PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : ต้นกำเนิดบุหรี่ จากอินเดียนแดงแห่งอเมริกา สู่การสูบในประเทศไทย



pone123
10th March 2012, 22:22
ชาวอินเดียนแดงซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา ได้เริ่มต้นใช้ยาสูบเป็นพวกแรก โดยปลูกยาสูบเพื่อใช้ เป็นยา และนำมาสูบ ในพิธีกรรมต่างๆ ใน พ.ศ. 2035 เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) เดินเรือไปขึ้นฝั่งที่ซันซัลวาดอร์ ในหมู่เกาะเวสต์อินดีส์นั้น ได้เห็นชาวพื้นเมืองนำเอาใบไม้ชนิดหนึ่ง มามวน และจุดไฟตอนปลาย แล้วดูดควัน ต่อมา พ.ศ. 2091 มีการปลูกยาสูบในบราซิลซึ่งเป็นอาณานิคม ของโปรตุเกส ในทวีปอเมริกาใต้ เพื่อเป็นสินค้าส่งออก เป็นผลให้ยาสูบ แพร่หลายเข้าไปในประเทศโปรตุเกส และสเปนตามลำดับ ต่อมาใน พ.ศ. 2103 นายฌอง นิโกต์ (Jean Nicot) เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจำประเทศโปรตุเกส ได้ส่งเมล็ดยาสูบ มายังราชสำนักฝรั่งเศส ชื่อของนายนิโกต์จึงเป็นที่มาของชื่อสารนิโคติน (Nicotin) ที่รู้จักในปัจจุบันใน พ.ศ. 2107 เซอร์จอห์น ฮอคกินส์ (Sir John Hawkins) ได้นำยาสูบ เข้าไปในประเทศอังกฤษ และใน พ.ศ. 2155 นายจอห์น รอลฟ์ (John Rolfe) ชาวอังกฤษประสบผลสำเร็จ ในการปลูกยาสูบเชิงพาณิชย ์เป็นครั้งแรก และ 7 ปีต่อมา ก็ได้ส่งออกผลผลิต ไปยังประเทศอาณานิคม เป็นจำนวนมหาศาล อีก 200 ปีต่อมา การทำไร่ยาสูบเชิงพาณิชย ์จึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วโลก

การสูบบุหรี่ในประเทศไทย

http://www.nmd.go.th/preventmed/webtest/pic/smoke/image004.jpg

ในประเทศไทยมีการใช้ยาสูบตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว โดยมีหลักฐานจากจดหมายเหตุของ เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Monsieur De La Loube’re) อัคราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางมาเมืองไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2230 ได้เขียนเล่าเรื่องประเทศสยามว่า
คนไทยชอบใช้ยาสูบอย่างฉุนทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยได้ยาสูบมาจากเมืองมะนิลา ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ จากประเทศจีน และที่ปลูกในประเทศเอง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค์ฤทธิ์ได้ทรงประดิษฐ์บุหรี่ก้นป้านขึ้น เพื่อสูบควันและอมยากับหมากพร้อมกัน
ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการผลิตบุหรี่ขึ้นโดยบริษัทที่มีชาวอังกฤษเป็นเจ้าของ ได้เปิดดำเนินการ เป็นบริษัทแรกใน พ.ศ. 2460 การผลิตบุหรี่ในระยะแรกจะมวนด้วยมือ ต่อมาในรัชสมัยพระสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการนำเครื่องจักรเข้ามาจากประเทศเยอรมนี และทำการผลิตบุหรี่ออกมาจำหน่ายหลายยี่ห้อ การสูบบุหรี่จึงแพร่หลายมากขึ้น
จนกระทั่งใน พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้จัดตั้งโรงงานยาสูบขึ้น โดยซื้อกิจการมาจากห้างหุ้นส่วนบูรพายาสูบ จำกัด (สะพานเหลือง) ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ และดำเนินกิจการอุตสาหกรรมยาสูบภายใต้การควบคุมของกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง หลังจากนั้น รัฐบาลได้ซื้อ กิจการของบริษัทกวางฮก บริษัทฮอฟฟัน และบริษัทบริติช อเมริกัน โทแบคโคเพิ่มขึ้น แล้วรวมกิจการภายใต้ชื่อว่า โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง มาจนถึงปัจจุบัน
ที่มา : ศ.เกียรติคุณ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ, ผศ.กรองจิต วาทีสาธกกิจ. “สารานุกรมไทยสำหรับเด็กและเยาวชน โดย พระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 28”, 2547. หน้า 161-162.
สถานการณ์บุหรี่

