ยินดีต้อนรับเข้าสู่ jokergameth.com
jokergame
jokergame shop webboard Article Social


Colocation, VPS


joker123


เว็บไซต์เราจะอยู่ไม่ได้หากขาดเขาเหล่านี้ รวมช่วยกันสนับสนุนสปอนเซอร์ของพวกเรา

colocation,โคโลเคชั่น,ฝากเซิร์ฟเวอร์ game pc โหลดเกม pc slotxo Gameserver-Thai.com Bitcoin โหลดเกมส์ pc
ให้เช่า Colocation
รวมเซิฟเวอร์ Ragnarok
Bitcoin

กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1
  1. #1
    ชอบดูไม่ชอบโพสต์
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    ที่อยู่
    Land of Smiles
    กระทู้
    59
    กล่าวขอบคุณ
    63
    ได้รับคำขอบคุณ: 153
    Blog Entries
    1

    Arrow [พอหาสาระได้บ้าง] มหัศจรรย์แห่งดนตรีกาล ; Usher Waltz Opus 29 โมเดิร์นคลาสสิคคอลจากแดนหมีขาว (คลาสสิกกีตาร์)

    • มหัศจรรย์แห่งดนตรีกาล ; Usher Waltz Opus 29 โมเดิร์นคลาสสิคคอลจากแดนหมีขาว •

    Blog Entry ; Available

    ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
    อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์
    ฤาอุบายมุ่งร้ายฉมังนัก มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี
    และดวงใจย่อมดำสกปรก ราวนรกชนเช่นกล่าวมานี้
    ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้ เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ


    พระราชนิพนธ์แปล ในโดยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าอยู่หัว
    เกริ่นมาซะคมคายเชียวกับกระทู้แรกของข้าพเจ้าที่น่าจะพอ หาสาระได้บ้าง หุๆ ข้าพเจ้าแม้จะไม่เชียวทางดนตรี แต่โดยส่วนตัวถือว่า (ก็น่าจะอ่ะนะ) ฟังดนตรีมาหลากหลายพอสมควร เพราะดนตรี อยู่คู่กับมนุษย์มาเนิ่นนาน ผ่านวิวัฒนาการหลายเจเรอเรชั่น ผ่านการรวมยำผสมผสาน เกิดความหลากหลายไม่จบสิ้น แต่สิ่งที่ทำให้ดนตรีแต่ละประเภทยังมีตัวตนอยู่จนถึงทุกวันนี้คือ "ความเป็นเอกลักษณ์" ของตัวมันเอง จากที่เราเห็นได้ในหลายยุคหลายสมัยต่างก็มีกลิ่นอาย และ อิทธิพลที่ได้รับต่างกันไป
    ไล่มาตั้งแต่สมัย Classic ยุคแรก Baroque, Classical ,Romantic , ไปจนถึงยุค Country ในสมัยพวกคาวบอยหัวหงอกยังแหกปากร้องเพลงกับกีตาร์คู่ใจ ยุค Rat Pack ของคนขาว เข้าสู่ ศตวรรษที่ 20 ยุค Jazz ของคนผิวสี ยุค Blue ยุค Soul แตก ไล่มาจนถึง Rock and Roll , Disco , Pop , Metal จนแตกแขนงออกมาอีกมายมายสารพัดไม่จบสิ้นในปัจจุบันทั้ง Indie ,R and B ,Null Metal, Lagoon Jazz , Death Core , และอื่นๆ

    หากแต่เพียงดนตรีทั้งหลายเหล่านี้มีพื้นฐานหรือ Origin มาจากยุค Classic ที่กล่าวมาแทบทั้งสิ้น ซึ่งในยุคนั้นถือได้ว่าเป็นที่สุดของที่สุดเลยนะจ้ะ ลองเช็คประวัตินักประพันธ์ก็จะพบถึงความ'อัจฉริยะ' ของแต่ละท่าน

    เอาเหอะ ข้าพเจ้าไม่ได้มาถึงจุดนี้เพื่อมาสอนวิชาดนหรีหรอกนะ (ตัวเองยังงูๆปลาๆเลย) แต่หากพูดถึงกีตาร์คลาสสิก ก็เป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการดนตรี สิ่งที่สวยงาม และแสดงถึงเอกลักษณ์ได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน กีตาร์คลาสสิกใช้ผู้เล่นเพียงคนเดียว ไม่ต้องขนมาเล่นทั้งวงคอนแชร์โต (เว้นแต่จะอยาก) หากเปรียบกับผู้หญิงก็เป็นผู้หญิงที่ดูลึกลับ แต่มีเสน่ห์น่าค้นหาติดตาม มีความเป็นตัวของตัวเองและแสดงให้เป็นถึงชาติพรรณของผู้ให้กำเนิดของเธอ (เปรียบกับผู้ประพันธ์)
    หากเปรียบกับผู้ชาย ก็จะเป็นผู้ชายที่ออกแนวฮาร์ด-บอล์ย ดูดีมีราศี สง่า และผ่าเผย (แต่ไม่เกย์)
    น่าติดตาม และน่าค้นหา ... ห๊ะ!?

