PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : ทฤษฎีการแต่ง Fiction



tstcwqt1
20th July 2011, 21:05
Fiction คืออะไร? คำถามนี้ทุกคนก็คงรู้แหละแม้ไม่ต้องบอก Fiction แปลเป็นไทยว่า นิยายหรือเรื่องที่แต่งขึ้นมา แต่ก็อย่าเพิ่งดูถูกฟิกชั่น เพราะฟิกชั่นนี้คือต้นกำเนิดของ อนิเมชั่น ภาพยนตร์ เกม คอมมิค และอื่น ๆ อีกหลายอย่างทุกท่านชื่นชอบกันมาแล้วทั้งนั้น เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากจินตนาการทั้งหมดฟิกชั่นจึงเป็นรากฐานของการ เกิดสิ่งเหล่านี้นั่นเอง องค์ประกอบหลักสำคัญ ๆ ของฟิกชั่นก็จะแบ่งได้ 3 คือ แก่นของเรื่อง เนื้อเรื่อง และตัวละคร


แก่นเรื่อง คืออะไรล่ะ? แก่นเรื่องนั้นก็หมายถึงจุดมุ่งหมายของเรื่องว่าต้องการจะทำอะไร ตัวอย่างเช่น ผู้กล้าต้องการปราบจอมมาร อยากเป็นที่ 1 ของโลก อะไรทำนองนี้ ซึ่งแก่นเรื่องแปลง่าย ๆ ก็คือจุดมุ่งหมายที่ตัวเอกต้องการจะไปให้ถึงหรือทำให้ได้นั่นเอง ซึ่งแก่นของเรื่องนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่จะขาดเสียไม่ได้ในฟิกทุกแนวและแก่น เรื่องนันสามารถมีได้มากกว่า 1 และอาจจะมีแก่นรองย่อย ๆ ลงไปในแก่นหลักอีกก็ได้ขึ้นกับว่าผู้แต่งจะสร้างเรื่องได้ซับซ้อนแค่ไหน


แล้วเนื้อเรื่องล่ะ? เนื้อเรื่องนั้นก็คือ เส้นทางหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะนำตัวละครเราไปสู่แก่นเรื่องนั่นเอง โดย เนื้อเรื่องนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้แต่จะกำหนดอย่างไร เช่น หากตัวเอกต้องออกไปปราบจอมมาร แต่จะทำอย่างไรถึงจะปราบมันได้ล่ะ ไปฝึกให้เก่งกล้า หรือออกรวบรวมสมัครพรรคพวกดี หรืออื่น ๆ ซึ่งเนื้อเรื่องเป็นสิ่งที่จะทำให้ฟิกนั้นสนุกสนานหรือไม่ได้เรื่องไปเลย โดยหลักการคิดเนื้อเรื่องนั้นทางที่ดีเราควร คิดว่าหากเราเป็นตัวละครที่มีความสามารถและนิสัยแบบนั้น เราจะทำยังไงเพื่อให้ได้มาเพื่อจุดมุ่งหมาย


ตัวละคร? ไม่บอกก็คงคุ้นเคยกันดี ตัวละครคือผู้เดินเรื่องนั่นเอง โดยเราจะมีตัวละครหลัก ๆ 1-2 ตัวเป็นผู้เดินเรื่องซึ่งก็คือพระเอกหรือนางเอก


แล้วเราจะแต่งฟิกกันยังไงดีล่ะ? ก็ดังที่บอกกันข้างต้นนั่นแหละว่าองค์ประกอบสำคัญของฟิกมี 3 ส่วนหากเราจะแต่งฟิกล่ะก็เราก็ต้องสร้าง 3 สิ่งนั้นขึ้นมาโดยเรียงลำดับจาก แก่นเรื่อง เนื้อเรื่อง และตัวละคร แต่ในบางครั้งเราก็จะสร้างเนื้อเรื่องก่อน จากนั้นก็ตัวละครและก็แก่นเรื่องในภายหลังโดยหลักการสร้าง 3 สิ่งก็จะมีดังนี้


หลักการสร้างเนื้อเรื่อง ในส่วนของเนื้อเรื่องนี้จะแตกส่วนย่อยออกเป็นอีก 4 ส่วนคือ บทนำหรือจุดเริ่มต้น การพัฒนา จุดไคลแม็กซ์ และบทสรุปหรือจุดจบ


บทนำนั้นไซร้คืออะไรหรือ? หลายคนรู้จักบทนำกันเป็นอย่างดีเพราะหากขาดบทนำแล้ว ก็จะยากที่ผู้อ่านจะทำความเข้าใจกับฟิกได้ บทนำจะทำหน้าที่แนะนำโลกในฟิกที่คุณจินตนาการขึ้น ให้กับผู้อ่านได้ทราบ โดยบทนำนั้นจะสร้างสถานการณ์ สถานที่ และจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ต่างที่จะนำไปสู่เนื้อเรื่องของเรา โดยบทนำที่ดีควรจะบอกทำให้ผู้อ่านรู้ว่า ใครเป็นตัวละครที่จะมามีบทบทสำคัญในเรื่อง เรื่อง ตัวอย่างบทนำของผม ขอยกจากของที่เคยเขียนไว้นะครับ


"ในอนาคตอันไกลโพ้นกว่าอีก 200 ปี โลกมนุษย์เรานั้นได้ทำการค้นพบและยอมรับการมีตัวตนของสิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือที่เรียกกันว่ามนุษย์ต่างดาวหรือเอเลี่ยนนั่นเอง โดยโลกของเราได้เริ่มทำการติดต่อทำสัมพันธ์ไมตรีในด้านต่าง ๆ กับดวงดาวนอกระบบหลาย ๆ ดวง ทั้งในด้านการทูต การค้า เทคโนโลยีและวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ รวมไปจนถึงการยอมรับให้มุนษย์ต่างดาวเข้ามาอาศัยอยู่หรือตั้งรกรากในโลกของ เราได้ และเพื่อป้องกันข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจึงได้ก่อตั้งสมาคมหรือสภาที่เป็น ส่วนกลางของอวกาศอันกว้างใหญ่แห่งนี้ขึ้นโดยมีดวงดาวที่เข้าเป็นสมาชิก มากกว่า 1000 ดวง ซึ่งสภาแห่งนี้ถูกเรียกว่าสมาพันธ์อวกาศ และกฏหมายที่ใช้ยึดถือร่วมกันในบรรดาดวงดาวที่เป็นสมาชิกของสมาพันธ์แห่งนี้ มีชื่อว่า “สนธิสัญญาอวกาศ” เพื่อใช้ปกป้องความเป็นระเบียบและความสงบสุขของดวงดาวที่เป็นสมาชิก แต่แน่นอนเมื่อมีกฏหมายก็ย่อมจะมีผู้ทำผิดหรือฝ่าฝืนเป็นเรื่องธรรมดา สมาพันธ์อวกาศจึงอนุมัติให้แต่ละดวงดาวก่อตั้งองค์กรที่จะเข้ามาทำหน้าที่ พิทักษ์ สนธิสัญญาอวกาศนี้ให้คงความศักดิ์สิทธิ์เอาไว้ ซี่งโลกของเราก็ได้ก่อตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่นี้ขึ้นในนามของ Assault Patrol Police โดยเรียกกันย่อ ๆ ว่า A.P.P หรือ แอ็บ เป็นองค์กรที่จะถูกรัฐบาลของดาวนั้นสนับสนุนแต่จะไม่ขึ้นตรงกับรัฐบาลโดยจะ ขึ้นตรงกับสมาพันธ์อวกาศแทน โดยหน่วย A.P.P นี้เจ้าหน้าที่ทุกคนจะสวมใส่เกราะ Patrol-Armored อันเป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการผสมผสานเทคโนโลยีของโลกและดวงดาวต่าง ๆ เอาไว้ด้วยกันเพื่อใช้มันต่อกรกับเหล่าผู้กระทำผิดและนำตัวผู้กระทำผิดมาลง โทษให้จงได้ ภาระกิจของ Assault Patrol Police กำลังจะเริ่มต้นขึ้น ณ บัดนี้ แล้ว"


จากบทนำนี้ก็บอกอย่าชัดเจนว่าตัวเอกของผมคือหน่วย A.P.P นั่นเอง


การพัฒนาเป็นยังไง? ในขั้นนี้ไม่มีอะไรมามันก็คือขั้นตอนที่จะค่อย ๆ ดำเนินเรื่องราวไปเรื่อย ๆ แนะนำสิ่งต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ และการดำเนินการต่าง ๆ ที่จะนำเข้าไปสู่แก่นเรื่องที่เราวางเอาไว้ เช่น หากพระเอกต้องการปราบจอมมาร และคิดจะออกรวบรวมสมัครพรรคพวก ตรงส่วนนี้ก็คือช่วงที่จะพานพบตัวละครต่าง ๆ และดึงมาเป็นพวกนั่นเอง ซึ่งส่วนนี้เราก็ควรแสดงบุคลิกตัวเอกและสถานการณ์มาระดับ 1 แล้ว


และจุดไคลแม็กซ์ล่ะ? บางครั้งจุดนี้ก็อาจเป็นจุดหักเหของเรื่อง ซึ่งเรื่องราวตรงจุดนี้จะทำให้คนอ่านรู้สึกลุ้นระทึกกับสิ่งที่กำลังจะเกิด ขึ้น ต่อไป เช่นการตัดสินระหว่างกลุ่มผู้กล้ากับจอมผู้แข็งแกร่ง จุดแตกหักของการสู้รบ อะไรทำนองนี้


บทสรุป ส่วนนี้ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว มันก็คือจุดจบของและผลลัพธ์เรื่องราวทั้งหมด โดยบทสรุปนี้ทุกคนก็สร้างสรรค์ได้ดังใจ คุณจะชอบแฮปปี้หรือไม่แฮปปี้ และบางครั้งการทำภาคต่อ ก็จะอาศัยบทสรุปนี้สร้างนำเรื่องของภาคต่อไปได้เหมือนกัน


อย่างไรก็ดี ฟิกคุณนั้นจะสูญเปล่าไปในทันตาหากว่าผู้อ่านนั้นไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณถ่ายทอดหรือเข
ยนออกมา สิ่งสำคัญยิ่งในการสร้างเนื้อเรื่องก็คือ ควรง่ายต่อการเข้า ซึ่งจะเป็นเช่นนั้นได้ผู้แต่งก็จะต้องเป็นผู้ทำให้มันเข้าใจง่ายโดยเราใคร ๆ ก็สามารถทำได้หากเข้าใจหลักการ ในเวลาที่คุณสร้างเนื้อเรื่องขอให้คำนึงถึง 5W และ How เอาไว้


ซึ่ง 5W ได้แก่ Who(ใคร) When(เมื่อไหร่) Where(ที่ไหน) What(ทำอะไร) Why(ทำไม) How(ทำอย่างไร) ซึ่งเนื้อเรื่องที่ดีควรจะมีความคมชัดในเรื่องที่ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำสิ่งนั้นทำไม และทำอย่างไรในเวลานั้น ซึ่งเหล่านี้ควรคำนึงถึงเหตุและผลเป็นปัจจัยสำคัญด้วย เพราะหากไม่มีเหตุและผลที่เพียงพอ ฟิกคุณจะดูแกรน ๆ และขาดความสมดุลและด้อยค่าในสายตาผู้อ่านไปในทันตา และหากแสดงสิ่งที่กล่าวมานี้ไม่เด่นชัดมันก็จะอ่านยากและถูกเมินได้


