ยินดีต้อนรับเข้าสู่ jokergameth.com
jokergame
jokergame shop webboard Article Social


Colocation, VPS


joker123


เว็บไซต์เราจะอยู่ไม่ได้หากขาดเขาเหล่านี้ รวมช่วยกันสนับสนุนสปอนเซอร์ของพวกเรา

colocation,โคโลเคชั่น,ฝากเซิร์ฟเวอร์ game pc โหลดเกม pc slotxo Gameserver-Thai.com Bitcoin โหลดเกมส์ pc
ให้เช่า Colocation
รวมเซิฟเวอร์ Ragnarok
Bitcoin

กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5
  1. #1
    จะเครียดทำไมก็ยิ้มเข้าไว้
    วันที่สมัคร
    Aug 2011
    ที่อยู่
    เมืองตาก
    กระทู้
    287
    กล่าวขอบคุณ
    2,041
    ได้รับคำขอบคุณ: 1,865

    มาลำลึกความหลังกัน!!! เปิดตำนาน เกมดราก้อนบอล ข้อมูลและภาพแน่นและเยอะมากครับ



    กลับมาพบกันอีกครั้งกับกระสวยเวลา ที่จะพาคุณย้อนกลับไปในยุคสมัยอันหอมหวานของเกมเก่าในวันวาน ผมคิดว่าหลายคนคงจะมีความทรงจำกับการ์ตูนเรื่องนี้กันไม่น้อย เพราะมันคือตำนานของวงการการ์ตูนที่เป็นจุดเริ่ม และเป็นแรงบันดาลใจของสิ่งต่างๆมากมาย บางท่านจะทราบหรือไม่ว่า "อุซึมากิ นารูโตะ" มีต้นแบบมาจากโกคู ที่เห็นง่ายๆก็คือสีของเครื่องแต่งกาย เพราะว่าผู้เขียนเรื่องนินจาคาถานั้นเป็นแฟนตัวยงของดราก้อนบอลมาตั้งแต่เยาว์วัยนั่นเอง (ขอบคุณภาพประกอบตลับเกมจากร้าน love game shop)



    ตำนานลูกแก้วทั้งเจ็ดนี้เป็นตัวจุดประกายไอเดียหลายๆอย่างให้กับทั้งวงการเกมและการ์ตูน การปล่อยพลัง การเหาะเหินสู้กันกลางเวหา สิ่งเหล่านี้ถูกนำมาดัดแปลงในหลายๆผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดราก้อนบอล



    สำหรับตัวผมเอง นอกจากโดราเอม่อนแล้ว ดราก้อนบอลก็เป็นเพื่อนอีกเรื่อง ที่เหมือนกับว่าโตมาด้วยกันกับเรา มีความผูกพันธ์กับมัน ทั้งอ่าน ทั้งดู ทั้งเล่น และทั้งวาดเลียนแบบ สมัยมัธยมต้นผมเคยวาดการ์ตูนดราก้อนบอลใส่้สมุดเป็นเล่มๆ โดยมีศัตรูและเนื้อเรื่องที่คิดขึ้นมาเองตามประสาเด็กๆ แล้วไอ้เพื่อนข้างห้องก็ยืมไปอ่่าน เพื่อนๆหลายคนก็ยืมอ่าน บอกว่าเอ็งวาดสวยดี (ยอตัวเองนิดนึง) แล้วสุดท้ายก็โดนครูยึดไป เพราะเพื่อนมันเอามานั่งอ่านในเวลาเรียน ครูเลยบอกว่าจะเอาไปให้ลูกที่บ้านอ่านบ้าง ผมจึงไม่ได้ต้นฉบับคืน คิดแล้วยังเซ็งถึงทุกวันนี้

    กลับมาว่ากันในประเด็นต่อ สำหรับการย้อนเวลารอบนี้ เราจะเจาะลึกไปที่เกมดราก้อนบอลระบบ RPG ในช่วง 8 bits และ 16 bits เท่านั้นนะครับ ถ้าจะเอาหมดทุกภาคคงต้องใช้เนื้อที่เกินครึ่งฉบับ อิอิ




    ดราก้อนบอลเป็นผลงานของอาจารย์ โทริยามะ อากิระ เริ่มเขียนตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2527 จนจบในปีพ.ศ. 2538 รวมทั้งหมด 325 ตอน เรื่องราวเริ่มตั้งแต่วัยเด็กของซุนโกคูที่ช่วงแรกเป็นแนวแอ็คชั่นผสมคอมเมดี้ทะลึ่งตึงตัง ตามหาลูกแก้วทั้ง 7 จนมาเข้าสู่เนื้อหาของการประลองยุทธ์ และการต่อสู้ที่ขยายกว้างไปถึงระดับนอกโลก ส่งต่อจากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก

    ดราก้อนบอลประสบความสำเร็จตั้งแต่ช่วงแรกที่ปรากฏออกสู่สายตานักอ่าน ด้วยเนื้อหาแอ็คชั่นและสนุกสนาน แม้ว่าเกือบทั้งเรื่องมีแต่การต่อสู้ แต่นั่นเป็นการต่อสู้ที่ทำเพื่อปกป้องผู้อื่น ดังที่โกคูได้สอนเด็กๆมาโดยตลอด จะบอกว่าโกคูเป็นพระเอกตัวจริงที่ไม่คิดจะฆ่าหรือทำร้ายศัตรู แต่เขายังหวังให้ศัตรูของเขากลับตัวกลับใจด้วย เหมือนเช่นที่พิคโกโร่และเบจิต้าเป็นอยู่นั่นไง




