PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : “เชอร์โนบิล” Zone of alienation เมืองร้าง...นิวเลียร์มรณะ [ด่านใน Modern warfare 1]



CloseMoST
25th November 2011, 12:00
http://www.publicthaionline.com/images/2.jpg

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d8/Chernobylreactor_1.jpg/800px-Chernobylreactor_1.jpg
โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลในปัจจุบัน


26 เมษายน พ.ศ. 2529 โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl Nuclear Power Plant) ที่เมืองเชอร์โนบิล ประเทศยูเครน (สมัยนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) เกิดการระเบิดขึ้น หลังจากที่มีวิศวกรตรวจสอบการทำงานของระบบทำความเย็น โดยปิดระบบรักษาความปลอดภัย เมื่อแรงดันไอน้ำภายในสูงขึ้นอย่างฉับพลันแต่ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติกลับไม่ทำงาน มันจึงส่งผลร้ายแรงเหลือคณานับ จนแม้ทุกวันนี้เชอร์โนบิลก็ยังเป็นเสมือนฝันร้ายของมนุษยชาติ


เหตุผิดพลาดครั้งนั้น ทำให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 ในโรงไฟฟ้าเกิดระเบิดขึ้น และนั่น...สารกัมมันตภาพรังสีเกือบทั้งหมดแพร่กระจายสู่บรรยากาศ ในรัศมี 30 กิโลเมตรทันที ทั่วบริเวณนั้นมีการเปรอะเปื้อนรังสีอย่างเข้มข้นและกว้างขวาง เชอร์โนบิลต้องถูกประกาศเป็นเขตอันตราย (Zone of alienation) เชื่อหรือไม่ว่า....เหตุระเบิดครั้งนั้นก่อผลกระทบอย่างรุนแรงไปกว้างใหญ่ไพศาล นั่นเพราะสารกัมมันตภาพรังสีได้ลอยออกไปปนเปื้อนทั้งในอากาศ แม่น้ำ ผืนดิน ทั่วทวีปยุโรปกว่า 3.9 ล้านตารางกิโลเมตร แน่นอนว่ามีการอพยพประชาชนประมาณ 336,000 คน ออกจากพื้นที่หลังอุบัติเหตุ รัฐบาลยูเครนพยายามปิดข่าวทุกทาง มีการแจ้งเพียงแค่ว่า มีเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ดับเพลงเสียชีวิตจำนวน 31 คน และมีผู้บาดเจ็บจากกัมมันตรังสี 203 คน


ที่น่าตกใจก็คือ ด้วยความต้องการใช้ไฟฟ้าจำนวนมากในสมัยนั้น ทำให้รัฐบาลยูเครนสั่งเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เหลืออยู่ต่อไปอย่างหน้าตาเฉย!? ตั้งแต่ปี 2534 เรื่อยมา จนเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 โรงงานแห่งนี้จึงปิดตัวลง ต่อมาในปี 2545 องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้สรุปผลความเสียหายว่า มีผู้เสียชีวิตจากแรงระเบิดโดยตรง 47 ราย และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีก 9,000 คนจากผลกระทบของเหตุการณ์นี้


จากวันนั้นถึงวันนี้ 2 ทศวรรษกว่าแล้ว หลังการระเบิดของโรงงานพลังไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ซึ่งบัดนี้ได้กลายสภาพเป็นเมืองร้างที่แสนจะวังเวง และติดอับดับพื้นที่ที่อันตรายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งที่ในอดีตนั้น เชอร์โนบิลคือเมืองที่มีความเจริญอย่างมาก จุดเด่นของเมืองนี้คือ เสาชิงช้าสวรรค์ขนาดใหญ่ที่โดดเด่นงามสง่า และเต็มไปด้วยตึกสูงมากมาย (มีเกมคอมพิวเตอร์ ชื่อ เชอร์โนบิล จำลองฉากมาได้เหมือนเปี๊ยบ) แต่วันนี้เชอร์โนบิลกลับกลายเป็นเพียงซากเหล็กซากปูนที่น่าขนลุกขนพอง กลายเป็นเมืองที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตทุกชนิดอยู่เหลือรอดเลยในบริเวณรัศมี 19 ไมล์ นอกจากรอบๆ โรงไฟฟ้าและบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงจะเป็นพื้นที่อันตรายที่สุดติดอันดับต้นๆ ของโลกที่อยู่อาศัยไม่ได้แล้ว ยิ่งไปกว่านั้นทุกวันนี้ มันยังคงมีกัมมันตภาพรังสีหลงเหลืออยู่ ทั้งของเหลวเป็นพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำและอากาศจนไม่สามารถดื่มกินได้เลย

