PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : [บมความ] PSU แรงจัดซักที ของดีคู่บารมีเครื่อง



arthur_cg
14th July 2011, 03:52
จริงๆแล้ว เรื่องของ PSU หรือ Powersupply ผมต้องยอมรับว่า ในช่วงเวลาหลังๆ มานี่ เริ่มมี User ที่ให้ความสนใจมันมากๆ ขึ้นเรื่อยๆแล้ว สังเกตุได้จาก ยอดขายหลายๆที่ และ เครื่องประกอบไหม่ๆ หลายๆเครื่อง ผมเริ่มมองเห็น PSU แยก(ไม่ใช่ติดเคส) ที่มีกำลังวัตถ์ดีขึ้นแล้ว นั้นเอง

คราวนี้ มาดูกันดีกว่า ว่า ถ้าจะเรา เริ่มซื้อ PSU ดีๆแรงๆ มาใช้กับเครื่องน่ะ มันดีมั้ย

PSU จัดเป็นของที่ถูกมองข้ามมานานที่สุดครับ ใครต่อใครก็ไม่สนใจมัน ปล่อยวาง และไม่เหลียวแล บางคนที่ประกอบคอมพ์ก็คิดแค่ว่า เฮ้ย กรูเอา บ้านๆนี่แหละ พอ แค่ตัวจ่ายไฟ

ถ้ามันแค่ตัวจ่ายไฟจริงๆ บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิต PSU ขั้นเทพๆ เค้าคงล้มระเนระนาดหมดล่ะครับ

ดังนั้น มาแก้ข้อ เข้าใจผิด กันก่อนดีกว่า



"PSU วัตถ์สูงๆ มันสำหรับเครื่อง OVERCLOCK !! แค่นั้นแหละ"

http://www.corsair.com/power-supplie...-2/ax1200.html

ไม่จริงเสมอไปครับ อย่าเอาความเชื่อผิดๆ นี้มาบดบังหนทางเปิดศักยภาพเครื่องเราครับ PSU วัตถสูงๆนั้น นอกจากจะจ่ายไฟได้สูงแล้ว มันมี "นัยยะซ่อนเร้น" อยู่ครับ
นัยยะที่ว่าก็คือ ค่า effecient ของมันครับ(พิมพ์ถูกป่ะ)

ค่านี้คือ ค่าความสามารถในการจ่ายกระแสไฟ ในช่วงระยะโหลดต่างๆครับ โดยค่านี้ จะเป็นการเทค เอฟเฟคต์ ของตัว PSU ครับ ซึ่งหากว่า PSU เรา มีค่าการจ่ายกระแสที่ดี การจ่ายไฟก็จะนิ่งเรียบด้วย
แต่ว่า ระยะนี้ เมื่อ โหลด PSU มันสูงๆ แล้ว ค่า Efficiency มันจะลดลงครับ

ซึ่ง การจะทำให้ PSU โหลดได้ก็มีกรณีเดียวคือ การจ่ายไฟที่มากขึ้นจนใกล้ถึงขีดจำกัดกำลังของ PSU ครับ ซึ่ง เมื่อจ่ายหนักขึ้น ค่า Efficiency มันก็จะลดลง (เช่นกราฟ PSU บางรุ่น จะมีบอกไว้ นั่นเอง)
ซึ่ง เมื่อ PSU ต้องทำโหลดมากขึ้น ความสามารถการจ่ายไฟก็จะลดลงเรื่อยๆ

ทำให้ ต้องมีการบังคับด้วย มาตรฐาน 80+ ขึ้นมา เพื่อความอุ่นใจว่า PSU เราจะ จ่ายไฟได้ดี โดยที่ไม่กินไฟมากเกินไป ไว้เดี๋ยวมาคุยที่ 80+ ต่อ แต่ตอนนี้ มาดูเรื่องนี้ก่อน

efficiency นั้น หากอยู่ในช่วง การทำงาน โหลดไม่สูงมากนัก มันก็จะจ่ายไฟได้ในระดับหนึ่ง
แต่จุดที่จะทำงานได้ดีที่สุด ในหลายๆกราฟ ทดสอบนั้นคือที่