    Dragon Ball: Dragon Daihikyo
    Epoch Cassette Vision
    27 กันยายน 1986





    เกมแรกของดราก้อนบอลได้ออกโลดแล่นในจอ หลายคนอาจจะไม่ทราบมาก่อนเลยว่ามันมีเกมนี้ด้วยหรือ เป็นเกมในระบบ Super Cassette Vision อันเป็นเครื่องคอนโซลของค่าย Epoch ซึ่งไม่ได้รับความนิยมและหายากมาก เกมนี้เป็น shooting แนวตั้ง ให้เราบังคับโกคูขี่เมฆสีทองยิงพลังใส่ศัตรูจำพวกสัตว์และแมลงในฉาก แล้วก็หวดด้วยกระบองวิเศษ กราฟิคเห็นแล้วอนาถใจในยุคปัจจุบัน แต่สมัยนั้นได้แค่นี้ก็โอเคแล้วละครับ เกมนี้ถือเป็นเกมเดียวของดราก้อนบอล ที่ไม่ได้เป็นงานที่ค่าย Bandai มีส่วนร่วมในการผลิต



    Dragon Ball: Shenlong no Nazo
    Famicom
    27 พ.ย. 1986



    หลังจากนั้นเดือนเดียวก็มีเกมจากค่าย Bandai ซึ่งทำลงระบบ Famicom ออกมา นับว่าเป็นการเปิดศักราชความยิ่งใหญ่ของดราก้อนบอลบนเครื่องเกมตระกูลนินเทนโด ที่หลังจากนี้จะตามมาอีกเป็นสิบๆเกม เราเล่นเป็นโกคูเดินอัดศัตรูในฉากที่มีมุมมองกึงด้านบน (คล้ายๆเดินในดันเจี้ยน) เนื้อหาหยิบเอาช่วงสองเล่มแรกมาใช้ ศัตรูส่วนใหญ่ก็เป็นตัวสิงสาราสัตว์ทั้งหลาย เกมเล่นยากจนน้ำตาไหลริน แต่ว่าในเวอร์ชั่นฝรั่งกลับดัดแปลงใหม่ ให้ตัวโกคูกลายเป็นลิงจ๋อ ซึ่งคงกะให้กลายเป็นเกมไซอิ๋วกระมัง (ขณะนั้นดราก้อนบอลยังไม่โด่งดังในตะวันตกเหมือนทุกวันนี้) หน้าปกเกมก็อย่างที่เห็นคือไปกันคนละเรื่องเลย ส่วนชื่อตัวละครก็ถูกเปลี่ยนทั้งหมด



    Dragon Ball: Daima-o Fukkatsu
    Famicom
    12 สิงหาคม 1988





    เนื้อหาในการ์ตูนช่วงนั้นเริ่มเข้มข้นขึ้น เมื่อมีศัตรูตัวร้ายอย่างราชาปีศาจพิคโกโร่ ดังนั้นเกมจึงต้องออกตามมาติดๆ ภาคนี้เป็นครั้งแรกที่ใช้ระบบ board ใส่คำสั่ง รวมทั้งครั้งแรกที่มีการใช้การ์ด หรือที่เรียกว่า "เปิดไพ่" โดยเราจะต้องเดินในช่องตามกระดานที่เปรียบเสมือน world map ที่จะมีเหตุการณ์หรือศัตรูในจุดต่างๆ บางครั้งก็มีตัวละครโผล่มาให้ข้อมูลกับเรา (แต่ตูอ่านไม่ออก)

    และบางทีก็จะเป็นการต่อสู้ที่ตัดเข้าหน้าจออีกแบบหนึ่ง โดยจะมีหน้าต่างแบ่งเป็นช่องๆ เพื่อแสดงถึงอนิเมชั่นการต่อสู้่ที่มาแบบเป็นเฟรมทีละเสตป คาดว่าตอนนั้นเทคโนโลยีในการทำฉากอนิเมชั่นต่อสู้ยังไม่เอื้อที่จะทำได้ จึงต้องตัดมาเป็นเฟรมแบบนี้ การเปิดไพ่เพื่อดวลกับศัตรูบอกตามตรงว่ทุกวันนี้ผมยังไม่ค่อยรู้กติกาของเกมภาคนี้เลยครับ ฮี่ อาศัยเปิดเอามั่วๆวัดดวง

    เกมนี้ไม่ค่้อยได้รับความนิยมในบ้านเราเท่าไร เพราะเล่นยาก แถมมีคำสั่งภาษาปลาดิบยุ่บยั่บ เริ่มเกมมาก็ต้องสำรวจในบ้านผู้เฒ่าเต่า ซึ่งจะมีให้่เลือกคำสั่งเลี้ยวซ้ายขวา เดินสำรวจหรือคุยตรงนั้นตรงนี้ แต่ภาพมันดูไม่ค่อยเข้าใจ เพราะมีแต่หน้าต่างคำสั่ง กับภาพนิ่งๆ ไม่ได้เป็นอนิเมชั่นที่เดินไปเดินมาในแผนที่แต่อย่างใด เด็กไทยเลยงมกันนานกว่าจะผ่านไปต่อได้ (แค่ฉากแรกนะเนี่ย)
    ---------------------------------------------




    Dragon Ball 3: Goku Den
    Famicom
    27 ตุลาคม 1989


    [IMG]


    เนื้อเรื่องจับเอาตั้งแต่เล่มหนึ่งไปยันช่วงที่สู้กับมาร์จูเนียร์ (พิคโกโร่ตัวลูก) และเป็นครั้งแรกที่เราจะได้บังคับเป็นตัวละครอื่น นอกเหนือจากโกคู นั่นคือคุริลินและยามูชา (หยำฉา) ระบบของภาคนี้ยังเป็นแนวบอร์ดเกมให้เดินตามช่องเหมือนกับภาคก่อน โดยเลือกไพ่ที่มีจำนวนแต้มเป็นตัวกำหนดจำนวนก้าว รวมทั้งไพ่ก็ยังใช้ในการต่อสู้ซึ่งเราต้องเลือกไพ่มาวัดแต้มกับศัตรู


