PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : ประวัติความเป็นมาของปฏิทิน และ ความหมายของชื่อเดือนแต่ละเดือน



titan888
25th November 2011, 21:48
http://upic.me/i/ep/calendar08.gif (http://upic.me/show/30602833)


ประวัติความเป็นมาของปฏิทิน และ ความหมายของชื่อเดือนแต่ละเดือน
January -- เจนัส เทพของโรมัน ผู้เฝ้าประตู (เทพองค์นี้มีสองหน้า ใบหน้าหนึ่งมองไปข้างหน้า และอีกใบหน้าหนึ่งมองไปข้างหลัง)
February -- เฟบรูอะเลีย เป็นช่วงเวลาบวงสรวงของโรมัน

March -- มาร์ส แปลว่าดาวอังคาร เทพแห่งสงครามของโรมัน (สิ้นสุดฤดูหนาวหมายถึงว่าการต่อสู้กำลังจะเริ่มขื้น)

April -- อะเพริเร ภาษาลาตินแปลว่า "เปิด" เช่น ดอกใม้ผลิบาน

May -- ไมเอ เทพธิดาแห่งพืชพันธุ์ที่งอกงาม

June -- จูนิอุส คำภาษาลาตินที่ใช้เรียกเทพธิดาจูโน

July -- ตั้งตามชื่อของจักรพรรดิโรมัน คือ จูเลียส ซีซาร์

August -- ตั้งตามชื่อ ออกัสตัส จักรพรรดิองค์แรกของโรมัน

September -- เซพเทม คำภาษาลาตินแปลว่า เจ็ด

October -- ออคโต คำภาษาลาตินแปลว่า แปด

November -- โนเวม คำภาษาลาตินแปลว่า เก้า

December -- ดีเซม คำภาษาลาตินแปลว่า สิบ

-------------------------------------------------------

ปฏิทินโรมัน เริ่มต้นด้วยเดือนมีนาคม เมื่อจูเลียส ซีซาร์ คิดค้นปฏิทินใหม่ในปี 46 ก่อนคริสตกาล เขายังใช้ตัวเลขเดิมสำหรับเดือนเจ็ด แปด เก้า และสิบ ซึ่งตรงกับเดือนเก้าจนถึงเดือนสิบสองในปฏิทินปัจจุบัน

--------------------------------------------------------
http://upic.me/i/wc/14images.jpg (http://upic.me/show/30602843)


ในปี 46 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์ ของโรมันโบราณ ตัดสินใจใช้ปฏิทินที่คำนวณจากการเคลื่อนไหวของดวงอาทิตย์ ปฏทินนี้จึงมีชื่อว่า "ปฏิทิน จูเลียน" ซึ่งแบ่งให้ปีหนึ่งๆ มี 365 วัน และเพิ่ม 1 วัน ให้กับทุกๆ 4ปี และยังตั้งชื่อเดือนและวันต่างๆ ในสัปดาห์
เวลาผ่านไปนับพันปีจนถึง ค.ศ. 1582 จู่ๆ ปฏิทินแบบจูเลียส ซีซาร์ ที่ใช้กันมานานแสนนาน ก็ถูกแก้ไขปรับปรุงโดยพระสันตปาปาเกรกอรีที่ 13 ด้วยเหตุผลว่า ในปีหนึ่งๆ มีเวลานานเกินไป 11นาที 14 วินาที และถ้าเป็นอย่างนี้ ก็เท่ากับทุกๆ 400 ปี จะมีวันเพิ่มขื้นมาอีกตั้ง 3 วัน



http://upic.me/i/q5/jsyvm.jpg (http://upic.me/show/30602850)