http://www.nmd.go.th/preventmed/webtest/pic/smoke/image006.jpg

ปัจจุบัน มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคจากบุหรี่ ประมาณ 4.9 ล้านคน (พ.ศ.2547) อนาคต พ.ศ.2568 จำนวนผู้สูบบุหรี่ทั่วโลกขยายตัวจาก 1.2 พันล้านคน เพิ่มมากกว่า 1.64 พันล้านคน และอัตราการตายจากโรคที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่จะเพิ่มขึ้นจาก ปัจจุบัน 4.9 ล้านคน เป็น 10 ล้านคน โดยที่ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นชาวเอเชีย จากตัวเลขสะท้อนให้เห็นว่า พิษบุหรี่ก่อให้เกิดการตายก่อนวัยอันควรยิ่งกว่าการติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคซาร์ และแนวโน้มที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ คนกลุ่มใหญ่ที่สูบบุหรี่เป็นคนในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ขณะที่ประเทศร่ำรวยจะมีประชากรที่สูบบุหรี่ลดลงร้อยละ 15
การวิเคราะห์ข้อมูลสำนักสถิติแห่งชาติย้อนหลังช่วง พ.ศ.2529– 2544 โดยสรุปกล่าวได้ว่าอัตราการสูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลงและชะลอตัว เยาวชน บริโภคยาสูบมากขึ้น ประชากรรุ่นเก่ามีอัตราการสูบมากกว่ารุ่นใหม่ การสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รศ.ดร.สถิรกร พงษ์พานิช ได้เสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในอนาคตทางด้านสุขภาพของโรคที่เกิดจากสูบบุหรี่กับรายได้ของรัฐบาลจากภาษีบุหรี่ ในประเทศไทย พบว่า ค่าใช้จ่ายในโรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคมะเร็งปอด ทั้งหมด/คน/ปี อยู่ที่ 13,640.58 บาท 32,762.05 บาท และ100,041 บาท ตามลำดับ ค่าใช้จ่ายของรัฐในปี พ.ศ.2546 ของโรคถุงลมโป่งพองจากการสูบบุหรี่ เท่ากับ 10,057 ล้านบาท/ปี เมื่อดูข้อมูลเปรียบเทียบแล้วจะเห็นว่าค่าใช้จ่ายรวมทั้งสามโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่มีแนวโน้มสูงขึ้น แม้รายรับรัฐบาลจากภาษีบุหรี่ จะมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่รัฐบาลก็ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลอยู่มาก วิธีการที่จะดำเนินการลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรคต่างๆ จากการสูบบุหรี่คือการงดสูบบุหรี่ ซึ่งอาจดำเนินการด้วยมาตรการขึ้นภาษีบุหรี่

ในบุหรี่มีสารพิษอะไรบ้าง

ในบุหรี่ 1 มวน เมื่อเกิดการเผาไหม้ จะทำให้เกิดสารเคมี มากกว่า 4,000 ชนิด สารหลายร้อยชนิดมีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และมี 42 ชนิด ที่เป็นสารก่อมะเร็ง

สารพิษที่สำคัญในควันบุหรี่นอกจากสารก่อมะเร็ง คือ

1. นิโคติน ( Nicotine ) เป็นสารที่มีลักษณะคล้ายน้ำมันไม่มีสี เป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติด และทำให้เกิดโรคหัวใจ นิโคตินส่วนใหญ่ จะไปจับอยู่ที่ปอด และบางส่วนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด
2. ทาร์ ( Tar) ประกอบด้วยสารหลายชนิด เป็นละอองเหลวเหนียว สีน้ำตาลคล้ายน้ำมันดินร้อยละ 50 ของทาร์จะจับอยู่ที่ปอด ทำให้เยื้อบุหลอดลมไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
3. คาร์บอนมอนอกไซด์ ( Carbon monoxide ) ซึ่งเป็นก๊าซชนิดเดียวกับที่พ่นออกจากท่อไอเสียรถยนต์ ก๊าซนี้จะขัดขวาง การลำเลียงออกซิเจนของเม็ดเลือดแดงทำให้ผู้สูบบุหรี่ได้รับออกซิเจนน้อยลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 – 15 หัวใจต้องเต้นเร็วขึ้นและทำงานมากขึ้น
4. ไฮโดรเจนไดออกไซด์ ( Hydrogen dioxide ) เป็นก๊าซพิษที่ใช้ในสงคราม ก่อให้เกิดอาการไอ มีเสมหะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
5. ไนโตรเจนไดออกไซด์ ( Nitrogen dioxide ) เป็นสาเหตุของโรคถุงลมปอดโป่งพอง เพราะไปทำลายเยื่อบุ หลอดลมอักส่วนปลาย และถุงลม
6. แอมโมเนีย ( Ammonia ) มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ
7. ไซยาไนด์ ( Cyanide ) ซึ่งปกติเป็นยาเบื่อหนู ก็พบในบุหรี่ด้วยเช่นกัน