หลักในการสร้างตัวละคร


ตัวละครคือสิ่งสำคัญที่ขาดมิได้ ถ้าหากขาดตัวละครแล้วใครจะเดินเรื่องล่ะ แต่แน่นอนว่าทุกคนรู้จักดีอีกเช่นกัน ฟิกจะมีพระเอกและนางเอกเป็นผู้ดำเนินเรื่อง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวร้ายและตัวละครอื่น ๆ ก็มีความจำเป็นเช่นกัน หากเรื่องมีแค่พระเอกนางเอกและผู้ร้ายเรื่องก็จะเซ็งแย่ เพราะเจอหน้ากันอยู่แค่เนี้ย ส่วนฟิกที่เทบทให้พระเอกมากเกินจนคนอื่น ๆ ดูเป็นแค่ตัวประกอบฉากมันก็จะเลี่ยนและดูไม่เข้าท่า การที่เรามีตัวละครหลากหลายเป็นผู้ดำเนินเรื่องและเป็นตัวเชื่อมเหตุการณ์ ต่าง ๆ ให้ไปสู่แก่นเรื่องมันจะช่วยให้เรารู้สึกถึงความหลากหลายและไม่เบื่อ แม้ว่าเราจะมีพระเอกเป็นตัวหลักแต่หากน้องสังเกตการ์ตูนหลาย ๆ เรื่องจะมีบางช่วงที่เขาให้บทบาทคนอื่น ๆ มามีหน้าที่บ้าง เช่นมาช่วยพระเอก มาให้คำปรึกษา เป็นผู้กำกุญแจ ฯลฯ ซึ่งการสร้างตัวละครเราจะต้องตัดสินแนวเรื่องก่อนอันดับแรกแล้วเราจึงค่อยมา ตัดสินใจเรื่องการสร้างตัวละคร โดยการออกแบบตัวละครเราควรจะคำนึงถึง ลักษณะนิสัย อายุ และบุคลิกอันเป็นจุดเด่นของตัวละครนั้น ๆ เพราะส่วนนี้จำทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างตัวละครขึ้นมาและเรื่องราวก็จะดู สนุกสนาน ส่วนเรื่องอื่น ๆ ก็แล้วแต่จะระบุเพราะตัวละครแต่ละเรื่องก็จะให้บางอย่างต่างกัน


คำแนะนำ


1.หากท่านแต่งฟิกในเรื่องใด ๆ ก็ตามหากแต่งให้อยู่ในโลกปัจจุบันหรือไม่ออกนอกโลกของเรา ก็ขอให้นึกถึงความจริงที่ทำได้เอาไว้ด้วย แม้ว่านี่จะเป็นเพียงฟิกแต่ว่าหากทำอะไรเกินเลยไปไม่สมเหตุและผลมันก็จะไม่งามนัก


2.ผู้ที่แต่งฟิกในเรื่องใด ๆ ก็ตามหากอยากจะอ้างอิงถึงความรู้หรือเทคโนโลยีอะไร ก็ขอให้ศึกษาข้อมูลมาหน่อยจะดีมาก เราแต่งฟิกเพื่อความสนุกแต่ก็ควรให้ได้ความรู้ด้วย google.co.th มีอยู่ก็ใช้ซะหาข้อมูลพวกนี้มา ทำแบบนี้จะได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายทั้งผู้อ่านและผู้เขียน


3.การสนทนาของตัวละครเราควรมีจุดต่างของการพูดจา โดยคำนึงถึงบุคลิกและอารมณ์ของตัวละครเป็นหลัก โดยบุคลิกนิสัยและอารมณ์ของตัวละครจะเป็นตัวกำหนดคำพูดจาและกริยาท่าทาง ซึงแน่นอนว่าไม่มี่ทางเป็นไปได้ที่คนเราจะนิสัยเหมือนกันทุกคน แม้จะมีบางส่วนคล้ายแต่ก็ต้องมีส่วนต่างจนดูเป็นเอกลักษณ์ของตัวละครนั้น ๆ


4.แบ็กกราวน์นั้นก็สำคัญ การคำนึงถึงฉากหลังของเรื่องก็จะช่วยให้ฟิกดูมีชีวิตชีวาเหมือนกัน แม้ไม่เห็นภาพแต่เราก็ใช้การบรรยายเอาก็พอจะทำให้ผู้อ่านนึกภาพออกได้บ้าง รวมทั้งหลักภาษาและการเขียนภาษาไทยอันนี้ก็ขอย้ำเลยว่า ควรศึกษาภาษาไทยให้ดี ๆ กันหน่อยเราคนไทยต้องอนุรักษ์ภาษาไทย การเขียนให้ถูกหลักไวยกรณ์มันก็ถือว่าจะเป็นแต่ถ้าหากจะพิมพ์ผิดไปบ้างก็ไม่ เป็นไรแต่อย่าให้มันมากนัก เดี๋ยวเขารู้หรอกนะว่าเราเรียนตกภาษาไทย (ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์สอนภาษาไทยเมื่อครั้งสมัยเรียนมัธยมเป็น อย่างยิ่งที่เขี้ยวเข็นพวกผม แม้ในตอนนั้นผมจะไม่ชอบใจแต่ตอนนี้ผมรู้สึกซึ้งในพระคุณท่านอย่าสูงยิ่ง ขอกราบขอบพระคุณท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย)


5.ชื่อนั้นสำคัญไฉน การตั้งชื่อเรื่องมันก็มีส่วนดึงดูดคนอ่านนะ แต่ถ้าหากชื่อเรื่องไปอย่าง นำเรื่องไปอีกทาง แล้วเนื้อเรื่องไปอีกทาง ฟิกนี่จะเละตุ้มเปะจนดูไม่งามเอาซะเลย และฟิกที่มีเรื่องราวต่อกันอยู่ควรมีการกล่าวอ้างหรืออิงถึงเหตุการณ์ในตอน เก่า ๆ ที่ผ่านมาเล็กน้อยเพื่อแสดงความสัมพันธ์ที่มาจากคราวที่แล้วและส่งผลมาถึง คราวนี้


6.แล้วขนาดกับเรื่องสถานที่ล่ะ อันนี้เอาไว้สำหรับท่านื้ชอบแต่งฟิกแนวหุ่นยนต์ หรือ แนวไซไฟหน่อยเพราะว่าถ้าแต่งโดยไม่ได้คำนึงถึงหลักเหตุและผลไปนิดมันก็จะ ประหลาดเกิดเหตุโดยเฉพาะ เรื่องเกี่ยวกับหุ่นยนต์ขอให้ท่านคิดเทียบขนาดให้ดี ว่า 18 เมตร 16 เมตร 20 เมตร 106 เมตร ต่างกันชั้นไหน และปืนที 18 เมตรแบกได้ กับปืนที่ 106 แบกได้มันก็คนละขนาดกันนะ ความแรงปืนมันก็ขึ้นกับขนาดของเตาที่จ่ายไฟให้ได้ซึ่งแน่นอนเครื่องใหญ่ ๆ จะสามารถให้พลังได้มากกว่าอยู่แล้ว และถ้าจะเอาดาบเข้าไปฟัน ขอให้นึกภาพดี ๆ นะ 18 กับ 106 มันผิดไซด์กันขนาดไหน และดาบใครจะใหญ่กว่า นึกถึงมดสู้กับยักษ์เลย ส่วนฉากต่อสู้ขอให้นึกหลักความจริงเข้าว่าอย่าไปยึดติดอะไรกับเกมมากนัก เกมมันมีข้อจำกัด และสถานที่ ๆ สู้กันน่ะบางทีกลางเมืองนะ และคนในเมืองไปไหนกันหมดและท่าที่ซัด ๆ กันออกมาสร้างความเสียหายขนาดไหน และรอบ ๆ บริเวณจะพังบรรลัยแค่ไหน แล้วนิสัยคนน่ะมันก็ไม่เหมือนกันหรอก บางตระกูลไทยมุงทั้งหลายจะต้องดูให้แน่ก่อนว่าเกิดอะไรขึ้นแล้วถึงจะหนี เรื่องอายุตัวละครก็สำคัญ สำหรับบางเรื่องตัวละครที่อายุน้อยมากไปมันก็ไม่เหมาะ ลองนึกความจริงเอาไว้ให้มากหน่อยว่า ความคิดสติปัญญา การตัดสินใจ ประสบการณ์ และภาวะทางจิตมันจะรับได้หรือเปล่า



7.รายละเอียดปลีกย่อยของฟิก ก็เป็นส่วนช่วยเสริมให้ฟิกดูดีขึ้น เช่นข้อมูลสถานที่ และข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ช่วยให้ฟิกดูมีความสมจริงมากขึ้น และการเขียนฟิกอย่าเอาแต่ความสนุกอย่างเดียวเราควรสอดแทรกสิ่งดี ๆ เช่นข้อคิด หรือคติเตือนใจลงไปด้วย ซึ่งจะทำให้ฟิกเรามีคุณค่าเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยเลย




บทที่ 2


ในบทแรกที่ผมเขียนทฤษฎีนี้ ผมได้อธิบายความหมายของฟิกชั่นไปแล้ว ว่า Fiction แปลว่า นิยายหรือเรื่องที่แต่งขึ้นมาซึ่ง Fiction มีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 อย่างนั่นก็คือ แก่นของเรื่อง เนื้อเรื่อง และ ตัวละคร ซึ่งรายละเอียดของ 3 อย่างนี้ได้กล่าวไปแล้วในคราวก่อน คราวนี้เราจะมาพูดกันถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ที่คราวก่อนไม่ได้พูดไป องค์ประกอบเหล่านี้เป็นองค์ประกอบย่อย ๆ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สำคัญ ก็ประหนึ่งเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านนั่นแหละ บ้านเปล่า ๆ มันจะสวยได้ยังไงว่าไหมเอ่ย? เรามาเริ่มกันที่เรื่องแรกดีกว่าเริ่มแรกเลยเมื่อเรามีความคิดจะแต่งฟิกซัก เรื่องแล้
สิ่งแรกที่ต้องคิดก็คือ ประเภทของฟิก



ประเภทของฟิกนั้นก็หมายถึงว่าเรื่องที่เราอยากแต่งเป็นตระกูลไหน ต่อสู้ รัก สยองขวัญ สืบสวนสอบสวน ผจญภัย ฯลฯ ซึ่งส่วนมากจะรู้เองโดยธรรมชาติว่ารูปแบบของตนเองคืออะไรเพราะเมื่อเราได้ แก่นเรื่องแล้วประเภทของฟิกมันก็ย่อมต้องตามออกมาด้วยอยู่แล้ว และประเภทของฟิกมันก็สามารถผสมกันได้ เช่น เลิฟคอมมิดี้ หรือ ไซไฟแอดแวนเจอร์ อะไรทำนองนี้ แต่การจัดเข้าหมวดแต่ละประเภทเราจะมองว่าฟิกนั้นเน้นหนักทางไหนมากกว่ากัน ซึ่งหากเรากำหนดประเภทมาอย่างชัดเจนมันจะช่วยเรารู้ว่ามันควรการเดินเรื่อง แบบใด และมันจะช่วยให้เราออกแบบออกอะไรหลาย ๆ อย่างได้ง่ายตามมาด้วย และเมื่อเราได้ประเภทแล้วเราก็มาทำการคิดส่วนต่อมาก็คือขอบเขตของเรื่อง


ขอบเขตของเรื่อง ก็คือการที่เราจะกำหนดว่าฟิกที่เราแต่งนั้นมีความครอบคลุมไปถึงไหน จุดจบของเรื่องนี้อยู่ที่ไหนนั่นเอง หรือพูดง่าย นี่ก็คือจุดเริ่มต้นของแก่นเรื่อง หลังจากที่เราได้ขอบเขตแล้วสิ่งที่เราต้องคิดต่อคือ


