ยินดีต้อนรับเข้าสู่ jokergameth.com
jokergame
jokergame shop webboard Article Social


Colocation, VPS


joker123


เว็บไซต์เราจะอยู่ไม่ได้หากขาดเขาเหล่านี้ รวมช่วยกันสนับสนุนสปอนเซอร์ของพวกเรา

colocation,โคโลเคชั่น,ฝากเซิร์ฟเวอร์ game pc โหลดเกม pc slotxo Gameserver-Thai.com Bitcoin โหลดเกมส์ pc
ให้เช่า Colocation
รวมเซิฟเวอร์ Ragnarok
Bitcoin

กำลังแสดงผล 1 ถึง 15 จากทั้งหมด 15
  1. #1
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Sep 2014
    กระทู้
    212
    กล่าวขอบคุณ
    0
    ได้รับคำขอบคุณ: 132

    นำมาฝากครับ ฟอสซิล "ไม้กลายเป็นหิน" ขนาดยักษ์ สูงราวตึก 12 ชั้น อายุ 800,000 ปี ที่จังหวัดตาก

    อัศจรรย์! ไม้กลายเป็นหินอายุกว่า 800,000 ปี

    เข้าชมวีดีโอได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=HMPs76xu1hc

    ต้นไม้ที่เห็นอยู่นี้วัดขนาดความโตได้ 1.80 เมตร มีความยาวหรือความสูง 72.22 เมตร กลายสภาพเป็นหินอย่างน่าอัศจรรย์! ถูกฝังอยู่ใต้ดินนานกว่า 800,000 ปี ได้ทำการขุดเปิดหน้าดินเมื่อปีพ.ศ. 2546 เมื่อไม่กี่ปีนี้เอง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผมได้มาจากเอกสารประกอบการท่องเที่ยวที่ทางวนอุทยานไม้กลายเป็นหิน จังหวัดตาก ได้จัดทำเอาไว้เป็นคู่มือสำหรับนักท่องเที่ยว เห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์! หาดูยาก! พอดีได้มีโอกาสไปเที่ยวจึงเก็บภาพมาฝากกันครับ



    วนอุทยานแห่งชาติไม้กลายเป็นหินจังหวัดตาก คืออีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดตาก และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของจังหวัด ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 7 ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สลิด-โป่งแดง บริเวณกิโลเมตรที่ 443 บนทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ซึ่งทางเข้าชมวนอุทยานไม้กลายเป็นหินจะตั้งอยู่ตรงกันข้ามโรงพยาบาลบ้านตาก ห่างจากถนนพหลโยธินประมาณ 2.5 กิโลเมตรเท่านั้น

    การเดินทางสำหรับนักท่องเที่ยว

    จากถนนพหลโยธินตรงกิเมตรที่ 443 ตรงทางหลวงหมายเลข 1 เข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร คุณจะได้พบกับซากต้นไม้ดึกดำบรรพ์อายุกว่าแปดแสนปี ที่กลายเป็นแท่งหินขนาดยักษ์ได้อย่างน่าอัศจรรย์! ด้วยความยาวของลำต้นกว่า 72.22 เมตร หรือสูงราวๆตึก 12 ชั้น ถูกฝังไว้ใต้พื้นดินนานกว่าแปดแสนปี ทั้งหมดนี้มีให้เยี่ยมชมได้ที่อุทยานไม้กลายเป็นหินจังหวัดตาก ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 (ตาก) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชจังหวัดตาก

