ยินดีต้อนรับเข้าสู่ jokergameth.com
jokergame
jokergame shop webboard Article Social


Colocation, VPS


joker123


เว็บไซต์เราจะอยู่ไม่ได้หากขาดเขาเหล่านี้ รวมช่วยกันสนับสนุนสปอนเซอร์ของพวกเรา

colocation,โคโลเคชั่น,ฝากเซิร์ฟเวอร์ game pc โหลดเกม pc slotxo Gameserver-Thai.com Bitcoin โหลดเกมส์ pc
ให้เช่า Colocation
รวมเซิฟเวอร์ Ragnarok
Bitcoin

กำลังแสดงผล 1 ถึง 14 จากทั้งหมด 14
  1. #1
    Biomedical Engineering
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    ที่อยู่
    Thailand
    กระทู้
    135
    กล่าวขอบคุณ
    95
    ได้รับคำขอบคุณ: 135

    50 คำไทยใช้บ่อย ที่เด็กไทยเขียนผิดประจำ !

    ขอบคุณบทความดีๆจากพี่มิ้นท์ www.dek-d.com ครับ
    หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆนะครับ(ซ้ำขออภัย)


    1) กะเทย VS กระเทย

    คำที่ถูก >> กะเทย
    คำที่ผิด >> กระเทย
    คำคำนี้เจอได้บ่อยค่ะ แต่จะมีกี่คนที่เขียนถูก ท่องให้ขึ้นใจเลยนะคะ คำนี้ ไม่มี "ร" จ้า

    2) โควตา VS โควต้า
    คำที่ถูก >> โควตา
    คำที่ผิด >>โควต้า
    ตามหลักการเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องเติมวรรณยุกต์ค่ะ ดังนั้น Quota จึงเขียนได้ว่าโควตา ไม่ต้องเติมไม้โทให้คำว่า "ตา" นะ

    3) ต่างๆ นานา VS ต่างๆ นาๆ
    คำที่ถูก >> ต่างๆ นานา
    คำที่ผิด >> ต่างๆ นาๆ
    โดยปกติคำซ้ำจะเติมเครื่องหมายไม้ยมกไว้ด้านหลังคำที่ต้องการซ้ำ ยกเว้นคำว่า "นานา" "จะจะ" ที่ไม่ต้องซ้ำนะ เขียนแบบเดิมสองครั้งได้เลย

    4) ผลัดวันประกันพรุ่ง VS ผัดวันประกันพรุ่ง
    คำที่ถูก >> ผัดวันประกันพรุ่ง
    คำที่ผิด >> ผลัดวันประกันพรุ่ง
    ข้อนี้ออกข้อสอบบ่อยค่ะ พี่มิ้นท์คอนเฟิร์ม ผัดวันประกันพรุ่งไม่ต้องมี "ล" นะคะ "ผลัด" แบบนี้ใช้สำหรับ "ผลัดผ้า" ค่ะ

    5) ผาสุข VS ผาสุก
    คำที่ถูก >> ผาสุก
    คำที่ผิด >> ผาสุข
    เชื่อว่าหลายคนไปโยงกับความหมายความสุข ก็เลยใช้ "ข" สะกด แต่จริงๆ แล้วใช้ "ก" สะกดค่ะ

    6) พะแนง VS พแนง
    คำที่ถูก >> พะแนง
    คำที่ผิด >> พแนง
    พะแนง อาหารโปรดของใครหลายคน คำๆ นี้ น้องๆ สะกดได้ตรงตัวเลย เขียนง่ายๆ ว่า "พะแนง"

    7) อย่าร้าง VS หย่าร้าง
    คำที่ถูก >> หย่าร้าง
    คำที่ผิด >> อย่าร้าง
    คำว่า "หย่า" กับ "อย่า" ออกเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายต่างๆ กันค่ะ "อย่า" เป็นคำช่วยกริยาที่บอกห้ามหรือไม่ให้ทำสิ่งใดๆ ส่วน "หย่า" หมายถึง การเลิกเป็นสามีภรรยากัน เขียนให้ถูกกันนะจะได้ไม่งงความหมาย

    8) มัคคุเทศน์ VS มัคคุเทศก์
    คำที่ถูก >> มัคคุเทศก์
    คำที่ผิด >> มัคคุเทศน์
    มัคคุเทศก์ ก็คือผู้นำเที่ยวหรือไกด์นั่นเอง ไม่ใช่พระที่จะต้องไปนั่งเทศน์ ดังนั้น "เทศ.." ใช้ "ก์" นะคะ จำง่ายๆ แค่นี้^^

    9) กงเกวียนกำเกวียน VS กงกำกงเกวียน
    คำที่ถูก >> กงเกวียนกำเกวียน
    คำที่ผิด >> กงกำกงเกวียน
    คำนี้เป็นสำนวน หลายคนติดใช้ กงกำกงเกวียนหรือกงกรรมกงเกวียน แต่ที่ถูกต้องคือ "กงเกวียนกำเกวียน" นะคะ เพราะทั้ง กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน โดยคำนี้มีความหมายว่า กรรมตามสนองค่ะ