    โดยแต่ละใบจะมีคำสั่งไม่เหมือนกัน เช่นหมัด, ท่าไม้ตาย, พุ่งชน ฯลฯ แม้ว่าเราจะอ่านไม่ออก แต่เราอาศัยจำเอา ก็เลยพอจะเดาได้ว่าใบไหนมีสรรพคุณอย่างไร ส่วนอนิเมชั่้นการต่อสู้ของเกมนี้ยังเป็นแบบช่องแบ่งเป็นเฟรมๆเหมือนเดิม ในกระดานแต่ละช่องบางครั้งจะเจอกับศัตรูแบบสุ่ม หรือบางช่้องก็จะมีสัญลักษณ์บอกไว้เลยว่ามีศัตรู หรือจะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น เราต้องกดคำสั่งพูดคุยกับตัวละคร หรือกดสำรวจฉากเพื่อหาไอเท็มหรือทำตามเงื่อนไขของเหตุการณ์ ซึ่งสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าพอๆกับภาคที่แล้ว เพราะมีแต่ภาษาปลาดิบยุ่บยั่บจำลำบาก เวลาเล่นมาเจอไอ้ฉากประเภทสำรวจดันเจี้ยนภาพนิ่งทีไรเซ็งทุกที


    โดยรวมแล้วเกมนี้มีการพัฒนากราฟิคดีขึ้นกว่าเดิมเยอะ และนี่ก็เป็นภาคสุึดท้ายของคำว่าดราก้อนบอลเฉยๆ เพราะต่อจากนี้ไปจะมีคำว่า "Z" พ่วงท้ายเสมอ (เกมนี้ถูกนำมารีเมคใหม่ในปี 2003 บนระบบ Wonder Swan Color เครื่องเกมพกพาจากค่าย Bandai ที่ออกมาได้ไม่นานก็หายลับไปกับสายลม)


    และนั่นก็เป็นยุคแรกเริ่มของเกมดราก้อนบอลในโลกวิดีโอเกมที่เริ่มต้นแบบไม่เปรี้ยงปร้างเท่าไรนัก ซึ่งเกมเหล่านี้ถือเป็นรุ่้นเก่าที่เพียงทำได้ตามอัตภาพของกราฟิคและเทคโนโลยีในสมัยนั้น แต่ว่า เกมดราก้อนบอลในรูปแบบที่ติดตรึงใจหลายคน โดยเฉพาะเด็ก(หนวด)ของบ้านเรา ที่ฮิตกันแบบระเบิดเถิดเทิงทั่วหัวเมือง กำลังจะเกิดขึ้นหลังจากผ่านยุคนี้ไป นี่คือการจุดประกายนิยามคำว่า "ดราก้อนบอลเปิดไพ่" ที่แท้จริง
    -----------------------------------------




    Dragon Ball Z: Kyoshu! Saiyan
    Famicom
    27 ตุลาคม 1990




    หนึ่งปีผ่้านไป ดราก้อนบอลกลับมาอีกครั้งพร้อมห้อยคำว่า "Z" ที่หมายถึงเรื่องราวที่เข้มข้นกว่าเดิม หรือจะบอกว่าเป็นภาคศักราชใหม่ที่ตัวเอกอย่างโกคูเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว (ก็มีทั้งลูกทั้งเมียแล้วนิ) จากโลกของการประลองยุทธ์ได้เปลี่ยนเรื่องราวไปไกลถึงจักรวาลนอกโลก เมื่อโกคูและเพื่อนๆได้ทราบความจริงว่าตัวเองเป็นชาวไซย่า และมีพี่ชายแท้ๆที่แสนโหด*****มลักพาตัวโกฮังลูกชายไป แถมศัตรูผู้พี่นี้ยังมีฝีมือร้ายกาจ จนโกคูต้องร่วมมือกับศัตรูเก่าอย่างพิคโกโร่เพื่อร่วมมือกันจัดการ แต่สุดท้ายพระเอกของเราก็ตายเป็นครั้งแรกจนได้



    ระบบการเล่นของภาคนี้ได้ยกเครื่องทำใหม่ทั้งหมด โดยใส่ความเป็น RPG ตามสมัยนิยมลงไป จึงทำให้เกมมีมิติที่ยิ่งใหญ่และสวยงามกว่าภาคเก่าที่ให้เราเดินแค่บนกระดานแบนๆ เราสามารถเดินไปตาม world map ได้อย่างอิสระ แต่ยังต้องใช้การ์ด หรือไพ่จั่วขึ้นมาแล้วเดินนับก้าวไปตามจำนวนแต้มที่มี แต่น่าหงุดหงิดเล็กน้อยตรงที่ต้องเดินให้ครบจำนวนแต้ม จั่วมาห้าแต้มแล้วอยากเดินแค่ช่องเดียวก็ทำไม่ได้ (เลยต้องใช้วิธีเดินย่ำไปมาให้มันครบตามต้องการ) ในแผนที่จะเจอศัตรูแบบสุ่มเพื่อตัดเข้าสู่ฉากต่อสู้่

    ความหมายของไพ่ในภาคนี้ถูกเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด โดยแต่ละใบจะเป็นสัญลักษณ์ของสังกัดตัวละครแต่ละคน เช่นไพ่คำว่าเต่า หมายถึงศิษย์ในสังกัดเซียนเต่า หากตัวละครอย่างโกคู, คุริลิน หรือยามูชา เลือกใบนี้ก็จะทำให้เพิ่มพลังโจมตีมากขึ้น รวมทั้งมีการใช้ไอเท็มที่จะเป็นการ์ฺดของตัวละครสนับสนุน เช่นบลูม่า, ผู้เฒ่าเต่า ฯลฯ โดยมีสรรพคุณต่างๆ อาทิเพิ่ม HP, เพิ่มแต้มในไพ่ เป็นต้น และที่แปลก็คือมีไอเท็มพระจันทร์ ซึ่งต้องใช้คู่กับไอเท็มหาง เพื่อแปลงร่างโกคู (หรือโกฮัง) ให้กลายเป็นลิงยักษ์ ซึ่งตัวโกฮังถ้าแปลงร่างเป็นลิงยักษ์ ก็จะกลายเป็นตัวละครที่โหดที่สุดในเกมเลยนะจะบอกให้ ส่วนการใช้ท่าไม้ตายก็ต้องเลือกไพ่ที่เป็นสัญลักษณ์ท่าไม้ตายเท่านั้น เมื่อเราเลือกไพ่ครบหมดแล้วก็จะตัดเข้าสู่อนิเมชั่นการต่อสู้




