ยินดีต้อนรับเข้าสู่ jokergameth.com
jokergame
jokergame shop webboard Article Social


Colocation, VPS


joker123


เว็บไซต์เราจะอยู่ไม่ได้หากขาดเขาเหล่านี้ รวมช่วยกันสนับสนุนสปอนเซอร์ของพวกเรา

colocation,โคโลเคชั่น,ฝากเซิร์ฟเวอร์ game pc โหลดเกม pc slotxo Gameserver-Thai.com Bitcoin โหลดเกมส์ pc
ให้เช่า Colocation
รวมเซิฟเวอร์ Ragnarok
Bitcoin

กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2
  1. #1
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    228
    กล่าวขอบคุณ
    40
    ได้รับคำขอบคุณ: 110

    มหันตภัยที่ยังตามหลอน


    เรื่องโดย ริชาร์ด โรดส์ ภาพถ่ายโดย ริชาร์ด โรดส์

    แม้มนุษย์จะได้เห็นภาพแห่งการทำลายล้าง หลังสหรัฐฯทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ แต่ 60 ปีให้หลัง มหันตภัยจากนิวเคลียร์ยังคงตามหลอกหลอนชาวโลก เมื่อหลายชีวิตยังคงลักลอบสร้างอาวุธมหาประลัยชนิดนี้ และผู้ก่อการร้ายก็ปรารถนาจะได้ครอบครอง


    เมื่อ 60 ปีก่อนในคืนพายุโหมของปี 1945 โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ นักฟิสิกส์ชาวอเมริกันก้าวขึ้นบนเวทีในโรงภาพยนตร์ของห้องปฏิบัติการลับที่สร้างขึ้นในเมืองลอสอะลามอส รัฐนิวเม็กซิโก เพื่อกล่าวปราศัยต่อนักวิทยาศาตร์หลายร้อยคนที่ร่วมกันสร้างระเบิดปรมาณูลูกแรกภายใต้การอำนวยการของเขา ซึ่งต่อมาถูกถูกนำไปทิ้งที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซา เมื่อวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม ปี 1945 ถือเป็นการปิดฉากสงครามที่*****มโหดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติยุติลง และเปลี่ยนโฉมหน้าของสงครามไปตลอดกาล
    ออปเพนไฮเมอร์เตือนว่าในไม่ช้าชาวโลกจะตระหนักถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์รู้ดีอยู่แล้วนั่นคือ อาวุธนิวเคลียร์มีราคาถูกและสร้างได้ง่ายหากรู้วิธี เขากล่าวว่าในไม่ช้าประเทศอื่นๆจะหันมาสร้างอาวุธนิวเคลียร์ และอำนาจทำลายล้างอัน "ยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่มีอาวุธใดเทียบได้" จะยิ่งทวีความร้ายกาจขึ้น แต่เขายังเห็นประโยชน์ของการค้นพบทางวิทยาศาสตร์นี้ และกล่าวว่าอาวุธนิวเคลียร์ "ไม่ได้มีแต่ภัยมหันต์เท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งความหวังอันยิ่งใหญ่ด้วย"
    ออปเพนไฮเมอร์กำลังคิดอะไรอยู่กันแน่ตอนที่กล่าวเช่นนั้น เพราะอำนาจทำลายล้างของปรมณูเห็นได้ชัดจากซากความเสียหายที่ฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิ ไม่รวมถึงผู้คนหลายหมื่นที่ต้องสังเวยชีวิตและอีกหลายพันคนที่บาดเจ็บสาหัส จนยากที่จะจินตนาการว่าอะไรคือ "ความหวังอันยิ่งใหญ่" ที่อาวุธนิวเคลียร์สามารถหยิบยื่นให้ แม้จะเป็นชัยชนะในศึกสงครามก็ตาม 60 ปีให้หลัง เราก็ยังหาคำตอบไม่พบ
    ปัจจุบันนี้มี 8 ประเทศที่โอ้อวดคลังแสงนิวเคลียร์อย่างเปิดเผย ในขณะที่อีกราว 20 ประเทศครอบครองเทคโนโลยีและวัตถุดิบเพียงพอที่จะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้ภายในหนึ่งปี แต่ชาติเหล่านี้เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของภาพทั้งหมด การล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้อาวุธนิวเคลียร์ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องจำนวนมากเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมหรือลักลอบขายแก่บุคคลนอกรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ก่อการร้ายหรือเครือข่ายอาชญากร นับตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1990 อุซามะห์ บิน ลาดิน และสาวกใฝ่ฝันว่าจะได้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อโจมตีสหรัฐฯ ให้ย่อยยับ ไม่มีใครทราบว่าผู้ก่อการร้ายมีอาวุธปนเปื้อนกัมมันตรังสีหรืออาวุธนิวเคลียร์ในครอบครองแล้วหรือไม่
    ความหวังของออปเพนไฮเมอร์ผุดขึ้นจากการสนทนากับนีลส์ บอห์ร นักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก ซึ่งหลบหนีจากประเทศบ้านเกิดที่ถูกนาซียึดครองและลี้ภัยมาที่ลอสอะลามอสเมื่อปลายปี 1943 บอร์บอกกับออปเพนไฮเมอร์ว่า การเผยแพร่ความรู้ด้านนิวเคลียร์เป็นอันตรายต่อมวลมนุษยชาติ ทั้งสองเห็นพ้องกันว่าเมื่อชาติต่างๆตระหนักถึงภัยคุกคามนี้ โลกจะหันมาสามัคคีกันอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เพื่อจำกัดการแพร่ขยายของอาวุธนิวเคลียร์เพราะห่วงประโยชน์ส่วนตน และนานาประเทศจะหันมาเจรจากันอย่างเปิดเผยและความเข้าใจร่วมกัน เพื่อลดอันตรายและขจัดสงครามให้หมดสิ้นไปในที่สุด