    10) กังวาล VS กังวาน
    คำที่ถูก >> กังวาน
    คำที่ผิด >> กังวาล
    กังวาน หมายถึง เสียงที่ก้องอยู่ได้นาน กังวาน เป็นอีกคำที่สะกดด้วย "น" ได้เลย ไม่ต้องไปสะกดแบบอื่นให้มันยากกว่าเดิม

    11) อนุญาติ VS อนุญาต
    คำที่ถูก >> อนุญาต
    คำที่ผิด >> อนุญาติ
    พี่เกียรติเคยอธิบายการจำวิธีเขียนคำนี้ไว้ในบทความ รวมเด็ด! วิธีจำคำไทย จากจำยากเป็นจำแม่น! ไว้ว่า ให้ท่องไว้ว่า อนุญาต ไม่ใช่ "ญาติ" ตัวเล็กๆ (อนุ แปลว่า น้อย,เล็ก) ดังนั้นแค่ท่องประโยคนี้ก็เตือนสติเวลาเขียนได้แล้วค่ะ

    12) ขี้เกียจ VS ขี้เกลียด
    คำที่ถูก >> ขี้เกียจ
    คำที่ผิด >> ขี้เกลียด
    น้องๆ คงไม่มีปัญหากับคำว่า เกลียด เพราะจำได้ไม่ยาก ซึ่งคำว่าเกลียดจะหมายถึง ไม่ชอบ, ชัง คำนี้ยังมีความหมายเหมือนกับ "รังเกียจ" อีกด้วย ดูจากวิธีเขียนของคำสองคำก็ต่างกันแล้ว ดังนั้นเมื่อเจอ "ขี้เกียจ" อีกคำนึง น้องๆ อาจจะสับสน มองว่ามาจากคำว่า ขี้+เกลียด หรือเปล่า จึงจำผิดมาโดยตลอด ขอให้จำใหม่นะคะ ขี้เกียจ ไม่ต้องควบกล้ำและใช้ "จ" สะกดค่ะ

    13) ศรีษะ VS ศีรษะ
    คำที่ถูก >> ศีรษะ
    คำที่ผิด >> ศรีษะ
    การสะกดคำนี้มีปัญหาเพียงอย่างเดียวคือการเติมสระอี ที่มักวางผิดตำแหน่งไปวางตรง "ร" ขอให้น้องๆ จำให้ขึ้นใจว่าหัวเป็นของสูง และเราก็มักจะใส่หมวกที่หัว ดังนั้น "ศ" หัวของตัวอักษรอยู่สูงกว่า "ร" จึงต้องเอาสระอีไปวางไว้ที่ "ศ" ค่ะ

    14) ผัดไทย VS ผัดไท
    คำที่ถูก >> ผัดไทย
    คำที่ผิด >> ผัดไท
    คำนี้มีวิธีการจำง่ายๆ ตามที่ราชบัณฑิตยสถานบอกไว้ก็คือ คำว่า "ไทย" ในผัดไทย เขียนเหมือนคนไทย นั่นเอง (ก็มันอาหารของคนไทยนี่)

    15) อานิสงส์ VS อานิสงฆ์
    คำที่ถูก >> อานิสงส์
    คำที่ผิด >> อานิสงฆ์
    คำสองคำนี้ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกัน คือ เป็นเรื่องของศาสนา น้องๆ จึงอาจโยงความหมายและการสะกดคำเข้าด้วยกัน ซึ่งความจริงแล้ว อานิสงส์ มีความหมายในตัว คือ ผลแห่งกุศลกรรม ซึ่งเป็นคำบาลี(อานิสํส) ไม่ใช่ พระสงฆ์ ดังนั้นจึงใช้ "ส์"

    16) ใบกะเพรา VS ใบกระเพรา
    คำที่ถูก >> ใบกะเพรา
    คำที่ผิด >> ใบกระเพรา
    ร้านอาหารตามสั่งส่วนมากเขียนคำนี้ผิดค่ะ การเขียนที่ถูกต้องจริงๆ มี "ร" เพียงแค่ที่เดียว คือ "เพรา" ส่วน "กะ" ไม่ต้องนะคะ
    ซึ่งคำนี้จะสลับกับคำว่า กระเพาะ(อาหาร) ที่มี "ร" ในคำว่า "กระ" ส่วน "เพาะ" ไม่มี

    17) ข้าวเหนียวมูน VS ข้าวเหนียวมูล
    คำที่ถูก >> ข้าวเหนียวมูน
    คำที่ผิด >> ข้าวเหนียวมูล
    พูดถึงคำนี้ ดูไม่น่าจะมีคนเขียนผิดนะ แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าคนเขียนผิดเยอะมาก เพราะชินกับคำว่า "มูล" โดยหารู้ไม่ว่าคำว่ามูล หมายถึง ราก หรือเศษสิ่งของต่างๆ รวมไปถึงอุจจาระ ซึ่ง...เอามารวมกับสิ่งที่เป็นของกิน ถึงจะเป็นแค่ชื่อก็ไม่ไหวนะคะ ใครจะกล้ากินล่ะเนี่ย
    ส่วน "มูน" ในที่นี้หมายถึง การเอากะทิมาคลุกเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้เกิดความมันนั่นเอง