    สำหรับอนิเมชั่นในการต่อสู้ต้องบอกว่า เปลี่ยนจากละครกระดาษ กลายมาเป็นการ์ตูนทีวีโดยแท้ เพราะมีฉากต่อสู้แบบเคลื่อนไหวและออกท่วงท่าได้คล่องแคล่วมาก แต่เมื่อลองเอากลับมาเล่นตอนนี้ จะได้ยินเสียงเอฟเฟคท์เวลาตัวละครต่อยกันว่า "ตับ ตับ ตั่บ" ไม่เชื่อลองไปเล่นดู ฮ่าๆ

    แถมยังมีการใช้ท่าไม้ตายแบบอลังการสวยงาม ตัวละครแต่ละตัวก็จะมีท่าไม้ตายหลายแบบ โดยยึดต้นแบบมาจากในการ์ตูนทั้งสิ้น พลังคลื่นเต่าผสมหมัดไคโอขั้นสามออกมาลูกเบ้อเริ่มเทิ่ม แต่ท่าที่แจ่มสุดก็คงเป็น "หมัดตะวัน" ของเทนชินฮังที่มีหลายคนเลียนแบบเอาไปใช้งาน ส่องแสงแว๊บแล้วทำให้ศัตรูมองไม่เห็น และเราจะรอดจากการโดนโจมตีจากศัตรูตัวที่ตาบอดชั่วคราวนั่นเอง

    ดราก้อนบอลในรูปแบบ RPG ระบบเปิดไพ่นี้ได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะเด็กไทยที่ตอนนั้นอินกับการ์ตูนอยู่แล้ว พอมาเจอเกมนี้ก็ถึงกับติดกันงอมแงม แม้ว่าจะเป็นภาษาญี่ปุ่นก็ไม่ยากเย็นอะไร เนื่องจากรู้เนื้อเรื่องกันดีจากการ์ตูนรายสัปดาห์และในทีวี ดังนั้นเดาทางกันซักพักก็เล่นกันได้อย่างคล่องแคล่ว ปริศนาในเกมก็ไม่มีอะไร นอกจากเดินในแผนที่เพื่อปั๊ม Level แล้วก็ไปหาตัวละครหรือสถานที่ในแผ่นที่เพื่อดำเนินไปตามเนื้อเรื่อง โดยจะเริ่มตั้งแต่ช่วงราดิซ ไปต่อที่กาลิคจูเนียร์ (ศัตรูตัวนี้มีเฉพาะในอนิเม) แล้วก็จบที่การต่อสู้กับเบจิต้าและนัปป้า ความยากของเกมนั้นก็ถือว่าพอประมาณเหมือนกัน แต่ว่า ผมบังเอิญเล่นจบได้โดยการโกงที่ไม่ได้ตั้งใจ


    ย้อนกลับไปในวันนั้น หลังจากจบรายการช่องเก้าการ์ตูน ผมจัดการเสียบสายอากาศเกมเข้ากับทีวีรุ่นดึก เพื่อเล่นดราก้อนบอลที่เซพค้างไว้ แต่ต้องแปลกใจ เมื่อพบว่าคุริลินที่อยู่ในปาร์ตี้ของเรา กลับกลายเป็นเทพขึ้นมาซะงั้น เมื่อเลเวลก็เท่าเดิม แต่กลับต่อยศัตรูทีเดียวตายทุกตัว เลยเซพเก็บไว้ แล้วลองปิดเคริ่องแล้วเปิดใหม่ ผลก็ยังออกมาเหมือนเดิม เลยเล่นไปจนถึงการพบกับบอสใหญ่อย่้างเบจิต้า ก็ยังโดนคุริลินอัดทีเดียวตาย ผมเลยเล่นเกมนี้จบแบบงงๆ และเท่าที่เคยได้ยินมา รู้สึกว่าจะมีคนประสบอาการนี้เช่นเดียวกับผมเหมือนกัน ดังนั้นคาดว่าน่าจะเป็น bug ของเกมเป็นแน่แท้ (แต่ตอนนั้นยังไม่รู้จักคำว่า bug)
    -------------------------------------------------




    Dragon Ball Z II: Gekishin Freeza
    Famicom
    10 สิงหาคม 1991




    หลังจากประสบความสำเร็จกับภาคแรกของศักราช Z ดังนั้น Bandai จึงเข็นภาคต่อออกมาทันทีในปีถัดมา โดยดำเนินเนื้อเรื่องต่อจากเดิม แต่มีการดัดแปลงนิดหน่อย เพราะว่าในฉบับการ์ตูน คนที่เดินทางไปดาวนาเม็กนั้นมีแค่โกฮัง, คุริลิน และบลูม่า แต่ว่าในเกมนี้มีตัวละครอย่างยามูชา, เทนชินฮัง และเจาสึ (เกี๊ยวซ่า) ร่วมเดินทางไปด้วย ส่วนคนที่ตายจากการต่อสู้กับชาวไซย่านั้นมีคนเดียวคือพิคโกโร่ นอกจากนี้โกคูก็ได้สู้กับฟรีซเซอร์ั้ตั้งแต่ร่างธรรมดาไปยันร่างสุดท้าย ซึ่งผิดกับในการ์ตูนที่ต้องรอพักฟื้นจากอาการบาดเจ็บหลังจบศึกกับกีนิว

