PDA

ดูเวอร์ชั่นเต็ม : มีใครชอบ เศรษฐศาสตร์บ้างครับ !



Type-7442
7th April 2012, 21:56
" เศรษฐศาสตร์****โคตรเท่ "


สำหรับคิดว่าคนที่ชำนาญเรื่องเศรษฐศาสตร์หรือจบเศรษฐศาสตร์มา
ผมว่าหากอยู่ในสังคมแล้ว ยังทันคนและรู้วิธีอยู่ในสังคมอย่างมีชั้นเชิงมากกว่าคนจบนิติศาสตร์กว่าอีกครับ
เพราะว่านิติศาสตร์อาจจะได้ทางด้านกฏหมายแต่เศรษฐศาสตร์ได้ทุกด้านครับ

วิธีพูดโน้มใจคน ด้วยรากฐานของ ความต้องการและละคน กฏ อุปสงค์ ดีมานและซัพพลาย
มันคือทุกอย่างจริงๆครับ
วิธีใช้คน วิธีตัดสินใจ วิธีซื้อสินค้า วิธีเติมน้ำมัน
วิธีสร้างแผนให้ตนเองยืนเหนือกว่าคนอื่นอย่างแยบคาย
วิธีต่อรองสินค้าและใจคนอย่างเฉียบคมและได้ผล และ อื่นๆอีกมากมาย เราจะเป็นคนที่ทันคนมาก

ที่สำคัญมันประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำััวันไ้ด้เยอะกว่าที่เราคิดมากๆเลย
เราจะได้รู้ว่า แค่โจรก่อการร้ายสถานที่สำคัญ มันมีผลต่อราคาต่อค่าเงิน
พวกกราฟสถิติหุ้นต่างๆ
ใครชอบหรือมีเหตุผลอะไรยังไงก็มาคุยกันได้นะครับ

:sharky

kingcesar
8th April 2012, 00:08
ชอบครับ 555555 จองที่ไว้ก่อน (ยังอ่านข้อความ จขกท. ไม่จบ แต่คิดว่าต้องมีอะไรน่าสนใจแน่ๆ ขอจองที่ไว้ก่อนนะครับ xD เดี๋ยวมาตอบ ตอนนี้ดูละครอยู่ )

_________________________________________



" เศรษฐศาสตร์****โคตรเท่ "


สำหรับคิดว่าคนที่ชำนาญเรื่องเศรษฐศาสตร์หรือจบเศรษฐศาสตร์มา
ผมว่าหากอยู่ในสังคมแล้ว ยังทันคนและรู้วิธีอยู่ในสังคมอย่างมีชั้นเชิงมากกว่าคนจบนิติศาสตร์กว่าอีกครับ
เพราะว่านิติศาสตร์อาจจะได้ทางด้านกฏหมายแต่เศรษฐศาสตร์ได้ทุกด้านครับ

วิธีพูดโน้มใจคน ด้วยรากฐานของ ความต้องการและละคน กฏ อุปสงค์ ดีมานและซัพพลาย
มันคือทุกอย่างจริงๆครับ
วิธีใช้คน วิธีตัดสินใจ วิธีซื้อสินค้า วิธีเติมน้ำมัน
วิธีสร้างแผนให้ตนเองยืนเหนือกว่าคนอื่นอย่างแยบคาย
วิธีต่อรองสินค้าและใจคนอย่างเฉียบคมและได้ผล และ อื่นๆอีกมากมาย เราจะเป็นคนที่ทันคนมาก

ที่สำคัญมันประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำััวันไ้ด้เยอะกว่าที่เราคิดมากๆเลย
เราจะได้รู้ว่า แค่โจรก่อการร้ายสถานที่สำคัญ มันมีผลต่อราคาต่อค่าเงิน
พวกกราฟสถิติหุ้นต่างๆ
ใครชอบหรือมีเหตุผลอะไรยังไงก็มาคุยกันได้นะครับ

:sharky

ถ้าให้ผมเดา ผมขอเดาว่าคุณไปฟังใครเขาโฆษณาเรื่องคณะเศรษฐศาสตร์มาใช่มั้ยเนี่ย รู้สึกเหมือนเอาคำแนะแนวของพวกรุ่นพี่คณะเศรษฐศาสตร์เลย

(ถ้าผมเดาผิดก็ขอโทษที :sweat)

ผมเห็นด้วยอยู่หลายข้อนะครับ แต่ฟันธงได้เลยว่า เรื่องกฎหมาย คุณต้องยกให้พวกนิติศาสตร์เขาอยู่แล้ว

เพราะต่อให้บริหารเก่งแคไหน คุณก็ไม่่เก่งกฎหมายเท่าพวกนี้หรอกครับ

ส่วนเรื่องวิธีใช้คน บริหารจัดการคน หรือต่อราคาสินค้านั้น อันนี้ผมว่าเป็นทักษะที่สามารถสร้างขึ้นเองได้ครับ ไม่จำเป็นว่าต้องเรียนเศรษฐศาสตร์หรอก

มันอยู่ที่ความรู้ / เล่ห์กล / และประสบการณ์ของเรามากกว่า ที่จะสอนเราให้สามารถทำเรื่องพวกนี้ได้อย่างคล่องแคล่ว และรอบคอบ

แล้วไอ้เรื่องสร้างแผนที่ให้ตัวเองเหนือคนอื่นเนี่ย คุณอ่านสามก๊กบ่อยๆ คุณก็สามารถทำได้นะ 555555