    18) คลินิก VS คลีนิก VS คลินิค
    คำที่ถูก >> คลินิก
    คำที่ผิด >> คลีนิก/ คลินิค
    คำนี้เขียนกันหลากหลายรูปแบบเลย ทั้ง คลินิก/ คลีนิก/ คลีนิค/ คลินิค แต่ที่ถูกต้องจริงๆ เป็นเสียงสั้นใช้สระอิ และใช้ "ก" สะกดจ้า

    19) อุบาทว์ VS อุบาท VS อุบาต
    คำที่ถูก >> อุบาทว์
    คำที่ผิด >> อุบาท
    คำที่ออกเสียงว่า "บาด" ในภาษาไทยมีหลายคำทีเดียวค่ะ เช่น บาท=เท้า, บาตร=บาตรใส่อาหารของพระ, บาด=ของมีคมบาดจนเป็นแผล, บาต=อุกกาบาต รวมถึงคำว่าอุบาทว์ ซึ่งก็เขียนต่างจาก "บาด" คำอื่นๆ โดยจะต้องมี "ว์" ตามหลัง "ท" เสมอค่ะ


    20) คัดสรร VS คัดสรรค์
    คำที่ถูก >> คัดสรร
    คำที่ผิด >> คัดสรรค์
    ตระกูลคำที่ออกเสียงว่า "สัน" ในภาษาไทยก็มีหลายคำเหมือนกัน วิธีเขียนก็มีทั้งที่เป็น ร หัน ( -รร) และเขียนโดยใช้ไม้หันอากาศ ในส่วนที่ใช้ ร หัน (-รร) ก็ยิ่งสับสนงงงวยไปอีก เมื่อบางคำก็มีตัวการันต์ บางคำก็ไม่มีตัวการันต์ จากตัวอย่างคำว่า "คัด-สัน" ที่ยกมานี้ก็เป็นอีกคำที่เขียนผิดบ่อยสุดๆ ท่องกันให้ขึ้นใจเลยนะคะ "คัดสรร" ไม่ต้องมีตัว "ค์" จ้า เพราะคำว่า "สรร" หมายถึง การเลือก, การคัด อยู่แล้ว และคำนี้ก็เป็นคำซ้อนที่เอาความหมายเหมือนกันมาซ้อนคำกันนั่นเอง

    21) สังสรรค์ VS สังสรร
    คำที่ถูก >> สังสรรค์
    คำที่ผิด >> สังสรร
    อีกหนึ่งตัวอย่างสำหรับคำตระกูล "สัน" แต่สำหรับคำว่า สังสรรค์ จะต้องตามด้วย "ค์" เสมอ

    22) โคตร VS โครต
    คำที่ถูก >> โคตร
    คำที่ผิด >> โครต
    ทั้ง 2 คำอ่านว่า "โคด" เหมือนกัน แต่ถ้าสังเกตการออกเสียงดีๆ จะรู้ว่าคำนี้ไม่มีควบกล้ำ ดังนั้นวิธีเขียนที่ถูกต้องคือ เอา "ร" ไว้หลังสุด คือ โคตร (บางทีอ่านเล่นๆ กันว่า โค-ตะ-ระ นั่นเอง)

    23) จลาจล VS จราจล
    คำที่ถูก >> จลาจล
    คำที่ผิด >> จราจล
    สมัยเด็กๆ สับสนคำนี้กันหลายคน เพราะหน้าตามันละม้ายคล้ายกับคำว่า "จราจร" วิธีจำให้เขียนถูกง่ายนิดเดียว คำว่า "จราจร" ใช้ "ร" ทั้งสองตัว ส่วน "จลาจล" ก็ใช้ "ล" ทั้งสองตัวเช่นเดียวกันค่ะ

    24) น้ำมันก๊าซ VS น้ำมันก๊าด
    คำที่ถูก >> น้ำมันก๊าด
    คำที่ผิด >> น้ำมันก๊าซ
    น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ในสมัยก่อนใช้จุดให้แสงสว่างในตะเกียงและยังสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ได้ด้วย วิธีเขียนอาจไม่คุ้นชิน แต่ให้จำเอาไว้ว่าเขียนให้ง่ายๆ ตามแบบคนไทยใช้ "ด" สะกดไปเลยค่ะ
    ส่วนที่เราใช้ผิดบ่อยๆ ว่า "น้ำมันก๊าซ" นั้นน่าจะติดมาจากคำว่า "ก๊าซ" หรือ "แก๊ส" ที่มาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษว่า gas นั่นเอง

    25) เครื่องหมายดอกจัน VS เครื่องหมายดอกจันทร์ VS ดอกจันทน์
    คำที่ถูก >> เครื่องหมายดอกจัน
    คำที่ผิด >> เครื่องหมายดอกจันทร์/ เครื่องหมายดอกจันทน์
    เป็นอีกคำที่ใช้ผิดบ่อยจริงๆ ค่ะ แล้วก็โผล่อยู่ในข้อสอบเกือบทุกโรงเรียน ฮ่าๆ ตระกูลคำว่า "จัน" ทั้ง จันทร์, จันทน์, จัน ใช้สับสนกันไปหมด ซึ่งการเขียนที่ถูกต้องจริงๆ ของกลุ่มนี้คำนี้ มีดังนี้
    จัน = ใช้กับคำว่าเครื่องหมายดอกจัน
    จันทร์ = วันจันทร์
    จันทน์ = ดอกไม้จันทน์, ดอกจันทน์(ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ)
    ดังนั้น สรุปว่า เครื่องหมายดอกจัน ไม่ต้องมีตัวการันต์ทั้งสิ้นค่ะ