    ระบบการเล่นของเกมนี้เหมือนกับภาคที่แล้ว แต่ว่าปรับให้ง่ายขึ้นอีกนิดด้วยการมีบลูม่าไว้ใช้เติมพลังได้ในทุึกเทิร์น เริ่มต้นด้วยการเดินทางไปดาวนาเม็ก ชิงเหลี่ยมกับฝ่ายฟรีซเซอร์ในการตามหาดราก้อนบอล และมีตัวแทรกอย่างเบจิต้าที่เป็น AI เราไม่สามารถบังคับได้) เนื้อเรื่องของภาคนี้โดยส่วนตัวผมคิดว่าสนุกที่สุดแล้วสำหรับจักรวาลของดราก้อนบอล เพราะตัวละครไม่เก่งเวอร์เกินไป และมีเนื้อหาให้ลุ้นหรือเอาใจช่วยกันตลอดเวลา ไม่ใช่ว่ามีแต่การแปลงร่างเป็นซุปเปอร์ไซย่าแล้วสู้กันอย่างเดียว



    ส่วนเกมภาคนี้ก็สนุกเช่นกัน โดยเฉพาะช่วงที่ต้องผลัดกันเดินคนละเทร์น เพื่อแย่งชิงดราก้อนบอลกับศัตรู ศัตรูตัวเอ้ในภาคนี้มีหลายตัว ทั้งคิวอี้ โดโดเรีย ซาบอน และหน่วยรบกีนิวทั้งห้า ท่านสามารถแอบลักลอบขึ้นยานของฟรีซเซอร์เพื่อไปฝึกวิชากับเติมพลังก็ได้ด้วยนะ (แต่อย่าให้จับได้) และถ้าผมจำไม่ผิด ถ้าเรากดปุ่ม select ในขณะที่อยู่บนแผนที่ จะเป็นการเปลี่ยนตัวละครที่จะออกมาเดินบนแผนที่

    อนิเมชั่นการต่อสู้ในเกมถูกปรับปรุงให้ไหลลื่นและรวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม มีการบินเฟี้ยวฟ้า ส่วนเอฟเฟคท์ระเบิดเมื่อโดนยิงพลังใส่ก็มีถึง 4 ระดับความรุนแรง ระบบเสียงก็สมจริงขึ้น ไม่ใช่ตับตับตั่บแบบครั้งก่อน ส่วนการใช้ท่าไม้ตายก็มีการเพิ่มช่องแสดงสีหน้าตัวละครขึ้นมาด้านล่าง ทำให้ได้อารมณ์ร่วมเหมือนกำลังดูการ์ตูนมากยิ่งขึ้น


    Dragon Ball Z II: Gekishin Freeza ถือเป็นยุคทองของดราก้อนบอลเปิดไพ่โดยแท้จริง นับว่าการผสมผสานระหว่างเกม RPG ดับระบบเปิดการ์ดนั้นทำได้อย่างลงตัว ส่งผลให้ชื่อของดราก้อนบอลยิ่งดังกระฉูดเข้าไปอีกขั้นหนึ่ง สำหรับตลับแท้ของเกมนี้จะมีรูปทรงที่สวยงามกว่าเกมอื่นทั่วไปเล็กน้อย ผมจะได้ว่าเคยยืมเพื่อนมาเล่น (บ้านมันรวย) แล้วก็เล่นจนเปิดไม่ติด เอาน้ำลูบกี่รอบก็ยังไม่ติด เลยไม่กล้าเอาไปคืน หวังว่าคงจะไม่มาอ่านเจอในบรรทัดนี้นะ...



    หลังจากจบภาค ZII ไปแล้ว Bandai ก็ได้กระโดดข้ามไปทำเกมดราก้อนบอลให้กับเครื่อง SFC ที่ตอนนั้นเพิ่งออกมาได้ไม่นาน ซึ่งเป็นการงัดเอาประสิทธิภาพของเครื่อง 16 bits มาใช้กับเกมนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะฉากต่อสู้ที่อลังการและจับอารมณ์ของฉบับการ์ตูนมานำเสนอได้ดีกว่าเครื่องแฟมิคอม แต่ทว่า นี่เป็นดราก้อนบอลภาคแรก และภาคเดียวของ SFC ที่เป็นเกม RPG เปิดไพ่ เพราะต่อมาก็ไปทำแต่แนวไฟท์ติ้ง หรือไม่ก็ทำเป็น RPG แบบอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบไพ่แต่อย่างใด
    -----------------------------------------




    Dragon Ball Z: Super Saiya Densetsu
    Spuer Famicom
    25 มกราคม 1992




    จริงๆแล้วเกมนี้ก็เหมือนเป็นการหยิบเอาภาค Z1 และ Z2 มารีเมคใหม่นั่นเอง แต่ว่าตัดองค์ประกอบของเนื้อเรื่องที่หยิบมาจากฉบับอนิเมซึ่งมีในสองภาคดังกล่้าวทิ้งไปทั้งหมด (เช่น กาลิคจูเนียร์) โดยดำเนินเรื่องตั้งแต่ราดิซไปจนจบภาคฟรีซเซอร์ บนแผนที่ world เราสามารถเดินสำรวจได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องเปิดไพ่เพื่อนับแต้ม และมีการเพิ่มอนิเมชั่นในการเหาะเข้ามาด้วย (ถ้าเหาะจะเจอศัตรูบ่อยกว่าการเดิน)