เรื่องต่อรองสินค้านี้ ผมเห็นว่าต้องใช้ประสบการณ์ + กับความรู้ที่สั่งสมมา

จะมาปุบปับเอาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เข้าช่วยอย่างเดียวไม่ได้หรอกครับ ก็เหมือนกับมีหม้อข้าว แต่คุณไม่มีทัพพีตักข้าวนั่นแหละ

ถึงบางครั้งมันอาจจะไม่จำเป็น แต่มันก็ช่วยให้เพิ่มความคล่องตัวให้คุุณได้เยอะเหมือนกัน

ใจคนก็ด้วยครับ มันเป็นเรื่องของจิตวิทยา / เศรษฐศาสตร์นั้นยังไม่ถือว่าเข้าลึกได้ถึงใจคนอย่างแท้จริงหรอกครับ

เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเลือกเรียน ผมอยากให้ตัดสินใจให้ดีๆก่อนนะครับ อย่าเพิ่งเลือกเพราะ เฮ้ยฉันชอบคณะนี้ เพราะมันมีประโยชน์ในอนาคต

มันเท่ดี มัน Useful ~ ดี อะไรอย่างนี้
_________________________________

เข้าเรื่องๆ ผมชอบเรื่องเศรษฐศาสตร์มากเลยยยย (แต่ผมไม่ค่อยเก่งเลขนะ 5555)

อย่างที่ จขกท. บอกแหละ เศรษฐศาสตร์สามารถนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้เยอะอยู่

เรื่องหุ้นก็เป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ ในแขนงของเศรษฐศาสตร์

ผมเองก็เพิ่งจะเริ่มต้นเป็น Value Investor อยู่เหมือนกัน

แต่จะเป็นนักลงทุนสายผสมระหว่าง VI กับ Tech

หุ้นที่ผมชอบที่สุดตอนนี้คือ พฤกษา กับ อิสเทิร์นสตาร์

มีไรคุยกันได้เลยนะครับ

ยินดีแลกเปลี่ยนความรู้ๆ :)

หากอยากเล่นหุ้นเก่งๆผมแนะนำให้คุณดูข่าวเยอะๆ นำเอาสถานการณ์โลก เหตุการณ์ต่างๆมาวิเคราะห์ว่ามันจะส่งผลกระทบต่อหุ้นที่คุณถืออยู่อย่างไร

วิเคราะห์ผลเศรษฐกิจไทยแยกเป็นไตรมาสทั้ง 4 ไตรมาส (ซึ่งตอนนี้ผมก็ทำอยู่)

ถ้าทำจนเคยชิน หรือคล่องตัวนะครับ รับรองคุณจะวิเคราะห์เก่ง ดูทิศทางการตลาด และกลไกตลาดเป็น โดยที่ไม่ต้องไปอ่านหนังสือทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เล่มหนาๆเลย

ที่สำคัญคุณอาจจะเล่นหุ้นเก่งขึ้นด้วย ถ้าอยากลองเล่นหุ้นก็อย่าลืมหัดดูนิสัยและพฤติกรรมของหุ้นนะครับ จะได้ชำนาญๆ

มีไรคุยได้ครับ :D

ไม่ว่าจะในกระทู้นี้ หรือจะหลังไมค์ PM มาก็ได้ครับ

Type-7442
9th April 2012, 22:37
โทษทีนะคร้าบบ ผมตอบช้าไปหน่อย
ช่น
ตอนนี้ผมก็อ่านหนังสือพวก ประวัติและต้นเหตุของการเกิด ปัญหาเศรษกิจ

เช่น วิกฤตการเตกีล่า ของเมกซิโกในช่วงปี 1980
แล้วก็ แฮมเบอเกอร์ของ USA [ อันนี้ยังอ่านไม่ถึง ]้
รวมถึงภาวะเงินเฟ้อ การขาดดุลยภาพพื้นฐาน จากจุดเล็กๆทำให้รัฐบาลต้องแก้ไขด้วยการเพิ่มธนบัตรลงตลาดในประเทศ
ก็ประมาณนี้อะครับ ผมศึกษาอยู่ๆ ส่วนตัวถ้าไปขั้น Advanced แล้ว ผมอยากศึกษาด้านพวก Indexas ครับ



ทิป สำหรับคนที่สนใจกระทู้นีครับ ความรู้เล็กๆน้อย แบบไม่มีตัวเลขหรือสแตตให้งง
เรื่อง ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจครับ
: สมมุติว่า มีสหกรณ์เลี้ยงเด็กอยู่ที่นึง มีคู่สมาชิกสามีภรรยาทั้งหมด 150 คู่ [ 300 หัว ]
สหกรณ์นี้จะมีคูปองเลี้ยงเด็ก อยู่ คูปองนี้มีผล 1 ชม ต่อการเลี้ยงเด็ก การใช้คูปองการเสียคูปองไป
แต่เมื่อรับเลี้ยงเด็กจะได้รับคูปองเลี้ยงเด็กที่สามีภรรยาคู่อื่นให้เรามา
จากนั้น ส่วนกลางจะทำการปล่อย คูปองออกมาจำนวนหนึ่ง
ฟังดูเป็นไงครับ ? ดูราบรื่นใช่มั้ยครับ มาดูกันครับ ตัวอย่างภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเป็นยังไง ! [ นี่ตัวเองอย่างเล็กที่สุดที่สามารถอธิบายได้ครับ ]