ประวัติความเป็นมา

ในบรรดาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของหรือสถานที่ มีอยู่ไม่กี่สิ่งที่มีต้นกำเนิดนานหลายพันปีและยังยืนยงอยู่จนถึงปัจจุบัน และปฏิทินที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ก็ถูกรวมอยู่ในประดิษฐกรรมดังกล่าวด้วย มันคือผลผลิตจากการคำนวณอย่างแม่นยำทางดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือช่วยแม่ทัพนายกองในการทำสงครามมาแต่ครั้งโบราณกาล และเพราะมันอีกเช่นกันที่ช่วยให้การดำเนินธุรกิจและชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างราบรื่น
เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมและต้องทำกิจกรรมหลายอย่างร่วมกัน ตั้งแต่การกำหนดงานมงคล,การบูชาเทพเจ้า ไปจนถึงกำหนดการรบทัพจับศึก สิ่งหนึ่งที่จำเป็นสำหรับการรวบรวมคนหมู่มากก็คือเวลา ซึ่งมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์สังเกตเวลาจากความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ เช่นเวลาขึ้นและตกของดวงอาทิตย์,ดวงจันทร์ ช่วงเวลาน้ำขึ้น,ลงและอื่นๆ จนกระทั่งความคิดแบบคณิตศาสตร์ได้ถูกพัฒนาจนเจริญถึงระดับหนึ่ง อันเป็นระดับที่มนุษย์สามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำถึงช่วงเวลาในหนึ่งวัน นำวันทั้งหมดนั้นมาเรียงร้อยต่อเนื่องเป็นเดือนและปี แล้วบันทึกวันและปีเหล่านั้นลงบนวัสดุหลายประเภท ตั้งแต่กระดาษเนื้อหยาบไปจนถึงศิลาจารึก
แม้ชาติตะวันออกอย่างจีนจะสามารถคำนวณวันและเวลาได้เช่นกัน แต่ชาวโรมันคือชนชาติแรกที่รู้จักการสร้างปฏิทินอย่างเป็นระบบ ด้วยการสร้างปฏิทินจันทรคติขึ้นจากการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ ปฏิทินฉบับแรกเท่าที่ถูกบันทึกไว้ เกิดขึ้นจากการคำนวณของโรมิวลุสผู้สร้างกรุงโรม เมื่อ 753 ปีก่อนคริสตกาล มีพื้นฐานมาจากปฏิทินจันทรคติของชาวกรีก ซึ่งเมื่อเทียบกับปฏิทินจูเลียนและเกรกอเรียนซึ่งใช้กันมาถึงปัจจุบันก็ยังนับว่าหยาบ เนื่องจากมันมีเพียงแค่ 10 เดือน มีวันเพียง 304 วัน ที่มีน้อยกว่าปฏิทินในปัจจุบันก็คือวันในฤดูหนาวที่หายไป 61 วัน
เนื่องจากการคำนวณนี้คลาดเคลื่อน ปฏิทินของโรมิวลุสจึงถูกปรับปรุงใหม่ในสมัยของนูมา ปอมปิลิอุส กษัตริย์พระองค์ที่สองในจำนวนเจ็ดพระองค์ของโรม พระองค์ทรงลดวันจาก 30 วันมาเป็น 29 วันในหนึ่งเดือน และทรงเพิ่มเดือนมกราคม(29 วัน)กับกุมภาพันธ์(28 วัน) ซึ่งนับว่าใกล้เคียงความถูกต้องเมื่อมีวันเพิ่มขึ้นมาเป็น 355 วัน แต่ปฏิทินนี้ก็ถูกใช้งานได้ไม่นานเมื่อถูกยกเลิกไปในปีที่ 713 ก่อนคริศตกาล
การคำนวณวัน,เดือน,ปีนี้ ยังสามารถคำนวณจากการเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์ได้อีก ในเมื่อปีทางจันทรคติที่ใช้มาแต่เดิมยังเหลื่อมล้ำกับปีทางสุริยคติ เดือนที่มี 27 วันจึงถูกเพิ่มเข้ามาอยู่หลายครั้งหลังเดือนกุมภาพันธ์ โดยเดือนดังกล่าวนี้สั้นเพียง 23 หรือ 24 วัน ผลก็คือในหนึ่งปีของปฏิทินนี้มี 377 หรือ 378 วัน อันเป็นผลจากการตัดสินของปอนทิเฟ็กซ์ มักซิมุส พระผู้มีอำนาจสูงสุดแห่งสาธารณรัฐโรมัน(เทียบเท่ากับสมเด็จพระสันตะปาปาในปัจจุบัน และถูกยกให้เป็นตำแหน่งของผู้ปกครองจักรวรรดิด้วยในสมัยนั้น) มีอำนาจสั่งการได้ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ,การเมือง