    ยังไงก็ตามก่อนที่จะหลุดออกทะเลไปมากกว่านี้ ข้าพเจ้าจะมากล่าวถึงบทเพลงบรรเลงกีตาร์ที่จัดอยู่ในกลุ่มเป็นเพลงคลาสสิก
    ใช้กีตาร์คลาสสิกในการบรรเลง (ต่างจากอคูสติกโดยจะมีคอที่กว้างกว่า สายจะเป็นเอ็น และ มีราคาและคุณภาพเสียงที่สูงกว่า ประกอบกับต้องใช้ฝีมือในการเล่นสูงมาก) ปกติ ผชดต. (ย่อมาจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี) จะให้เพลงจำพวกคลาสสิกเป็นเพลงที่ประพันธ์เมื่อหลายร้อยปีขึ้นไป แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นสำหรับเพลงที่แม้ผู้ประพันธ์ยังมีชีวิตอยู่ ในปัจจุบัน แต่ประพันธ์บทเพลงโดยยังคงกลิ่นอาย และรูปแบบของเพลงยุค'คลาสสิก' เอาไว้

    โดยบุคคลที่จะกล่าวถึงก็คือ แท่น แทน แท๊น!


    Nikita Koshkin (เกิด 1956)



    คุณลุงตุ๊บป่องชาวรัสเซีย ผู้ซึ่งได้รับอิทธิพลจากเพลงในยุค Rat Pack เป็นผู้ประพันธ์บทเพลง Usher Waltz Opus 29 ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นผลงานำพวกคลาสสิกยุคใหม่ที่ทรงคุณค่าที่สุด (ผลงานที่เหลือออกหนักไปทางแนว Jazz) โดย
    อ้างอิงจากวรรณกรรมของ Edgar Allan Poe [[The Fall of the House of Usher] แต่งให้นักกีตาร์ที่มีชื่อเสียงอย่าง Vladislav Blaha] (พูดภาษาง่ายๆหน่อยก็คือ : เป็นเพลงคลาสสิกยุคใหม่เพราะคนแต่งยังไม่ตาย)


    เป็นเพลงที่แสดงให้เป็นถึงความเป็นรัสเซียแบบเต็มสูบ สะท้อนให้เป็นถึงความงดงาม ความลื่นไหล
    บทเพลงเริ่มต้นด้วยการเล่นแบบ Harmonic (ปล.สาวกชาวร็อคคงรู้กัน หุๆ) แถวๆ A minor แล้วก้เริ่มบรรเลง
    ในช่วงแรกๆจะเห็นถึงความวิจิตรบรรจงของชาติพรรณชาวรัสเซียอย่างหนัก เมื่อไปถึงกลางๆเพลงที่จุดไคลเม็กซ์จะเป็นการเล่นแบบ "บ้าพลัง" ในสไตล์ 'Bartok Pizzicato' (บรรเลงหรือตีให้สายติดกับฟิงเกอร์บอร์ด ออกทำนองดุดัน ห้วน และรวดเร็ว)
    จากนั้นก็กลับเข้าสู่ทำนอง Harmonic อีกครั้งในรูปแบบสั่นก่อนจะปิดฉากอย่างงดงาม


    สุดท้ายนี้แม้หลายๆคนอาจจะบ่นว่าเพลงเชี่ย'ไรฟังไม่รู้เรื่อง ก็ไม่เป็นไร เพราะว่าบุคคลที่จะสามารถฟังเพลงคลาสสิกได้บรรลุ ต้องเป็นพวก "หัวถึง" ของแบบนี้คงต้องฟังบ่อยๆ แต่หากคุณๆทนฟังเพลงนี้ได้จนจบ ก็อาจจะซาบซึ้งได้ถึงความวิจิตร
    ตระการตาของการใส่ลูกเล่นและจิตวิญญาณความเป็นชาติพรรณของ ที่แฝงไว้ในบทเพลง
    ก็เป็นได้

    ปล.ถ้าฟังสลับกับเพลงของวง Slipknot จะได้อารมณ์มากขอบอก หากฟังสลับกับแนวอินดี้นี่ไม่ขอแนะนำเพราะท่านอาจจะเลี่ยนได้


    Usher Waltz Op.29 เวอร์ชั่นบรรเลงโดยพระเจ้าแห่งการบรรเลงกีตาร์คลาสสิก [บร๊ะเจ้า John Williams]



    Usher Waltz Op.29 เวอร์ชั่นบรรเลงโดย Asya Selyutina (แม้จะเพลงเดียวกัน เล่นออกมาก็จะเป็นธรรมนองเดียวกันแต่จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันตามสไตล์ของผู้เล่น)



    พล่ามโดย ; lattedog@jkg
    joker123
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย lattedog : 30th July 2011 เมื่อ 14:45
    กระทู้นี้เรนเดอร์ด้วย Unreal Engine™ Samaritan™


 

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •  
Back to top