การสูบบุหรี่เป็นวิธีการที่ทำให้สมองได้รับสารเสพติด ( นิโคติน ) เร็วที่สุด คือภายใน 7 วินาทีเท่านั้น ซึ่งเร็วกว่า การฉีดเฮโรอีนเข้าเส้นเลือดเสียอีก

นิโคตินทำให้เกิดการเสพย์ติดเช่นเดียวกับเฮโรอีน ทุกครั้งที่คุณสูบบุหรี่จะเกิดมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง

1. เมื่อมีการสูดดมควันบุหรี่เข้าไป นิโคตินจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วเข้าสู่กระแสเลือด และผ่านเข้าสู่สมองภายในเวลา 10 วินาที

http://www.nmd.go.th/preventmed/webtest/pic/smoke/image009.jpg

2. นิโคตินกระตุ้นการหลั่งของสารโดปามีน (บริเวณสีแดง) ซึ่งมีผลทำให้เกิดอารมณ์แห่งความสุข

http://www.nmd.go.th/preventmed/webtest/pic/smoke/image010.jpg

3. นิโคตินยังมีผลเพิ่มการหลั่งสารนอร์อีพิเนฟฟริน (บริเวณสีเหลือง) ซึ่งมีผลทำให้เกิดการตื่นตัว และมีพลัง

http://www.nmd.go.th/preventmed/webtest/pic/smoke/image011.jpg


4. เมื่อหยุดสูบบุหรี่ ฤทธิ์ของสารโดปามีน และนอร์อีพิเนฟฟรินจะลดลง ซึ่งมีผลทำให้อารมณ์แห่งความสุขของผู้สูบบุหรี่หายไป และเกิดอาการถอนยาขึ้นมาแทนที่ ได้แก่ อาการกระวนกระวาย โกรธ หงุดหงิดง่าย นอนหลับยาก เสียสมาธิ และเหนื่อยง่าย เป็นต้น

5. เพื่อที่จะบรรเทาอาการถอนยานี้ และเพื่อให้เกิดสภาวะอารมณ์แห่งความสุขต่อไป จึงต้องสูบบุหรี่มวนต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้สมองจึงเกิดความเคยชินจากการได้รับสารนิโคติน และเกิดการเสพย์ติดในที่สุด



เมื่อคุณหยุดสูบบุหรี่

หลังจากที่คุณหยุดสูบบุหรี่มวนสุดท้ายเพียง 20 นาที จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ในร่างกายของคุณ

20 นาที ความดันโลหิตเริ่มลดลง และกลับเข้าสู่ปกติ อุณหภูมิของมือ และเท้าสูงขึ้น และกลับเข้าสู่ปกติ
8 ชั่วโมง ระดับของคาร์บอนมอนนอกไซด์ในเลือดต่ำลง และเข้าสู่ระดับปกติ ระดับของออกซิเจน ในเลือด สูงขึ้น และกลับเข้าสู่ระดับปกติ
24 ชั่วโมง ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลันลดลง
48 ชั่วโมง ปลายประสาทเริ่มเจริญเติบโตใหม่อีกครั้ง
2 สัปดาห์ - 3 เดือน การไหลเวียนของโลหิตเริ่มดีขึ้น การทำหน้าที่ของปอดดีขึ้นถึง 30%
1 - 9 เดือน อาการไอ อาการบวมของโรคไซนัส เมื่อยล้า และอาการหายใจขัดลดลง มีการเกิดขึ้นใหม่ของขน cilia ในปอด ซึ่งทำให้ ประสิทธิภาพการทำความสะอาดปอดเพิ่มขึ้น และลดสภาวะการติดเชื้อ
ขั้นตอนการเลิกสูบบุหรี่