นานๆเข้า สามีภรรยาจะเริ่มกักตุนคูปองในช่วงที่ตนเองว่าง และใช้มันในช่วงที่ต้องการออกไปข้างนอกแล้วให้ผู้อื่นดูลูกตนเอง
เมื่อเริ่มกักตุนเข้า คูปองย่อมไม่เพียงพอ เพราะการกักตุนคูปองของคู่สามีภรรยา
เมื่อเริ่มขาด สามีภรรยาเริ่มมีโอกาศยากที่จะใช้คูปองขึ้นเนื่องจากคูปองหายากขึ้น กล่าวคือ คูปองหมุนเวียนน้อยลงไงล่ะครับ
[ ไม่รวมปัจจัยอื่นๆ เช่น นิสัยของคนเลี้ยง หรือปัจจัยอื่นๆ ]

ปัญหาไม่ได้เกิดจากความสามารถในการณ์ผลิตของสหกรณ์ แต่เพราะขาดอุปสงค์สมบูรณ์ [ Effective Demand ]
กล่าวคือมีการใช้จ่ายเพื่อตัวสินค้าจริงๆ [ เวลาในการเลี้ยงเด็ก ] น้อยเกินไป เพราะสามีภรรยาพยายามสะสมคูปองเลี้ยงเด็ก
บทเรียนสำหรับโลกที่เป็นจริงก็คือ ความเปราะบางของคุณต่อวัฏจักรของธุรกิจ
อาจจะเกี่วข้องเพียงเล็กน้อยหรือไม่เลยก็ได้

จริงๆปัญญานีเแก้ได้โดยวิธีที่เลี้ยงว่า "เชิงโครงสร้าง" ต้องใช้มาตรการทางตรง
นั่นคือการออกกฏระเบียบให้ คู่สามีภรรยาแต่ละคู่ต้ิองออกไปข้างนอกอย่างน้อยเดือนละครั้ง
เท่านี้ ปริมาณคูปองก้จะเพิ่มขึ้น เมื่อปริมาณคูปองหมุนเวียนมากขึ้น
ทำให้โอกาศที่จะดูแลเด็กมากขึ้นไปด้วย หรืออีกวิํธีคือพิมคูปองออกมาอีก แต่ปัญหาในโลกของจริงคือ หากเิพิ่มจำนวนเงินหมุนเวียนในตลาดมากขึ้น
สภาวะเงินเ้ฟ้ออาจะโตจนควบคุมยาก

kingcesar
9th April 2012, 23:06
โทษทีนะคร้าบบ ผมตอบช้าไปหน่อย
ช่น
ตอนนี้ผมก็อ่านหนังสือพวก ประวัติและต้นเหตุของการเกิด ปัญหาเศรษกิจ

เช่น วิกฤตการเตกีล่า ของเมกซิโกในช่วงปี 1980
แล้วก็ แฮมเบอเกอร์ของ USA [ อันนี้ยังอ่านไม่ถึง ]้
รวมถึงภาวะเงินเฟ้อ การขาดดุลยภาพพื้นฐาน จากจุดเล็กๆทำให้รัฐบาลต้องแก้ไขด้วยการเพิ่มธนบัตรลงตลาดในประเทศ
ก็ประมาณนี้อะครับ ผมศึกษาอยู่ๆ ส่วนตัวถ้าไปขั้น Advanced แล้ว ผมอยากศึกษาด้านพวก Indexas ครับ



ทิป สำหรับคนที่สนใจกระทู้นีครับ ความรู้เล็กๆน้อย แบบไม่มีตัวเลขหรือสแตตให้งง
เรื่อง ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจครับ
: สมมุติว่า มีสหกรณ์เลี้ยงเด็กอยู่ที่นึง มีคู่สมาชิกสามีภรรยาทั้งหมด 150 คู่ [ 300 หัว ]
สหกรณ์นี้จะมีคูปองเลี้ยงเด็ก อยู่ คูปองนี้มีผล 1 ชม ต่อการเลี้ยงเด็ก การใช้คูปองการเสียคูปองไป
แต่เมื่อรับเลี้ยงเด็กจะได้รับคูปองเลี้ยงเด็กที่สามีภรรยาคู่อื่นให้เรามา
จากนั้น ส่วนกลางจะทำการปล่อย คูปองออกมาจำนวนหนึ่ง
ฟังดูเป็นไงครับ ? ดูราบรื่นใช่มั้ยครับ มาดูกันครับ ตัวอย่างภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเป็นยังไง ! [ นี่ตัวเองอย่างเล็กที่สุดที่สามารถอธิบายได้ครับ ]

นานๆเข้า สามีภรรยาจะเริ่มกักตุนคูปองในช่วงที่ตนเองว่าง และใช้มันในช่วงที่ต้องการออกไปข้างนอกแล้วให้ผู้อื่นดูลูกตนเอง
เมื่อเริ่มกักตุนเข้า คูปองย่อมไม่เพียงพอ เพราะการกักตุนคูปองของคู่สามีภรรยา
เมื่อเริ่มขาด สามีภรรยาเริ่มมีโอกาศยากที่จะใช้คูปองขึ้นเนื่องจากคูปองหายากขึ้น กล่าวคือ คูปองหมุนเวียนน้อยลงไงล่ะครับ
[ ไม่รวมปัจจัยอื่นๆ เช่น นิสัยของคนเลี้ยง หรือปัจจัยอื่นๆ ]

ปัญหาไม่ได้เกิดจากความสามารถในการณ์ผลิตของสหกรณ์ แต่เพราะขาดอุปสงค์สมบูรณ์ [ Effective Demand ]
กล่าวคือมีการใช้จ่ายเพื่อตัวสินค้าจริงๆ [ เวลาในการเลี้ยงเด็ก ] น้อยเกินไป เพราะสามีภรรยาพยายามสะสมคูปองเลี้ยงเด็ก
บทเรียนสำหรับโลกที่เป็นจริงก็คือ ความเปราะบางของคุณต่อวัฏจักรของธุรกิจ
อาจจะเกี่วข้องเพียงเล็กน้อยหรือไม่เลยก็ได้