    โดยรวมแล้วระบบการเล่นไม่แตกต่้างจากเดิมเท่าใดนัก มีไพ่ที่เพิ่มเข้ามาอีกสองชนิดคือ ไพ่โจมตีแรง (สีเหลือง) กับไพ่สัญลักษณ์กีนิว (สีดำ) และการนับแต้มก็เปลี่ยนกติกาเล็กน้อย จากเดิม แต้มที่อยู่ด้านล่างจะหมายถึงลำดับในการออกไปต่อสู้ก่อนหลัง คนที่มีแต้มด้านล่างมากที่สุดจะได้ออกไปสู้ก่อน แต่ว่าในภาคนี้จะหมายถึงพลังป้องกัน ส่วนแต้มด้านบนคือพลังโจมตี ซึ่งคนที่มีจำนวนแต้มด้านบนสูงที่สุึดจะได้ออกไปสู้่ก่อน ลืมบอกไปว่าแต้มด้านบนจะนับเป็นจุด ส่วนด้านล่างแทนด้วยอักษรจีนคือ อิ เอ้อ ซัน ซื่อ อู่ ลิ่ว ชี ( 1 2 3 4 5 6 7)




    แต่ที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนก็คืออนิเมชั่นในฉากต่อสู้ที่สวยงามกว่าเก่า มีการอัดแล้วซัดให้กระเด็นไปติดภูเขา หรืออัดให้กระแทกลงพื้น รวมทั้งเข้าพุ่งชนก็ได้เช่นกัน แต่ว่าการเคลื่อนไหวเตะต่อยกลับดูแล้วช้ากว่าของแฟมิคอม ส่วนกราฟิคการใช้ท่าไม้ตายบางชนิด ก็จะตัดเข้าสู่แอ็คชั่นแบบพิเศษ แม้จะอืดไปนิด แต่ถ้าเทียบกับของแฟมิคอมแล้วถือว่าสวยงามกว่ากันเยอะเลยละ แต่ว่าช่วงที่เกมออวางตลาด ยังถือว่าเป็นช่วงแรกๆของระบบ SFC ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่ได้ซื้อเครื่องมาเล่นกัน ดังนั้นเกมก็เลยออกมาเงียบกว่าภาคที่แล้วเล็กน้อย แถมให้อีกนิดว่าตอนจบที่แท้จริงของเกมนี้ยังมีศึกลับที่โกคูจะต้องเจอกับเบจิต้าร่างซุปเปอร์ไซย่าด้วยนะ


    ในปีเดียวกับที่ออกจำหน่ายบนระบบ SFC ก็ยังมีภาคต่อให้กับเครื่องแฟมิคอมด้วย คราวนี้ดำเนินเรื่องต่อในภาคมนุษย์ดัดแปลงไปจนถึงช่วงเซล แต่แฟนๆด่ากันเยอะว่าทำไมจบแบบค้างคา เพราะว่าตอนจบของเกมนี้เราจะได้เล่นเป็นพิคโกโร่สู้กับเซลร่างแรกสุด แต่สู้ไปได้ไม่กี่ยก เกมก็ตัดจบดื้อๆ ทิ้งปมไว้เหมือนกับว่าให้รอเล่นในภาคต่อไป
    ------------------------------------------------------




    Dragon Ball Z III: Ressen Jinzoningen
    Famicom
    7 สิงหาคม 1992



    ดราก้อนบอลภาคนี้เป็นครั้งแรกที่ใช้ระบบนับ Level เหมือนเกม rpg ทั่วไป เพราะที่ผ่านมาจะใช้ค่า BP (Battle Point) แทนระดับความเก่งของตัวละครมาโดยตลอด สำหรับระบบการเล่นก็ยังเหมือนเดิม แต่ว่าการใช้ไอเท็มหรือตัวละครสนับสนุนจะได้มาจากการเปิดไพ่ที่แทนด้วยสัญลักษ์ด้านล่าง (ตัดตัวเลขจีนทิ้งไปแล้ว) มีทั้งการเติมพลัง, หยุดศัตรู, เปลี่ยนไพ่

    แต่ว่าที่เด็ดที่สุดคือการเปิดมาแล้วเจอหน้ายาจิโรเบ้ ซึ่งจะออกมาช่วยเราจัดการศัตรูด้วยการฟันเพียงฉับเดียวก็ตายทันที แต่ว่าตอนเจอกับบอสไม่เคยเปิดเจอยาจิโรเบ้เลย สงสัยเกมมันล็อคไว้แหงมๆอนิเมชั่นการต่อสู้ถูกวาดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เน้นในความไวกว่าเดิมมากขึ้นไปอีก เพราะว่าตัดมุมกล้องเร็วมาก ตัวละครออกมาเอาตีนเขี่ยๆกันสองทีแล้วก็ตัดภาพ ข้อดีคือมันทำให้ไม่้เบื่อที่จะต้องมาดูฉากต่อสู้ซ้ำๆเดิม แต่บางทีมันตัดภาพเร็วไปดูแล้วเวียนหัวเหมือนกัน



    เนื้อหาของเกมนี้มีเพิ่มเนื้อหาของฉบับภาพยนตร์เข้าไปด้วยย นั่นคือการต่อสู้กับ "คูลเลอร์" พี่ชายของฟรีซเซอร์นั่นเอง และเป็นครั้งแรกที่เราสามารถบังคับเบจิต้าได้แบบเต็มๆซะที หลังจากที่รอกันมานาน และที่น่าสนใจก็คือมีการเพิ่มปริศนาในสไตล์ของ RPG เข้าไปด้วย

    เช่นต้องไปหาระเบิดมาถล่มปากทางเพื่อเข้าถ้ำไปเก็บดราก้อนบอล หรือต้องนำไอเท็มไปให้ตัวละคร NPC เพื่อได้รับของแลกเปลี่ยน แต่ว่า ที่ทำให้ปวดกบาลมากที่สุดคงหนีไม่พ้นการตามหามนุษย์ดัดแปลง โดยในช่วงท้ายของเกมนั้นเราจะแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม เพื่อตามหาที่ซ่อนของมนุษย์ดัดแปลงให้พบ บางคนงมหากันเป็นวันก็ยังไม่เจอ เพราะว่าคำใบ้ที่มีบอกมันเป็นภาษาญี่ปุ่น เราอ่านไม่ออก