1. วิเคราะห์นิสัยการสูบบุหรี่ของตัวท่านว่าเป็นอย่างไร ลองจดในกระดาษดูซิว่าใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ท่านสูบบุหรี่ตอนไหนบ้าง หลังอาหารทุกมื้อ ทุกครั้งที่ดื่มกาแฟ ทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ ทุกครั้งที่เข้าห้องประชุม หรือหยุดการประชุม ท่านทดลอง จดรายละเอียดลงใน กระดาษ ในช่วงเวลาสัก 2-3 สัปดาห์ โดยจดทุกวันของ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา และพยายามเขียนคำอธิบายด้วยว่าทำไมท่านจึงต้องสูบบุหรี่ในช่วงนั้น ๆ หรือว่าสูบบุหรี่เพราะอะไร

2. ท่านต้องตัดสนใจให้แน่วแน่ที่จะต้องเลิกสูบบุหรี่ให้ได้ ไม่มีการหันหลังกลับมาสูบบุหรี่อีกครั้งหนึ่งอย่างแน่นอน ท่านลองเขียน ในกระดาษถึงเหตุผลว่าทำไมท่านต้องการที่จะเลิกสูบบุหรี่ ผลประโยชน์ที่ตัวท่านจะได้รับว่ามีอะไรบ้าง เช่น อาการไอ มีเสมหะดำ ๆ ตอนเช้าจะหายไป อาหารจะมีรสชาติที่ดีขึ้น โอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งของทุก ๆ อวัยวะก็ลดน้อยลง โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจก็จะ ลดน้อยลง แล้วท่านลองประเมิน และให้ความมั่นใจกับตัวเองเสียว่า แรงกาย และแรงใจที่จะทุ่มเทลงไปเพื่อเลิกสูบบุหรี่จะมีความคุ้มค่า หรือไม่ คนรอบข้างของท่านโดยเฉพาะครอบครัวของท่านจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง ก่อนที่ท่านจะเริ่มโครงการเลิกสูบบุหรี่

http://www.nmd.go.th/preventmed/webtest/pic/smoke/image015.jpg

3. กำหนดหรือเลือกวันที่จะเริ่มหยุดสูบบุหรี่ และถ้าหากมีญาติหรือเพื่อนสนิท และคนใกล้ชิดจะหยุดสูบบุหรี่พร้อมกันได้ก็จะดีมากทีเดียว จะได้ช่วยให้กำลังใจซึ่งกัน และกันในวันที่รู้สึกว่าหงุดหงิด หรือมีความยากลำบากที่จะเลิกสูบบุหรี่ต่อไป ผู้ที่เลิกบุหรี่ได้บางคน อาจเลือกวันใดวันหนึ่ง ที่มีความหมายต่อตนเอง หรือต่อผู้อื่น เช่น วันเกิด วันครบรอบแต่งงาน วันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ เป็นต้น เพื่อที่ผู้ที่เลิกบุหรี่ได้จะได้จดจำ และนำไปคุยต่อได้ว่าเลิกได้ตั้งแต่วันนั้น วันนี้ เป็นต้นมา

4. ในขั้นนี้จะเข้าสูการเลิกบุหรี่อย่างจริงจัง อาการอยากบุหรี่จะมีมากน้อย แล้วแต่ว่าท่านสูบบุหรี่ก่อนหน้าที่จะเลิก สูบวันละกี่มวน และติดมานานเพียงใด อาการอยากบุหรี่หรือที่บางคนเรียกว่า “เสี้ยน” จะมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของร่างาย ชีพจน และระบบย่อยอาหาร ในทางจิตใจจะเกิดหงุดหงิด กระวนกระวาย มึนศีรษะ เหม่อลอย นอนไม่หลับ อยากบุหรี่ ส่วนใหญ่อาการหงุดหงิด จะมีอาการมากใน 3 วันแรก และจะดีขึ้นเรื่อย ๆ น้อยมากที่จะมีอาการเกิดหนึ่งสัปดาห์
สำหรับการแก้ไขปัญหาเรื่องหงุดหงิด ขอให้ท่านตั้งสติให้มั่นคง ท่านจะต้องเอาชนิดปัญหานี้ให้ได้ อย่าอยู่เฉย ๆ คนเดียว หากิจกรรมมาทำ เช่น การเดินออกกำลังกาย ถ้าหงุดหงิดมากให้ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ หรือให้อาบน้ำให้งดเว้นการดื่มกาแฟ หรืองดดื่มเหล้า ไม่ออกไปเที่ยวบาร์ ผับ หรือ ดิสโก้เธค เวลาไปร้านอาหารควรไปนั่งโต๊ะที่จัดไว้สำหรับคนไม่สูบบุหรี่