เนื้อเรื่อง จัดเป็นหัวใจหลักของฟิกดังที่เคยกล่าวไปแล้ว ซึ่งมาในคราวนี้ผมจะพูดวิธีคิดธีมของเรื่องว่าเราจะทำยังไง


ธีมของเรื่อง คำนี้จะมีความหมายว่าเนื้อเรื่องโดยรวม หรือเนื้อเรื่องคร่าว ๆ ที่จะถูกร่างขึ้นมา ซึ่งเราจะเปรียบเทียบธีมเรื่องเป็นลักษณะว่า เป็นแบบฟอร์มที่มีช่องว่างให้เรากรอกรายละเอียดนั่นเอง โดยธีมของเรื่องนั้นจะทำได้ง่ายมาก ๆ หากว่าเราได้กำหนดรูปแบบของฟิกเรามาแล้ว เพราะว่าธีมของเรื่องที่ใช้กับฟิกประเภทต่าง ๆ จะมีโครงสร้างหลาย ๆ อย่างที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น แนวต่อสู้ ธีมของเรื่องก็จะต้องมีเหตุการณ์การต่อสู้เป็นหัวใจของการเดินเรื่อง ส่วนแนวความรัก ธีมเรื่องก็จะเป็นเหตุการณ์ที่จะชักนำให้ตัวละครมารักกัน สืบสวนสอบสวนธีมของเรื่องก็จะต้องมีคดีเกิดขึ้นเพื่อให้เราหาคำตอบ โดยธีมของเรื่องส่วนหนึ่งจะถูกกำหนดโดยแก่นเรื่องที่เราวางไว้ด้วย ซึ่งในส่วนนี้จะยังไม่กำหนดรายละเอียดอะไรลงไปมากนัก โดยธีมเรื่องจะรวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่เริ่มต้นจนจบเรื่อง แต่ไม่ละเอียดอะไรมาก แต่จะกำหนดเหตุการณ์สำคัญ ๆ เอาไว้ และในระหว่างที่เราสร้างธีมเรื่องตัวละครของเราสามารถระบุไว้แค่เพียงว่า พระเอก นางเอก ตัวร้าย และตัวประกอบอื่น ๆ ก่อนก็ได้เพื่อให้ง่ายในการทำในส่วนนี้ และหลังจากที่ธีมของเรื่องถูกกำหนดแล้วเราก็จะมาดูส่วนต่อไปนั่นก็คือ สภาวะแวดล้อม


สภาวะแวดล้อม เป็นส่วนที่กำหนดขึ้นมาเพื่อให้ฟิกเราดูมีความสมจริงเพิ่มขึ้น สภาวะแวดล้อมก็ เช่น สถานที่ ๆ ตัวละครเราใช้มันเป็นที่เดินเรื่องเป็นสถานที่แบบไหนมีลักษณะยังไง เช่นโลกเวทย์มนต์ อวกาศ เมืองใหญ่ หรือฐานบัญชาการ เป็นต้น สภาวะแวดล้อมที่เรากำหนดมาเพื่อใช้ในฟิกนอกจากสถานที่แล้วสภาวะแวดล้อมยังมี อีกหลายอย่าง เช่น อารยธรรม วัฒนธรรมประเพณี วิทยาการในยุคที่เราทำการเดินเรื่อง สภาพความเป็นอยู่ ฯลฯ ก็ขึ้นกับว่าผู้แต่งจะกำหนดยังไง โดยการกำหนดสภาวะแวดล้อมนี้มีส่วนช่วยในการออกแบบตัวละครของเราด้วย เพราะว่าการออกแบบตัวละครนั้นจะต้องมองดูสภาวะแวดล้อมของสถานที่ ๆ ตัวละครนั้นอยู่แล้วมันจะช่วยในการออกแบบตัวละครของเราด้วย และเมื่อเรากำหนดสภาวะแวดล้อมได้แล้วก็มาถึงขั้นตอนของการกำหนดรายละเอียด ตัวละคร


วิธีการกำหนดตัวละครนั้นส่วนใหญ่ ก็จะเป็นกันแล้วในส่วนมาก แต่จะพูดเป็นวิทยาธารกับผู้เริ่มต้นซักหน่อย และเมื่อเราทำธีมเรื่องเสร็จแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนของการระบุรายละเอียดตัวละคร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วตัวละครทุกเรื่องจะมีสิ่งที่ต้องกำหนดเหมือน ๆ กันก็คือ ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ ลักษณะภายนอก อย่างรูปร่างหน้าตา บุคลิกและนิสัย อาชีพ ประวัติ จุดมุ่งหมายและความต้องการในเรื่องของเขาในฟิกนั้น โดยทุกเรื่องจะกำหนดส่วนนี้มาเหมือนกัน แต่จะมีจุดหนึ่ง ที่ทำให้ตัวละครจากฟิกแต่ละรูปแบบเกิดความแตกต่างกันขึ้นมา นั่นก็คือส่วนของที่เรียกว่าลักษณะเฉพาะของเรื่องนั่นเอง โดยส่วนนี้จะถูกกำหนดโดยรูปแบบของฟิกแต่ละแนว เช่นถ้าหากว่าเป็นแนวต่อสู้ก็จะมีส่วนที่เรียกว่า ทักษะและความสามารถด้านการต่อสู้เพิ่มเข้ามาอีก โดยการกำหนดส่วนหลัก ๆ เราต้องมองจากสภาวะแวดล้อมที่เราสร้างขึ้นด้วยเพื่อให้มันมีความสมจริง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนี่ก็แค่หลัก ๆ เพราะว่าในส่วนของรายละเอียดของตัวละครเราสามารถระบุให้มากแค่ไหนก็ได้ แต่สำคัญแค่ว่ามีการกำหนดไว้แล้วได้ถูกนำมาใช้หรือจำเป็นต้องใช้หรือเปล่า หากเราคิดว่าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องระบุลงไปก็ได้ ซึ่งการทำในส่วนนี้นับว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะข้อมูลที่ถูกกำหนดขึ้น เหล่านี้จะต้องถูกนำมาใช่เสมอ ๆ ในตอนที่เราดำเนินเรื่อง ซึ่งตัวละครทั้งหมดในฟิกของเราจะใช้พื้นฐานเดียวกันหมดในการกำหนด และจำนวนตัวละครในฟิกของคุณนั้นจะมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับว่าคุณมีความต้องการ ใช้ตัวละครพวกนั้นมากแค่ไหน ก็ขึ้นกับผู้แต่งเองว่าต้องการมากแค่ไหน และเมื่อเราผ่านขั้นตอนนี้แล้วเราก็จะมาทำการในส่วนของการกำหนดโครงสร้าง แล้วเราก็จะ
ข้าสู่ขั้นตอนของการเอาทุกสิ่งมาประกอบเข้าด้วยกัน นั่นก็คือขั้นตอนของการดำเนินเรื่อง


การดำเนินเรื่องนั้น ก็คือการเอาทั้งหมดที่เรากำหนดไว้ออกมาทำการรวมเข้าด้วยกันและทำการเชื่อม ต่อเข้าด้วยกันด้วยคำว่าเนื้อเรื่อง โดยผู้แต่งจะสามารถทำยังไงกับการดำเนินเรื่องก็ได้ แต่การเดินเรื่องนั้นก็มีกฎง่าย ๆ ที่ควรจำไว้ก็คือ ความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่เราเขียน โดยเราจะมองจาก นิสัย ความสามารถ ของตัวละคร บวกเข้ากับสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ และวิเคราะห์ว่าเป็นไปได้มากแค่ไหนที่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งตรงนี้ขึ้นกับความสามารถในการวิเคราะห์ของแต่ละคนแล้ว ผมก็ทำได้แค่แนะนำ ซึ่งหากว่าคุณไม่ชัวร์ก็ควรไปศึกษาหรือไม่ก็ปรึกษาผู้รู้จะดีกว่า แต่หากว่าสิ่งที่ยังไม่มีอยู่บนโลกจริง ๆ หรือพิสูจน์ไม่ได้ เช่นเวทย์มนต์ เราก็สามารถมั่วได้เลยในบางจุด แต่ให้ฟังแล้วมีเหตุและผลถึงจะมั่วก็อย่าหลับตามั่วเพราะอาจจะเจอคนอ่านยิง คำถามเอาแล้้วคุณจะน็อกเอาได้ง่าย ๆ


เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ


อันนี้เป็นส่วนที่จะบอกให้รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามละกันนะ

มุมมองของการเดินเรื่อง ปรกติแล้วมุมมองของการเดินเรื่องเราจะมี 2 แบบคือ แบที่ตัวเอกหรือตัวละครในเรื่องเป็นผู้เล่าเหตุการณ์ กับ แบบที่เป็นบุคคลที่ 3 เป็นผู้เล่าเหตุการณ์ ซึ่ง 2 แบบนี้ต่างกันคือ ในแบบแรกนั้นเรื่องจะดำเนินไปเฉพาะในส่วนที่ตัวเอกในเรื่อง หรือที่ตัวละครที่เป็นผู้เล่าเรื่องได้พบเห็นเท่านั้น โดยจะไม่มีการกล่าวไปถึงอื่นจุดที่ตัวละครนั้นไม่ได้เห็นหรือไม่ได้สัมผัส โดยการเดินเรื่องแบบนี้นั้น สังเกตได้โดย ตัวละครนั้นจะเป็นผู้บรรยายทุกอย่างเองในเรื่องโดยที่จุดบรรยายจะเป็นคำพูด ของตัวละครนั้นทั้งหมด (ถ้าการ์ตูนล่ะ ก็ผมเห็นอยู่เรื่อง 1 คือ อาเรีย) ส่วนแบบที่ 2 ก็คือคนอื่นเป็นคนเล่าเรื่องโดยคน ๆ นี้อาจะไม่มีตัวตนอยู่ในเรื่องเลย โดยการเดินเรื่องแบบนี้จะเป็นลักษณะที่ผู้อ่านหรือผู้ดูจะเห็นทุกอย่างว่า ใครทำอะไรยังไงที่ไหน แต่ตัวละครในเรื่องนั้นไม่รู้อะไรเลย ซึ่งแบบที่ 2 นี่เราจะพบบ่อยที่สุด


การเดินเรื่องในฟิก นั้นจำเป็นต้องมีการบรรยาย สภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวด้วย เพราะหากว่าไปจับแต่ตัวละครอย่างเดียวโดยไม่มีสิ่งที่อยู่รอบข้างเลยจะดู เหมือนว่าเดินเรื่องอยู่ในฉากมืด และการบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันควรมีการเชื่อมประโยคที่เหมาะ สม เพื่อให้รู้ว่าเหตุการณ์นั้นยังต่อเนื่องกันอยู่


การเก็บข้อมูลควรจัดเก็บเป็นโฟลเดอร์ หรือโน๊ตแพทที่ง่ายต่อการค้นหาและเรียกใช้งาน และควรเปิดมาดูอย่างละเอียดทุกครั้งก่อนจะทำการแต่งเพื่อให้มีความถูกต้อง ของข้อมูล


คราวนี้เอาทักษะการต่อสู้นะครับ คาดว่าคราวนี้คงถูกใจน้อง ที่ชอบแต่งฟิกแนวต่อสู้นะครับ


ก่อนที่เราจะเข้าเรื่องขอทำความเข้าใจไว้ตรงนี้ก่อนว่าที่ผมจะพูดทั้งหมดใน ที่นี้ คือหลักพื้นฐานที่มีในความเป็นจริง โดยใช้พื้นฐานจากคนธรรมดา ๆ ไม่ได้มีพลังโอเวอร์สุดยอดหรอกนะครับ ส่วนในฟิกจะพูดกันท้ายเรื่องนั่นแหละ เอาล่ะถ้าพร้อมแล้วก็เริ่มงานกันเลย