    26) ตำรับ VS ตำหรับ
    คำที่ถูก >> ตำรับ
    ภาษาไทยขึ้นชื่อว่าเป็นภาษาที่ยากติดอันดับโลก เพราะมีเสียงวรรณยุกต์และการสะกดที่หลากหลาย อย่าว่าแต่ฝรั่งเลย คนไทยเองก็สับสนเหมือนกัน อย่างคำที่ 26 นี้ ต้องมีน้องๆ เคยสงสัยแน่นอนว่า เขียน "ตำรับ" ทำไมอ่าน "ตำ-หรับ" ทั้งๆ ที่ไม่มีอักษรนำเลย

    พี่มิ้นท์ขออธิบายถึงที่มาของคำนี้ก่อนว่า คำว่า "ตำรับ" เป็นคำแผลงที่มาจากคำว่า "ตรับ" ค่ะ คล้ายๆ กับ ตำรวจที่แผลงมาจากตรวจ ซึ่งการแผลงคำเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการสร้างคำขึ้นในภาษาไทย อย่างตัวอย่างนี้ก็แผลงพยัญชนะจากพยางค์เดียวให้มาเป็น 2 พยางค์ โดยหลักการอ่านออกเสียงคำแผลงประเภทนี้มีอยู่ว่า ถ้าคำเดิมเป็นพยัญชนะควบกล้ำ เวลาอ่านออกเสียงในพยางค์หลังต้องมีเสียงวรรณยุกต์เท่าคำเดิม ดังนั้น จาก "ตรับ" จึงอ่านออกเสียงเป็น "ตำ-หรับ" (แม้จะเขียนว่า ตำรับ ก็ตาม)


    27) โอกาศ VS โอกาส
    คำที่ถูก >> โอกาส
    คำนี้มีน้องๆ ชาว Dek-D.com แนะนำมาว่าเจอคนเขียนผิดบ่อยมาก มักจะใช้ ศ สะกดเหมือนกับคำว่า อากาศ แต่ที่ถูกต้องจริงๆ จะต้องใช้ "ส" ในการสะกดค่ะ เนื่องจาก"โอกาส" เป็นคำภาษาบาลี ซึ่งภาษาบาลี ไม่มี "ศ" "ษ" นะคะ จำไว้ให้แม่นเลย

    28) ทะเลสาบ VS ทะเลสาป
    คำที่ถูก >> ทะเลสาบ
    คำว่า "สาบ" กับ "สาป" เป็นอีกคู่ที่น้องๆ มักสับสน นอกจากไม่รู้ว่าต้องใช้ตัวไหนแล้วยังไม่รู้ด้วยว่าสองคำนี้ต่างกันอย่างไร
    คำว่า "สาป" ในภาษาไทยมีเพียงความหมายเดียว หมายถึง คำแช่งให้เป็นไปต่างๆ มาจากภาษาบาลีค่ะ
    ส่วน "สาบ" มีหลายความหมายเลย เช่น กลิ่นเหม็นสาบ, แมลงสาบ, สาบเสื้อสำหรับเจาะรังดุม และใช้เรียกห้วงน้ำใหญ่คล้ายบึง หรือ ทะเลสาบนั่นเอง ดังนั้นถ้าไม่ได้คิดแช่งใคร เมื่อสะกดคำว่า "สาบ" ให้ใช้ "บ" สะกดเสมอนะคะ

    29) เครื่องสำอางค์ VS เครื่องสำอาง
    คำที่ถูก >> เครื่องสำอาง
    อีกหนึ่งคำที่มองไปทางไหนก็เจอแต่คนเขียนผิดและใช้ผิดต่อๆ กันไม่รู้ตัว ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว เครื่องสำอางค์ ที่เขียนแบบนี้ไม่มีความหมายในภาษาไทยเลย ที่ถูกต้องจริงๆ ต้องเขียนว่า "เครื่องสำอาง" แบบไม่มี "ค์" ค่ะ (บางทีคนไทยก็ชอบเขียนคำง่ายๆ ให้เป็นคำยากๆ เสมอ)

    โดยคำว่า "สำอาง" มีความหมายว่า สิ่งเสริมแต่ง บำรุงใบหน้า, งามสะอาดหมดจด เป็นต้น

    30) นะค่ะ VS นะคะ VS น๊ะค๊ะ
    คำที่ถูก >> นะคะ
    สำหรับสาวๆ ที่ต้องใช้คำนี้เพื่อลงท้ายให้สุภาพ ควรเขียนคำนี้ให้ถูกต้องนะคะ เพราะต้องใช้ไปจนแก่เลย
    /น/ และ /ค/ เป็นอักษรต่ำ ไม่ต้องเติมวรรณยุกต์ก็ออกเสียงวรรณยุกต์ตรีอยู่แล้ว ดังนั้น น๊ะค๊ะ ผิดเต็มๆ ส่วนนะค่ะ ไม่มีความหมายในภาษาไทยค่ะ