http://listverse.files.wordpress.com/2010/03/800px-pripyat01.jpg

มีการเปิดเผยตัวเลขจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น สรุปได้ที่ยอดโดยประมาณ 6.6 ล้านคน (แต่บางรายงานสรุปว่ายอดสูงกว่านั้น อาจถึง 8 ล้านคน) ซึ่ง 4,000 คนมีสาเหตุจากโรคมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ ที่เหลือเจ็บป่วยจากโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ และโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวบาตร (เกิดมาหัวโตผิดปกติเพราะพ่อแม่ได้รับกัมมันตรังสีไปมาก) นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจอีกจำนวนมาก จึงนับว่าเป็นหายนะภัยจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่รุนแรงที่สุดในโลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หายนะภัยเชอร์โนบิลทำให้สารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลมากกว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิถึง 200 เท่าเลยทีเดียว!
เมื่อครั้งที่ครบรอบ 22 ปีเหตุการณ์ที่เชอร์โนบิล ทั่วโลกมีการจัดงานรำลึก รวมถึงในเมืองไทยด้วย นั่นเพราะว่าประเทศไทยกำลังจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอนาคตอันใกล้นี้แล้ว จึงมีการถกและเตือนสติกันถึงเรื่องอุบัติเหตุว่าจะมีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่จะเกิดขึ้นแบบที่เชอร์โนบิล....แน่ล่ะ หลายคนอดที่จะหวาดระแวง และนึกถึงภาพสยองนั้นไม่ได้ นักสิ่งแวดล้อมกล่าวว่าการเสนอให้นิวเคลียร์เป็นทางออกด้านพลังงานนั้นเป็น “มายาคติ” เพราะบ้านเราไม่ได้ขาดแคลนพลังงานและน้ำมันถึงขนาดที่จะหาอะไรมาทดแทนไม่ได้ และในเมืองไทยนั้น เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่จริงๆ คือก๊าซธรรมชาติและถ่านหินบางส่วน
การแก้ปัญหาด้านพลังงานที่แท้จริงและยั่งยืนจึงน่าจะเป็นการปฏิรูปโครงสร้างพลังงานให้ชาวบ้านได้ใช้กันอย่างหลากหลายและกว้างขวางมากกว่าทั้งพลังงานแสงแดด ลม น้ำ ชีวมวล ฯลฯ และต้องมีการวางแผนการใช้พลังงานให้เหมาะสม โดยไม่ไปผูกติดกับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งทุกวันนี้มักจะมีการประมาณการความเติบโตที่สูงกว่าความเป็นจริง ประเทศที่พัฒนาแล้ว เขามักจะวางแผนพลังงานโดยมองถึงความยั่งยืน การจ้างงานในท้องถิ่น และพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนมากกว่า ทุกวันนี้บ้านเรามีการใช้พลังงานเกินจำเป็นไปมากมาย อย่างในกรุงเทพฯ ที่มีการสรุปค่าการใช้ไฟฟ้าของห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ 3 แห่ง ปรากฎว่ามีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าแม่ฮ่องสอนทั้งจังหวัดเสียอีก...น่าทึ่งจริงๆ


เป็นแบบนี้เลยมีใครบางคน...บางกลุ่ม ซึ่งก็คนในภาครัฐและผู้ได้รับประโยชน์มหาศาลนั่นแหละ พยายามผลักดันและเรียกร้องให้มีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นัยว่าจะเป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาด ไร้มลภาวะ... แต่เอางี้ก่อนได้ไหม? ก่อนสร้างใครช่วยรับประกันและรับปากประชาชนหน่อย ว่าจะสร้างอย่างมีมาตรฐานสูงสุด สร้างโดยที่ชาวบ้านจะไม่เดือดร้อนทั้งในปัจจุบันและอนาคต ไม่ก่อผลกระทบใดๆ ปลอดภัยสุดๆ ไม่ระเบิดชัวร์! ไม่มีการกินใต้โต๊ะบนโต๊ะหรือคิกไปตามเบี้ยบ่ายรายทางให้งบมาตรฐานความปลอดภัยและการก่อสร้างต่ำลง ใครจะยืดอกมารับประกันให้พวกเราได้ว่ากรุงเทพฯ จะไม่เป็นเมืองร้างที่อันตรายติดอันดับโลกแบบเชอร์โนบิลแน่นอน