5. หากท่านผ่านพ้นขั้นตอนที่ 4 มาแล้ว ขอให้ท่านมั่นใจเถิดว่าท่านจะทำได้สำเร็จ ท่านมีความพึงพอใจต่อสภาพการณ์ของตัวท่าน ที่ไม่สูบบุหรี่ ในขณะนี้หรือไม่ ท่านลองประเมินดูซิว่าท่านสามารถประหยัดเงินค่าบุหรี่ลงไปมากเท่าใด หากเอาเงินส่วนนั้นมาซื้อของ ท่านจะซื้ออะไรได้บ้าง ขอให้เดินหน้าต่อไปที่จะเลิกสูบบุหรี่ ท่านเกือบจะเข้าเส้นชัยอยู่แล้ว

6. ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก จะเป็นช่วงที่ยากลำบากที่สุดสำหรับคนติดบุหรี่ ให้ท่านดื่มน้ำมาก ๆ ท่านอาจอยากทานอาหารเพิ่มขึ้น ขอให้ท่านได้เตรียมอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำเอาไว้ อาจเป็นพวกผัก หรือผลไม้ที่ไม่มีรสหวานจัด โยบางรายอาจต้องอาศัยยา หรือหมากที่ใช้แล้ว จะทำให้ไม่อยากสูบบุหรี่ หรืออาจใช้ยาที่มีนิโคตินผสมอยู่ด้วย เพื่อลดอาการเสี้ยน ซึ่งมีทั้งชนิดเป็นหมากฝรั่ง ชนิดพ่นเข้าทางจมูก หรือคอ และชนิดเป็นแผ่นกอเอี๊ยะแปะติดกับผิวหนัง
สิ่งที่ต้องย้ำเตือนก็คือ ยาที่อาจต้องใช้ในขั้นตอนที่ 6 เพื่อช่วยระงับความอยากบุหรี่นั้น มีความสำคัญน้อยกว่าความตั้งใจแน่วแน่ ของท่านที่จะเลิกบุหรี่ให้ได้
[B]
การรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

บุหรี่เป็นมัจจุราชเงียบที่มีอันตรายร้ายแรงอย่างมากต่อผู้สูบบุหรี่และผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งในความหมายนี้ก็คือ บุหรี่เป็นอันตราย ต่อมนุษย์ ทุกคนในโลกนั่นเอง เพราะถ้าอันตรายของบุหรี่มีผลต่อคนสูบบุหรี่เท่านั้นก็คงมิทำเนา เพราะคนสูบบุหร ี่เป็นผู้สมัครใจสูบเอง แต่เพราะการสูบบุหรี่มีผลต่อคนรอบข้าง ที่ไม่สูบบุหรี่ด้วย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการรณรงค์กันอย่างจริงจังเพื่อการไม่สูบบุหรี่
การรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในปัจจุบันของประเทศไทย มีวิธีการหลัก ๆ อยู่ 2 ประการคือ

1. การรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่โดยการประชาสัมพันธ์พิษภัยของบุหรี่ กระตุ้นเตือนและเพื่อช่วยเหลือให้ กำลังใจแก่ผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ ตลอดจนปลูกจิตสำนึกของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ไม่สูบบุหรี่ในการเรียกร้องสิทธิ์ ที่ถูกริดรอนจากคนสูบบุหรี่ ซึ่งจัดดำเนินการทั้งหน่วยงานของทางราชการและภาคเอกชน
สำหรับหน่วยงานของราชการ ได้แก่ สถาบันควบคุมบริโภคยาสูบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นหัวเรือใหญ่ในการรณรงค ์พร้อมกับโรงพยาบาล และสถานพยาบาลของรัฐทุกแห่ง ทั้งที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสังกัดอื่น ๆ
ส่วนภาคเอกชน ได้แก่ โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มูลนิธิหมอชาวบ้าน ที่มีบทบาทอย่างมากในการรณรงค์ อย่างต่อเนื่อง มาตลอดเวลามากกว่า 10 ปี