    ตูมมม
    ภาพถ่าย โดย Bettmamm/CORBIS

    เมื่อวันที่ 25 กรกฎคม 1946 ลูกระเบิดอะตอมใต้น้ำระเบิดขึ้นโดยพุ่งขึ้นสูง 1 ไมล์เหนือทะเล ใต้ทะเลเกิดคลื่นขนาดใหญ่ การทดลองนี้เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของกองทัพสหรัฐฯที่บริเวณหมู่เกาะมาแชลล์ในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ห้าของการระเบิดของลูกระเบิดอะตอม หลังจากเหตุการณ์การถล่มเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิของประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นจุดจบของสงครามโลกครั้งที่สอง

    ยุคแห่งความไร้เดียงสา
    ภาพถ่าย โดย U.S. Air Force

    ปี 1951แขกของกองทัพสหรัฐนั่งใส่แว่นตากันลมสีเข้มเพื่อเป็นสักขีพยานในการระเบิดนิวเคลียร์ที่หมู่เกาะปะการังเอเนวีทอคในมหาสมุทรแปซิฟิก การทดสอบครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการกรีนเฮ้าส์ ซึ่งผลของการทดลองทำให้เกิดการแพร่กระจายของฝุ่นกัมมันตรังสี ซึ่งเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้สังเกตการและเจ้าหน้าที่ผู้ทำการทดสอบ การสัมผัสกับกัมมันตรังสีที่เกิดจากการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ในสหรัฐฯเพียงแห่งเดียวอาจทำให้ประชากรประมาณ 11.000 คนเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง อ้างจากการศึกษาของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของรัฐบาลสหรัฐฯ ผลการศึกษารายงานว่า “ผู้ใดก็ตามที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯตั้งแต่ปี 1951 จะถูกปนเปื้อนด้วยกัมมันตรังสี”

    ลูกระเบิดไฮโดรเจน
    ภาพถ่าย โดย National Nuclear Security Administration

    การระเบิดของลูกระเบิดไฮโดรเจนลูกแรกของโลกรหัสคือ ไอวี ไมค์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 1952 เหนือมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณหมู่เกาะปะการังเอเนวีทอค การทดสอบระเบิดนี้ทำลายต้นไม้พืชพันธุ์ของเกาะที่อยู่ใกล้ๆ ทำให้เกิดหลุมลึก 1 ไมล์ ปะการังถูกถอนรากถอนโคนกระเด็นไปไกลถึง 50 กิโลเมตร ระเบิดไฮโดรเจนเพียงลูกเดียว สามารถทำลายศูนย์กลางเมืองใหญ่ได้ เนื่องจากระเบิดชนิดนี้ทำให้เกิดความร้อน ตึกถล่ม มีรังสีแกมมา และไฟที่ลุกเป็นบริเวณกว้างคร่าชีวิตคนได้นับแสน

    หัวรบ
    ภาพถ่าย โดย Bettmann/CORBIS

    ทหารของกองทัพสหรัฐฯนำอาวุธนิวเคลียร์ที่มีขนาดเล็กที่สุดหรือหัวกระสุนเดวีคร็อกเก็ตต์ออกมาแสดงให้ดู แม้ว่ากองทัพของอเมริกาจะเคยใช้หัวรบนี้ที่ทวีปยุโรปช่วงปี 1961 ถึง 1971 ระหว่างสงครามเย็นกับสหภาพโซเวียต แต่ระเบิดนี้ไม่เคยใช้ในสมรภูมิรบ อย่างไรก็ตามอาวุธนี้เคยใช้ยิงถล่มกันในภาพยนตร์เรื่องคิงคองปะทะกอริลลาเมื่อปี 1962
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ALMONDS : 16th August 2011 เมื่อ 18:59

  2. รายชื่อสมาชิกจำนวน 4 คนที่กล่าวขอบคุณ:


  3. #2
    เกรียนมันเยอะจังว้าา
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    ที่อยู่
    ข้างๆลำโพง
    กระทู้
    962
    กล่าวขอบคุณ
    127
    ได้รับคำขอบคุณ: 1,363
    ให้มันจริงเหอะ


 

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •  
Back to top