ก็แหม...ต้องวอรี่กันนิดนึงนะ เพราะเรื่องงาบงบนี่ไม่เข้าใครออกใคร ขนาดสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 1 ของ กทม. อย่างแท่งเสาโฮปเวลนั่น ยังโทนโท่เป็นศรีสง่าให้คนไทยได้อายชาวโลกกันอยู่เล้ย..
Credit :: publicthaionline.com

-----------------------------------------------------

เพิ่มข้อมูลต่อให้ครับ :)
http://www.greenpeace.org/seasia/th/Global/seasia/image/2008/3/chernobylsarcophagus.jpg
การเก็บกวาด

ความพยายามในช่วงแรกๆ ที่จะดับไฟที่กำลังลุกไหม้เครื่องปฏิกรณ์ คือ การฉีดน้ำเย็นไปที่เครื่องปฏิกรณ์ หลังฉีดน้ำ 10 ชั่วโมง ไม่มีการดำเนินการใดต่ออีก ในวันที่ 27 เมษายน - 5 พฤษภาคม เฮลิคอปเตอร์ของทหารมากกว่า 30 ลำบินขึ้นเหนือเครื่องปฏิกรณ์ที่กำลังลุกไหม้ และทิ้งตะกั่ว 2,400 ตัน และทราย 1,800 ตันลงไป เพื่อพยายามดับไฟและดูดซับรังสี


ความพยายามดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ แท้จริงแล้วกลับทำให้สถานการณ์แย่ลง เพราะความร้อนได้ทับถมใต้วัสดุที่ถูกทิ้งลงไป ทำให้อุณหภูมิของเครื่องปฏิกรณ์เพิ่มขึ้นอีกครั้ง รวมถึงรังสีปริมาณมากถูกปล่อยออกมา ในช่วงสุดท้ายของการดับไฟ แกนของเครื่องปฏิกรณ์ถูกทำให้เย็นลงด้วยไนโตรเจน ไฟที่ลุกไหม้และการปล่อยกัมมันตภาพรังสีไม่สามารถถูกควบคุมได้จนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม


แม้จะเป็นอันตรายอย่างเ้ห็นได้ชัด แต่การรับมือกับหายนะครั้งนี้ต้องใช้คน ไม่ใช่คนจำนวนน้อย แต่เป็นหลายพันคน ที่ต้องเสียสละชีวิตและสุขภาพเพื่อความพยายามที่เปล่าประโยชน์ในการควบคุมหายนะครั้งนี้ คนเหล่านี้ถูกเรียกว่า "นักกู้ภัย"

นักดับเพลิง 600 คน ของหน่วยดับเพลิงของโรงไฟฟ้า และทีมปฏิบัติการของโรงไฟฟ้าคือกลุ่มผู้ได้รับรังสีรุนแรงที่สุด โดยในกลุ่มนี้ 130 คนได้รับรังสีในปริมาณเท่ากับขีดสูงสุดต่อปีของการได้รับรังสีของคนงานรวม 650 ปี บุคลากรทางการทหารหลายพันคนและคนงานจากที่อื่นๆ ถูกเกณฑ์ไปช่วยเคลื่อนย้ายวัสดุกัมมันภาพรังสีที่อันตรายถึงชีวิต โดยมีการป้องกันเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย


คนงาน 31 คนเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน 600,000 - 800,000 คนมีส่วนในการปฏิบัติการเก็บกวาดที่เชอร์โนบิลจนถึงพ.ศ. 2532 ในกลุ่มนี้ 300,000 คนได้รับรังสีเกินขีดสูงสุดสำหรับประชาชน 500 เท่าเป็นเวลา 1 ปี ปัจจุบันผู้ที่รอดชีวิตยังทุกข์ทรมานกับสุขภาพที่ถูกทำลาย