2. การเข้มงวดในการบังคับใช้พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่อย่างจริงจังจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพระราชบัญญัติที่สำคัญมีดังนี้คือ
พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พุทธศักราช 2535 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2535 ซึ่งห้ามการโฆษณาบุหรี่ทุกรูปแบบ ในสื่อต่าง ๆ และจะต้องพิมพ์คำเตือนขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจนเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ลงบนซองบุหรี่ทุกซอง นอกจากนี้ยังห้ามขายบุหรี่แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมี
พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พุทธศักราช 2535 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2535 ซึ่งห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะเช่น โรงพยาบาล และโรงเรียนเป็นต้น โดยกำหนดเป็นเขตปลอดบุหรี่ขึ้นมา

เขตปลอดบุหรี่

จุดมุ่งหมายของหัวข้อเรื่องนี้เพื่อให้ท่านที่สนใจได้ทราบว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พุทธศักราช 2535 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2535 เป็นต้นมา ได้กำหนดเขตปลอดบุหรี่ขึ้น ซึ่งหมายถึงการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ที่มีคนมา ใช้บริการ เป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังมีประชาชนและเจ้าของกิจการต่าง ๆ ละเลยการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
สำหรับเขตปลอดบุหรี่ ตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พุทธศักราช 2535 แบ่งเป็น 4 ประเภทดังนี้คือ

http://www.nmd.go.th/preventmed/webtest/pic/smoke/image016.jpg

ประเภทที่ 1 สถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด ได้แก่ รถยนต์โดยสารประจำทาง รถยนต์โดย สารปรับอากาศ ตู้โดยสารรถไฟที่เป็นระบบปรับอากาศ รถยนต์โดยสารไม่ประจำทาง รถแท็กซี่ หรือโดย สารประจำทาง และเรือโดยสาร ทั่วไป เครื่องบินโดยสารภายในประเทศ ลิฟต์โดยสาร รถรับส่งนักเรียน และห้องชมมหรสพ

http://www.nmd.go.th/preventmed/webtest/pic/smoke/image017.jpg

ประเภทที่ 2 สถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด ยกเว้นห้องทำงานส่วนตัว ได้แก่โรงเรียน และสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาและต่ำกว่า อาคารจัดแสดงศิลปวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ เรือโดยสารปรับอากาศเฉพาะบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ ห้องสมุด สถานที่รับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน

http://www.nmd.go.th/preventmed/webtest/pic/smoke/image019.jpg

ประเภทที่ 3 สถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ทั้งหมดยกเว้นที่ที่จัดไว้เป็นเขตสูบบุหรี่ตามความเหมาะสมและห้องทำงานส่วนตัว สถานพยาบาล อาคารของมหาวิทยาลัย วิทยาลัยและสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ศูนย์การค้า และห้างสรรพสินค้า เฉพาะบริเวณ ที่มีระบบปรับอากาศ อาคารแสดงสินค้า หรือนิทรรศการเฉพาะบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ สนามกีฬา ในร่ม สถานที่ราชการ และรัฐวิสาหกิจ เฉพาะบริเวณที่ประชาชนเข้าไปติดต่อเป็นปกติธุระ ธนาคาร และสถาบันการเงิน เฉพาะบริเวณที่ประชาชน เข้าไปใช้บริการเป็นปกติธุระ โรงมหรสพ เฉพาะบริเวณที่จัดให้คอยเข้าชมที่มีระบบปรับอากาศ ที่พักผู้โดยสารประจำทางเฉพาะบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ

http://www.nmd.go.th/preventmed/webtest/pic/smoke/image021.jpg

ประเภทที่ 4 สถานที่สาธารณะที่แบ่งส่วนหนึ่งเป็นเขตปลอดบุหรี่ อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมด และอีกส่วนหนึ่ง เป็นเขตสูบบุหรี่ ได้แก่ รถโดยสารของการรถไฟทั่วไป สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่จัดเลี้ยงเฉพาะบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ
การเข้มงวดของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง จะมีส่วนทำให้สุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่ดีขึ้น สำหรับผู้ที่ละเลย หากเป็นเจ้าของกิจการปฏิบัติได้ไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท สถานประกอบการที่ไม่แยกส่วนที่สูบและไม่สูบบุหรี่ออกจากกัน หรือไม่ติดป้ายห้ามสูบบุหรี่เอาไว้ปรับไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนผู้ที่ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบปรับไม่เกิน 2,000บาท หากเจ้าของกิจการรายใดขัดขวางไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
หวังว่าในอนาคตคนสูบบุหรี่จะค่อย ๆ น้อยลงตามลำดับ เพราะเห็นพิษภัยของบุหรี่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และผู้สูบบุหรี่รู้สึกเป็นบาป หรือรู้สึกว่าทำความผิดที่ทำให้เกิดมลพิษต่อบรรยากาศและเป็นภัยต่อผู้ใกล้ชิด โดยเฉพาะญาติพี่น้องและคนในครอบครัวของท่านเอง

ชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมาก ๆ จึงทำนาหว่าน คนเหนือปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วขาวสะอาด อ่อนและนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธ์ที่มีชื่อเสียง คือ ข้าวสันป่าตอง นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้ว อาชีพทำสวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่งขายต่างประเทศอีกด้วย

ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเหนือ คือ การทำเมี่ยง ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอม ก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกินอย่างอื่นแล้วแต่ชอบ

นอกจากการอมเมี่ยง คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น

ที่มา http://www.cm108.com/bbb/index.php?/topic/7611-coaacaocioeeaoeaaadhaoaeuoeeaoeaadhaeaea/

ไม่เกี่ยวกับบทความ แต่เพลงมันดี


http://www.youtube.com/watch?v=9eDLoNXqQ5g&feature=related


http://image.ohozaa.com/i/31f/HkDJj.png (http://image.ohozaa.com/view2/lOU)

เอ้า สาระ!

จ๊ากกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

bonusz
10th March 2012, 22:24
http://image.ohozaa.com/i/31f/HkDJj.png (http://image.ohozaa.com/view2/lOU)

เอ้า สาระ!

HapPyFridaY
10th March 2012, 22:41
ถึงผมจะเป็นเกย์ แต่ผมก็อร่อยนะ (เห้ย !!)

จะว่าไปถ้าสูบพอดี มันก็มีประโยชน์สินะ

popking22
10th March 2012, 22:59
ผมเคยดูด กาแรม ของ อินโดเนี่ยแหละ ดูดแล้วมันหวาน แต่ตอนนี้คิดว่าเลิกดีกว่า ดูดบุหรี่ แ_ง เปลืองตัง

เอาตังไปซื้อมะเร็ง 55 ตอนลองก็อยากรู้อะว่ามันเปนไง ไม่มีไร บางยี่ห้อก็เย็น บางทีแสบคอ หรือ ร้อนก็มี

สรุปอยากเย็น มิงไปกินลูกอม เมนทอสสิ บุหรี่ไม่เท่อย่างที่คิด บางทีต้องแอบสูบ ปากเหม็นมือเหม็น

อยากบอกน้องหรือพี่ว่า เลิกบุหรี่เถอะ เพื่อสุขภาพของเราและเงินในกระเป๋า เก็บตังไว้กินข้าวดีกว่า :)

yasintorn123
10th March 2012, 23:12
ถึงผมจะเป็นเกย์ แต่ผมก็อร่อยนะ (เห้ย !!)

จะว่าไปถ้าสูบพอดี มันก็มีประโยชน์สินะ
ลายเซ็น มรณะ 2 เรปบน อย่าลบกระทู้นะเห้ย !!!!

bararasza
10th March 2012, 23:53
โอ้ว ผมเคยดูดแล้วใจสั่น แล้วต้องมานอนพักหายใจ เอามือจับหน้าอกแล้วหัวใจเต้นเร็วมาก จนสะดุ้ง2ครั้งและหยุดไปประมาณ2วินาทีแล้วกลับมาเต้นเป็นปกติ ผมโ๕รตตกใจเลย -..-

FANG
11th March 2012, 01:04
ผมว่าไทยเราสูบเยอะสุดใน 3 โลก ได้แล้วมัง แต่ละคนผมเห็น สูบ ที่ 3-6 ชอง อย่างเช่น พ่อ กับตา ผมวัน หนึ่ง ก็สูบไป 3-4 ชอง แล้ว

Zean_Neo
11th March 2012, 01:18
ผมดูในสาระคดี ไทยก็พึ่งรู้ ฤิทธิ์เดช ของมัน แต่ถ้าปฏิเสธ การนำเข้าบุหรี่ ของอเมริกา อเมริกาก็จะไม่ติดต่อการค้ากะไทย จอมมาร ชัดๆ