PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : บริจาคโลหิตดีอย่างไร



R_L_K
25th November 2011, 20:12
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ องค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ทรงมีพระราชดำรัสถึงผู้บริจาคโลหิตว่า
“โลหิตเป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงรักษาชีวิตให้ดำรงอยู่ นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตการบริจาคโลหิต จึงเทียบได้
กับการบริจาคชีวิตเป็นทานสูงสุด ควรยกย่องสรรเสริญอย่างยิ่ง การที่ประชาชนชาวไทยมีศรัทธาบำเพ็ญ
ประโยชน์อย่างเดียวกันนี้ แสดงว่าทุกคนมีจิตใจเป็นกุศลถือว่าตนเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันมีหน้าที่
ที่จะอนุเคราะห์กันและกัน”


ประโยชน์ของการบริจาคโลหิต
1. ได้รับความภูมิใจที่ได้เสียสละโลหิตในร่างกาย เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นการทำบุญอันยิ่งใหญ่ ซึ่งจะทำ
ให้ท่านมีความสุขใจ
2. ได้รับการตรวจสุขภาพร่างกาย เป็นประจำทุก 3 เดือน
3. ได้รับทราบหมู่โลหิตของตนเอง ทั้งระบบ เอ บี โอ เอบี และ ระบบ อาร์เอช
4. โลหิตทุกยูนิตที่ได้รับบริจาค ต้องผ่านกระบวนการคัดกรองเชื้อต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการเหมือนกับ การที่ผู้บริจาคโลหิต
ได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี เอดส์ และอื่น ๆ


ความจำเป็นที่ต้องใช้โลหิต
โลหิต 77% ที่ได้รับบริจาคถูกนำไปใช้เพื่อทดแทนโลหิตที่สูญเสียไปในภาวะต่าง ๆ อาทิ อุบัติเหตุ การผ่าตัด โรค-
กระเพาะอาหาร การคลอดบุตร ฯลฯ อีก 23% เป็นการนำโลหิตไปใช้เฉพาะโรค อาทิ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เกล็ดโลหิตต่ำ
ฮีโมฟีเลีย เป็นต้น

การบริจาคโลหิตไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคแต่อย่างใด

การบริจาคโลหิต คือ การสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้เพื่อให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาค
เพราะร่างกายแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้น สามารถ
บริจาคให้ผู้อื่นได้โลหิตสามารถบริจาคได้ทุก 3 เดือน เพราะเมื่อบริจาคโลหิตออกไป ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ด
โลหิตขึ้นมาทดแทนให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม ถ้าไม่ได้บริจาคร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัวเพราะหมดอายุออกมา
ทาง ปัสสาวะ อุจจาระ กระบวนการบริจาคโลหิตตั้งแต่เริ่มลงทะเบียน จนกระทั่งบริจาคโลหิตเสร็จสิ้นใช้เวลาประมาณ 15 นาที
ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเลือกเจาะโลหิตที่เส้นโลหิตดำบริเวณแขน แล้วเก็บโลหิตบรรจุในถุงพลาสติก (BLOOD BAG) ตั้งแต่ 350-450
มิลลิลิตร (ซี.ซี.) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค


คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต

1. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์
2. น้ำหนักตัว 45 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพทั่วไปสมบูรณ์ดี
3. ไม่มีประวัติโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
4. ไม่เป็นไข้มาลาเรียมาในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และไม่เป็นกามโรค โรคติดเชื้อต่าง ๆ ไอมีเลือด เลือดออกง่ายผิดปกติ
โรคเลือดชนิดต่าง ๆ โรคหอบหืด โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด
5. ไม่อยู่ในภาวะน้ำหนักลดมากในระยะสั้น โดยไม่ทราบสาเหตุ
6.ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือสำส่อนทางเพศ ไม่มีประวัตติดยาเสพติด
7. งดการบริจาคโลหิตภายหลังผ่าตัดคลอดบุตร หรือแท้งบุตร 6 เดือน (ถ้ามีการรับโลหิตต้องงดบริจาคโลหิต 1 ปี)
8. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์

การเตรียมตัวก่อน-หลังบริจาคโลหิต ดูแลตนเองก่อนมาบริจาคโลหิต

1. ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
2. ควรมีสุขภาพสมบูรณ์ดีทุกประการไม่เป็นไข้หวัดหรืออยู่ระหว่างรับประทานยาใด ๆ
3. ควรรับประทานอาหารมาก่อนและเป็นอาหารที่ย่อยง่ายไม่มีไขมั
4. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
5. งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ด
6. สุภาพสตรีไม่อยู่ระหว่างมีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์
7. การบริจาคโลหิตแต่ละครั้งต้องเว้นระยะ อย่างน้อย 3 เดือน ยกเว้นการบริจาคพลาสมาหรือเกร็ดโลหิต