จริงๆปัญญานีเแก้ได้โดยวิธีที่เลี้ยงว่า "เชิงโครงสร้าง" ต้องใช้มาตรการทางตรง
นั่นคือการออกกฏระเบียบให้ คู่สามีภรรยาแต่ละคู่ต้ิองออกไปข้างนอกอย่างน้อยเดือนละครั้ง
เท่านี้ ปริมาณคูปองก้จะเพิ่มขึ้น เมื่อปริมาณคูปองหมุนเวียนมากขึ้น
ทำให้โอกาศที่จะดูแลเด็กมากขึ้นไปด้วย หรืออีกวิํธีคือพิมคูปองออกมาอีก แต่ปัญหาในโลกของจริงคือ หากเิพิ่มจำนวนเงินหมุนเวียนในตลาดมากขึ้น
สภาวะเงินเ้ฟ้ออาจะโตจนควบคุมยาก

ลองหา Textbook ภาษาอังกฤษที่เขียนเกี่ยวกับ วิกฤตการณ์ Eurozone มาอ่านดูครับ

เขียนดีมาก เขาบรรยายสาเหตุต่างๆ ตั้งแต่เรื่องกรีซจุดเริ่มต้นหนี้ Eurozone ส่งผลกระทบไปถึงประเทศต่างๆในทวีปยุโรป

รวมไปถึงเรื่องที่อเมริกาไม่ใช้มาตรการ QE3 และมาตรการสนับสนุนอื่นๆ จนทำให้หุ้นตัวใหญ่ๆ และหุ้นทั่วโลกปรับตัวลง

น่าสนใจมากครับ Textbook เล่มนี้ ผมไปเห็นในคิโนะคุนิยะ ได้อ่านไปบางส่วนแล้ว แต่ยังไม่ได้ซื้อมาครับ เพราะตอนนี้วุ่นอยู่กับการทำวิจัยเศรษฐกิจไตรมาส 1 ที่ผ่านมา

และไตรมาส 2 ที่กำลังเริ่มต้นนี้

Type-7442
9th April 2012, 23:13
ลองหา Textbook ภาษาอังกฤษที่เขียนเกี่ยวกับ วิกฤตการณ์ Eurozone มาอ่านดูครับ

เขียนดีมาก เขาบรรยายสาเหตุต่างๆ ตั้งแต่เรื่องกรีซจุดเริ่มต้นหนี้ Eurozone ส่งผลกระทบไปถึงประเทศต่างๆในทวีปยุโรป

รวมไปถึงเรื่องที่อเมริกาไม่ใช้มาตรการ QE3 และมาตรการสนับสนุนอื่นๆ จนทำให้หุ้นตัวใหญ่ๆ และหุ้นทั่วโลกปรับตัวลง

น่าสนใจมากครับ Textbook เล่มนี้ ผมไปเห็นในคิโนะคุนิยะ ได้อ่านไปบางส่วนแล้ว แต่ยังไม่ได้ซื้อมาครับ เพราะตอนนี้วุ่นอยู่กับการทำวิจัยเศรษฐกิจไตรมาส 1 ที่ผ่านมา

และไตรมาส 2 ที่กำลังเริ่มต้นนี้



QE3 คือไรหรอครับ พอดีผมมือใหม่อะ
แล้วช่วยอธืบายทีครับ การทำวิจัยเศรษฐกิจไตรมาสที่ 1 นี่เป็นยังไงอะครับ

Type-7442
9th April 2012, 23:15
Value Investor นี่เป็นยังไงครับ

VI กับ Tech คือไรอ่อครับ

พฤกษา กับ อิสเทิร์นสตาร์ นี่เป็นยังไงครับ อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของเราป่าว หรือของทาง NYSE

Type-7442
9th April 2012, 23:20
ที่คิโนส่วนใหญ่หนังสือเฉพาะมันภาษาองกฤษหมดเลยอะครับ
ซึ่งผมอยู่แค่ ม5 ไม่มีความรู้ด้าน Vocabulary ขนาดนั้นอะครับ ยิ่งเป็นคำศัพท์เฉพาะทางอีก อ่านไปเปิดดิก หมดสนุกกันพอดี = =


แต่ผมรู้คำนึง Stagflation แปลว่า สภาวะข้าวยากหมากแพง :o

kingcesar
9th April 2012, 23:32
เอ่อ เล่นถามซะยาวเชียว -*- ผมจะอธิบายง่ายๆนะครับ

QE นั้นคือ Quantitive Easing แปลว่า มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณครับ หมายถึง มาตรการหนึ่งของธนาคารกลางที่จะปล่อยเงินเข้าไปในระบบ

เพื่อให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจเกิดขึ้นไงครับ

ส่วน VI นั่นก็คือ Value Investor นั่นแหละ มันเป็นตัวย่อครับ เป็นชื่อเรียก นักเล่นหุ้นที่เล่นแบบซื้อมาเก็งกำไรระยะยาวน่ะ

ส่วน Tech เป็นการเรียกนักเล่นหุ้นที่ ซื้อหุ่้นมาระยะสั้นๆ รอดูระดับการปรับตัวขึ้น-ลง ของหุ้น แล้วจึงขาย (เอาง่ายๆก็คือ กลุ่มนี้จะเป็นพวกกล้าเสี่ยง กล้าได้กล้าเสีย)

