ยินดีต้อนรับเข้าสู่ jokergameth.com
jokergame
jokergame shop webboard Article Social


Colocation, VPS


joker123


เว็บไซต์เราจะอยู่ไม่ได้หากขาดเขาเหล่านี้ รวมช่วยกันสนับสนุนสปอนเซอร์ของพวกเรา

colocation,โคโลเคชั่น,ฝากเซิร์ฟเวอร์ game pc โหลดเกม pc slotxo Gameserver-Thai.com Bitcoin โหลดเกมส์ pc
ให้เช่า Colocation
รวมเซิฟเวอร์ Ragnarok
Bitcoin

กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2
  1. #1
    ถูกระงับใช้งาน (Banned)
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    314
    กล่าวขอบคุณ
    111
    ได้รับคำขอบคุณ: 2,012

    ความเป็นมาของหนังสือ



    เมื่อหนึ่งร้อยปีก่อน การที่จะหาหนังสือตำราสักเล่มเพื่อใช้ศึกษาหาความรู้ดูจะเป็นเรื่องยากและลำบากยิ่ง โดยเฉพาะหนังสือตำราในวงการครู ดูเหมือนจะมีวารสาร “วิทยาจารย์” เพียงเล่มเดียวเท่านั้นที่จัดพิมพ์ขึ้นให้ครูได้ศึกษาหาความรู้และอ่านข่าวทางราชการ

    “วิทยาจารย์” เป็นวารสารของวิชาชีพครูฉบับแรกในประเทศไทย ดำเนินงานโดยคุรุสภา มีสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเป็นเจ้าของและผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ได้จัดพิมพ์และเผยแพร่มากว่าหนึ่งร้อยปี

    “วิทยาจารย์” เกิดขึ้นจากการที่คณะครูและนักเรียนโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ได้หารือกันว่า สมควรที่จะมีวารสารทางการศึกษาขึ้นมาสักฉบับหนึ่ง เพื่อเป็นเวทีในการแสดงออกทางวิชาการในหมู่อาจารย์และผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นครูอาจารย์ในอนาคต ให้ได้ทราบข่าวความเคลื่อนไหวทางการศึกษา พร้อมทั้งสรรพวิชาทั้งมวล อันมีสารัตถประโยชน์และมีความก้าวหน้าที่หลากหลาย ประกอบกับทางกรมศึกษาธิการพิจารณาเห็นว่า หากมีวารสารที่พิมพ์เผยแพร่เป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ก็จะช่วยเสริมเติมเต็มการสั่งการหรือการประชุมทางราชการปกติได้มากขึ้น

    วารสารวิทยาจารย์ (ในสมัยแรกเริ่มเรียกว่า “หนังสือพิมพ์วิทยาจารย์”) ฉบับปฐมฤกษ์ที่มีโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เป็นเจ้าของ ได้ตีพิมพ์และออกวางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443) นับเป็นปีที่ 33 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีกำหนดออกปีละ 1 เล่ม โดยทยอยออกเป็นตอนๆ จำนวน 12 ตอน (เดือนละ 1 ตอน) แต่ละตอนบรรจุเนื้อหาไว้ประมาณ 40 หน้า และจัดพิมพ์เรียงหน้าต่อกัน คือ ตอนที่ 1 เริ่มจากหน้า 1-40 ตอนที่ 2 เริ่มจากหน้า 41-80 ต่อกันจนครบ 12 ตอน พอปีถัดไปก็จะขึ้นหน้า 1 ใหม่ บางปีกำหนดออก 24 ตอนก็มี จำนวนหน้าที่พิมพ์ก็ขึ้นอยู่กับเรื่องราวที่นำเสนอว่ามากน้อยเพียงใด

    “วิทยาจารย์” สมัยแรกๆ พิมพ์ที่โรงพิมพ์สรรพกิตย์ธนากร คราวแรกพิมพ์ 500 ฉบับ ขนาดหนังสือ 6 x 8 ½ นิ้ว เย็บอก (มุงหลังคา) ไม่มีปก จำหน่ายในราคาเล่มละ 48 อัฐ โดยสมาชิกจะได้รับ “วิทยาจารย์” ติดต่อกันครบทุกตอนเป็นประจำจนครบ 1 เล่ม

    “วิทยาจารย์” ได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ เริ่มจากการเพิ่มหน้า เพิ่มปก และจัดทำดัชนีท้ายเล่ม พร้อมกับปรับปรุงรูปแบบของตัวเรียงให้สวยงามน่าอ่าน นอกจากนั้นยังได้ปรับปรุงโครงสร้างของวารสาร โดยได้นำประกาศคำสั่ง สถิติทางการศึกษา การตอบปัญหาข้อราชการ และเรื่องชวนหัวเข้ามาลงพิมพ์ไว้อีกด้วย