คำถามที่ว่า จนถึงปัจจุบันคนเหล่านั้นได้เสียชีวิตไปกี่คนเป็นคำถามที่เป็นที่โต้เถียงกันมาก หน่วยงานรัฐบาลในอดีตประเทศในสหภาพโซเวียต 3 ประเทศที่มีประชาชนได้รับผลกระทบระบุว่า จนถึงปัจจุบัน "นักกู้ภัย" ประมาณ 25,000 คน ได้เสียชีวิตลง แต่สมาคมเพื่อนักกู้ภัยทั้งหลายใน 3 ประเทศนี้ได้ประมาณการตัวเลขที่มากกว่าตัวเลขของทางการมาก ในทางตรงกันข้าม รายงานจากการประชุมเชอร์โนบิลในพ.ศ. 2548 ระบุตัวเลขของการเสียชีวิตของนักกู้ภัยที่น้อยกว่ามาก

ตัวเลขที่ไม่ตรงกันนี้เกิดจากวิธีการในการประเมินที่ต่างกัน นอกจากนี้สถิติของนักกู้ภัย (จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและปริมาณรังสีที่ได้รับ) ถูกบิดเบือนโดยหน่วยงานต่างๆ ของโซเวียต ดังนั้นจึงอาจไม่มีวันทราบตัวเลขที่น่าเชื่อถือที่สุดได้

การสิ้นสุดของหายนะ?


ในวันที่ 22 ธันวาคม 2531 นักวิทยาศาสตร์ของโซเวียตประกาศว่า "โลงศพโบราณ" ที่ปัจจุบันใช้ห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์นั้นถูกออกแบบให้มีอายุเพียง 20-30 ปี

3 ปีหลังเกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิล รัฐบาลโซเวียตสั่งหยุดสร้างเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 5 และ 6 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครบวงจรเชอร์โนบิล และหลังการเจรจาระหว่างประเทศที่ยืดเยื้อหลายครั้ง โรงไฟฟ้าทั้งพื้นที่ถูกปิดตัวลง 14 ปีหลังเกิดอุบัติเหตุในวันที่ 12 ธันวาคม 2543


โลงศพโบราณคืออะไร
หลังเกิดเหตุระเบิด มีการสร้าง "โลงศพโบราณ" (สิ่งห่อหุ้ม) ขนาดใหญ่ ที่ทำด้วยคอนกรีต เพื่อปกคลุมเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 4 ที่ถูกทำลาย โลงศพนี้ถูกออกแบบมาเพื่อหยุดการปล่อยรังสีเพิ่มขึ้นขึ้นสู่บรรยากาศ


ภาระกิจแรกในการควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ที่ลูกทำลายคือการสร้าง "แผ่นหินหนาสำหรับทำความเย็น" ใต้เครื่องปฏิกรณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อเพลิงที่ยังร้อนอยู่เผาไหม้ผ่านหลุมที่ฐานเครื่องปฏิกรณ์ คนงานเหมืองถ่านหินถูกเกณฑ์ไปเพื่อขุดอุโมงค์ใต้เครื่องปฏิกรณ์ และภายในวันที่ 24 มิถุนายน คนงานเหมือง 400 คนสามารถสร้างอุโมงค์ยาว 168 เมตรใต้เครื่องปฏิกรณ์ได้สำเร็จ
http://www.greenpeace.org/international/ReSizes/ImageGalleryLarge/Global/international/planet-2/image/2006/3/the-sarcophagus-around-chernob.jpg

โลงศพโบราณที่ห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์ที่เชอร์โนบิล

ภายในเดือนพฤศจิกายน 2529 โลงศพโบราณที่ห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์ได้สร้างเสร็จสิ้น โดยใช้เหล็กกล้ามากกว่า 7,000 ตัน และคอนกรีต 410,000 ลูกบาศก์เมตร


โลงศพโบราณถูกออกแบบมาให้มีอายุ 20-30 ปี ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือความไม่มั่นคง เพราะมันถูกสร้างอย่างรีบเร่ง เหล็กที่เป็นคานหนุนถูกกัดกร่อน ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อบูรณาการของโครงสร้างทั้งหมด น้ำได้รั่วซึมเข้าไปในโลงศพผ่านทางรูบนหลังคา และถูกปนเปื้อนด้วยกัมมันตภาพรังสี จากนั้นจึงไหลซึมผ่านพื้นเครื่องปฏิกรณ์ลงสู่ดินข้างใต้


นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าหายนะจากนิวเคลียร์ครั้งต่อไปในระดับความรุนแรงเท่ากับที่เชอร์โนบิลจะเกิดขึ้นอีกที่เชอร์โนบิล เนื่องจากมีเกราะป้องกันที่บอบบาง


ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่ในเครื่องปฏิกรณ์มีปริมาณเท่าใด แต่นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากประมาณการว่าเหลือมากกว่า 95% ของเชื้อเพลิงทั้งหมด นอกจากนี้ สิ่งที่ถูกทิ้งไว้ในโลงศพ คือ กากนิวเคลียร์เป็นพันคิวบิกเมตรที่เกิดจากชิ้นส่วนของเครื่องปฏิกรณ์ที่ถูกทำลาย นอกจากนี้ดินที่ปนเปื้อนยังถูกทิ้งไว้ในโลงศพด้วย

Breakboyz
25th November 2011, 12:18
ต่อไปในอนาคต พลังงานนิวเคลียก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ถ้าประชาชนเข้าใจและยอมรับ ก็คงได้เห็นโรงพลังงานนิวเคลียในไทย (ส่วนตัวผมว่าอีกนาน 555)

ทุกอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ประเทศไทยซื้อเทคโนโลยีจากเค้ามา ประเทศผู้คิดค้นเทคโนโลยี ย่อมต้องหาวิธีป้องกันไว้ควบคู่ไปด้วย (แต่บางทีมันก็มีอะไรที่เกิดนอกเหนือจากที่คาดคิดไว้ ต้องทำใจ)

ยังไงตอนนี้ก็พยายามรักษาพลังงานช่วยๆกันครับ :D

viewkings2
25th November 2011, 12:27
+1 ความรู้ครับ

มันใช่ที่เดียวกับในหนัง ทรานฟอเมอร์3 ที่ไปเอา ไอลูกกลมๆของยาน หรือเปล่าครับ:D

BrownnieG
25th November 2011, 12:39
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์+ประเทศไทย = วิบัติ

งบสร้างมันคงไปถึงโรงไฟฟ้าจริงๆซัก 10% นอกนั้นคงไปอยู่ในกระเป๋าคนที่คุณก็รู้ว่าใครหมด

JigsawHYHY
25th November 2011, 12:41
บรรยากาศ คงน่าอยู่ดีเนอะ

CloseMoST
25th November 2011, 13:23
ต่อไปในอนาคต พลังงานนิวเคลียก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ถ้าประชาชนเข้าใจและยอมรับ ก็คงได้เห็นโรงพลังงานนิวเคลียในไทย (ส่วนตัวผมว่าอีกนาน 555)

ทุกอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ประเทศไทยซื้อเทคโนโลยีจากเค้ามา ประเทศผู้คิดค้นเทคโนโลยี ย่อมต้องหาวิธีป้องกันไว้ควบคู่ไปด้วย (แต่บางทีมันก็มีอะไรที่เกิดนอกเหนือจากที่คาดคิดไว้ ต้องทำใจ)

ยังไงตอนนี้ก็พยายามรักษาพลังงานช่วยๆกันครับ :D

คงมี % ทำน้อยครับ หลายๆประเทศเริ่มจะเลิกใช้แล้วหันไปใช้ พลังงานทดแทน หรือ พลังงานธรรมชาติกันแล้วครับ
แล้วอีกอย่างถ้าทำที่ไทย หาที่ตั้งยากครับ ประชาชนกลัวมันระเบิด


+1 ความรู้ครับ

มันใช่ที่เดียวกับในหนัง ทรานฟอเมอร์3 ที่ไปเอา ไอลูกกลมๆของยาน หรือเปล่าครับ:D

ใช่ครับ :D

muek9999
25th November 2011, 13:26
ผมว่าอีกสัก 20-50 ปีข้างหน้าคนเราคงเอาพลังงานนิวเคลียมาใช้กันอย่างเป็นสากลน่ะครับ ถึงตอนนั้นระบบรักษาความปลอดภัยคงดีขึ้นมาก

popkong11
25th November 2011, 13:29
เข้ามาดูที่เเรก นึกว่า bf3 :sweat

เกมนี้ตามหลอกหลอนผมหลายภาพละ เเยกไม่ออก :rofl

zephyr3d
25th November 2011, 13:36
ยังไงประเทศเราก็ต้องพึ่งพาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์อยู่ดี เพราะตอนนี้ประเทศเราใช้พวกถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าเป็นหลักยังไงก็ต้องหมดแน่นอน ส่วนพลังงานงานทดแทนนั้นเป็นไปได้แค่ข้างยากครับ

gsuhplyf
25th November 2011, 13:36
^^ ให้คุณได้มหาศาล ก็ให้โทษได้มหาศาลเช่นกัน

RAZORWIN
25th November 2011, 14:53
ถ้าเอามันใช้อย่างถูกต้องก้คงดี

Sector-4172
25th November 2011, 15:06
อีก 20,000 ปีครับ Chrnobyl ถึงจะอยู่ได้อย่างปรกติจริงๆ