    สำหรับพื้นที่ ที่มีการสำรวจพบ Fossil ดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินนี้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สลิดโป่งแดง ท้องที่หมู่ 7 ต.ตากออก อ.บ้านตาก จ.ตาก (ถนนพหลโยธิน ทางหลวงหมายเลข 1 กม.ที่ 443) จากข้อมูลของทางวนอุทยานได้ระบุเอาไว้ว่า “ไม้กลายเป็นหิน” ต้นที่เห็นอยู่นี้ เป็น Fossil ดึกดำบรรพ์ที่จัดอยู่ในยุคควอเทอร์นารี (Quaternary Period ) ซึ่งเป็นช่วงเวลาทางธรณีวิทยาเมื่อประมาณ 1.6 ล้านปีที่ผ่านมา ซึ่งภายในอุทยานไม้กลายเป็นหินแห่งนี้ ได้มีการสำรวจพบไม้กลายเป็นหินทั้งหมดจำนวน 7 ต้น มีสภาพความสมบูรณ์ที่แตกต่างกันออกไป ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินที่เห็นอยู่ในภาพนี้ เป็นไม้กลายเป็นหินต้นที่ 1 มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดและโตที่สุดในบรรดาไม้กลายเป็นหินทั้งหมด (7ต้น) โดยวัดขนาดความโตได้ 1.8 เมตร ความยาวของลำต้น 72.22 เมตร หรือสูงราวๆตึก 12 ชั้น ขุดเปิดหน้าดินเมื่อปีพ.ศ. 2546 และที่ผมสงสัยก็คือต้นไม้ขนาดยักษ์นี้กลายเป็นหินได้อย่างไร? และก็ได้คำตอบจากทางวนอุทยานอีกเช่นเคย มีรายละเอียดดังนี้ครับ

    ไม้กลายเป็นหินได้อย่างไร?

    ไม้กลายเป็นหิน จัดว่าเป็น Fossil ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเกิดจากซากต้นไม้ ซึ่งถูกแทนที่ด้วยน้ำตาล ซึ่งมีสารละลายของซิลิก้า และเกิดจากการตกตะกอน กลายสภาพเป็นหินอย่างช้าๆ คือการแทนที่แบบโมเลกุล จนกระทั่งกลายเป็นหินในที่สุด โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโครงสร้างอีกเลย ซึ่งโดยปกติแล้วซิลิก้าในเนื้อไม้จะมีอยู่ในรูปของโอปอล์และคาซิโดนี ทำให้มีสีสันที่หลากหลายสวยงาม ซึ่งลักษณะการเกิดของไม้กลายเป็นหินเช่นนี้จะทำให้สภาพรูปร่างและโครงสร้างดั้งเดิมของต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นวงปี เปลือก ราก กิ่ง และหน่อยังคงอยู่ในสภาพให้เห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน

    ไม้กลายเป็นหิน มักฝังตัวอยู่ในชั้นกรวดคาดว่าจะเกิดสะสมตัวอยู่ในยุคของควอเทอร์นารีตอนต้น เป็นบริเวณรอยต่อระหว่างตะกอนพักระดับสูง และตะกอนพักระดับปานกลาง ล้อมรอบด้วยตะกอนพักระดับต่ำๆ อายุประมาณแปดแสนปี
    ทั้งหมดนี้มีให้คุณสัมผัสได้ ณ เมืองแห่งเกียรติภูมิสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตากครับ

    สุดท้ายต้องขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก

    - วนอุทยานแห่งชาติไม้กลายเป็นจังหวัดตาก
    - การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตาก โทร.0-5551-4341-3, Email Address: tattak@tat.or.th

    ยุคควอเทอร์นารี คืออะไร?

    ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary Period ) เป็นช่วงเวลาทางธรณีวิทยาเมื่อประมาณ 1.6 ล้านปีที่ผ่านมา เป็นยุคที่สองที่อยู่ในมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era) แบ่งออกได้เป็น 2 สมัย คือ สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) มีอายุประมาณตั้งแต่ 1.6 ล้านปีจนถึง 10,000 ปี และสมัยโฮโลซีน (Holocene Epoch) มีอายุประมาณตั้งแต่ 10,000 ปีจนถึงปัจจุบัน ยุคนี้ได้ประมวลเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาตลอดจนการสะสมของตะกอนดินทรายบนผิวโลก นับตั้งแต่สิ้นยุคเทอร์เชียรี (Tertiary Period ) เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคควอเทอร์นารี ครับผม

