PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : แปลงภูเขาไฟให้กลายเป็นโรงไฟฟ้า ใช้ความร้อนใต้ดิน



=Galaxy Ag=Z
5th October 2016, 12:51
แปลงภูเขาไฟให้กลายเป็นโรงไฟฟ้า ใช้ความร้อนใต้ดิน



http://upic.me/i/h9/j9901.jpg




อินโดนีเซียคิดทำโครงการใหญ่ จะแปลงภูเขาไฟให้กลายเป็นโรงไฟฟ้า เพราะมีอยู่อย่างอุดมตาม
หมู่เกาะต่างๆ ที่ประเทศตั้งอยู่ ลึกลงไปใต้ภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่เกือบทุกลูก จะเป็นแหล่งพลังงาน
ความร้อนภายในโลก ส่วนใหญ่จะเป็นรูปของไอน้ำร้อน อินโดนีเซียก็ได้เริ่มวางท่อ เลี้ยวซอกแซก
ไปตามเชิงเขาอันขรุขระ เรียงรายอยู่ตามไร่ชา ดูดเอาพลังงานไอน้ำ จากที่อยู่ลึกลงไปในแกน
ของโลก เอามาใช้ที่โรงไฟฟ้าใหญ่ วายัง วินดู บนเกาะชวา

ขณะนี้อินโดนีเซียยังดึงพลังงานไอร้อนใต้พิภพเหล่านี้ไปใช้ปั่นไฟ ได้แค่ 1,400 เมกะวัตต์ สามารถ
จ่ายให้กับประชากรได้เพียง 1 ล้าน 4 แสนหลังคาเรือนเท่านั้น ในขณะที่มีพลเมืองมากถึง 255 ล้านคน
รัฐบาลได้ตั้งเป้าไว้ว่า จะเพิ่มผลิตไฟฟ้าให้ได้มากถึง 7,200 เมกะวัตต์ ขึ้นภายในปี พ.ศ. 2568 นี้.




Credit
http://www.thairath.co.th/content/740966






พลังงานใต้พิภพคืออะไร



http://upic.me/i/7r/wx001.jpg




พลังงานความร้อนใต้พิภพมาจากภูมิศาสตร์ของกรีก หมายถึง โลก และ ความร้อน ดังนั้น พลังงานความ
ร้อนใต้พิภพคือพลังงานที่ได้มาจากความร้อนของโลกตามธรรมชาติ อุณหภูมิของโลกมีความแปรปรวนอย่าง
กว้างขวาง และพลังงานความร้อนใต้พิภพสามารถใช้งานได้ในตั้งแต่อุณหภูมิระดับปกติ จนถึง 300 องศาฟาเรนไฮต์
เพื่อการพาณิชย์ แหล่งเก็บความร้อนสามารถผลิตออกมาในรูปแบบของน้ำอุ่นซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่จำเป็น

โดยทั่วไป แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพจะอยู่ในรูปอุณหภูมิต่ำ (ต่ำกว่า 150 องศาเซลเซียส) หรือ อุณหภูมิสูง
(สูงกว่า 150 องศาเซลเซียส) โดยที่พลังงานในรูปอุณหภูมิสูงจะถูกใช้เป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ มีแหล่ง
พลังงานที่เรียกว่า “ระบบความร้อนใต้พิภพ” ซึ่งเป็น แหล่งพลังงานตามธรรมชาติ จากการที่โลกสร้างกระแสความร้อนขึ้นบริเวณผิวโลก
ในรูปของไอน้ำและน้ำร้อน ตัวอย่างของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพได้แก่ ภูเขาอิมพีเรียล วัลเลย์ ในเซาเธิร์น แคลิฟอร์เนีย

ปัจจุบัน โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานความร้อนใต้พิภพที่มี 3 ประเภท ดังนี้

1.โรงไฟฟ้าแบบ Dry Steam
โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากไอน้ำ หรือ Dry Steam คือ คือโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพชนิดแรกที่
ถูกสร้างขึ้น โรงไฟฟ้านี้จะผลิตกระแสไฟฟ้าจากไอระเหยของน้ำร้อนเข้าสู่เครื่องผลิตกระแส ไฟฟ้าโดยตรง ยกตัวอย่างโรงไฟฟ้า
ชนิดนี้ ได้แก่ โรงไฟฟ้าไกเซอร์ส ที่ภูเขามายาคามัส ทางตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

2.โรงไฟฟ้าแบบ Flash Steam
โรงไฟฟ้าระบบนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โรงไฟฟ้าระบบนี้จะใช้น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 360 องศาฟาเรนไฮต์
(ราว 182 องศาเซลเซียส) ที่ถูกส่งไปยังเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าบนผิวโลก เมื่อน้ำถึงเครื่องผลิตไฟฟ้า น้ำจะมีอุณหภูมิลดลง
และถูกแปรสภาพเป็นไอน้ำ ที่จะเป็นพลังงานให้กับกังหัน หรือเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนน้ำที่หลงเหลืออยู่จะถูกส่งกลับไปยังบ่อน้ำร้อน
ตามเดิม ยกตัวอย่างโรงไฟฟ้าชนิดนี้ได้แก่ โรงไฟฟ้าในเขตภูเขาไฟโคโซ ที่อินโย เคาน์ตี้ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

3. โรงไฟฟ้าแบบ Binary Cycle
โรงไฟฟ้าแบบนี้จะแตกต่างจาก 2 ระบบก่อนหน้านี้ เนื่องจากไอน้ำจากบ่อน้ำร้อน จะไม่ถูกส่งมายังกังหัน หรือ เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า
ระบบนี้ น้ำจากบ่อน้ำร้อนจะถูกใช้เพื่อสร้างใช้การส่งผ่านความร้อนแก่ “สารทำงาน” (working fluid) อีกตัวที่จะระเหยและใช้เพื่อเป็นพลังงาน
แก่กังหัน/เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า น้ำร้อนและสารทำงานจะถูกเก็บในระบบไหลเวียน หรือ ท่อที่ปิดสนิท ที่แยกกัน และไม่มีทางมาผสมกัน

ข้อดีของระบบนี้คือ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำที่อุณหภูมิต่ำกว่า 2 แบบแรก (ตั้งแต่ 225 องศาฟาเรนไฮต์ ถึง 360 องศาฟาเรนไฮต์)
โดยใช้สารทำงานที่มีจุดเดือดต่ำกว่าน้ำ นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าระบบนี้ยังไม่ปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วย ยกตัวอย่างโรงไฟฟ้า
ชนิดนี้ได้แก่ โรงไฟฟ้าใน คาซ่า เดียโบล ฮ็อต สปริง ที่โมโน เคาน์ตี้ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา




Credit
energysavingmedia.com (http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=124&cno=2764)

gwen stacy
5th October 2016, 13:42
ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่่าโรงงานทั้ง3โรงงานใช้ความร้อนจากใต้พิภพ

ning445
5th October 2016, 15:14
กำลังสูบแกนโลก จนท้ายสุดไม่เหลืออะใร แล้วดาวก็จะระเบิด ต้องเก็บคนที่เหลือใว้ในCodex สุดท้ายปฏิวัติ มีคนนึงถูกส่งไปเพื่อความหวังใหม่ของมวลมนุษย์ แล้วเค้าก็กลายเป็นวีรบุรุษ