    31) บังสุกุล VS บังสกุล
    คำที่ถูก >> บังสุกุล
    บังสุกุล เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าที่พระสงฆ์ชักจากศพหรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ คำนี้เมื่อพูดเร็วๆ รัวๆ อาจฟังเป็น บังสกุล ซึ่งเป็นการสะกดที่ผิดค่ะ(สกุล หมายถึง วงศ์ตระกูล) ก่อนสตาร์ทเขียนคำนี้ ตั้งสติดีๆ และอย่าลืมเติม "สระอุ" สองตัวนะคะ

    32) บัญญัติไตรยางค์ VS บัญญัติไตรยางศ์
    คำที่ถูก >> บัญญัติไตรยางศ์
    บัญญัติไตรยางศ์ เป็นวิธีการทางคณิตศาสตร์วิธีนึงใช้สำหรับการเปรียบเทียบ สะกดเหมือนคำว่า "ไตรยางศ์" ที่แปลว่า 3 ส่วน ใช้ "ศ์" เสมอ ส่วน "ไตรยางค์" คำนี้ไม่มีความหมายนะคะ

    33) บิดพลิ้ว VS บิดพริ้ว
    คำที่ถูก >> บิดพลิ้ว
    สำหรับคำนี้จุดที่ผิดบ่อยๆ คือ คำว่า "พลิ้ว" หลายคนใช้ควบกล้ำ "พร" เพราะดูคุ้นกว่า แต่หารู้ไม่ว่าในภาษาไทยคำว่าพริ้ว ไม่มีความหมายนะคะ ท่องไว้ "พลิ้ว" คือ อาการบิดเบี้ยว หรือสะบัดไปตามลม ดังนั้นเมื่อเจอ "ลม" ก็ใช้ "ล" สะกดนะ

    34) บูชายันต์ VS บูชายัญ
    คำที่ถูก >> บูชายัญ
    การบูชายัญ เป็นการบูชาของพราหมณ์อย่างหนึ่งด้วยวิธีการฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา ซึ่งคำว่า "ยัญ" ใน บูชายัญมีความหมายในตัวของมันอยู่แล้วคือ การเซ่น, การบูชา ดังนั้นก่อนเขียนให้ระลึกเสมอว่าบูชายัญเป็นการฆ่าคน ไม่ใช่การบูชาผ้ายันต์ นะคะ

    35) ปฐมนิเทศ VS ปฐมนิเทศก์
    คำที่ถูก >> ปฐมนิเทศ
    น้องๆ ที่เข้า ม.1 ม.4 หรือเข้ามหาวิทยาลัย จะต้องผ่านการปฐมนิเทศเพื่อฟังคำแนะนำต่างๆ ก่อน ถ้ามองความหมายทีละคำ จะเข้าใจความหมายมากขึ้น คือ ปฐมหมายถึงลำดับแรก ส่วนนิเทศ หมายถึงการชี้แจง, การแสดง โดย "นิเทศ" คำนี้ไม่ต้องมีตัวการันต์นะคะ ปล่อยโล่งๆ แบบนี้นี่แหละ

    36) เปอร์เซนต์ VS เปอร์เซ็นต์
    คำที่ถูก >> เปอร์เซ็นต์
    ราชบัณฑิตยสถานได้ระบุวิธีเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้หลายคำ รวมถึงคำว่า percent ด้วย ซึ่งวิธีเขียนที่ถูกต้องจะต้องใส่ไม้ไต่คู้ในพยางค์หลังว่า "เปอร์เซ็นต์" ค่ะ

    37) ผีซ้ำด้ามพลอย VS ผีซ้ำด้ำพลอย
    คำที่ถูก >> ผีซ้ำด้ำพลอย
    เป็นอีกสำนวนหนึ่งที่เขียนผิดกันบ่อยๆ สาเหตุที่คนส่วนใหญ่เขียนคำนี้ผิดเป็น "ผีซ้ำด้ามพลอย" คงเป็นเพราะไม่รู้ความหมายของคำว่า "ด้ำ" ฟังไปฟังมาเลยเพี้ยนกลายเป็น "ด้าม" ไปซะอย่างนั้น

    คำว่า "ด้ำ" เป็นภาษาถิ่นในภาคอีสาน หมายถึง ผีเรือน ค่ะ ผีซ้ำด้ำพลอยก็หมายถึง เราถูกผีอื่นกระทำแล้วยังถูกผีเรือนของตัวเองซ้ำเติมอีก ดังนั้นสำนวนนี้จึงหมายถึง ถูกซ้ำเติมอีกเมื่อพลาดพลั้ง ประมาณซวยซ้ำซวยซ้อนก็ได้ค่ะ

    เมื่อรู้ความหมายไปแล้ว ขอเพิ่มเติมวิธีจำอีกนิด ให้น้องๆ จำไว้ว่าสำนวนไทยส่วนใหญ่จะใช้คำคล้องจอง มีสัมผัสค่ะ ดังนั้นพยางค์ก่อนหน้าเป็นสระอำ คำต่อมาก็จัดสระอำตามไปเลยค่ะ

    38) พิธีรีตอง VS พิธีรีตรอง
    คำที่ถูก >> พิธีรีตอง
    พิธีรีตอง หมายถึง งานพิธีตามแบบตามธรรมเนียม เวลาเขียนคำนี้ไม่ต้องเติม "ร" ในคำว่า "ตอง" นะคะ ท่องเลยๆ