    อ้างอิงจาก: http://th.wikipedia.org
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย sk007 : 2nd October 2014 เมื่อ 19:57

  2. รายชื่อสมาชิกจำนวน 16 คนที่กล่าวขอบคุณ:


  3. #2
    I Love Movie
    วันที่สมัคร
    Nov 2011
    ที่อยู่
    HOME
    กระทู้
    3,959
    กล่าวขอบคุณ
    1,381
    ได้รับคำขอบคุณ: 7,072
    เค้ารู้ได้ไงว่ามันอายุ 800,000 ปี หว่า

  4. #3
    Avalanche's Fanboy
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    3,743
    กล่าวขอบคุณ
    574
    ได้รับคำขอบคุณ: 3,138
    โดยปกติเค้าจะเอาดินรอบๆไปตรวจครับ

  5. #4
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Oct 2012
    ที่อยู่
    ที่ไหนซักที่แหละ
    กระทู้
    370
    กล่าวขอบคุณ
    120
    ได้รับคำขอบคุณ: 210
    อย่าใช้คำว่า "อัศจรรย์!" เลยนะครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติไป มันก็แค่ต้นไม้กลายเป็นหินที่มีโอกาศเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ

  6. #5
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    471
    กล่าวขอบคุณ
    291
    ได้รับคำขอบคุณ: 417
    อ้างถึง กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ Turbosapien อ่านกระทู้
    อย่าใช้คำว่า "อัศจรรย์!" เลยนะครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติไป มันก็แค่ต้นไม้กลายเป็นหินที่มีโอกาศเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ
    มันเกิดยากพอๆกับการเกิดเพชรตามธรรมชาติเลยนะคับ โดยเฉพาะชิ้นใหญ่ขนาดนี้ แถมมาเป็นลำต้นทั้งต้นเลย (ปกติผมเคยเห็นแต่ชิ้นเล็กๆ เหมือนขอนไม้โดนตัด)

    นึกดูว่าต้นไม้ต้นนั้นต้องเจออะไรระหว่าง 800,000 ปี

    ต้องไม่โดนปลวกกิน
    ต้องไม่โดนพายุพัดโหมกระหน่ำจนหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
    ต้องไม่โดนไฟเผา
    ต้องไม่โดนสัตว์ใหญ่กิน หักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
    ต้องไม่โดนจุลินทรีย์ย่อยสลาย
    ต้องมีแร่ธาตุมาแทรกซึมเข้าสูเนื้อไม้อย่างทั่วถึง
    ต้องไม่โดนแรงกดทับจากดินด้านบนจนกลายเป็นน้ำมัน (ซากพืชซากสัตว์ + แรงดัน + ความร้อน = น้ำมันดิบ/แก๊สธรรมชาติ)

  7. รายชื่อสมาชิกจำนวน 4 คนที่กล่าวขอบคุณ:


  8. #6
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Aug 2012
    กระทู้
    246
    กล่าวขอบคุณ
    70
    ได้รับคำขอบคุณ: 95
    ประเทศไทย คงต้องมีการผูกผ้า สามสี จุดธูปขอหวยกันเลย (แซวนะขำๆ)

  9. #7
    ชอบดูไม่ชอบโพสต์
    วันที่สมัคร
    Nov 2011
    กระทู้
    73
    กล่าวขอบคุณ
    87
    ได้รับคำขอบคุณ: 8
    อย่าลืมเอาร่มไปน่ะครับ แถวนั้นมันร้อน

  10. #8
    Shinzengumi Minor Boss
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    ที่อยู่
    Shinzengumi Office
    กระทู้
    2,027
    กล่าวขอบคุณ
    6,667
    ได้รับคำขอบคุณ: 1,119
    อ้างถึง กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ PreciousTar อ่านกระทู้
    เค้ารู้ได้ไงว่ามันอายุ 800,000 ปี หว่า
    เค้ามีวิธีตรวจครับ รู้สึกว่าจะใช้ Carbon-14 ในการตรวจ ถ้าจำไม่ผิด