เครดิต http://www.cbh.moph.go.th/source/knowledge/2550-08/50-08-3.html

วันนี้ผมมีโอกาสได้บริจาคครับ อยากจะชวนเพื่อนๆไปบริจาคกันเยอะๆ การเป็นผู้ให้ทำให้เรามีความสุขครับ:cool:

gsuhplyf
25th November 2011, 20:16
ผมจะครบ 54 วันละครับ รู้สึกจะ 54 หรือ 56 วันนี่แหละบริจาคได้อีกครั้ง
น่าจะอาทิตย์หน้ามั้งเค้ามาที่วิทยาลัยอีก ก็จัดอีกสักรอบ

หนที่แล้วยาเพิ่มเม็ดเลือดผมก็กินไม่หมดเลย 555+
วันนั้นลืมกินตอนเช้าหลังจากกินข้าว แล้วทีนี้
ออกไปเที่ยวกับเพื่อน ผมก็บอกว่าลืมกินยาหวะ
มันบอก กินดิยานี้มันหวาน ไม่ต้องใช้น้ำ

ซึ่งถ้าหลายคนเคยกินมันจะหวานจริงๆครับ แต่แค่ภายนอกนะ
ถ้าคุณลองกัดแล้วเคี้ยวสดๆแบบผม จะรู้ว่าคุณไม่อยากกินมันอีกเลย
มันรู้สึกเหมือนคาวเลือดติดปากตลอดเวลา เหมือนเลือดออกตามไรฟัน
ประมาณนั้นเลย 555+ เพื่อนผมก็หลอกกันไ้ด้ลง รู้สึกจะอาเจียนเป็นวันๆเลย

R_L_K
25th November 2011, 20:22
ผมจะครบ 54 วันละครับ รู้สึกจะ 54 หรือ 56 วันนี่แหละบริจาคได้อีกครั้ง
น่าจะอาทิตย์หน้ามั้งเค้ามาที่วิทยาลัยอีก ก็จัดอีกสักรอบ

หนที่แล้วยาเพิ่มเม็ดเลือดผมก็กินไม่หมดเลย 555+
วันนั้นลืมกินตอนเช้าหลังจากกินข้าว แล้วทีนี้
ออกไปเที่ยวกับเพื่อน ผมก็บอกว่าลืมกินยาหวะ
มันบอก กินดิยานี้มันหวาน ไม่ต้องใช้น้ำ

ซึ่งถ้าหลายคนเคยกินมันจะหวานจริงๆครับ แต่แค่ภายนอกนะ
ถ้าคุณลองกัดแล้วเคี้ยวสดๆแบบผม จะรู้ว่าคุณไม่อยากกินมันอีกเลย
มันรู้สึกเหมือนคาวเลือดติดปากตลอดเวลา เหมือนเลือดออกตามไรฟัน
ประมาณนั้นเลย 555+ เพื่อนผมก็หลอกกันไ้ด้ลง รู้สึกจะอาเจียนเป็นวันๆเลย

54 ครั้งเยอะมากเลยครับ ผมบริจาควันนี้ครั้งแรก ลุกขึ้นมาโลกหมุนเลยครับ เกือบเป็นลม = = พึ่งกินยาที่เค้าให้มาครับ ตั้ง 20 เม็ด ต้องกินให้หมดมั้ยครับ

gsuhplyf
25th November 2011, 20:38
เฮ้ยไม่ใช่ท่าน ผมเคยบริจาคครั้งเดียว อ่านดีๆครับ 54 หรือ 56 วัน หมายถึงหลังจากบริจาคไปครับต้องพักฟื้นประมาณ 50 กว่าวันนี่แหละจึงจะบริจาคใหม่ได้
ผมกรุ๊ป B ครับเค้ามาบริจาคที่วิทยาลัย ปรากฎว่าถ้าบริจาคไม่ต้องเข้าเรียน (ตอนนี้ด้านมืดครอบงำครับ คิดว่าถ้าบริจาคเสร็จจะได้กลับบ้านเลย 5555+)
ตอนแรกคิดว่าเจ็บครับ พยาบาลให้ถุงมา 2 ถุง ถุงใส่เลือด ผมตกใจมากคิดว่าเค้าจะเอา 2 ถุง คือมันเยอะนะถ้าสองถุง แต่ปรากฎว่าเค้าเอาถุงเดียวครับ
เค้าเฝ้าตลอดเวลา มีตาชั่งอยู่ ถ้าเกิดได้ตามที่เค้าต้องการ เค้าจะเอากรรไกรตัดสายยางครับ (ตอนนี้แหละผมรู้สึกวูบที่สุด เพราะหลังจากเค้าตัด เค้าจะ
เทเลือดจากสายยางเข้าไปในหลอดทดลอง เห็นเลือดตัวเองไหลจ๊อกขนาดนั้น แทบวูบ)

แต่ช่วงที่แทงเข็มผมก็โอเคนะ แม้ตอนแรกเข็มมันจะอันเบ้อเร่อ แต่พอแทงเข้ามันก็ไม่ค่อยเจ็บหรอก และผมก็บีบของเล่นตลอดเวลาด้วย แป๊ปเดียวก็เต็มละ
แต่หลังจากบริจาค คืนนั้นผมหลับสบายมากเลยครับ ตอนนี้ก็อยากบริจาคอีกครับ รอเค้ามาที่วิทยาลัยอีกไม่กี่วันครับ ครบ 3 เดือน