พฤกษา กับ อิสเทิร์นสตาร์ อยู่ในตลาดไทยครับ

พฤกษา รีล เอสเตท กับ อิสเทิร์นสตาร์ รีล เอสเตท ไงครับ กลุ่มเครือบริษัทอสังหาริมทรัพย์อะ

แล้วก็การทำวิจัยเศรษฐกิจรายไตรมาส ก็คือ การทำวิจัยการเติบโตและความเป็นไปของเศรษฐกิจในช่วง 3 เดือนไงครับ

3 เดือน นับเป็น 1 ไตรมาส = เดือนมกราคม - มีนาคม คือไตรมาสที่ 1

เมษายน - มิถุนายน คือไตรมาสที่ 2 กรกฏาคม - กันยายน คือไตรมาสที่ 3

ตุลาคม - ธันวาคม คือไตรมาสที่ 4 ซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายของปี

ที่คิโนส่วนใหญ่หนังสือเฉพาะมันภาษาองกฤษหมดเลยอะครับ
ซึ่งผมอยู่แค่ ม5 ไม่มีความรู้ด้าน Vocabulary ขนาดนั้นอะครับ ยิ่งเป็นคำศัพท์เฉพาะทางอีก อ่านไปเปิดดิก หมดสนุกกันพอดี = =


แต่ผมรู้คำนึง Stagflation แปลว่า สภาวะข้าวยากหมากแพง :o

ตอนนี้ขึ้น ม.5 หรือ ขึ้น ม.6 ครับ

คือ มันมีพวกหนังสือศัพท์เฉพาะด้าน ของวิชาเศรษฐศาสตร์ขายนะ ลองไปดูใน B2S ไม่ก็นายอินทร์อะ

แต่น่าจะนายอินทร์นะ เหมือนเคยเห็นผ่านๆตา

nassdesign
9th April 2012, 23:33
เกรด 1 = =

exodus
10th April 2012, 01:35
ไม่กล้าออกความเห็นมากเพราะผมเรียนมาทางบริหารไม่ได้เรียนเศรษศาสตร์โดยตรง
แต่โดยรวมผมว่าน่าสนใจถ้าคุณสนใจเรื่องพวกนี้ (ของผมมีแค่ จุลภาค กับ มหภาค) ถ้าเรียนลึกกว่านี้คุณน่าจะได้ความกระจ่างชัดกว่านี้ครับ
ถ้าเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์กรนี่มันเข้าทางผม "โดยตรง" รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี(เล็กน้อย) รวมถึงจิตวิทยาในระดับหนึ่ง
จริงๆถ้าชอบจะลองเรียนดูก็ไม่ได้เสียหายหรอกครับ คุณยังมีเวลา ลองลงซักปี ดูหลักสูตรโครงสร้างโดยรวมแล้ววิเคราะห์ว่ามันใช่สิ่งที่คุณอยากรู้หรือไม่
ขอให้คุณโชคดี

kingcesar
10th April 2012, 10:50
ไม่กล้าออกความเห็นมากเพราะผมเรียนมาทางบริหารไม่ได้เรียนเศรษศาสตร์โดยตรง
แต่โดยรวมผมว่าน่าสนใจถ้าคุณสนใจเรื่องพวกนี้ (ของผมมีแค่ จุลภาค กับ มหภาค) ถ้าเรียนลึกกว่านี้คุณน่าจะได้ความกระจ่างชัดกว่านี้ครับ
ถ้าเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์กรนี่มันเข้าทางผม "โดยตรง" รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี(เล็กน้อย) รวมถึงจิตวิทยาในระดับหนึ่ง
จริงๆถ้าชอบจะลองเรียนดูก็ไม่ได้เสียหายหรอกครับ คุณยังมีเวลา ลองลงซักปี ดูหลักสูตรโครงสร้างโดยรวมแล้ววิเคราะห์ว่ามันใช่สิ่งที่คุณอยากรู้หรือไม่
ขอให้คุณโชคดี

ผมว่าการลองเรียนนั้นจะเป็นการเสียเวลานะครับ

แทนที่จะได้เรียนจบพร้อมเพื่อนๆรุ่นเดียวกัน กลับกลายเป็นจบทีหลังเขา 1 ปี

ถ้าอยากรู้ว่าชอบจริงๆหรือเปล่า ก็ลองหาหนังสือ หรือทำกิจกรรมเกียวกับวิชานี้ดู มันน่าจะเป็นการตอบโจทย์ที่ดีที่สุดในปัญหานี้นะครับ

nepjune78
10th April 2012, 19:53
ผมชอบนะ มันสนุกที่ว่าเราได้รู้จักกับพวกตัวเลขการตลาดมากกว่า

แต่โดยส่วนตัวเรียนกฎหมายมากกว่า =="

Type-7442
10th April 2012, 20:15
โยดาบอกว่า

อย่าลอง จงทำ ไม่งั้นก็อย่าทำ ไม่มีคำว่าลอง

scopion
10th April 2012, 21:42
วิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ผมเรียนแล้วได้เกรดน้อยที่สุดตั้งแต่เรียนมา คือ D+ เกลียดโคตร

kingcesar
10th April 2012, 21:46
ผมชอบนะ มันสนุกที่ว่าเราได้รู้จักกับพวกตัวเลขการตลาดมากกว่า

แต่โดยส่วนตัวเรียนกฎหมายมากกว่า =="

ผมเรียนทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และกฎหมายเลยครับ

3lood2abbit
11th April 2012, 09:00
- -* จบเศรษฐศาสตร์มาครับ คือ โดยส่วนตัว ก็ อุปสงค์ อุปทาน โยงกราฟ วาดเส้น ปึก ปึก ปึก อ้าวววว จุดสมดุล แล้วก็ ทฤษฎียาวเหยียด แต่ก็ดูเท่ ดูฉลาดดี คือเคยมีเคนถามว่าเรียนอะไรมา
ตอบเศรษฐศาสตร์ เค้าก็จะพูดว่า ฉลาดแน่ๆ เลย

ถ้าอยากเรียนจริงๆก็ 1. ชอบคำนวน
2. เพ้อๆ หน่อย (อนาคตมีแต่กำไร ทั้งที่เห้อ)
3. ตอนเรียนสนุกดีนะครับ เรียนไปก็ อะไรวะ! ได้ไงวะ! มาจากไหนวะ! ไป เออ...มีเหตุผล! เออ...ก็จริง! ไม่เสมอไปหรอกมั้ง! (อารมณ์แบบนี้ครับ)
4. ขึ้นอยู่กับอาจารย์ อาจารย์ชอบแนว นิสัยไง คือ ส่วนมาก ถ้าตอบๆ ไป ถึงแม้คุณว่ามันถูก แต่มันก็ผิดถ้าอาจารย์ไม่ชอบ
5. ข้อสอบ โบกมือลา พวก ช้อยได้เลย เขียน บรรยาย อภิปราย แสดงผล
6. ส่วนมากที่เรียนมาก็ไม่ค่อยได้ใช้จริงหรอกครับ เพราะโลกมันหมุนอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราเรียนว่าจะปรับเปลี่ยน ประยุกต์ใช้ได้ดีแค่ไหน

สรุปสิ่งที่ได้เรียนมา ในสายตาคนอื่น หยิ่ง ฉลาด เก่ง ชอบอวดดี เอาตัวรอดเก่ง ทฤษฎีแน่นปึก หลักการคับแก้ว เวลาคุยด้วยแล้ว เข้าใจยาก พูดธรรมดา ไม่เป็นไง อุปสงค์อุปทานอยู่นั่นแหละ
คนอื่น มักคิดว่า จบมาได้ไง เศรษฐศาสตร์จุลภาค เรายังไม่รู้เรื่องเลย (คือกุเจอมันทุกวันไม่ให้รู้เรื่องก็เว่อไป)
เวลาเราดูทีวี เกี่ยวกับเศรษฐกิจ มักจะขำคนเดียวในบ้าน กรณีไม่มีใครเรียน หรือจบเศรษฐศาสตร์มา
คุณจะเชื่อสื่อน้อยลง น้อยลงจนมีนิสัยเหมือนข้อบน
ถ้าคุณชอบจริงๆ และคิดว่ามีเหตุผลมาก และใช้ได้จริงที่สุด แนะนำกฎของแนช เป็นอะไรที่เข้าใจง่ายที่สุด (ไปหาอ่านดูคุณอาจอยากเรียนมากขึ้น)
ถ้าคุณพร้อมจะเจอ วิชาคำนวน วาดกราฟ ตลอด 4ปี 8เทอม *อาทิตย์ละ 3-4ตัว ก็เรียนเลยครับ
ถ้าคุณ ชอบอ่านหนังสือ ที่มันเกี่ยวกับทฤฎี กฏ แนวคิด ก็เรียนครับ

สุดท้าย สิ่งที่ได้รับ
จบวิชาอะไร ก็เหมือนกัน เพราะสิ่งที่คุณว่ามาล้วนใช้ประสบการณ์
บางสิ่งบางอย่าง ไม่ต้องเรียนก็สามารถตอบได้ครับ
รู้ทันคนอื่นก็ ไม่นะครับ แต่รู้ทันพวกเศรษฐกิจ กับมองเกมส์เศ.ก.ต่างๆ ออก
ขี้งก อันนี้สุดๆเลยครับ - -*
เวลาพูดมักมีเหตุผลต่อท้าย เพราะกลัวคนอื่นเค้าไม่เชื่อ ***แต่ยิ่งอธิบายเหตุผลคนอื่นยิ่งไม่รู้เรื่อง (พูดไม่ค่อยรู้เรื่องกับคนอื่น)
อาจารย์ มักปลูกฝังให้เชื่อระดับมหภาค มากกว่าจุลภาค เพราะ อธิบายได้ง่ายกว่า เห็นผลชัดเจน (แต่ผมกลับเชื่อระดับจุลภาคมากกว่า เลยมักมีปัญหากับเกรดที่อาจารย์ให้เป็นประจำ)
เศรษฐศาสตร์ มีแตกแยกหลายแขนง แต่สุดท้าย ก็มักจะจบลงที่ เส้นอุปสงค์ กับอุปทาน กราฟเยอะแยะมากมาย ให้เลือกสนุกกับการเรียน

ปล. อยากแนะนำให้หาอ่าน หรือดู Game Theory ทฤษฎีเกม หรือจุดสมดุลของแนช อันเดียวกัน
(มีทำเป็นหนังด้วย สนุกมากกกกกก ชื่อ A Beautiful Mind) ลองหาๆ ดูครับ