อาวุธ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทำร้าย ป้องกัน หรือต่อสู้ และถ้าพูดถึงการต่อสู้แล้วก็จำเป็นต้องมีอาวุธ เพราะอาวุธคือสิ่งจำเป็นสำหรับการต่อสู้ หลายคนที่นิยมแต่ฟิกชั่นในแนวเชิงการต่อสู้จะสังเกตเห็นได้ชัดเลยว่าถ้ามี การต่อสู้เมื่ื่อใด ก็ต้องมีอาวุธมาให้เราเห็นเมื่อนั้น โดยอาวุธที่เราพบเห็นกันก็มีหลายประเภท เช่น ดาบ หอก ทวน กระบี่ พลอง กระบอง สนับมือ ปลอกแขน ขวาน ค้อน เคียว ลูกตุ้ม แส้ มีด ง้าว หลาว คทา อาวุธซัด กรงเล็บ โล่ และ ปืน ซึ่งวันนี้ผมจะพูดถึงอาวุธที่กล่าวไปข้างต้นนั่นแหละ


จากพจนานุกรมราชบัณฑิตยฐาน ได้นิยามอาวุธเหล่านี้ไว้ว่า

ดาบ คือ มีดยาวปลายแหลมชนิดหนึ่ง สันแอ่นปลายงอนเล็กน้อย มักใช้เป็นอาวุธสำหรับฟันแทง


หอก คือ อาวุธสำหรับแทงชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ มีด้ามยาว


ทวน คือ อาวุธชนิดหนึ่งคล้ายหอก แต่เรียวเล็กและเบากว่า ด้ามยาวมาก


กระบี่ คือ มีดรูปดาบ มีฝัก ที่ด้ามถือมีโกร่ง (โกร่ง = โลหะรูปโค้งที่ด้ามกระบี่หรือดาบบางชนิด สำหรับป้องกันไม่ให้อาวุธถูกมือ)


พลอง คือ เรียกไม้ใช้เป็นอาวุธยาวประมาณ ๔ ศอกว่า ไม้พลอง


กระบอง คือ ไม้สั้นสำหรับใช้ตี มีรูปกลมบ้าง เหลี่ยมบ้าง คล้ายพลอง แต่สั้นกว่า


สนับมือ คือ เครื่องสวมมือทำเป็นรูปเหมือนแหวน ๔ วงติดกันสำหรับสวมนิ้วมือเวลาชก


ปลอกแขน คือ สิ่งที่ทำเป็นวงสำหรับสวมหรือรัดป้องกันแขน


ขวาน คือ เครื่องมือสำหรับตัด ฟัน ผ่า ถากไม้ ทำด้วยเหล็กมีสันหนาใหญ่


ค้อน คือ ชื่อเครื่องมือสำหรับเคาะ ตอก ตี ทุบ


เคียว คือ เครื่องมือทำด้วยเหล็กรูปโค้ง มีคม


ลูกตุ้ม คือ ไม้หรือเหล็กยาวๆ มีลูกกลมข้างปลาย ใช้สำหรับเป็นอาวุธ


แส้ คือ อุปกรณ์ที่ปลายถักหรือฟั่นเป็นเกลียว ยาวอย่างไม้เรียว


มีด คือ เครื่องมือสำหรับฟัน ผ่า จัก เหลา


ง้าว คือ ดาบด้ามยาว


หลาว คือ ไม้ที่เสี้ยมแหลม เป็นอาวุธสำหรับแทงหรือพุ่งเข้าใส่


อาวุธซัด คือ อาวุธที่ใช้โดยต้องปล่อยไปหรือเหวี่ยงไปโดยแรง


โล่ เครื่องปิดป้องศัตราวุธ


คทา คือ ไม้สำหรับถือ ใช้ตี โดยมากมีรูปกลม


กรงเล็บ คือ กลุ่มเล็บของแมวหรือนกเป็นต้นเมื่อขยุ้มเหยื่อ มีเค้าคล้ายกรง


ปืน คือ อาวุธสำหรับยิงให้ลูกออกจากลำกล้องด้วยกำลังดินระเบิดหรือแรงอัดดันด้วยลมเป็นต้น


ซึ่งอาวุธแต่ละอย่าง ก็มีรูปแบบและลักษณะการใช้งานแยกย่อยไปในประเภทของตัวมันเองอีกทีหนึ่ง โดยผมจะขอไล่ไปทีละหัวข้อละกัน

1. ดาบ เป็นอาวุธที่หลายคนนิยมใช้ และพระเอกในฟิกหรือในอนิเมชั่นหลายเรื่องนิยมมาก สาเหตุก็คงเพราะ ดาบเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ หรือ ผู้นำ ละมั้ง ในสมัยก่อนอัศวินอังกฤษเวลาแต่งตั้ง ต้องเอาดาบของพระราชามาแตะไหล่ เมืองจีนก็มีกระบี่อาญาสิทธิ์ ส่วนเมืองไทยยังมีพระแสงอาญาสิทธิ์ แต่ถ้าเรามองดูจากลักษณะการใช้งานแล้วมันก็เป็นอาวุธสู้ประชิดตัวที่มีวงโจม ตีในระดั
กลางและมีการพลิกแพลงรูปแบบการโจมตีได้ดี โดยการโจมตีของอาวุธประเภทดาบจะมีทั้งหมด 9 รูปแบบ คือ ฟันผ่าลง ฟันทวนขึ้น ฟันตัดซ้าย ฟันตัดขวา ฟันฉียงลงซ้าย ฟันเฉียงลงขาว ฟันเฉียงขึ้นซ้าย ฟันเฉียงลงขวา และ แทง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเพลงดาบไหนก็จะมีท่าโจมตีไม่พ้น 9 แบบนี้ ความยาวของดาบที่เรียกว่าขนาดมาตราฐานจะอยู่ราว ๆ เมตรกว่า แต่ไม่น่าจะเกิน เมตรครึ่ง โดยปกติดาบที่มีความยาวพอเหมาะ ควรจะมีความยาวใบมีดเท่ากับแขนของผู้ถือดาบ แต่บางครั้งดาบเองก็มีความยาวมากกว่าเมตรครึ่ง ดาบสามารถแบ่งประเภทออกตามลักษณะอีก ได้แก่


1.1 เกรทซอร์ด อันนี้ไม่ได้แปลว่าดาบสุดยอดนะ เกรทซอร์ดหมายถึงดาบที่มีใบมีดยาวและใหญ่แถมน้ำหนักเยอะอีกตะหาก เป็นอาวุธที่นิยมใช้บนหลังม้า การโจมตีของดาบประเภทนี้แม้มันตัวดาบจะไม่คมมากแต่ด้วยน้ำหนักของมันเมื่อ ฟาดมาก็สร้างความเสียหายได้ไม่น้อย เกรทซอร์ดเป็นดาบที่ใช้อยู่ทางแถบยุโรป ถ้าพูดให้เห็นภาพก็ประมาณของพระเอกใน ไฟนอลแฟนตาซี 7 นั่นแหละ


1.2 บาสตาด คำว่า Bastard แปลว่าเลว แต่ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่า Bastard Sword จะแปลว่าดาบชั้นเลวหรือเปล่า แต่คิดว่าไม่น่าใช่นะ ส่วนมากดาบบาดตาสเป็นดาบที่ทหาร หรือ อัศวินนิยมพกพา ใบมีดไม่ใหญ่โตนักความยาวก็พอเหมาะ


1.3 บอร์ดซอร์ด ดาบที่มีใบมีดขนาดใหญ่ แต่ความยาวยังพอเหมาะอยู่ ใบมีดของบอร์ดซอร์ดทำหน้าที่เป็นโล่ขนาดเล็กได้เลยทีเดียว แต่ก็หนักเอาเรื่องอยู่ และการโจมตีก็เน้นน้ำหนักเข้าว่าเช่นกัน


1.4 เคย์มอ ดาบยาวแต่ใบมีดเล็ก น้ำหนักจะเบากว่าพวกต้น ๆ ที่กล่าวมาด้านบนทำให้ฟันได้เร็วกว่า


1.5 คาตานา หรือดาบญี่ปุ่นนี่แหละ เป็นดาบที่ได้ชื่อว่าสมดุลในแทบทุกด้าน ทั้งรูปทรงน้ำหนัก และความคม ดาบญี่ปุ่นจัดได้ว่ามีความคมเป็นเลิศ เพราะตัวดาบที่โค้งงอของมันจะฟันเฉือนเนื้อสร้างบาดแผลฉกรรจ์ได้เป็นอย่างดี และด้วยน้ำหนักที่เบา ทำให้กวัดแกว่งได้อย่างคล่องแคล่ว ดาบญี่ปุ่นมักไม่เน้นแรงกระแทกแต่เน้นความเร็วในการฟันและเป็นดาบฟันเฉือน ได้ดีเพราะใบมีดมีความบาง และสำคัญคือโลหะที่ใช้ทำดาบมีคุณสมบัติบางอย่างที่สร้างความเจ็บปวดอย่าง รุนแรงให้กับบาด แผลที่ถูกดาบประเภทนี้ฟันได้ (เคยดูมาจากรายกาย 1 จำชื่อไม่ได้แล้วเพราะนานมากแล้ว) แต่ดาบญี่ปุ่นมีข้อเสียคือ เมื่อฟันไปเรื่อย ๆ ความคมของมันจะลดลงเพราะเลือดจะมาเคลือบที่ผิวดาบทำให้ความคมมันลดลง เพราะฉะนั้นดาบญี่ปุ่นจึงต้องมีการเช็ดขัดเป็นอย่างดีเพื่อให้พร้อมใช้งาน


1.6 โชเทล ดาบโค้ง ๆ แบบทางอาหรับ ความคมก็จัดว่าโอเค และเป็นดาบสั้นทำให้ฟันได้รวดเร็ว และรูปลักษณ์ที่โค้งทำให้กรีดเนื้อได้ดีเชียวล่ะ


1.7 ดาบสั้น เป็นดาบที่สั้นกว่าความยาวดาบมาตราฐานแต่ความยาวยังมากกว่ามีดอยู่ ดาบสั้นมีความสามารถในเชิงปัดป้องและสู้วงในได้ดีกว่าดาบที่ยาวมาตราฐาน หรือยาวกว่า


2. หอก เป็นอาวุธที่ใช้แทงศัตรูนอกระยะ โดยส่วนปลายจะมีส่วนที่เป็นคมอยู่ ปกติหอกเป็นอาวุธที่ใช้ได้ทั้งบนพื้นและบนหลังม้า การโจมตีของหอกในการต่อสู้ประชิดจัดเป็นพวกระยะไกล แต่หอกนั้นจะทรงประสิทธิภาพในด้านของการแทง แต่ก็ใช้จะฟันไม่ได้ แต่เพราะว่าส่วนที่เป็นคมของมันมีเพียงส่วนปลายเท่านั้นประสิทธิภาพในการฟัน จึงต่ำ และหากฟาดไปก็อาจจะโดนส่วนที่ไม่ใช่คมก็ได้ เพราะงั้นวิชาหอกจึงเน้นกระบวนท่าแทงเป็นหลักส่วนการฟาดของหอกจะใช้เป็นการ ปัดป้องเสียส่วนใหญ่