    เมื่อมีการก่อตั้งคุรุสภาขึ้นตามพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 “วิทยาจารย์” จึงเปลี่ยนเจ้าของจากสามัคยาจารย์สมาคมมาเป็นของคุรุสภา ขณะนั้นมีการจัดตั้งโรงพิมพ์คุรุสภาขึ้น โดยพัฒนามาจากโรงพิมพ์วัดสังเวชที่สามัคยาจารย์สมาคมได้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 ทำให้รูปโฉมของวิทยาจารย์มีความทันสมัยมากขึ้นเป็นลำดับ เมื่อโรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าวเติบใหญ่ขึ้นจนเป็นโรงพิมพ์ที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียอาคเนย์ “วิทยาจารย์” จึงได้จัดพิมพ์ในระบบออฟเซทครั้งแรก พร้อมกับนำขนาดกระดาษมาตรฐานสากลมาใช้ อักษรและภาพที่พิมพ์ก็เปลี่ยนจากบล็อกตะกั่วมาเป็นเพลทสังกะสี

    อย่างไรก็ดี ความยากของการพิมพ์ระบบออฟเซทอยู่ที่การทำเพลทแม่พิมพ์ต้นฉบับซึ่งต้องการห้องมืดและต้องใช้สารเคมีต่างๆ ในการจัดทำ ทำให้ “วิทยาจารย์” ไม่สามารถออกได้ทันตามกำหนดในแต่ละเดือน เป็นเหตุให้สมาชิกของ “วิทยาจารย์” ลดลง ประกอบกับราคาค่ากระดาษแพงขึ้นทุกปี แต่ “วิทยาจารย์” ยังคงตรึงราคาปกเท่าเดิม จึงทำให้ต้องงดพิมพ์ไปบ้างเป็นบางเดือนตามความจำเป็น

    ในปี พ.ศ. 2532 คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาได้มีมติให้องค์การค้าของคุรุสภาจัดพิมพ์ “วิทยาจารย์” ต่อจากคุรุสภา โดยองค์การค้าฯ ได้พิมพ์ “วิทยาจารย์” แจกฟรีให้แก่โรงเรียน โรงเรียนละ 1 เล่ม แต่หากสมาชิกของคุรุสภาหรือบุคคลทั่วไปสนใจก็สามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้ โดยมตินี้ทำให้ “วิทยาจารย์” ยังคงเป็นวารสารเก่าแก่ของครูไทยตลอดมา

    เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ โดยประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และมีการตรากฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพครู คือพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ตามมา ทำให้คุรุสภาต้องปรับโครงสร้างภายใน เกิดองค์กรขึ้น 2 องค์กร คือ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า “คุรุสภา” ทำหน้าที่ด้านมาตรฐานวิชาชีพหลักใหญ่ และ “คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา” ทำหน้าที่ในการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู การปฏิรูปภายในองค์กรของคุรุสภาครั้งนี้ ทำให้ “วิทยาจารย์” ขาดหายไปจากแวดวงวารสารระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาคณะกรรมการคุรุสภาได้มีมติให้คุรุสภารับโอนวารสารวิทยาจารย์จากองค์การค้าของคุรุสภามาดำเนินการต่อ และได้มีการออกวารสารวิทยาจารย์ขึ้นอีกครั้ง ตั้งแต่ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2548 เป็นต้นมา

    ในยุคนี้ “วิทยาจารย์” ได้ปฏิรูปตัวเองด้วยการปรับรูปเล่มให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นขนาด A4 (210 x 297 มม.) มีปกสี่สีสวยงาม ภายในพิมพ์ด้วยกระดาษปอนด์ตลอดทั้งเล่ม ทั้งหน้าขาวดำและหน้าสี่สี ด้วยมาตรฐานอันดีของวารสาร ส่งผลให้นักวิชาการ นักคิด นักเขียน และนักวิจารณ์ ส่งบทความมาลงตีพิมพ์กว้างขวางขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

    แม้ว่าจะมีเหตุให้การดำเนินการต้องสะดุดหยุดลงบ้างด้วยเหตุการณ์แวดล้อมในแต่ละยุคแต่ละสมัย ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน หรือการนำเสนอเรื่องราวที่กระทบต่อการบริหารหรือผู้มีอำนาจ แต่ด้วยพลังแห่งศรัทธาและอำนาจแห่งความดี รวมทั้งคุณูปการของครูที่มีต่อแผ่นดิน “วิทยาจารย์” ก็ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้จนครบปีที่ 109 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 และจะยังคงอยู่เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาไทยตลอดไป

    แหล่งข้อมูล : www.withayajarn.com

  2. รายชื่อสมาชิกจำนวน 2 คนที่กล่าวขอบคุณ:


  3. #2
    • All is fair in love
    วันที่สมัคร
    Mar 2012
    ที่อยู่
    เชียงใหม่
    กระทู้
    1,200
    กล่าวขอบคุณ
    4,478
    ได้รับคำขอบคุณ: 906
    ยาวนะครับเนื่ยแต่ก็เป็นความรู้รอบตัว


 

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •  
Back to top