    39) แพทยศาสตร์ VS แพทย์ศาสตร์
    คำที่ถูก >> แพทยศาสตร์
    ใครอยากเป็นหมอจำคำนี้ไว้ดีๆ นะคะ คำว่า "แพทยศาสตร์" เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า "แพทย์" + "ศาสตร์" เมื่อเอามารวมกัน คำก่อนหน้าที่มีการันต์ให้ตัดทิ้งได้เลย ดังนั้นเวลาออกเสียงคำนี้ให้อ่านว่า "แพด-ทะ-ยะ-สาด"

    40) มัสหมั่น VS มัสมั่น
    คำที่ถูก >> มัสมั่น
    มัสมั่นเป็นชื่อแกงชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นแกงข้น ปรุงด้วยเครื่องเทศ ใส่ไก่หรือเนื้อลงไป(อร่อยมาก) น้องๆ หลายคนท่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานกันได้ แต่จะมีซักกี่คนที่เขียน "มัสมั่น" ถูก แม้ว่าพยางค์หลังของคำนี้ออกเสียงเหมือนมีอักษรนำตามหลัง แต่วิธีการเขียนที่ถูกต้องในภาษาไทย ต้องไม่มี "ห" นะคะ

    41) มาตรฐาน VS มาตราฐาน
    คำที่ถูก >> มาตรฐาน
    คำง่ายๆ ที่บางคนก็เขียนผิด คำว่า "มาตรฐาน" เป็นคำสมาสอีกแล้วค่ะ เป็นการสมาสกันระหว่างคำ มาตร(สันสกฤต) + ฐาน(บาลี) ซึ่งเวลาอ่านคำสมาสเราก็ต้องออกเสียงสระอะ ของพยางค์ท้ายในคำหน้าด้วย การออกเสียงบ่อยๆ ทำให้รู้ว่าคำนี้เป็นเสียงสั้น อ่านว่า "มาด-ตระ-ถาน" ไม่ใช่ "มาด-ตรา-ถาน" ดังนั้นไม่ต้องเติม "สระอา" ตรงกลางนะจ๊ะ

    42) เวทมนต์ VS เวทย์มนตร์ VS เวทมนตร์
    คำที่ถูก >> เวทมนตร์
    "เวทมนตร์" หมายถึง คำศักดิ์สิทธิ์ที่บริกรรมเพื่อให้สำเร็จตามสิ่งที่้ต้องการ คำนี้เขียนผิดกันหลายแบบเลยค่ะ โดยจะสับสนว่าต้องใส่ตัวการันต์หรือไม่ ใส่กี่คำ และใช้ตัวการันต์ตัวไหน

    สรุปง่ายๆ ว่า คำว่า "เวท" ไม่ต้องมีการันต์ค่ะ โดยจะหมายถึงความรู้, ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นคาถาอาคม เป็น "เวท" ตัวเดียวกับคำว่า "ร่ายเวท" "สามเวท" ค่ะ ส่วนคำว่า "มนตร์" นั้น ใช้ "ตร์" เป็นคำสันสกฤตค่ะ

    43) แมลงสาป VS แมลงสาบ
    คำที่ถูก >> แมลงสาบ
    หลักการเขียนคำว่า "สาบ" พี่มิ้นท์ได้อธิบายไว้ในข้อ 28) แล้ว ดังนั้นการเขียนคำนี้ให้ถูกต้อง ต้องใช้ "บ" ถึงจะถูกต้องนะคะ

    44) ไยแมงมุม VS ใยแมงมุม
    คำที่ถูก >> ใยแมงมุม
    45) หยากใย่ VS หยากไย่
    คำที่ถูก >> หยากไย่
    46) ลำไย VS ลำใย
    คำที่ถูก >> ลำไย
    ขอพูดรวบยอดคำที่ 44 - 46 พูดถึงการใช้สระ "ไ-" และ "ใ-" ในภาษาไทยสับสนกันพอสมควร วิธีจำการเขียนที่ถูกต้องคำในกลุ่มนี้ก็ไม่ยากค่ะ เชื่อว่าน้องๆ เคยท่องกลอน "คำไทยที่ใช้ไม้ม้วน" กันมาแล้ว ซึ่งกลอนบทนั้นได้รวบรวมคำไทยที่ใช้ไม้ม้วนทั้งหมด 20 คำไว้ ดังนั้นไม่มั่นใจคำไหน เสียเวลาท่องในใจกันซักนิด ถ้าไม่เห็นว่าอยู่ในกลอนนี้ใช้ "ไ-" โลดค่ะ ทบทวนกลอนกันซักนิด

    ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
    ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
    จะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู
    สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
    บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง
    เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี

    สรุปแล้ว ใยแมงมุม ต้องใช้ ไม้ม้วน "ใ-" เหมือนห่วงใย
    ส่วน "หยากไย่" และ "ลำไย" ใช้ไม้มลาย "ไ-" ค่ะ