Efficiency ที่ 50% load จะให้ค่า Efficiency ดีที่สุดครับ

http://image.ohozaa.com/i/e1d/ax1200efficiency.jpg

หมายความว่า ถ้าเราสามารถที่จะเซ็ต Full load เครื่องให้ใกล้เคียงกับ ค่า การทำงานของ PSU ที่ 50% ได้ เราจะได้กระแสไฟที่ เรียบและ คุ้มค่าที่สุด

ซึ่งเราจะสังเกตุได้ว่า ตามกราฟนั้น ที่ 600W จะจ่ายไฟได้ดีสุด(กราฟจาก AX 1200 )

ดังนั้น ก็ไม่น่าแปลกใจเลยที่ เราจะเห็นเสี่ยๆ ทั้งหลาย จะเล่น PSU ที่แรงเลิศหรู อลังการ ไม่ใช่เพราะเงินเหลือ เชื่อมั้ย บางคนเคยดูถูก สำทับ คนเหล่านี้ว่า รวยไม่พอต้อง "โง่" ด้วย ซึ่งเค้าหารู้ไม่ว่า พวกนั้นที่สำทับไว้แหละ ที่ "โง่เอง" (ผมโดนจาก ช่างที่ร้านนี่แหละว่าผม แต่ไม่อยากต่อล้อต่อเถียงมาก เพราะ อ่างรั่ว มันก็เท่านั้น)

จริงๆแล้ว เหตุผลที่เค้าเล่น PSU วัตถ์หนักๆนั้น เพราะว่า เค้าต้องการการจ่ายไฟ ช่อง Effeciency ที่ดีที่สุด ต่างหากล่ะครับผม

ซึ่ง ถ้าเรา คำนวณโหลด เครื่องดูดีๆ แล้ว บางครั้ง เครื่องเรา ที่กินไฟที่ 350 Watt นั้น ถ้าสามารถหา PSU ที่จ่ายไฟได้เกินกำลังไปมากๆ มันจะมีผลดีซะยิ่งกว่าอีก

และอีกเรื่อง ความร้อนก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่ง การที่ PSU ให้ค่า efficiency ได้ดีที่ 50% โหลดนั้น จริงๆแล้วความร้อนในช่วงนั้นก็ไม่สูงด้วยครับ อยู่ในช่วงอุณหภูมิทำงานนั่นเอง ซึ่ง ตามหลักอุปกรณืพวกนี้เลย หากร้อนเกินไปมากๆ มันจะลดประสิทธฺภาพลง ดังนั้น ในช่วง Efficiency สูงสุดนั้น

เพราะ PSU อยู่ในสภาวะพร้อมทำงานที่ดีที่สุด นั่นเองครับ


เอาล่ะ หยุดความเชื่อที่ 2 ต่ออีกดีกว่า

"PSU วัตถ์สูงๆ มันกินไฟ"

ช่างเป็นความคิดหลอกหลอนจิต คนหลายๆคนมาช้านานมากๆครับ จริงๆแล้ว มันไม่ได้กินไฟเลย เครื่องคุณใช้งานโหลดเท่าไร มันก็กินเท่านั้นแหละ ไม่เกี่ยวว่า คุณจะใช้ 1000 Watt ทันจะกิน 1000 Watt ตาม ไม่เกี่ยวเลยครับ ถ้าเครื่องใช้แค่ 200 Watt มันก็จ่ายแค่ 200 แหละครับ

ซึ่ง วัตถ์สูงๆ นั้น ถ้ามีตรา การันตี ที่ผ่านการทดสอบจริงๆ (80+) มันก็อุ่นใจได้แน่ๆครับผม


"Single - Multi Rail"

2 ลักษณะการจ่ายไฟ ที่เราควรรู้ไว้ เรื่องหนึ่งคือ

เคยได้ยินมั้ย ทำไมถ้าจะเล่น Multi Rail จะต้องมีคนบอกว่า ถ้าเรา"เฉลี่ย" รางจ่ายไฟ ได้ดีๆ มันก็ไม่มีปัญหา
ทำไมต้อง เฉลี่ยล่ะ