3. ทวน เป็นอาวุธอีกชนิดหนึ่งที่ใกล้เคียงกับหอก แต่ต่างกันตรงที่ทวนเป็นอาวุธที่ใช้แทงโดยเฉพาะ และมีความยาวกว่าหอก โดยทวนจะใช้บนหลังม้าเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้ความเร็วของม้าเพิ่มความแรงในการแทง (เกราะยังทะลุ) เพราะทวนหากใช้บนพื้นมันจะเก้งกางเอาการอยู่ และมันคงไม่สะดวกนักถ้าต้องมาเจอกับการเข้าประชิดตัวของอาวุธแบบอื่นอย่าง ดาบเป็นต้น


4. กระบี่ อาวุธที่คล้าย ๆ ดาบแต่จะมีขนาดเล็กว่าดาบ มีคุณสมบัติในการแทงสูงกว่าฟัน ซึ่งตรงข้ามกับดาบที่มีความสามารถในการฟันมากกว่าแทง กระบี่ก็มีหลายรูปทรง เช่น กระแบบนายร้อย กระบี่แบบกีฬาฟันดาบ กระบี่แบบจีน ฯลฯ ซึ่งลักษณะการใช้งานกระบี่ก็ไม่ต่างไปจากดาบมากนัก โดยภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Saber โดยทางยุโรปจะมีท่วงท่าการใช้กระบี่ไปเชิงการแทงมากกว่าฟัน เพราะด้วยรูปร่างของกระบี่แล้วมันค่อนข้างเล็กปลายแหลม และเรียวโดยเฉพาะ กระบี่อย่างสไปรัล (แบบดาบของหน้ากากโซโล) กระบี่แบบนั้นจะอาศัยการโจมตีที่ส่วนปลายเป็นหลัก จะสังเกตเห็นได้ว่าท่วงท่าของกระบี่จะต้องชี้ปลายดาบไปด้านหน้าในมุมที่ พร้อมพุ่งตัวเข้าไปแทงและท่วงท่าการฟันจะใช้มือข้างเดียวถือ และการโจมตีจะด้วยการฟันก็เป็นการตวัด (สังเกตในกีฬาฟันดาบ) แต่ถ้าสู้กันจริง ๆ ก็ไม่เสมอไปซะทีเดียวมันก็ขึ้นกับบุคคลด้วย และเพราะน้ำหนักของกระบี่จะเบากว่าดาบทำให้การโจมตีนั้นดูว่องไวกว่า แต่ถ้าพูดถึงความแข็งแรงแล้วดาบจะดีกว่า


5. พลอง เป็นอาวุธที่ใช่แรงในการฟาดเป็นหลัก ตัวพลองเองไม่มีคมมีด แต่ก็สร้างความเสียหายให้กับอีกฝ่ายได้ด้วยความเร็วในการฟาด และถึงแม้ว่าจะไม่มีคมก็ตามแต่ก็สร้างบาดแผลอย่างกระดูกหัก กระดูกแตก หรือถ้าเข้าที่หัวหรือท้ายทอยอย่างแรงล่ะก็ ได้ไปสวรรค์แน่ ๆ พลองจัดเป็นอาวุธยาวซึ่งทวงท่าการใช้พลองจะมีทั้งแทงและฟาด หากเคยดูหนังจีนกำลังภายใน โดยเฉพาะวัดเส้าหลินจะเห็นบ่อยว่า มีการใช้พลองเป็นอาวุธและร้ายกาจเพียงใด อนึ่งพลองเป็นอาวุธที่ต้องใช้ 2 มือ


6. กระบอง กระบอกกับพลอง หลายสับสนคิดว่ามันคืออันเดียวกันแต่ จริงแล้วพลองกับกระบองเป็นอาวุธคนล่ะชนิดกัน หากไม้ที่ยาวไม่เกิน 4 ศอกเราจึงจะเรียกกระบองได้ กระบอกเองใช้หลักการสร้างความเสียหายแบบเดียวกับพลอง แต่กระบองถือมือเดียวได้ และยังสามารถติดของบางอย่างเพิ่มเพื่อสร้างความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ กระบองมีหลายรูปแบบ เช่น


6.1 กระบอง 2 ท่อน อันนี้คงเคยเห็นกัน อาวุธคู่ใจไอ้หนุ่มซิงตึ้ง หรือบรูสลี สำหรับกระบอง 2 ท่อนจะต้องอาศัยการเหวี่ยงเพื่อให้เกิดพลังทำลาย การควงกระบอง 2 ท่อนจริงแล้วไม่ใช่แค่เท่ ๆ แต่เมื่อเราควงมันให้มีความเร็วแล้วเมื่อฟาดออกไปความเร็วจากการเคลื่อนที่ ด้วยการหมุนหรือควง จะส่งผลให้เกิดโมเมนตัมขึ้น และยิ่งมีน้ำหนักมา ความเร็วมากโมเมนตัมก็มากตาม กระบองที่เป็นท่อน ๆ นี้ยังมีแบบ 3 ท่อน 4 ท่อน ไปจนถึง 9 ท่อนแต่หลักการใช้ก็เหมือนเดิม กระบองหลายท่อนนี้มีไว้ลบจุดบอดระยะไกลของกระบอง และจุดบอดระยะใกล้ของพลองนั่นเอง


6.2 กระบองทอนฟา กระบองที่มีแท่งจับยื่นออกมาจากตัวกระบองโดยด้ามจับจะทำมุม 90 องศากับตัวกระบองเป็นกระบองถือมือเดียว แต่จะให้ผลดีมาก ถ้าใช้ 2 อันพร้อม ๆ กัน (ใครนึกภาพไม่ออกให้ไปดูอาวุธของเอลี่ ในเรื่องเรฟ ไม่ก็อาวุธของไซก้า ในไรเดอร์ไฟส์ล่ะกัน) หลักการสร้างความเสียหายเช่นเดิม แต่จะเป็นการหมุนตัวกระบองโดยจับที่จับไว้และออกแรงหมุนให้กับตัวกระบอง ยิงออกแรงหมุนเร็วเท่าไหร่ความแรงที่ออกมาก็ได้มากเท่านั้น และกระบองชนิดนี้ยังทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันแขนได้อีกด้วย และยังมีปุ่มยื่นไปด้านหน้าเพื่อใช้ชกได้อีก นับว่าเป็นอาวุธสู้ประชิดในระยะประชิดอย่างแท้จริง แต่ทอนฟาไม่มีวิชาเป็นของตัวเอง ทอนฟาจะถูกใช้คู่กับวิชาหมัดมวย แถมยังเป็นอริอย่างยิ่งกับพวกดาบและอาวุธยาว และจะอันตรายยิ่งหากอยู่ในมือผู้ใช้หมัดมวยชั้นสูง


6.3 กระบองยักษ์ ที่เรียกชื่อนี้เพราะผมเองก็ไม่ทราบชื่อจริงของกระบองนี้ แต่กระบองชนิดนี้จะเห็นว่าเหล่ารูปปั้นยักษ์ตามวัด หรือพวกรูปวาดของยักษ์จะถือกระบองชนิดนี้อยู่ กระบองลักษณะนี้จะมีขนาดใหญ่ บางครั้งติดหนามแหลมไว้ด้วย กระบองแบบนี้จะสร้างความเสียหายจากน้ำหนักของตัวมัน และแรงของผู้ฟาด แต่แม้ว่ามันจะช้าแต่เรื่องพลังหายห่วง


7. สนับมือ อาวุธที่ใช้สำหรับปกป้องหมัดเวลาชกและเสริมพลังทำลายให้หมัด ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้นอกจากชกเท่านั้น ไม่มีวิชาเป็นของตนเองเช่นกัน จะใช้คู่กับวิชาหมัดมวย เป็นอาวุธประชิดระยะประชิด อีกชิ้น 1 แต่ถ้ากรณีฝีมือพอ ๆ กันทอนฟายังดูได้เปรียบกว่าอยู่ เพราะทอนฟาเพิ่มระยะการโจมตีได้อีกเล็กน้อย แต่สนับมือทำไม่ได้ (แต่ถ้าแขนยืดได้นี่อีกเรื่อง)


8. ปลอกแขน อันนี้จัดเข้าค่ายเครื่องป้องกันมากกว่าอาวุธ แต่ก็เป็นของที่ใช้คู่กับวิชาของปลอกแขนเช่นกัน แต่ดูไม่ค่อยออกเพราะวิชาของปลอกแขน ก็จะทำนองเพลงหมัดมวยเช่นกัน เพียงแต่เสริมปลอกแขนมาเพื่อเป็นเกราะให้กับแขนตนเองเพื่อต้านทานอาวุธของ อีกฝ่าย


9. ขวาน ของที่เห็นบ่อยสำหรับคนตัดไม้ แต่ว่าทางยุโรปจะมีขวานที่เรียกขวานสงคราม ขวานใหญ่ หรือขวานด้ามยาวที่ใช้เฉพาะการศึกอยู่ด้วย ขวานเป็นอาวุธที่ทรงพลังในการฟาดลงมากที่สุดเพราะน้ำหนักจะอยู่ที่ส่วนปลาย และไม่สามารถแทงได้ และขวานยังมีแบบด้ามสั้นที่ไว้ใช้ประชิด และแบบใช้ขว้างอีกด้วย แผลที่ได้จากขวานแม้ไม่ยาวแต่จะลึกเพราะลักษณะปากแผลจะเปิดกว้าง ไม่ตายตรงนั้นก็อาจจะเสียเลือดตายเอาก็ได้


10. ค้อน หลักการใช้งานของมันก็ใกล้เคียงกับขวาน แต่ต่างกันตรงมันไม่มีส่วนที่เป็นคม และใช้ความหนักส่วนปลายของมันให้เป็นประโยชน์ แต่ค้อนสงครามจะติดลิ่มไว้เพื่อใช้เจาะเสื้อเกราะของอัศวิน ด้วยความเสียหายที่เกิดจากค้อน จะไม่เกิดบาดแผลใหญ่ แต่จะเกิดบาดแผลเชิงช้ำในหรือ กระดูกหักหรือแตกมากที่สุด (ก็มันค้อนนี่หว่า ขนาดคอนกรีตยังแตก แล้วคนจะเหลือหรือ)


11. เคียว จริง ๆ แล้วอาวุธแบบนี้ไม่ค่อยเห็นมากนักแต่เคียวที่มีด้ามจับยาว ๆ เป็นสัญลักษณ์แห่งผู้นำความตายหรือยมทูตนั่นเอง อาวุธแบบเคียวจะมีอำนาจในการฟันและแทง แต่มุมแทงต้องอยู่ที่ปลายแหลมของเคียวเท่านั้น อาวุธตระกูลเคียวมันสามารถใช้ลักษณะ พิเศษที่โค้ง ๆ ของมันนี่แหละทำให้อาวุธอย่างดาบหรือพวกอาวุธด้ามยาวไม่สามารถป้องกันแบบติด ตัวได้ โดยเฉพาะเคียวแบบยมทูต ใบมีดจะยาวเป็นพิเศษต้องระวังเวลาตั้งรับต้องระวังหน่อย ส่วนเคียวแบบด้ามสั้น ก็มีให้เห็นบ้างบางที่ติดลูกตุ้มเสริมเพื่อโจมตีระยะไกลอีกตะหาก จริง ๆ แล้วเคียวมีลักษณะการใช้งานเหมือนง้าวเลยล่ะ เน้นไปที่การฟันมากกว่าแทง เพียงแต่ลักษณะใบมีดต่างกัน


12. ลูกตุ้ม อาวุธที่มีความหนักปลายเช่นเดียวกับค้อน หรือขวาน ใช้หลักการสร้างความเสียหายด้วยแรงกระแทกเช่นกัน ลูกตุ้มบางทีก็เป็นหนามแหลมไว้สำหรับเจาะเสื้อเกราะ บางที่ก็จะเป็นลูกตุ้มและมีโซ่คล้องไว้เวลาใช้ก็ทำการเหวี่ยงลูกตุ้มออกไป ให้กระแทกเป้าหมายโดยการควงจะเพิ่มแรงให้กับลูกตุ้ม บางที่ก็เป็นกระบองที่มีลูกเหล็กกลม ๆ มีหนามแหลม อาวุธชนิดใช้อยู่ทางแถบยุโรป