สรุป 2.
ชอบคำนวนเยอะ +กราฟแยะ +เหตุผลแน่น +ทฤษฎียาว ก็เศรษฐศาสตร์
คุณจะได้ความคิดที่เป็นสัดส่วน แบ่งแยกชัดเจน แต่คุยกับคนอื่นไม่ค่อยรู้เรื่องเหอๆ

kingcesar
11th April 2012, 10:07
- -* จบเศรษฐศาสตร์มาครับ คือ โดยส่วนตัว ก็ อุปสงค์ อุปทาน โยงกราฟ วาดเส้น ปึก ปึก ปึก อ้าวววว จุดสมดุล แล้วก็ ทฤษฎียาวเหยียด แต่ก็ดูเท่ ดูฉลาดดี คือเคยมีเคนถามว่าเรียนอะไรมา
ตอบเศรษฐศาสตร์ เค้าก็จะพูดว่า ฉลาดแน่ๆ เลย

ถ้าอยากเรียนจริงๆก็ 1. ชอบคำนวน
2. เพ้อๆ หน่อย (อนาคตมีแต่กำไร ทั้งที่เห้อ)
3. ตอนเรียนสนุกดีนะครับ เรียนไปก็ อะไรวะ! ได้ไงวะ! มาจากไหนวะ! ไป เออ...มีเหตุผล! เออ...ก็จริง! ไม่เสมอไปหรอกมั้ง! (อารมณ์แบบนี้ครับ)
4. ขึ้นอยู่กับอาจารย์ อาจารย์ชอบแนว นิสัยไง คือ ส่วนมาก ถ้าตอบๆ ไป ถึงแม้คุณว่ามันถูก แต่มันก็ผิดถ้าอาจารย์ไม่ชอบ
5. ข้อสอบ โบกมือลา พวก ช้อยได้เลย เขียน บรรยาย อภิปราย แสดงผล
6. ส่วนมากที่เรียนมาก็ไม่ค่อยได้ใช้จริงหรอกครับ เพราะโลกมันหมุนอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราเรียนว่าจะปรับเปลี่ยน ประยุกต์ใช้ได้ดีแค่ไหน

สรุปสิ่งที่ได้เรียนมา ในสายตาคนอื่น หยิ่ง ฉลาด เก่ง ชอบอวดดี เอาตัวรอดเก่ง ทฤษฎีแน่นปึก หลักการคับแก้ว เวลาคุยด้วยแล้ว เข้าใจยาก พูดธรรมดา ไม่เป็นไง อุปสงค์อุปทานอยู่นั่นแหละ
คนอื่น มักคิดว่า จบมาได้ไง เศรษฐศาสตร์จุลภาค เรายังไม่รู้เรื่องเลย (คือกุเจอมันทุกวันไม่ให้รู้เรื่องก็เว่อไป)
เวลาเราดูทีวี เกี่ยวกับเศรษฐกิจ มักจะขำคนเดียวในบ้าน กรณีไม่มีใครเรียน หรือจบเศรษฐศาสตร์มา
คุณจะเชื่อสื่อน้อยลง น้อยลงจนมีนิสัยเหมือนข้อบน
ถ้าคุณชอบจริงๆ และคิดว่ามีเหตุผลมาก และใช้ได้จริงที่สุด แนะนำกฎของแนช เป็นอะไรที่เข้าใจง่ายที่สุด (ไปหาอ่านดูคุณอาจอยากเรียนมากขึ้น)
ถ้าคุณพร้อมจะเจอ วิชาคำนวน วาดกราฟ ตลอด 4ปี 8เทอม *อาทิตย์ละ 3-4ตัว ก็เรียนเลยครับ
ถ้าคุณ ชอบอ่านหนังสือ ที่มันเกี่ยวกับทฤฎี กฏ แนวคิด ก็เรียนครับ

สุดท้าย สิ่งที่ได้รับ
จบวิชาอะไร ก็เหมือนกัน เพราะสิ่งที่คุณว่ามาล้วนใช้ประสบการณ์
บางสิ่งบางอย่าง ไม่ต้องเรียนก็สามารถตอบได้ครับ
รู้ทันคนอื่นก็ ไม่นะครับ แต่รู้ทันพวกเศรษฐกิจ กับมองเกมส์เศ.ก.ต่างๆ ออก
ขี้งก อันนี้สุดๆเลยครับ - -*
เวลาพูดมักมีเหตุผลต่อท้าย เพราะกลัวคนอื่นเค้าไม่เชื่อ ***แต่ยิ่งอธิบายเหตุผลคนอื่นยิ่งไม่รู้เรื่อง (พูดไม่ค่อยรู้เรื่องกับคนอื่น)
อาจารย์ มักปลูกฝังให้เชื่อระดับมหภาค มากกว่าจุลภาค เพราะ อธิบายได้ง่ายกว่า เห็นผลชัดเจน (แต่ผมกลับเชื่อระดับจุลภาคมากกว่า เลยมักมีปัญหากับเกรดที่อาจารย์ให้เป็นประจำ)
เศรษฐศาสตร์ มีแตกแยกหลายแขนง แต่สุดท้าย ก็มักจะจบลงที่ เส้นอุปสงค์ กับอุปทาน กราฟเยอะแยะมากมาย ให้เลือกสนุกกับการเรียน

ปล. อยากแนะนำให้หาอ่าน หรือดู Game Theory ทฤษฎีเกม หรือจุดสมดุลของแนช อันเดียวกัน
(มีทำเป็นหนังด้วย สนุกมากกกกกก ชื่อ A Beautiful Mind) ลองหาๆ ดูครับ

สรุป 2.
ชอบคำนวนเยอะ +กราฟแยะ +เหตุผลแน่น +ทฤษฎียาว ก็เศรษฐศาสตร์
คุณจะได้ความคิดที่เป็นสัดส่วน แบ่งแยกชัดเจน แต่คุยกับคนอื่นไม่ค่อยรู้เรื่องเหอๆ