    ซึ่งที่ซ่อนของจริงมันจะอยู่ในพื้นธรรมดาๆทางฝั่งซ้ายของแผนที่ โดยให้เราไปยืนอยู่ที่ถ้ำ แล้วเดินไปทางด้านบน 23 ช่อง แล้วไปต่อที่ด้านซ้ายอีก 3 ช่อง ก็จะพบกับมนุษย์ดัดแปลง





    โดยรวมแล้ว ภาคนี้ถือว่าเล่นง่ายกว่าทุกๅภาคที่ผ่านมา สามารถเล่นจบได้ในเวลาไม่นานนัก ส่วนความนิยมก็ถือว่าซาลงไปพอสมควร เนื่องจากกระแสของเครื่อง SFC นั่นมาแรงเหลือเกิน
    ------------------------------------------






    ถัดจากนั้นก็มีเกมดราก้อนบอลที่ใช้การ์ดจริงๆเล่น ซึ่งเป็นอุปกรณ์พิเศษที่เป็นเครื่องอ่านการ์ด เสียบลงไปบนเครื่องแฟมิคอมแทนตลับเกม โดยเราต้องเอาการ์ดของตัวละครที่แถมมาให้ในแพ็คเกจเพื่อรูดปื้ด แล้วตัวละครก็จะมาปรากฏต่อสู้กันในเกม สำหรับผมไม่เคยเล่นอันนี้เพราะไม่มีเงินซื้อครับ เลยต้องขออภัยด้วยที่ข้อมูลน้อยไปนิดนึง
    ---------------------------------------------




    Dragon Ball Z Gaiden: Saiyajin Zetsumetsu Keikaku
    Famicom
    6 สิงหาคม 1993



    เดินทางกันมาเนิ่นนาน ก็มาถึงภาคสุดท้ายของแฟมิคอมซักที สำหรับดราก้อนบอลภาคนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการแต่้งเนื้อเรื่องขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้อิงจากฉบับการ์ตูนหรืออนิเมแต่อย่างใด โดยเป็นศัตรูหน้าใหม่ทั้งหมด แต่ว่ามีแจมด้วยบอสสี่วายร้ายที่โผล่้มาจ๊ะเอ๋กับเราในช่วงกลางเกมด้วย ระบบการเปิดไพ่ของภาคนี้เปลี่ยนใหม่แบบโละทั้งหมด ไพ่ที่ใช้ก็กลับไปเป็นเหมือนภาคเริ่มต้นวัยเด็ก แต่ะละใบแทนด้วยการโจมตีแบบต่างๆ เช่นต่อย, ทุ่ม, พุ่งชน ฯลฯ



    โดยเราต้องใช้การผสมไพ่เพื่อออกเป็นท่าไม้ตาย บางท่าใช้สองใบ บางท่าใช้่สามใบ และท่าไม้ตายของแต่ละคนก็ไม่ค่อยจะเหมือนกันด้วย วิธีการที่จะได้ท่ามาก็ต้องเล่นมินิเกมเปิดม้วนตำราที่จะเฉลย แต่ยิ่งท่าหลังๆมันยาก ต้องใช้ที 5 ใบ ก็ยิ่งเปิดออกมาดูยาก จนถึงทุึกวันนี้ผมยังหาท่าไม้ตายสุดยอดของเบจิต้าไม่พบเลยว่าต้องใช้ไพ่ใบไหนบ้าง ฮ่าๆ ส่วนตัวประกอบอย่างคุริลิน, ยามุชา และเทนชินฮัง ภาคนี้กลายเป็นแค่ไอเท็มเสริมที่กดใช้เพื่อออกมาช่วยปล่อยพลังจัดการศัตรูเท่านั้น แต่มีเพิ่มตัวละครใหม่เข้ามาในกลุ่มเราคือทรังคซ์ ซึ่งภาคที่แล้วแค่โผล่มาในเนื้อเรื่องแต่ไม่ให้เราบังคับ



    กราฟิคของเกมนี้พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น ซึ่งก็น่าจะถึงขีดจำกัดที่สุึดแล้วสำหรับระบบแฟมิคอม เราออกเดินทางใน world map และสามารถเลือกสถานที่อื่นๆเพื่อวาร์ปไปได้ การดำเนินเกมก็ยังเป็น RPG ให้หาข้อมูลข่าวสารและแก้ปริศนาบางจุดเพื่อไปต่อ แต่ว่ายากกว่าภาคก่อนพอสมควร ภาคนี้ผมเล่นไม่จบครับ อิอิ ส่วนความนิยมในเกมนี้นั้นเงียบสนิท เนื่องจากเกมออกมาในช่วงบั้นปลายของระบบแฟมิคอม และเกมดราก้อนบอลก็เริ่มจะหันไปเอาดีทางด้านเกมไฟท์ติ้ง ดังนั้นมันจึงเป็นการปิดฉากตำนานการเปิดไพ่ของแฟมิคอมไปในที่สุด
    ------------------------------------------------------------



    Dragon Ball Z: Goku Hishoden
    Gameboy
    25 พ.ย. 1994


    ดราก้อนบอลฉบับเกมบอยขาวดำภาคแรกซึ่งยังเป็นแนว RPG เหมือนเดิม เนื้อหาดำเนินตั้งแต่ช่วงศึกประลองจ้าวยุทธภพที่โกคูต่อสู้กับมาร์จูเนียร์ (พิคโกโร่) ไปจนจบภาคที่การต่อสู้กับเบจิต้า แต่ว่าระบบการต่อสู้จะแตกต่างตรงที่เรานั้นจะต้องเลือกสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเหมือน command (คำสั่ง) ให้ตัวละครโจมตีในรูปแบบต่างๆ เช่น ต่อย, เตะ, ปล่อยพลัง ฯลฯ แล้วกะจังหวะกดปุ่มให้ตรงกับหน้าจอเพื่อเพิ่มความรุนแรงในการโจมตี ซึ่งไม่ได้มีการเปิดไพ่แบบของแฟมิคอมแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังแทรกด้วยมินิเกมต่างๆเช่นเกมเดินทางบนถนนงู และฝึกยิงพลัง เป็นต้น แม้เกมบอยจะมีสเปคเครื่องที่ต่ำแต่เกมนี้กลับนำเสนอออกมาได้ดีทีเดียว
    --------------------------------------------------------------