13. แส้ อาวุธคู่กายแม่สาวซาดิส เอ๊ยไม่ใช่แล้ว แส้เป็นอาวุธที่ใช้ฟาดจากนอกระยะ การโจมตีของมันจะอาศัยแรงเหวี่ยงและน้ำหนักที่ส่วนปลายของแส้ แส้ที่ถูกหวดออกไปจะมีความเร็วขนาดแหวกอากาศจนเราได้ยินเสียง เฟี๊ยบ เลยที่เดียวและเมื่อกระทบเป้าหมายก็จะดัง เพี๊ยะ!! นั้นเพราะแส้เคลื่อนไหวด้วยความเร็วเหนือเสียงและเกิดโซนิคบูมเล็ก ๆ ที่ส่วนปลายที่กระทบเป้าหมาย และเพราะความที่มันเชือกก็เลยมีความอ่อนย้วยและสามารถผูกรัดได้ อาวุธประเภทดาบ และอาวุธด้ามยาวจะป้องกันแส้ได้ยาก เพราะถึงแม้จะยกมาป้องกันมันย้วยเข้าตัว อยู่ดี เพราะความอ่อน (นึกถึงเวลาที่เราฟาดเชือกไนร่อน ใส่ตัวเสาที่มีขนาดเท่ากระบอง ดูสิ มันจะวกไปพันติดหนึบเลยล่ะ) แต่แส้จะทรงพลังก็ต่อเมื่อออกแรงฟาดได้อย่างเต็มที่ (สุดแขนผู้ใช้) คือต้องง้างก่อนจะฟาด เมื่อโจมตีแล้วต้องดึงกลับมาเพื่อฟาดใหม่


14. มีดสั้น เป็นอาวุธโจมตีมีคมที่สั้นแต่จู่โจมระยะประชิดได้ดี และยังว่องไว แต่มีดเป็นอาวุธที่โจมตีฉาบฉวย และระยะวงโจมตีก็สั้น แต่ถ้าโดนจุดสำคัญ ๆ ก็ม่องได้เหมือนกัน ใช้ได้ทั้งฟันและแทงแต่ต้องโดนจัง ๆ เพราะถ้าหากโดนไม่จังแล้วก็คงยากที่ล้มศัตรู ได้เพราะบาดแผลที่ได้จากการฟันของมีดสั้นจะไม่สาหัสเท่าโดนดาบฟัน แต่ถ้าโดนแทงนี้ก็คงสาหัสเอาการอยู่


15. ง้าว เป็นดาบที่มีด้ามยาว หรืออีกนัยหนึ่งคือดาบที่ใช้บนหลังม้านั่นล่ะ ง้าวเป็นอาวุธแบบเดียวกับหอก เน้นไปที่การฟันมากกว่าแทง แถมทรงอานุภาพกว่าหอกอีกด้วย


16. หลาว อันนี้ก็เป็นอาวุธประเภทที่ใช้แทงได้อย่างเดียวเช่นเดียวกับทวน แต่จะสั้นกว่า และยังใช้พุ่งไปเสียบเป้าหมายได้ดีอีกตะหาก และยังเป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า "พุ่งหลาว" ก็มาจากการเปรียบเทียบการกระทำที่เหมือนกับการขว้างสิ่งนี้ออกไปนั่นเอง


17. อาวุธซัด เป็นอาวุธที่ต้องโจมตีด้วยการปล่อยออกไปจากมือเพื่อโจมตี เช่น ตระกูลอาวุธลับ อย่างดาวกระจาย อาวุธซัดจะมีขนาดเล็กเพื่อให้ง่ายต่อการเก็บซ่อน การโจมตีของอาวุธพวกนี้จะอยู่นอกระยะกว่า หอก หรือทวนซะอีก แต่จะไกลแค่และแม่นยำแค่ไหนขึ้นกับความสามารถของผู้ขว้าง ส่วนใหญ่อาวุธลับนิยมอาบยาพิษด้วยเพื่อให้ผลในการสังหาร เพราะบาดแผลทีได้จากอาวุธลับบางครั้งก็ยากที่จะเข้าจุดสำคัญจึงต้องใช้ยาพิษ มาเสริม แต่ถ้าคนขว้างแม่นจริงก็ไม่จำเป็น


18. โล่ อันนี้เป็นอุปกรณ์ป้องกันอาวุธมากกว่าจะเป็นอาวุธ แต่บางครั้งวิชาที่ใช้โล่โจมตีก็ใช่จะไม่มีโดยมากจะเป็นการใช้โลกระแทกเพื่อ ดันศัตรู โดยโล่ที่ใช้โจมตีบางที่จะซ่อนกลไกไว้ เช่น ใบมีดหรือเหล็กแหลม บางที่ก็ใช้โล่ที่มีโซ่ตรึงไว้ขว้างออกไปโจมตี (อย่างโล่ของลิบบร้าในเซนต์เซย่า) เพื่อเพิ่มความเสียหายให้มากขึ้นอีกระดับหนึ่ง


19. คทา อาวุธนี้ไม่เห็นใช้ในสนามรบจริงตามประวัติศาสตร์ แต่จะเห็นใช้บ่อยในฟิก การ์ตูน หรืออนิเมชั่นสำหรับพวกนักเวทย์ เพราะไม้เท้าหรือคทานี้เป็นตัวทำหน้าที่เป็นตัวขยายมนต์ตราให้กับผู้ถือคทา เป็นการเสริมอำนาจพลังของเวทย์มนต์ทีใช้ออกมาให้มีกำลังแรงขึ้นนั่นเอง สังเกตว่าบางครั้งเมื่อนักเวทย์ไม่มีคทาก็จะใช้เวทย์ไม่ได้ หรือพลังโจมตีของเวทย์อ่อนลงไป ก็เนื่องมาจากขาดตัวขยายพลังนั่นเอง แต่สำหรับจอมเวทย์ที่ไปถึงขั้นสูงก็ยิ่งพลังได้แม้ไร้คทา แต่พลังตอนถือคทาก็จะแรงกว่าตอนไม่ถืออยู่ดีแหละ การโจมตีของคทาทำได้แค่ฟาดซึ่งก็คงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากเท่าใดนัก อะนะ (ยกเว้นคนฟาดแรงดี กับคทามันแข็ง)


20. กรงเล็บ อาวุธนี้จะติดกับมือเหมือนกับ แต่ไม่เหมือนสนับมือตรงที่มันสามารถใช้โจมตีด้วยการฟันได้ เพราะตัวกรงเล็บจะเป็นคมมีด หรือเหล็กแหลมที่ยื่นยาวออกมาจากหมัดหรือมือพอสมควร ซึ่งคาร์ต้าก็จัดเป็นอาวุธประเภทกรงเล็บเช่นกัน วิชาของกรงเล็บมีเป็นส่วนตัวแต่ก็ยังผสมหมัดมวยได้ด้วย เมื่อเทียบไปแล้วกรงเล็บก็เหมือนมีดติดแขนดี ๆ นี่เอง


21. ปืน อันนี้เป็นอาวุธเล่นนอกระยะของจริงเลยล่ะ ปืนจัดเป็นอาวุธที่น่ากลัวเพราะมันเล่นได้หลายระยะ และลูกกระสุนที่พุ่งมาก็มีความเร็วมากซะด้วย แต่จุดอ่อนใหญ่คือถ้ามันไม่มีลูกก็บ่ มีไกด์ และหากประชิดตัวมาก ๆ มันก็จะใช้การได้ไม่ดี ในกรณีสู้ประชิดมาก ๆ มีดจะเจ๋งกว่าปืน ปืนมีหลายประเภทแต่คิดว่าคงไม่ต้องอธิบายมากนักเพราะทุกคนก็คงรู้จักกันเป็น อย่างดี ข้อเสียของปืนก็มีอยู่ที่ว่าปากกระบอกปืนสามารถเล็งได้แค่เป้าหมายเดียวเท่า นั้น หากถูกรุมเข้ามามาก ๆ หรือจากหลายทิศทางปืนเองก็ลำบาก ยกเว้นปืนกลที่แก้ปัญหาการถูกดาหน้าเข้ามาแต่ถ้าถูกรุมจากทิศอื่นด้วยก็ยัง แย่อยู่ดี และเรื่องของแรงถีบปืนที่ตามมาอีกปืนที่มีพลังแรง ก็มีแรงถีบตามมามาก ปืนขนาดใหญ่แม้พลังแรง แต่เรื่องน้ำหนักไม่ต้องพูดถึง และบางรุ่นก็ไม่สามารถยิงในระยะประชิดได้ แถมปัญหาเรื่องมุมยิงก็เป็นปัญหาใหญ่มากสำหรับปืนอีกเรื่อง 1 และหากสู้ในที่ ๆ มีสิ่งกีดขวางมาก ๆ เปอร์เซนการหวังผลของปืนก็จะด้อยลงไป แต่ถ้าเป็นที่ยิงเป็นลูกระเบิดก็พอแก้ปัญหาตรงนี้ได้ แต่ก็ไม่สามารถยิงในที่แคบ ๆ หรือใกล้ตัวได้เพราะจะโดนตัวผู้ยิงเองด้วย


อาวุธอีกชิ้นที่ไม่ได้พูดถึงคือ ธนู เพราะหลักการของธนูก็ไม่ต่างกับพวกอาวุธปืนซักเท่าใดนัก ต่างกันที่กระสุนที่ยิงออกไป ความแม่นยำขึ้นกับผู้ยิงเช่นกัน ส่วนความแรงขึ้นกับคันธนู