  11. #9
    คนเรื่อยเปื่อยชอบดูAT
    วันที่สมัคร
    Jul 2012
    กระทู้
    544
    กล่าวขอบคุณ
    158
    ได้รับคำขอบคุณ: 575
    Blog Entries
    1
    อ้างถึง กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ PreciousTar อ่านกระทู้
    เค้ารู้ได้ไงว่ามันอายุ 800,000 ปี หว่า
    เค้ารู้โดยการวัดปริมาณคาร์บอนครับ
    คนในบอร์ด

  12. #10
    ชอบสถิตย์อยู่บอร์ด IT
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    ที่อยู่
    ยะลา
    กระทู้
    1,418
    กล่าวขอบคุณ
    35
    ได้รับคำขอบคุณ: 912
    อ้างถึง กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ PreciousTar อ่านกระทู้
    เค้ารู้ได้ไงว่ามันอายุ 800,000 ปี หว่า
    เค้ารู้โดยการวัดปริมาณคาร์บอนครับ //ข้อความลูกโซ่ 5555

  13. #11
    ชอบดูไม่ชอบโพสต์
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    81
    กล่าวขอบคุณ
    1
    ได้รับคำขอบคุณ: 53
    อ้างถึง กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ kachanking อ่านกระทู้
    มันเกิดยากพอๆกับการเกิดเพชรตามธรรมชาติเลยนะคับ โดยเฉพาะชิ้นใหญ่ขนาดนี้ แถมมาเป็นลำต้นทั้งต้นเลย (ปกติผมเคยเห็นแต่ชิ้นเล็กๆ เหมือนขอนไม้โดนตัด)

    นึกดูว่าต้นไม้ต้นนั้นต้องเจออะไรระหว่าง 800,000 ปี

    ต้องไม่โดนปลวกกิน
    ต้องไม่โดนพายุพัดโหมกระหน่ำจนหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
    ต้องไม่โดนไฟเผา
    ต้องไม่โดนสัตว์ใหญ่กิน หักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
    ต้องไม่โดนจุลินทรีย์ย่อยสลาย
    ต้องมีแร่ธาตุมาแทรกซึมเข้าสูเนื้อไม้อย่างทั่วถึง
    ต้องไม่โดนแรงกดทับจากดินด้านบนจนกลายเป็นน้ำมัน (ซากพืชซากสัตว์ + แรงดัน + ความร้อน = น้ำมันดิบ/แก๊สธรรมชาติ)
    มันโดนลาวาท่วมรึเปล่า

  14. #12
    ชอบดูไม่ชอบโพสต์
    วันที่สมัคร
    Aug 2014
    กระทู้
    40
    กล่าวขอบคุณ
    20
    ได้รับคำขอบคุณ: 77
    ที่เดียวกันชัวร์

    ม้กลายเป็นหินในวนอุทยานไม้กลายเป็นหินบ้านตาก จ. ตาก หลุมขุดค้นที่ 1 เป็นไม้ทองบึ้ง Koompassioxylon elegans

    หนึ่งในเจ็ดหลุมขุดค้นไม้กลายเป็นหินในวนอุทยานไม้กลายเป็นหิน อำเภอบ้าตาก จังหวัดตาก



  15. #13
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    1,253
    กล่าวขอบคุณ
    5
    ได้รับคำขอบคุณ: 228
    ใครพอจะรู้ไหมครับยุคปัจจุบันเขามีชื่อเรียกเหมือนพวกยุคควอเทอร์นารีไรพวกนี้ไหมครับ

  16. #14
    ヾ(@⌒ー⌒@)ノGhibli-Lover( ゚д
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    2,110
    กล่าวขอบคุณ
    9,171
    ได้รับคำขอบคุณ: 1,214
    เค้าวันปริมาณคาร์บอนคับ 555

    ปล.ตามเค้า

  17. #15
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    322
    กล่าวขอบคุณ
    159
    ได้รับคำขอบคุณ: 448
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลแปลกใหม่


 

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •  
Back to top