Breakboyz
25th November 2011, 15:11
อีก 20,000 ปีครับ Chrnobyl ถึงจะอยู่ได้อย่างปรกติจริงๆ

รอยู่พร้อมกันมั้ยครับ 555

Breakboyz
25th November 2011, 15:12
ยังไงประเทศเราก็ต้องพึ่งพาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์อยู่ดี เพราะตอนนี้ประเทศเราใช้พวกถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าเป็นหลักยังไงก็ต้องหมดแน่นอน ส่วนพลังงานงานทดแทนนั้นเป็นไปได้แค่ข้างยากครับ

ใช่ครับ อีกไม่กี่ปีหมดแน่นอน ไม่ว่าจะก๊าซธรรมชาติที่อ่าวไทย หรือ เหมืองที่แม่เมาะ ตอนนี้เรายังต้องพึ่งพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว พม่า เลยครับ

alonedevil
25th November 2011, 15:24
ผมไม่เข้าใจนะผมว่าในปีๆหนึ่งมีคนตายไปเพราะสารกัมมันตรังสี จากโรงไฟฟ้านิวเคลีย แทบไม่มีเลย แต่บ้านเราก็ต่อต้านกันจังทั้งๆที่ผลบวกมันมากกว่าผลลบด้วยซ้ำ(ในกรณ๊ไม่คิดถึงเหตุร้ายแรงนะ)ขนาดญี่ปุ่นพังไปเราอยู่ห่างตัั้งไมล์ยังจะโดนลูกหลง -_-" จะรอให้ลาวมีใช้แล้วเราไปซื้อไฟบ้านเข้ามาหรือไง......ต่อให้เกิดระเบิดที่ลาวยังไงไทยเราก็รับกรรมด้วยเต็มๆ เพราะฉะนั้นเอาเข้ามาเถอะ

THEPalmsam
25th November 2011, 15:27
ของแบบนี้ต้องเรียกว่า"ดาบสองคมครับ"

ima1
25th November 2011, 15:32
รอดูกันยาวๆครับเรื่องนี้

Mikimar
25th November 2011, 15:54
ได้ความรู้อีกแล้ว..~ ^^

killnice
25th November 2011, 17:17
สวนสนุกที่ไม่มีวันไ้ด้เปิด

phacawit
25th November 2011, 17:21
ผมไม่เข้าใจนะผมว่าในปีๆหนึ่งมีคนตายไปเพราะสารกัมมันตรังสี จากโรงไฟฟ้านิวเคลีย แทบไม่มีเลย แต่บ้านเราก็ต่อต้านกันจังทั้งๆที่ผลบวกมันมากกว่าผลลบด้วยซ้ำ(ในกรณ๊ไม่คิดถึงเหตุร้ายแรงนะ)ขนาดญี่ปุ่นพังไปเราอยู่ห่างตัั้งไมล์ยังจะโดนลูกหลง -_-" จะรอให้ลาวมีใช้แล้วเราไปซื้อไฟบ้านเข้ามาหรือไง......ต่อให้เกิดระเบิดที่ลาวยังไงไทยเราก็รับกรรมด้วยเต็มๆ เพราะฉะนั้นเอาเข้ามาเถอะ

เค้านับแค่จำนวนคนตายทที่ไหนหละครับ ผลกระทบมันมีอีกเยอะ

chanwitpop
25th November 2011, 17:25
ผมไม่เข้าใจนะผมว่าในปีๆหนึ่งมีคนตายไปเพราะสารกัมมันตรังสี จากโรงไฟฟ้านิวเคลีย แทบไม่มีเลย แต่บ้านเราก็ต่อต้านกันจังทั้งๆที่ผลบวกมันมากกว่าผลลบด้วยซ้ำ(ในกรณ๊ไม่คิดถึงเหตุร้ายแรงนะ)ขนาดญี่ปุ่นพังไปเราอยู่ห่างตัั้งไมล์ยังจะโดนลูกหลง -_-" จะรอให้ลาวมีใช้แล้วเราไปซื้อไฟบ้านเข้ามาหรือไง......ต่อให้เกิดระเบิดที่ลาวยังไงไทยเราก็รับกรรมด้วยเต็มๆ เพราะฉะนั้นเอาเข้ามาเถอะ
พี่ไทยรอให้ ลาว เขมร เวียดนาม พม่า มาเลเซีย สิงห์โปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย บรูไน ติมอร์ตะวันออก เค้ามีกันครบก่อนเราค่อยเริ่มสร้าง:sweat