    47) ริดรอน VS ลิดรอน
    คำที่ถูก >> ลิดรอน
    จำได้ว่าสมัยเรียนเจอคำนี้ออกข้อสอบบ่อยเหลือเกิน(แต่ก็ไม่เคยจำวิธีเขียนที่ถูกซะที) ไม่แน่ใจว่าเดี๋ยวนี้อาจารย์ยังเอามาออกข้อสอบอยู่หรือเปล่า สำหรับคำนี้จะมึนๆ เรื่องการใช้พยัญชนะ เพราะไม่รู้ว่าพยางค์ไหนใช้ "ร" "ล" บางทีก็เขียนผิดไปใช้พยัญชนะตัวเดียวกันทั้งพยางค์หน้าและหลัง

    วิธีการเขียนคำนี้ให้ถูกต้อง ต้องเขียนว่า "ลิดรอน" พยางค์หน้าใช้ "ล" พยางค์หลังใช้ "ร" อยากเขียนคำนี้ให้ถูกต้อง น้องๆ ต้องฝึกเขียนบ่อยๆ ค่ะเพื่อให้ชินมือ นอกจากนี้การอ่านออกเสียงควบกล้ำให้ตัวเองฟังบ่อยๆ ก็ช่วยจำวิธีเขียนคำนี้ได้เหมือนกัน

    48) ลูกเกด VS ลูกเกตุ
    คำที่ถูก >> ลูกเกด
    ลูกเกด คือ ลูกองุ่นแห้งที่เป็นของกินเล่น หรือใช้ใส่ในข้าวผัดอเมริกันนั่นเอง "ลูกเกด" สะกดตรงๆ ใช้ "ด" สะกดได้เลยค่ะ ซึ่งคำว่า "เกด" ก็หมายถึงลูกองุ่นแห้งอยู่แล้ว ส่วนคำว่า "เกตุ" จะหมายถึง ธง ค่ะ ความหมายคนละเรื่องเลย

    นอกจากนี้คำที่อ่านว่า "เกด" ที่มีปัญหาอีกคำ คือ "สังเกต" คำนี้ใช้ "ต" สะกด โดยไม่ต้องเติมสระอุ ค่ะ

    49) ไล่เรียง-ไล่เลียง
    คำที่ถูก >> ไล่เลียง
    "ไล่เลียง" คือ การซักไซ้, ไต่ถาม มักจะใช้คู่กับคำว่า ซักไซ้ไล่เลียง คำนี้ใช้ "ล" สะกดทั้งสองตัวเลยนะคะ เพราะถ้าแยกความหมายของคำทั้งสองออกจากกัน จะพบว่า "ไล่" หมายถึง การขับออก, บังคับให้ไป ส่วน "เลียง" ก็หมายถึง การไล่สิ่งไม่บริสุทธิ์ออก ดังนั้นคำนี้จึงเป็นคำซ้อน ประเภทซ้อนความหมายค่ะ จำไว้เลยว่า คำนี้ คำหน้าและหลังมีความหมายเหมือนกัน และใช้พยัญชนะต้นตัวเดียวกันด้วย

    50) วิ่งเปี้ยว VS วิ่งเปรี้ยว
    คำที่ถูก >> วิ่งเปี้ยว
    เชื่อว่าเด็กไทยเกินร้อยละ 80 โตขึ้นมากับการเล่นวิ่งเปี้ยว โดยเฉพาะในงานกีฬาสี ปกติคำนี้เราใช้แต่วิธีพูด ไม่ค่อยได้ลงมือเขียนกันเท่าไหร่ ฉะนั้นเวลาต้องมาเขียนจริงๆ ก็นึกไปเองว่าใช้ "เปรี้ยว" เหมือนรสเปรี้ยว แต่ที่ถูกต้องจริงๆ เขียน "เปี้ยว" ธรรมดา ไม่ต้องเติม "ร" นะคะ อเมซิ่งสุดๆ


    credit : พี่มิ้นท์ http://www.dek-d.com

    http://www.dek-d.com/content/education/31497/
    http://www.dek-d.com/content/education/31558/
    - รณรงค์งดให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง -
    - กรุณาตั้งกระทู้ให้ถูกหมวด เพื่อความง่ายในการตอบกระทู้ -
    * กรุณาอ่าน มารยาทและวิธีใช้บอร์ด เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง *


  2. #2
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Oct 2011
    กระทู้
    139
    กล่าวขอบคุณ
    2,782
    ได้รับคำขอบคุณ: 41
    ราชบัณฑิตมาเองเลยเหรอครับ

  3. #3
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    245
    กล่าวขอบคุณ
    295
    ได้รับคำขอบคุณ: 133
    ขี้เกียจ เขียนถูกแฮะ

    นี่เราเขียน โครต มาโดยตลอดเลยหรอเนี้ย โคตร เขียนอย่างนี้หรอเนี้ย นี่เราเขียนภาษาไทยวิบัติมาโดยตลอด ไม่...