ผมชอบมากเลยละ เวลาสอบแล้วได้เขียนบรรยายกับเขียนอภิปรายเนี่ย ผมชอบการแสดงความคิดเห็นและการใส่มุมมองลงไปในข้อสอบบรรยาย

ผมคิดว่ามันสนุกกว่าการมานั่งทำข้อสอบ Choice เป็นไหนๆเลย

และผมก็เชือว่า มันสามารถวัดระดับปัญญากับความฉลาด ของคนได้ดีกว่าข้อสอบ Choice หลายขุมเลยล่ะ

ปริญญาตรีนี้ผมเรียนรัฐศาสตร์ครับ แต่ตอนปริญญาโท ผมกะว่าจะไปเรียนเศรษฐศาสตร์

ข่าวเศรษฐกิจผมดูแต่ข่าวหุ้น กับ พวกดัชนีเศรษฐกิจ แล้วก็นโยบายของบริษัทต่างๆที่จะทำโครงการไรพวกนี้

เพราะมันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อหุ้นของผม -*-

sesukung
11th April 2012, 20:58
ตอนนี้ผมก็มีความสนใจที่จะเรียนต่อเศรษฐศาสตร์นะครับ แต่ผมไม่มีรุ่นพี่ หรือ คนรู้จักเรียนคณะนี้เลย อยากให้พี่ๆช่วยแนะนำหน่อยครับ ผมอ่านข้างบนแล้วยังดูงงๆ แล้วพอผมบอกจะเข้าเศราฐศาสตร์ก็ชอบมีแต่คนบอกว่า "จะดีหรอ ตกงานเยอะนะ" ผมก็เลยกลัวๆ แต่ผมอยากเล่นหุ้นนะครับ อยากเข้าใจมัน จะทำยังไงดีครับ T^T

Type-7442
12th April 2012, 08:36
ผมกากเลขมาก สงสัยจะไม่ไหว แรดไปวารสารดีกว่า อิอิ

kingcesar
12th April 2012, 09:19
ตอนนี้ผมก็มีความสนใจที่จะเรียนต่อเศรษฐศาสตร์นะครับ แต่ผมไม่มีรุ่นพี่ หรือ คนรู้จักเรียนคณะนี้เลย อยากให้พี่ๆช่วยแนะนำหน่อยครับ ผมอ่านข้างบนแล้วยังดูงงๆ แล้วพอผมบอกจะเข้าเศราฐศาสตร์ก็ชอบมีแต่คนบอกว่า "จะดีหรอ ตกงานเยอะนะ" ผมก็เลยกลัวๆ แต่ผมอยากเล่นหุ้นนะครับ อยากเข้าใจมัน จะทำยังไงดีครับ T^T

เรียนเศรษฐศาสตร์ไม่ตกงานนะครับ

ใครพูดอย่างนี้ ผมอยากให้เขาลองมองในส่วนของเหตุผล

ว่ามันตกงานเพราะอะไร ????

ถ้ามีความสามารถ มีหรือจะตกงาน???

แล้วอาชีพอื่นมันไม่มีการตกงานเหรอครับฦ???? บางครั้งต้องดูที่ตลาดแรงงานพวกนีี้ด้วย ไม่ใช่ว่าเห็นคนเรียนเศรษฐศาสตร์แล้วหางานทำไม่ได้

จะไปว่าที่คณะว่ามันไม่ดี - - อย่างนี้ไม่ถูก

ฝากกลับไปถาม คนที่บอกว่า เรียนเศรษฐศาสตร์แล้วตกงานนี่ด้วยนะครับ ว่าใช้มุมมองอะไร ถึงมองว่า คณะเศรษฐศาสตร์ เรียนแล้วจะตกงาน -*-

ถ้าเรียนเก่ง วิเคราะห์แม่น รับรองว่าไม่ตกงานแน่ครับอาชีพนี้

_____________________

การเล่นหุ้นนั้นไม่ยากเลยครับ แต่ต้องอาศัยความเอาใจใส่ ความสนใจ ความตั้งใจที่จะเรียนรู้มัน

หากคุณทำได้ รับรองว่าการเล่นหุ้นจะเป็นสิ่งที่ง่ายมากเลยครับ

Capathia
12th April 2012, 09:34
เศรษฐศาสตร์นะหรอ ฮึ..ฮึ..(เสียงหล่อ)
ผมงงตั้งแต่เรียนม.ปลายแล้ว ยูเนี่ยน อินเตอร์เซ็ก ถอดรูท ตอนนั่งเรียนนี่(ง่วง)น้ำตาไหลทุกคาบที่เรียนคณิต
ตอนเรียนมหาวิทยาลัยเห็นเพื่อนที่เรียนเศรษฐศาสตร์หอบหนังสือเลขหนาๆไปเรียนทุกวัน ข้อสอบส่วนใหญ่ก็ไม่มีช้อยหรอกครับ อัตนัยล้วนๆ คำนวณ วิเคราะห์ ยิ่งสมัยนี้การศึกษาเน้นงานวิจัยแล้วด้วยเรียนยากครับ
แต่คนที่เรียนจบด้านนี้รับรองว่าความรู้แน่น

ถ้าตัดสินใจด้วยความชอบคุณคิดผิดแล้วครับ แค่ชอบอย่างเดียวไม่พอครับต้องตั้งใจและขยันด้วย ไม่งั้นเรียนๆไปจะเกิดอาการท้อแท้อยากย้ายสาขากลางคันนะครับ