PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : เปิดปมเพลงชาติไทย รอยทางกว่าจะมาถึงเวอร์ชั่นปัจจุบัน



BosRs_Korat123
4th March 2012, 23:22
เปิดปมเพลงชาติไทย รอยทางกว่าจะมาถึงเวอร์ชั่นปัจจุบัน


http://static.tlcdn2.com/data/8/pictures/0213/02-23-2012/p16mklmu1j1e0qe41p0n1eq41dmk3.jpg

ถ้าใครมีปู่ย่าตายายหรือผู้สูงอายุอยู่ในบ้าน ลองกลับไปถามท่านและให้ท่านร้องเพลงชาติให้ฟัง เพลงชาติที่ท่านร้องออกมาอาจจะเป็นเพลงที่ท่านไม่เคยได้ยินเลยในชีวิตก็ได้ครับ ของไอน์สไตน์น้อยก็เป็นครับ สมัยคุณตายังมีชีวิตอยู่เคยร้องเพลงชาติให้ฟัง เพลงชาติเวอร์ชั่นคุณตากับเวอร์ชั่นคุณหลาน เป็นคนละทิศคนละทางกันเลยทีเดียวครับ ทราบกันไหมครับว่า กว่าจะมาเป็นเพลงชาติเวอร์ชั่นปัจจุบันให้เราขับร้องกันด้วยความภาคภูมิใจนั้น รอยทางของ "เพลงชาติ" ของประเทศของเรา เดินทางมาบนเส้นทางแห่งประวัติศาสตร์จากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไร

ย้อนหลังกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2395 ในปลายรัชสมัย พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้มีนายทหารอังกฤษ 2 คนชื่อ ร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) และ ร้อยเอกน๊อกซ์ (Thomas G. Knox) เข้ามาเป็นครูฝึกทหารเกณฑ์ ในวังหลวงและวังหน้า ได้ใช้เพลง 'God Save the Queen' ซึ่งเป็นเพลงประจำชาติของอังกฤษเป็นเพลงฝึกสำหรับทหารแตร ซึ่งในการฝึกทหารของไทยสมัยนั้น ใช้ตามแบบอย่างของประเทศอังกฤษทั้งหมด ดังนั้นเพลง 'God Save the Queen' จึงถูกใช้เป็นเพลงเกียรติยศสำหรับกองทหารไทยใช้ถวายความเคารพต่อพระมหากษัตริย์ด้วย และเรียกกันว่า 'เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ'

ต่อมา พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่ โดยใช้ทำนองของเพลง 'God Save the Queen' และตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่ว่า 'จอมราชจงเจริญ' และนี่นับเป็นเพลงชาติฉบับแรกของประเทศสยาม

แต่ในปี พ.ศ. 2414 เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์ ในขณะนั้นสิงคโปร์ยังเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษอยู่ กองทหารดุริยางค์ สิงคโปร์ก็ได้บรรเลงเพลง 'God Save the Queen' เพื่อถวายความเคารพเช่นกัน พระองค์จึงทรงตระหนักว่าประเทศสยาม จำเป็นจะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติ

ครั้นเมื่อทรงเสด็จกลับถึงพระนคร จึงได้โปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษาหาเพลงชาติที่มีความเป็นไทยมาใช้แทนเพลง 'จอมราชจงเจริญ' และคณะครูดนตรีไทย ได้เลือก 'เพลงทรงพระสุบิน' หรือ 'เพลงบุหลันลอยเลื่อน' ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ที่ประวัติเพลงดังกล่าวค่อนข้างแปลกทีเดียว เนื่องจากรัชกาลที่สองทรงเข้าพระที่เพื่อทรงพระบรรทม และได้มีพระสุบินถึงพระจันทร์แจ่มกระจ่างฟ้าพร้อมกับทำนองเพลงที่แสนไพเราะ เมื่อตื่นพระบรรทมจึงมีรับสั่งเรียกหาซอสายฟ้าฟาดซึ่งเป็นซอสามสายคู่พระราชหฤทัยและเล่นเพลงที่ทรงได้ยินในฝันนั้น จนกลายมาเป็นเพลงที่ถูกเรียกโดยที่มาว่า "เพลงทรงพระสุบิน" และภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "เพลงบุหลันลอยเลื่อนนั่นเอง ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการนำเพลง "บุหลันลอยเลื่อน" ดังกล่าวนี้ นำมาเรียบเรียงใหม่ ให้มีความเป็น สากลขึ้นโดย "เฮวุดเซน" (Heutsen) ซึ่งก็นับเป็นเพลงชาติไทยฉบับที่สอง และใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. 2414-2431