ประเทศไทยจงเจริญ!!!!!!!(ลง)





ปล.ให้ความรู้นิดหน่อย กระแสไฟฟ้าที่ประเทศไทยใช้60%ผลิตในไทยนะครับ แต่ ซื้อก๊าซจากพม่ามาผลิตทุกมิลลิแอมป์แปรครับ

BentSSRU
25th November 2011, 17:28
ส่วนตัวผมเห็นด้วยที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยคนไทยควรจะเปิดใจให้มากขึ้นเพราะมันเป็นพลังงานที่บริสุทธ์ไม่เป็นมีมลพิษและถ้าสร้างสำเร็จเราจะมีไฟฟ้าใช้ได้อย่างพอเพียง
และค่าไฟอาจจะถูกลงด้วยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังนำมาใช้ประโยช์ในการแพทย์ได้อีกด้วยแต่ถ้าทำจริงๆก็คงสร้างให้มันได้มาตรฐานและเน้นเรื่องความปลอดภัย
ส่วนเรื่องโรงไฟนิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิลที่มันรั่วไหลก็คงเป็นเพราะสมัยนั้นการรักษาความปลอดภัยยังไม่เน้นหนาพอส่วนที่ญี่ปุ่นนั้นก็เกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งคนญี่ปุ่นเองเขาก็ไม่ออกมาโวยวายและโทษใครเลย
เพราะเขาเข้าใจว่าเป็นภัยธรรมชาติปัจจุบันมีโรงฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก442โรงก็ยังไม่เห็นมีปัญาหาอะไรฉะนั้นคนไทยควรเปิดใจและยอมรับมันนะครับ

CloseMoST
25th November 2011, 17:43
ดันนะครับ เพราะเพิ่มข้อมูลให้ :D

xaouview
25th November 2011, 17:58
ดันนะครับ เพราะเพิ่มข้อมูลให้ :D

ขอบคุณครับ ความรู้ทั้งนั้น

Dark_Area
25th November 2011, 18:06
แหม... สุดท้ายก็ยังจะไปเข้าเรื่องการเมือง -..-

solowking2
27th November 2011, 16:35
ในนั้นจะเป็นเหมือน Metro 2033 ป่ะอ่ะ -..-

KnocKingMasterM
28th November 2011, 16:22
พัฒนาพลังงาน ลม แสงอาทิตย์ ชีวะภาพ ดีกว่าไหม สะอาดปลอดภัย 100% อย่าเอามาตั้งเลยเหนื่อยใจเปล่าๆ มันไม่เท่หรอก เราไม่เคยเจอหายนะคงไม่รู้

MASTER BROKEN HEART
28th November 2011, 17:30
หรือนี่อาจจะเป็นสาเหตุที่แท้จริง ฮ่าๆ

http://image.free.in.th/z/iy/28112554172450.png (http://image.free.in.th/show.php?id=aa8b241be3862490153368cbe9548003)
http://image.free.in.th/z/ij/28112554172635.png (http://image.free.in.th/show.php?id=8bfcfb755909d334a3863283ff9f5dab)

siamzone
28th November 2011, 17:35
บ้านเราก็มีโครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียน่ะ ครอบคลุมทั่วประเทศ แต่ว่าโครงการโดนชาวบ้านคัดค้าน ตอนนี้เลยไม่รู้ว่าโครงการเป็นยังไงต่อ

gecko
28th November 2011, 18:32
ชอบครับ ความรู้รอบตัว

Phenomenom555
28th November 2011, 19:04
ข้อดีก็มีมาก แต่ข้อเสียอันนี้(คือถ้าเกิดอุบัติเหตุก็เป็นแบบนี้แหละครับ) มันก็น่ากลัวมากเหมือนกัน:heat

srika23
28th November 2011, 19:12
ที่เป็นอย่างภาพ เพราะผมสั่งลูกน้องไปถล่มเองล่ะ

CrocoZz
28th November 2011, 20:54
แหม ตูม ๆ ๆ ไปมา อยู่ไม่ได้ถึง 2 หมื่นปีเลย รังสีร้ายกาจ !!