เพราะว่า PSU แบบ มัลติเรลล์นั้น ท่าน Geek เคยไปหาตัวแปลมาโพสต์ให้ ทำให้ผมถึงบางอ้อ เลยว่า เจ้า Multi Rail นี่ จะมีการกำหนดค่า A แต่ละราง ในการจ่าย 12 V ไว้ ในระดับหนึ่ง ซึ่ง หากถึงระดับนั้นแล้วในรางใดรางหนึ่ง ตัว PSU จะตัดการทำงานทันที
(ลองสังเกตุ Stronger 700 จะมี รางแรก ต่ำ แต่รางหลัง สูงมากๆ) ดังนั้นแล้ว หากเรา สามารถจะเฉลี่ยไฟแต่ละสายได้ ( เฉลี่ยง่ายๆ คือ อย่าใช้เส้นเดียวเยอะเกินไป( เช่นไฟต่อเข้าการ์ดจอ อาจจะหัวแยกมาให้ ก็ใส่ สายละช่องก็ได้ (PSU บางรุ่นจะให้หัว PCI-E มา 2 เส้น แยก เส้นละ 2 หัว ก็ใส่มัน ทั้ง 2 เส้น เส้นละหัวก็ได้ ในการ์ดจอกินไฟหนักๆ)

แต่ Single Rail นั้นไม่ต้องกังวล เพราะมันจ่ายจากรางเดี่ยวใหญ่ๆ ตัดปัญหาไฟเกินรางจ่ายได้ดีกว่า ถ้า โหลดเครื่องเราไม่เกินกว่าที่ PSU จะจ่ายได้นั่นเอง


เอาล่ะ มาถึงตรงนี้แล้วก็คงจะทำให้ หลายๆคน ตัดสินใจได้ว่า PSU ตัวหน้า บางครั้ง ซื้อตัวแรงโหดมา มันก็ไม่เสียหายหรอก

ขอแค่มันจะจ่าย Full Load ให้เราได้ ในช่วงที่ค่า Efficiency สูงสุด (50%) ก็พอแล้วนั่นเอง สำหรับคนที่งบเหลือนะๆ แต่ถ้า งบไม่มากนัก ก็หาที่มันจะเกินกว่า ความต้องการสูงสุดของเครื่องเราไว้ ซัก 150 Watt + ขึ้นไปก็ดี อุ่นใจได้ดีกว่า เพราะมันก็มีบ้างที่เครื่องจะกระชากโหลดได้เหมือนกัน

และ ศึกษาเรื่องการจ่ายไฟ แต่ละรางดีๆ แค่นี้ เราก็มี โรงงานจ่ายไฟชั้นดี ให้เราได้เล่นคอมพ์ที่ดีๆ ไปอีกนานๆแล้วนั่นเอง

เครดิดท่าน KAYAZUDA CEO Nvidia @OCZ

ugly
14th July 2011, 11:53
ขอบคุณมากครับท่าน เป็นความรู้มาก สำหรับคนที่ไม่รู้เรื่อง PSU หรือ Powersupply เยี่ยมมากครับผม

KoreaFever
14th July 2011, 15:50
ผมใช้ Coolermaster Extreme Power plus 500W
OC x4 840 ไป 3.8 แล้วก็ OC 6790 เสียวเลยพออ่านบทความนี้= =

Jung Hye Wook
14th July 2011, 16:12
ผมใช้ GREAT WALL (GW-600SE) 600w

Plusz
14th July 2011, 16:29
ตอนนี้เวลาเลือก PSU ของผม
1 ถอดสายได้ไหม
2 80+ ไหม
3 สวยไหม แค่นั้นแหล่ะ ตอนซื้อ Gx-750 ยังเลือกไม่เป้น 55

wAkie
14th July 2011, 21:45
Corsair AX750 ก็แหล่มและ ถึงจะแพงไปหน่อยก็เหอะ

arthur_cg
14th July 2011, 23:55
ตอนนี้เวลาเลือก PSU ของผม
1 ถอดสายได้ไหม
2 80+ ไหม
3 สวยไหม แค่นั้นแหล่ะ ตอนซื้อ Gx-750 ยังเลือกไม่เป้น 55

คิดเหมือนผมเลย ^^