สำหรับเพลงชาติไทยฉบับที่สาม คือ 'เพลงสรรเสริญพระบารมี' อย่างที่ยังได้ยินในปัจจุบันนั่นเอง ซึ่งเพลงนี้ประพันธ์โดย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย คำร้องเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จฯ กรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติ ในระหว่างปี พ.ศ.2431-2475
เพลงชาติไทยฉบับที่สี่ คือ 'เพลงชาติมหาชัย' ใช้เป็นเพลงชาติ ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 โดยอาศัยทำนอง เพลงมหาชัย ส่วนคำร้องนั้นประพันธ์โดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อใช้ขับร้อง และบรรเลงปลุกเร้าใจประชาชน ก่อให้เกิดความรักชาติและสร้างความสามัคคี ในระหว่าง ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

เพลงชาติไทยฉบับที่ห้า คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit) เป็นชาวต่างชาติ) ผู้ประพันธ์ทำนอง ซึ่งเป็นทำนองของเพลงชาติไทยในปัจจุบันนี่เอง ซึ่งประพันธ์ขึ้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2475 และประพันธ์เนื้อร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) บรรเลงครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม 2475 ใช้ในระหว่าง ปี 2475-2477

กำเนิดของเพลงชาติฉบับที่ 6 นั้นมาจากในปี พ.ศ. 2477 รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเพลงชาติขึ้น ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาเกี่ยวกับเพลงชาติโดยเฉพาะ คณะกรรมการได้กำหนดให้มีเพลงชาติแบบไทยและแบบสากล อย่างละเพลงคือ แบบไทยได้แก่เพลงชาติของ จางวางทั่ว พาทยโกศล ที่แต่งขึ้นจากเพลงไทยเดิมชิ่อว่า 'ตระนิมิตร' ส่วนทางสากลได้แก่ เพลงชาติเดิมของพระเจนดุริยางค์ที่แต่งไว้แล้ว แต่ในเวลาต่อมาคณะกรรมการชุดนี้ ได้พิจารณาว่าเพลงชาตินั้นควรจะมีลักษณะที่บ่งบอกถึงความศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามีสองเพลงอาจทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ลดลง จึงตกลงว่าให้มีเพลงเดียวคือ แบบทำนองสากลของพระเจนดุริยางค์ แต่ได้จัดให้มีการประกวดเนื้อร้องขึ้นใหม่ และคณะกรรมการได้สรุปผลให้บทร้องของ ขุนวิจิตรมาตรา ผู้แต่งเดิมซึ่งดัดแปลงจากเนื้อร้องเดิมของตนเล็กน้อยได้รับรางวัลชนะเลิศ อันนี้เป็นเวอร์ชั่นที่คนเฒ่าคนแก่นิยมร้องครับ และเป็นเวอร์ชั่นที่คุณตาของไอน์สไตน์น้อยร้องให้ฟัง

และเพลงชาติไทยฉบับที่ 7 ในปี พ.ศ. 2482 มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจากคำว่า 'สยาม' มาเป็น 'ไทย' ทำให้จำต้องแก้ไขเนื้อร้องในเพลงชาติด้วย รัฐบาลจึงได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติไทยขึ้นใหม่ โดยใช้ทำนองเพลงชาติไทย ของพระเจนดุริยางค์ตามแบบเดิมซึ่งผู้ชนะการประกวดได้แก่ นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) และได้กลายมาเป็นเพลงชาติฉบับที่ 7 ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศใช้เพลงชาติไทยฉบับที่ 7 นี้ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 และเป็นฉบับที่ถูกใช้มาจนปัจจุบันนี้ครับ


และก่อนจะจากกัน ไอน์สไตน์น้อยมีเพลงชาติไทยเวอร์ชั่นขุนวิจิตรฯและพระเจนฯ มาฝากครับ มีทั้งเนื้อและคลิปเสียงเลยทีเดียว ใครไม่เคยฟังลองคลิกฟังกันนะครับ หาฟังยากแล้วครับสมัยนี้


เพลงชาติไทยสมัย พ.ศ. 2477
คำร้อง: ขุนวิจิตรมาตรา


แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง
ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า
สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา
รวมรักษาสามัคคีทวีไทย

บางสมัยศัตรูจู่โจมตี
ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่
เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท
สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา

อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย
น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราชคือเจดีย์ที่เราบูชา
เราจะสามัคคีร่วมมีใจ

รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี
ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย
สถาปนาสยามให้เทิดไทยไชโย

*ถ้าซ้ำก็ขออภัย
credit: dek-d.com

Nikenaja
5th March 2012, 08:07
สุดยอดครับ สาระเน้นๆ

chanwitpop
5th March 2012, 11:38
ของเรามีมาแล้ว7 แต่สเปนมีแค่เพลงเดียว เก่ากว่าของเรามาก แต่ไม่มีเนื้อร้อง!

Snop
5th March 2012, 15:56
ได้สาระเพียบ ขอบคุรครับ