  4. #4
    IT Hardware
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    ที่อยู่
    SAMP
    กระทู้
    2,603
    กล่าวขอบคุณ
    5,163
    ได้รับคำขอบคุณ: 3,101
    นะค่ะ VS นะคะ VS น๊ะค๊ะ

    แหม่
    ไส่ลายเซ็นไม่ได้

  5. #5
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    445
    กล่าวขอบคุณ
    637
    ได้รับคำขอบคุณ: 356
    บางทีก็ยอมวิบัตินะครับ

    อย่าง ตำรับ - ตำหรับ และ พวกคำทับศัพท์ต่างๆนี่ คำเขียนกับเสียงอ่านและ " ็" เอย บางอันมีบางอันไม่มี

    มันช่างเกินความสามารถครับ 55 - -

    แต่ นะค่ะ / นะคะ เนี่ย เวลาเห็น ญ พิมพ์ "นะค่ะ" มันช่างปวดตับจริงๆ

    แฟนเก่าผมก็เป็นและไม่ยอมแก้ไขด้วย แทบจะตบลงไปกองดิ้นๆๆตรงนั้นเลย(หลอกๆๆ)

    น๊ะค๊ะ นี่เฉยๆเพราะใช้บ่อยเวลาทำตัวปัญญาอ่อนกับแฟนเก่า

    ปล.เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการคุยกับเพื่อนด้วย
    ปล2.มันเป็นอดีตไปแล้ว T_T
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย meknoi035 : 28th March 2013 เมื่อ 22:28

  6. #6
    Resident Evil Thailand
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    ที่อยู่
    กรุงเทพมหานคร
    กระทู้
    1,059
    กล่าวขอบคุณ
    185
    ได้รับคำขอบคุณ: 706
    บางคำก็ผิดมานานแล้วไม่ใช่รุ่นใหม่เพิ่งมาเขียนผิดๆ ที่แน่ๆคือคำว่า (อนุญาต) รุ่นโคตะระเหง้าเลยนะนั่น

  7. #7
    Forever...
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    ที่อยู่
    Bangkok
    กระทู้
    1,540
    กล่าวขอบคุณ
    64
    ได้รับคำขอบคุณ: 1,560
    ป่าว - เปล่า

    ที่ถูกคืออันหลังนะครับ ถ้าใช้ในประโยค "อันนี้ใช่รึเปล่าครับ" "แบบนี้ใช่รึเปล่าครับ" (ตัวอย่างๆ) แต่อันแรกต้องใช้กับคำว่าป่าวประกาศครับ เห็นผิดกันเยอะมาก เลยขอบอกซะเลย
    ถ้าคุณยังไม่รู้จักกับคำว่า "ความล้มเหลว" ก็ไม่มีทางที่คุณจะรู้จักกับคำว่า "ความสำเร็จ"

  8. #8
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    465
    กล่าวขอบคุณ
    270
    ได้รับคำขอบคุณ: 396
    ไม่มี มุก vs มุข หรอครับ

  9. #9
    Forward Thinking
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    1,527
    กล่าวขอบคุณ
    43
    ได้รับคำขอบคุณ: 590
    รู้กัน ทั้งนั้นแหละครับ แต่เรื่องคือ

    ขี้เกียจพิมพ์ ให้หมด เลยตัดบ้าง ลดบ้าง อะไรบ้าง

    ถามว่ารู้ไหม รู้ แต่ไม่ทำ - -*

  10. #10
    Go Let It Out ~
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    ที่อยู่
    Krabi , Thailand
    กระทู้
    514
    กล่าวขอบคุณ
    1,956
    ได้รับคำขอบคุณ: 257
    อ้างถึง กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ pommagebtang อ่านกระทู้
    ไม่มี มุก vs มุข หรอครับ
    คนที่ใช้ ข.ไข่คือเขาเก็บก.ไก่ไว้ใช้กับคำว่ารักครับ ฮ่าๆ

    บางคำผมเห็นเยอะมาก

    ______________________________________________________

    คะ/ค่ะ

    http://p-achblog.blogspot.com/2011/12/064.html
    เดี๋ยวนี้ทำไมคนสมัครเข้ามาเพื่อชื่อน้ำตาลเยอะจัง...

  11. #11
    คิดว่าดีก็ทำต่อไป
    วันที่สมัคร
    Mar 2012
    กระทู้
    695
    กล่าวขอบคุณ
    2,795
    ได้รับคำขอบคุณ: 117
    โอ้ความรู้มากๆเลยครับ

  12. #12
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    322
    กล่าวขอบคุณ
    159
    ได้รับคำขอบคุณ: 448
    นี่ถ้าไม่เข้ามาดู ไม่รู้เลย ว่าบางคำ เราเขียนผิดมาตลอด

  13. #13
    Bayou Country
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    ที่อยู่
    New Orleans, LA, United States
    กระทู้
    5,932
    กล่าวขอบคุณ
    4,555
    ได้รับคำขอบคุณ: 8,950
    ผมเห็นบ่อยสุด เขียนคำว่า เตะเป็นแตะ

    กับ น่ารักเป็นหน้ารัก และอะไรน่าๆเนี่ย จะใช้ หน้าหมดเลย

  14. #14
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    229
    กล่าวขอบคุณ
    93
    ได้รับคำขอบคุณ: 56
    มาจากสารานุกรมคำที่มันเขียนผิดใช่มั้ยครับ ไม่ใช่แค่เด็กไทยใครๆก็เขียนผิด ผมเคยอ่านเล่นตอนประถม

    ช่วงนั้นครูชอบให้เขียนตามคำบอกเลยเอามาดูเล่น


 

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •  
Back to top