การปรับแต่งปีแห่งจันทรคติและสุริยคติ ด้วยการแทรกเดือนที่มีจำนวนวันน้อยลงไป ได้เกิดขึ้นในช่วงนั้นสองครั้ง ครั้งแรกเกิดระหว่าง”สงครามพูนิก”(ชื่อเรียกศึกระหว่างจักรวรรดิโรมันและคาเธจ มีทั้งหมด 3 ครั้ง)ครั้งที่ 2 อีกครั้งหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงห้าสิบปีก่อนคริสตกาล รายละเอียดในการปรับแต่งครั้งแรกนั้นไม่ปรากฎแน่ชัด แต่สำหรับครั้งที่ 2 นี้มีเหตุเนื่องมาจากต้องการให้เวลาหนึ่งปีนั้นยาวขึ้น เพื่อให้คณะผู้ปกครองโรมันที่ถูกเลือกตั้งมา อยู่ในตำแหน่งได้นาน
ครั้นเมื่อมาถึงสมัยของจูลิอุส ซีซาร์ผู้ควบตำแหน่งปอนทิเฟ็กซ์ มักซิมุสด้วยอีกตำแหน่ง อันเป็นสมัยที่จักรวรรดิโรมันมีกองทัพยิ่งใหญ่เกรียงไกร และทำสงครามขยายดินแดนบ่อยครั้ง เขาจึงถือสิทธิ์ของซีซาร์รื้อและปรับเปลี่ยนโครงสร้างของปฏิทินจันทรคติและสุริยคติเสียใหม่ จนทำให้เกิดปฏิทินจูเลียน(ตามชื่อของจูลิอุส ซีซาร์)อันเป็นรากฐานของปฏิทินที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ก่อนจะถูกเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในศตวรรษที่ 15 ไปเป็นปฏิทินเกรกอเรียน
มันถูกนำมาใช้เมื่อ 46 ปีก่อนคริสตกาล หลังการขึ้นครองอำนาจของจูลิอุส ซีซาร์หนึ่งปี ด้วยการพิจารณาร่วมกันโดยจูลิอุส ซีซาร์เองและโซซิเจนีส นักดาราศาสตร์ชาวอเล็กซานเดรีย โดยออกแบบมาให้ใกล้เคียงกับปีสุริยคติที่คำนวณมาแต่นานแล้วโดยฮิปปาร์คุส ปราชญ์ชาวกรีก ผู้ชำนาญการคำนวณการเคลื่อนที่ในขอบฟ้าของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ จนทำให้ได้ 365 วัน(ประมาณโดยละเอียด 365.25 วัน นับเป็นความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย)และ 12 เดือนในหนึ่งปี โดยให้มีวันเพิ่มและลด 1 วันในเดือนกุมภาพันธ์ทุกๆ 4 ปี
แต่กระนั้น การที่มีวันมากกว่า 365 วันในหนึ่งปีอยู่ 0.25 วัน จะทำให้ปีหนึ่งในทุก 134 ปีมีวันเพิ่มขึ้นอีก 1 วันจากความคลาดเคลื่อนที่สะสมมา แต่ในเมื่อความคลาดเคลื่อนนี้ยังนับว่าน้อย ปฏิทินจูเลียนจึงยังถูกใช้ต่อมาจนถึงปลายศตวรรษที่ 15 และถูกแก้ไขอีกครั้งในปี ค.ศ. 1582 จากการเสนอความคิดโดยนายแพทย์อลอยซิอุส ลิลิอุสชาวเมืองเนเปิลส์ และได้รับความเห็นชอบจากสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จนได้ชื่อว่าปฏิทินเกรกอเรียน อันเป็นปฏิทินที่ทั่วโลกยึดถือใช้มาจนปัจจุบัน เหตุที่เกิดปฏิทินเกรกอเรียนขึ้นก็เพราะปีโดยเฉลี่ยของปฏิทินจูเลียนนั้นค่อนข้างยาวจากความผิดพลาดด้านจำนวนวันที่สะสมมาในแต่ละปี
การสร้างปฏิทินให้ถูกต้องจึงนับว่าเป็นความพยายามทางด้านการเมืองโดยแท้ เมื่อผู้ปกครองโรมันต้องการใช้มันเป็นเครื่องมือ ทั้งด้านการปกครองและการทหาร เมื่อมันถูกใช้อย่างได้ผลในการวางกำหนดเคลื่อนทัพและการวางแผนการรบหลายครั้งจนจูลิอุส ซีซาร์สามารถแผ่อาณาจักรโรมันไปได้อย่างกว้างขวาง นอกจากทหารโรมันที่เก่งกาจและการวางยุทธศาสตร์อันชาญฉลาดของแม่ทัพ ปฏิทินก็คืออาวุธอานุภาพสูงอีกชิ้นหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน


แหล่งข้อมูล : www.thaimtb.com

Phenomenom555
25th November 2011, 22:48
โอ้วว ความรู้รอบตัวจริงๆ +1 ให้ครับ