที่ราคาทางขวามือจนถึงช่วงราคาที่ 81 บาท ถึงจะพอดีกับจำนวนของความต้องการซื้อนั้น ซึ่งนั่นก็คือราคาเปิดนั่นเอง"

คือระบบมันจะดูเหรอครับว่า ฝั่งซื้อหรือขาย มีคนต้องการมากกว่า ซึ่งดูจากราคาในฝั่งซื้อที่มากกว่าราคาปิด และฝั่งขายน้อยกว่าราคาปิดเหรอครับ:yes:yes

joker
7th July 2016, 19:13
:ask คือระบบมันจะดูเหรอครับว่า ฝั่งซื้อหรือขาย มีคนต้องการมากกว่า ซึ่งดูจากราคาในฝั่งซื้อที่มากกว่าราคาปิด และฝั่งขายน้อยกว่าราคาปิดเหรอครับ
:answer ถูกต้องครับ ถ้าฝั่งไหนมากกว่ากัน ราคาปิดก็จะกินไปทางด้านตรงข้ามครับ กินไปเท่าไร ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการในตอนนั้นว่ามีเท่าไรครับ