หลักการได้เปรียบเสียเปรียบของอาวุธ

ถ้าพูดถึงหลักการได้เปรียบเสียเปรียบแล้ว อาวุธทุกชนิดมีจุดบอดอยู่ในตัวเองทั้งสิ้นและ หากสู้กันจุดบอดนี้เองที่จะเป็นตัวตัดสินแพ้ชนะได้เลยทีเดียว ตามหลักแล้ว อาวุธยาว จะได้เปรียบอาวุธสั้น และอาวุธสั้นก็จะได้เปรียบอาวุธยาว ฟังแล้วอาจงง แต่การได้เปรียบเสียเปรียบของอาวุธจริง ๆ อยู่ที่คำว่า "ระยะ" พูดถึงระยะนั้นเป็นหัวใจสำคัญในการต่อสู้เลยก็ว่าได้ เพราะการในการต่อสู้ทุกคนจำเป็นต้องหาระยะที่ตนเองโจมตีได้ และบีบไม่ให้อีกฝั่งโจมตี เราจะยกตัวอย่างง่าย ๆ สมมุติว่า นาย A ใช้หอก แต่นาย B ใช้มีดสั้น แน่นอนว่าใคร ๆ ก็ต้องคิดว่านาย A ได้เปรียบ แต่หากว่านาย A ถูกนาย B เข้าประชิดได้นาย A ก็ม่องทึงแน่นอน เพราะอาวุธยาวอย่างหอก ทวน ง้าว และอาวุธด้ามจับยาวทั้งหลายแหล่ จะมีจุดบอดที่ระยะประชิดทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะจุดโจมตีของอาวุธยาวอยู่นอกระยะ และซ้ำร้ายอาวุธพวกนี้ค่อนข้างแกว่งได้ช้า เพราะยิ่งยาวมากเท่าไหร่ความเร็วในการแกว่งก็ลดลงเท่านั้น ตรงกันข้ามยิ่งของสั้นก็ยิ่งแกว่งได้ไวกว่า และอาวุธที่ยาวและใหญ่ จะมีจังหวะการโจมตีเพียง 1 หรือไม่ก็ 2 เท่านั้นเวลาที่เสียไปตอนจะดึงอาวุธกลับมาฟันใหม่นี่แหละ คือจังหวะที่จะตัดสินกันเลย ฉะนั้นแล้วในการต่อสู้จริง ๆ การดึงตัวเองออกจากระยะของคู่ต่อสู้และเข้าสู่ระยะของตัวเองได้มากที่สุด นั่นแหละคือคนที่สามารถจะมีชัยได้ ฉะนั้นในกรณีข้างบน นาย A จะต้องหาทางกดนาย B ไว้ไม่ให้เข้าสู่จุดบอดของหอก ส่วนนาย B เองก็ต้องหาทางพาตัวเองเข้าสู่ระยะโจมตีของตนเองที่นาย A จะไม่สามารถโจมตีตนเองนั่นเอง ส่วนในกรณีอาวุธที่มีระยะเท่ากัน อย่างดาบกับดาบ จะตัดสินกันที่ความเร็ว ฝีมือ ประสบการณ์ และจังหวะของแต่ล่ะฝ่าย ใครเร็วกว่าก็ชนะไป หรือจะพูดอีกอย่างก็คือ ใครโดนตัวอีกฝ่ายได้ก่อนก็มีโอกาสชนะได้มาก ส่วนหลักอีกอันหนึ่งของเรื่องความสั้นยาวของอาวุธนั้นจะหลักว่า ในเรื่องของความเร็วในการกวัดแกว่ง ฟาด หรือฟัน ใครสั้นกว่าก็เร็วกว่าส่วนการแทง ใครยาวกว่าได้เปรียบ (ถ้าอยากรู้ว่าทำไมอาวุธสั้นฟาดได้ไวกว่า ก็ลอง เอาไม้ 2 อันที่ยาวต่างกันมาลงหวดดูสิ แล้วจะรู้เองว่าอันไหนมันหน่วงกว่ากัน ส่วนแทงก็น่าจะนึกออกนะว่าที่ระยะเท่ากันแต่ความยาวอาวุธไม่เท่ากันใครมันจะ ถึงก่อน)


ทริกอาวุธ

ที่กล่าวไปด้านบนคืออาวุธที่แบ่งเป็นประเภท หลัก ๆ ก็มีอยู่แค่นั้นแต่หากว่าเวลาเราแต่ฟิกชั่นอาวุธที่ถูกออกแบบมาจะมีลูกเล่น ต่าง ๆ มากมายตามแต่ผู้ออกแบบจะกำหนด มาอาวุธบางแบบก็มีลูกเล่น และบางชิ้นก็ผสมอาวุธ 2 อย่างให้อยู่ในอันเดียวกันเพื่อลบจุดบอดบางอย่างให้หายไป เช่น หอกขวาน หรือที่เรียกว่า Poleaxe เป็นขวานที่มีหอกติดอยู่ที่ปลายส่วนบนโดยอาวุธชิ้นนี้ ลบจุดบอดของขวานที่แทงไม่ได้ และ เพิ่มประสิทธิ์ภาพให้หอกที่มีความสามารถในการฟันต่ำ พลอง 9 ท่อน ที่ออกแบบมาเพื่อลบจุดบอดของพลองยามสู้ประชิดมาก ๆ หรือกระบี่ที่มีโกร่งเป็นสนับมือหนามแหลมเพื่อการชก เป็นต้น ซึ่งลูกเล่นของอาวุธพวกนี้ก็แล้วแต่ผู้สร้างจะจินตนาการและยิ่งเป็นฟิกชั้น ด้วยแล้ว อาวุธบางชิ้นอาจมีพลังมหัศจรรย์อะไรก็ได้ไม่จำกัดแบบเลยล่ะ


พื้นฐานวิชาต่อสู้

สำหรับ วิชาต่อสู้นั้นวิชาที่ใช้อาวุธดังที่กล่าวมาแล้วจากด้านบน อาวุธบางอย่างแม้ต่างชนิดแต่พื้นฐานการใช้งานคล้ายกันโดยแต่จะต่างไปเล็ก น้อยเพราะข้อจำกัดของอาวุธ แต่การโจมตีก็ทำได้แค่ 9 แบบเหมือนกันหมด ซึ่งจะสามารถจำแนกรูปแบบการใช้งานของอาวุธพวกนั้นเข้าหมวดได้ดังนี้


1. หมวดพวกอาวุธด้ามจับสั้น พวกนี้ก็ได้แก่ พวกดาบ กระบี่ มีดสั้น ขวานด้ามสั้น กระบอง สำหรับอาวุธพวกนี้นั้นทักษะการใช้งานจะคล้าย ๆ ดาบเพราะการจับของอาวุธพวกนี้คล้ายกัน แต่อันไหนจะกวัดแก่งหรือฟาดฟันได้ไว้กว่า ก็ต้องเทียบความยาวของอาวุธที่ถืออยู่ด้วย การโจมตีมีได้ 9 จุดเช่นกัน แต่การโจมตีแบบแทง ของ ขวานกับกระบอกจะสร้างบาดแผลได้น้อยกว่า ดาบ กระบี่ หรือมีดสั้น เพราะเป็นการกระแทก แต่ก็ไม่เสมอไปนักเพราะขวานหรือกระบองบางแบบ มีเหล็กแหลมสำหรับแทงด้วยซึ่งทั้งหมดก็อยู่ที่การออกแบบด้วยเช่นกัน วิชาของอาวุธจำพวกนี้แตกต่างกันตรงที่เน้นท่าที่อาวุธชนิดนั้นจะสร้างความ เสียหายให้กับอีกฝ่ายได้มากที่สุดซึ่งอาวุธชนิดไหนสร้างความเสียหายแบบไหนผม ได้กล่าวไปแล้วถ้าจำไม่ได้ กลับไปดูด้านบน สำหรับวิชาดาบคู่ มีดสั้นคู่ หรืออาวุธที่ใช้เป็นคู่ ๆ มีหลักการแบบเดียวกัน จะได้เปรียบพวกวิชาที่ใช้อาวุธเดี่ยว ตรงที่มันสามารถรุกและรับได้พร้อม ๆ กันแต่ใช้ลำบากกว่าเพราะคนเรามีความถนัดของมือทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน และเพราะงั้นแล้วข้างที่ไม่ถนัดจะส่งผลกับการโจมตีและตั้งรับด้วย แต่หากได้รับการฝึกฝนจนชำนาญก็จะเป็นเรื่องปกติ สำหรับผู้ที่ถือ ดาบข้าง 1 มีดสั้นข้าง 1 หรือที่เรียกว่าซ้ายขวายาวไม่เท่ากันจะได้เปรียบกว่าพวกดาบ 2 เล่มที่ความเท่ากันในความยาวปกติ เพราะมีดสั้นที่แกว่งเร็วกว่าจะมีความสามารถในการปัดป้อง และสามารถโจมตีในระยะประชิดมากได้ หรือพูดง่ายสามารถโจมตีได้ 2 ระยะนั่นเอง บางที่ก็เป็นขวานข้างหนึ่ง ดาบข้างหนึ่งอันนี้ก็แล้วแต่ความถนัด หรือถ้ายุคใหม่หน่อยก็ควงปืนคู่ไปเลย ยิงได้ 2 เป้าพร้อม ๆ กันแต่จะโดนเปล่าอีกเรื่อง 1 (แต่เวลาจะเปลี่ยนกระสุนจะทำไงหว่าไอ้พวกปืนคู่เนี้ย) ส่วนกรงเล็บเองก็จัดอยู่ในหมวดนี้ แม้ว่าด้ามจับมันจะติดกับแขนก็ตามแต่ทักษะการใช้งานก็ใกล้เคียงกัน


2. หมวดอาวุธด้ามจับยาว พวกนี้ก็ได้แก่ พลอง หอก ทวน ง้าว เคียว ขวานด้ามยาวและอาวุธที่ด้ามจับยาว ๆ พอ ๆ จะเป็นพลองได้ ก็จะจับเข้าสู่โหมดนี้ รูปแบบของวิชาอาวุธพวกนี้ก็เน้นไม่ต่างจากด้านบนเลย แต่ทักษะพื้นฐานจะไปหนักทางด้านวิชาพลองมากกว่า ลักษณะการโจมตี 9 จุดเช่นกัน ที่ผมบอกว่าอาวุธแบบนี้หนักทางวิชาพลอง ก็เพราะผู้ที่จะฝึกอาวุธเหล่านี้นั้นจะต้องเริ่มพื้นฐานจากวิชาพลองมาก่อน และไปเน้นหนักในอาวุธของตนเองภายหลังเพราะงั้นก็จะเห็นบ่อยที่ผู้ใช้หอกจะมี ลีลาการใช้หอกแบบไม้พลองเลย และจุดต่างเล็ก ๆ ของวิชาพลองกับ อาวุธพวกหอกหรือง้าวนี้ก็คือ พวกหอกกับง้าวเน้นการโจมตีไปที่ส่วนปลาย แต่พลองไม่เน้นไปที่จุดใดเลย คือจะฟาดจะแทงก็แล้วแต่ใจเพราะยังไงมันก็ไม่มีคมจะฟาดตรงไหนก็ไม่ต่างกัน แต่ถ้าหากเป็นหอก 2 ด้านหรือ อาวุธด้ามยาวแต่มีคมอาวุธที่ปลาย 2 ด้านก็จะใช้แบบพลองเลยเหมือนกัน คือควงและฟาดเอา และวิชาพลองใช้กับดาบอีกชนิด 1 คือดาบ 2 ทาง (แบบเดธมูนในสตาร์วอร์ภาคแรก) เพราะดาบประเภทนั้นมีจุดจับอยู่ตรงกลาง และลักษณะการจับแล้วจะไม่สามารถฟันแบบดาบทั่วไปได้ ต้องใช้หลักของวิชาพลองจึงจะใช้ดาบชนิดนี้ได้


3. หมวดอาวุธที่ใช้กับวิชาหมัดมวย ก็ได้แก่ กระบองทอนฟา สนับมือ ปลอกแขน ซึ่งก็อย่างที่บอกอาวุธพวกนี้ไม่มีวิชาเป็นของตัวเอง แต่มันมีไว้เสริมผู้ใช้วิชาหมัดมวย สามารถต่อกรกับผู้ถืออาวุธมีคมอย่างดาบ ให้สามารถต่อกรได้ และเพิ่มอำนาจการทำลายพร้อมปกป้องผู้ใช้ในเวลาเดียวกัน ปกติอาวุธพวกนี้จะนิยมใช้เป็นคู่ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด


4. อื่น ๆ เป็นอาวุธที่ลักษณะการโจมตีแปลกไปจากพวก ข้างบน เช่น แส้ โซ่ ลูกต้มเหล็กติดโซ่ โล่ อาวุธซัด และพวกอุปกรณ์ยิงต่าง ๆ พวกนี้เป็นอาวุธที่มีลักษณะการโจมตีที่เป็นเอกลักษณะเฉพาะ ของมันเอง อย่างแส้ มันก็เป็นอาวุธที่มีคุณสมบัติพิเศษที่อ่อนย้วยได้ แต่การเคลื่อนที่ของส่วนปลายจะเคลื่อนที่ช้ากว่าบริเวณด้ามจับเสมอ เป็นอริอย่างยิ่งกับพวกอาวุธด้ามยาวเนื่องบ้างครั้งแส้มีความยาวกว่า และยังป้องกันได้ยากตรงที่มันอ่อนย้วยได้นี่แหละ แถมยังใช้จับยึดวัตถุที่มันสามารถไปรัดได้อีกตะหาก แต่จะแพ้เปรียบพวกโล่เพราะพื้นที่รับสัมผัสของโล่มันมาก ส่วนโซ่จะใช่หลักการฟาดแบบเดียวกับแส้ แต่มันหนักกว่า และพวกโซ่ติดลูกตุ้มเหล็กก็จะอาศัยน้ำหนักของลูกตุ้มที่ผูกอยู่เป็นตัวสร้าง ความเสียหาย โล่ไม่นิยมเอามาใช้เป็นอาวุธ นิยมใช้คู่กับอาวุธเพิ่มการตั้งรับที่ดีขึ้นแต่ก็ใช้กระแทกได้ และหากออกแบบโล่มาในเชิงใช้โจมตีด้วยก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งแต่วัถตุประสงค์ ของโล่ก็คือเครื่องป้องกันมากกว่า ส่วนอาวุธซัดเป็นของที่ต้องขว้างไป หวังผลแน่นอนได้บ้างไม่ได้บ้างแล้วแต่ผู้ขว้าง และผู้ถูกขว้าง ส่วนอุปกรณ์ที่เป็นเครื่องยิง จัดเป็นการโจมตีแบบแทงอย่างเดียว


ปัจจัยอื่น ๆ

ใน การตัดสินแพ้ชนะสำหรับการต่อสู้นอกจากอาวุธแล้ว ความเร็ว ความคล่องแคล่ว ฝีมือและประสบการณ์ของแต่ละคนก็จำเป็น นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสภาพพื้นที่ที่ทำการต่อสู้อีก หากว่าอาวุธเราไม่เหมาะใช้งานในสภาพพื้นที่นั้นก็อาจเป็นจุดบอดให้กับเราเอง ได้หรือ ถ้าอาวุธเราแพ้เปรียบแต่อาศัยพื้นที่เข้าช่วยก็มีสิทธิที่จะมีชัยได้ นอกจากนี้การใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ ก็จะช่วยเราได้อีกทาง 1 ด้วยซึ่งทั้งหมดก็ขึ้นกับปฏิภาณไหวพริบของแต่ละบุคคล ที่จะคิดแผนการที่จะเอาชนะหรือเอาตัวรอดจากการต่อสู้ให้ได้ สำหรับพื้นที่เหมาะนั้นหากสู้ในที่โล่ง อาวุธทุกชนิดใช้การได้ดีหมด แต่หากต้องสู้ในพื้นที่ปิด หรือแคบมาก ๆ หรือมีสิ่งกีดขว้างขึ้นมาล่ะก็ อาวุธยาว ๆ ก็อาจได้รับผลกระทบทำให้ควงได้ไม่ถนัด หากสู้ในที่ ๆ มีสิ่งกีดขว้างเยอะ ๆ พวกอาวุธซัดหรืออาวุธยิง ก็อาจจะไปถูกสิ่งกีดขวางเหล่านี้ได้ (ยกเว้นแม่นสุด ๆ หรือฟลุ๊ก ๆ สุด) ถ้าหากทางแคบไร้สิ่งกีดขว้าง อาวุธซัดหรืออาวุธยิงค่อนข้างได้เปรียบเพราะ อีกฝ่ายมีที่หลบน้อย การเลือกอาวุธให้เหมาะกับพื้นที่นั้นก็เป็นอักปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้มีโอกาส ชนะได้มากขึ้น


ก่อนจบแถมท้ายให้นิดหน่อยสำหรับน้อง ๆ ที่เขียนฟิกแนวต่อสู้เรานั้นเวลาเราสร้างตัวละครออกมาแล้วนำมาสู้กันก็ควรจะ มีการมองหลัก อะไรนิด ๆ หน่อย ๆ ก่อนจะสู้กันและหาวิธีเอาชนะที่ดูแล้วสมเหตุและผลมากที่สุด โดยอันดับแรกที่เราดีไซน์ตัวละครออกมานั้น ควรมีการกำหนดความสามารถด้านการต่อสู้ สไตล์การต่อสู้ ของทุกตัวละครไว้โดยหลักการดังกล่าวจะคิดด้วยหลักการเป็น สมการง่าย ๆ ดังนี้


ความสามารถด้านการต่อสู้ = ความสามารถตัวละคร + ความสามารถและรูปแบบการใช้งานของอาวุธ


เมื่อความสามารถตัวละคร = สิ่งที่กำหนดขึ้นมาดังนี้

1.เพศ

2.ความชำนาญในการใช้อาวุธประเภทนั้น ๆ ซึ่งมีได้มากกว่า 1

3.ประสบการณ์ในการต่อสู้

4.วิชาและทักษะความสามารถต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ทั้งหมด

5.ปฏิภาณไหวพริบ สติปัญญา และดวง

6.ความสามารถทางด้านร่างกาย และพลังต่าง ๆ ของแต่ละบุคคลในเรื่องนั้น ๆ

ใน เรื่องของ "เพศ" นั้นก็มีแค่ 2 แบบคือชายกับหญิง (คงไม่มีเกินนี้หรอก กระเทยนับเป็นชายเหมือนกัน) ทุกคนคงทราบดีว่าโครงสร้างร่างกายของหญิงบอบบางกว่าชาย ทั้งเรื่องพละกำลังและอื่น ๆ จะดูบอบบางแต่ยกเว้นบางเรื่องที่เหล่าคุณเธอไม่ใช่มนุษย์ธรรมดานั้นแหละ แต่เพศหญิงจะมีคุณลักษณะด้านประสาทสัมผัสดีกว่าผู้ชายเพราะว่าเส้นประสาทของ ผู้หญิงจะมีขนาดใหญ่กว่าผู้ชาย จึงทำให้การเคลื่อนไหวดูอ่อนพริ้วกว่า ส่วนเพศชายจะมีความสามารถทางด้านร่างกายและพละกำลังเด่นกว่าเพศหญิง ส่วนถัดมาคือ "ความชำนาญในการใช้อาวุธ" อันนี้แปลตรงตัวไม่มีไรมาก "ประสบการณ์ในการต่อสู้" เป็นเหมือนกับเลเวลของตัวละครเรา ยิ่งมากก็ยิ่งเก่งยิ่งเจนศึกมากประสบการณ์ก็มีมากพวกมีทั้งฝีมือและ ประสบการณ์จัดได้ว่าน่ากลัวเอาการทีเดียว ถัดมาคือ "วิชาและทักษะความสามารถต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ทั้งหมด" อันนี้แปลว่าตัวละครที่ออกแบบมานั้นมีความสามารถพิเศษหรือวิชาอะไรติดตัวมา บ้าง เช่น มีพลังเวทย์สูงส่ง เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วดั่งเงา มีวิชาดูดพลัง มีวิชาดาบขั้น 3 ฯลฯ อะไรแบบนี้แหละซึ่งก็แล้วแต่จะกำหนด ถัดมาอีกคือ "ปฏิภาณไหวพริบ สติปัญญา และดวง" แปลง่าย ๆ ความฉลาด และ ความดวงดีของแต่ละคน และท้ายสุดคือ "ความสามารถทางด้านร่างกาย และพลังต่าง ๆ ของแต่ละบุคคลในเรื่องนั้น ๆ" อันนี้เป็นสิ่งที่จะกำหนดโดยผู้แต่งว่าตัวละครคุณมีพลังร่างกายประมาณไหน พลังเวทย์หรือพลังพิเศษใจเรื่องนั้นประมาณแค่ไหน มีความคล่องแคล่ว ความรวดเร็วซักแค่ไหนมันก็แล้วแต่ผู้แต่งจะกำหนดขึ้นมา ว่าเขาคนนั้นจะเป็นยอดคนหรือคนอ่อนแอซักแค่ไหน


ความสามารถและรูปแบบการใช้งานของอาวุธ

ความสามารถเป็นสิ่งที่ผู้สร้างกำหนดเอาเองได้ตามชอบใจส่วนการใช้งานอ่านด้าน บนที่เขียนไว้ เพราะอาวุธที่ผมเขียนไว้นั้นครอบคลุมการใช้งานของอาวุธแทบทั้งหมดแล้ว ยกเว้นอาวุธที่อยู่ในโหมด อื่น ๆ จะต้องกำหนดเองแล้วล่ะ


ส่วนสไตล์การต่อสู้วิเคราะห์จากอุปนิสัยของตัวละครโดยอุปนิสัยที่บ่งบอกสไตล์การต่อสของแต่ละคน ได้แก่

1.พวก เลือดร้อน บ้าบิ่น สไตล์การต่อสู้จะออกไปทางลุยไปข้างหน้าอย่างเดียวแบบไม่คิดหน้าคิดหลังอะไร มาก ลุย ๆ ๆ ลุยมันเข้าไปทำนองนั้น พวกนี้มักติดกับดักง่าย ๆ ในบางครั้ง

2.พวกสุขุมเยือกเย็น สไตล์การต่อสู้จะตรงข้ามกับพวกแรก พวกนี้จะรุกเมื่อมีจังหวะ และทำอะไรอย่างมั่นคงไม่มีลุกลี้ลุกรน

3.พวกรอบคอบ ฉลาด สไตล์การต่อสู้ของพวกนี้จะเป็นการวางแผนไว้ก่อนแล้ว และมักจะใช้กลยุทธ์ในการต่อสู้

4.พวกบ้าคลั่ง หรือ พวกชอบการทำลาย พวกนี้จะสู้แบบไม่สนใจอะไรซัดทุกอย่างที่ขวางหน้าทั้งหมดจนกว่าจะไม่เหลืออะไรแล้ว

5.พวก หลงตัวเอง สไตล์การต่อสู้ของพวกนี้จะเป็นทำนองว่าคิดว่าข้านี่แหละแกร่งสุด และมักประเมินคู่ต่อสู้ต่ำกว่าตนเองเสมอ และมักตกใจเมื่อเจอเซอร์ไพรส์เล็ก ๆ จากอีกฝ่าย

6.พวกที่ชอบการต่อสู้ หรือชอบเอาชนะ สไตล์การต่อสู้ของพวกนี้จะชอบสู้กับคนเก่ง ๆ ที่สูสีกับตนเองและมักจะยอมรับฝีมือของอีกฝ่ายหากว่าสูสีกับตนหรือเหนือกว่า แต่บางทีก็ไม่เป็นงั้น และหากว่าตนแพ้ ก็จะยอมรับความเข้มแข็งของอีกฝ่าย หรือไม่ก็ผูกใจเจ็บตามสู้ไปเรื่อย ๆ ก็ได้ และมักไม่ยอมให้คนอื่นทำร้ายคู่ต่อสู้ของตนเองด้วย

รูปแบบมันยังมีอีกเยอะแต่นี่เป็นตัวอย่างคร่าว ๆ พอเป็นแนวทางเท่านั้นสุดท้ายนี้หวังว่าไอ้ที่ผมเขียนมายืดยาวเนี้ยจะเป็น ประโยชน์แด่ท่านที่ชอบแต่งฟิกแนวต่อสู้จะใช้เป็นแนวทางนะครับ ในที่นี้ผมไม่ได้กล่าวถึงวิชาหมัดมวยอย่างละเอียดมากเพราะคิดว่าหลายคนน่าจะ พอรู้กันบ้าง แล้ว แต่ถ้าใครมีข้อสงสัยก็ PM มาถามเอาละกันนะครับไม่ก็ปรึกษาทาง MSN ได้ ท้ายที่สุดนี้ผมขอให้ทุกท่านสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างใจคิดนะครับ


เครดิต : wayusan @ kuroneko-cocytus animemusicsite