    Dragon Ball Z: Goku Gekitoden
    Gameboy
    25 ส.ค. 1995



    ภาคต่อของดราก้อนบอลฉบับเกมบอยที่ดำเนินเนื้อเรื่องในภาคบุกดาวนาเม็กไปจนจบการต่อสู้กับฟรีสเซอร์ เกมนี้ถือว่าเป็น RPG ที่สนุกและน่าประทับใจอย่างมาก ระบบต่อสู้จะให้เราบังคับไอคอนตัวละครเดินไปมาใน mini map แบบ realtime เพื่อชิงจังหวะกับศัตรู จากนั้นก็กดโจมตีด้วยคำสั่งต่างๆเช่น ต่อย, เตะ, พุ่งชน, ปล่อยพลัง ฯลฯ ซึ่งเราจะเลือกได้หลายชุดตามระดับ level ที่ยิ่งสูงก็ยิ่งใส่คำสั่งได้เยอะ ซึ่งก่อนเริ่มการต่อสู้ในแต่ละเทิร์นจะให้เราเลือกเอาไว้ พอหมดเทิร์นก็เลือกใหม่แล้วสู้ต่อ โดยมีภาพอนิเมชั่นแสดงการต่อสู้ในหน้าจอด้านบน ส่วนระบบการเล่นพื้นฐานก็นำเสนอได้อย่างน่าสนใจและให้อถรรสตามเนื้อหาในการ์ตูนได้เป็นอย่างดี มีการฝึกวิชาเก็บเลเวลด้วยมินิเกม หาข่าวสาร ฯลฯ นับเป็นเกมที่ควรค่าแก่การลอง
    --------------------------------------------



    Dragon Ball Z: Super Gokuden: Totsugeki-Hen
    Super Famicom
    24 มี.ค. 1995


    ดราก้อนบอลอีกภาคของ SFC แต่อันนี้ย้อนกลับไปนำเสนอเรื่องราวของโกคูในช่วงวัยเด็กตั้งแต่เริ่มเรื่องไปจนถึงการต่อสู้กับจอมราชาปีศาจพิคโกโร่ตัวพ่อ ระบบการต่อสู้ในเกมนี้จะเน้นในหลักการเป่ายิ้งฉุบ ส่วนการดำเนินเกมจะว่ากันตามเนื้อหาในการ์ตูนเป๊ะๆโดยให้เราเล่นเป็นโกคูตัวเดียวตลอดทั้งเกม ซึ่งบางจุดจะต้องเลือกตอบคำถามให้ถูกต้อง โดยรวมแล้วก็ถือว่าเล่นได้พอเพลินๆแต่ว่าไม่เร้าใจเท่ากับภาคอื่นๆก่อนหน้านั้น เพราะว่าฉากและระบบการต่อสู้ไม่ได้เร็วปรู๊ดปร๊าดซึ่งก็เป็นไปตามเนื้่อหาที่ช่วงนั้นตัวละครยังไม่เก่งกาจกันเท่าใด
    -------------------------------------------------




    Dragon Ball Z: Super Gokuden: Kakusei-Hen
    Super Famicom
    22 กันยายน 1995




    ช่วงนั้นถือว่าดราก้อนบอลครองเมืองเพราะว่าการ์ตูนกำลังดังสุดๆแถมมีเกมออกมาต่อเนื่องไม่แพ้วินนิ่งที่สะพานเหล็ก ซึ่งนี่เป็นเกมภาคต่อจากอันข้่างบนซึ่งดำเนินเนื้อหาตั้งแต่ช่วงประลองเจ้ายุทธภพกับมาร์จูเนียร์แล้วลากยาวไปจนจบภาคฟรีสเซอร์ แต่ภาคนี้เราจะได้เล่นเป็นโกฮังด้วย การดำเนินเกมจะเน้นให้เราตอบคำถามตามในการ์ตูนซึ่งถ้าเลือกตอบอีกแบบก็จะได้เจอกับฉากจบที่แปลกออกไปซึ่งไม่มีในต้นฉบับ ส่วนระบบการต่อสู้ก็ยังยึดเอาของเดิมเป็นหลักโดยนำเสนอในมุมมองด้านบนแบบเฉียงๆ และให้เรากดปุ่มต่างๆเพื่อใส่คำสั่ง เช่นกด A ปล่อยพลัง กด B ต่อย กด Y เพื่อสวนกลับ เป็นต้น ตัวเกมไม่ดังเปรี้ยงปร้างเท่ากับยุคที่ใช้ระบบเปิดไพ่และก็กลายเป็นเกมดราก้อนบอลแบบ RPG เกมสุดท้ายก่อนที่จะกลายเป็นเกมต่อสู้่ fighting อีกหลายปีจึงจะมีทำภาคใหม่ออกมา
    ---------------------------------------


    หวังว่าคงจะมีความสุขในการอ่านเรื่องราวเก่าๆเหล่านี้นะครับ เอาไว้วันหลังจะเขียนมาให้อ่านกันอีก....

    ที่มา http://www.animategroup.com/asite_up/gamemag/index.php โดย PON

  2. รายชื่อสมาชิกจำนวน 8 คนที่กล่าวขอบคุณ:


  3. #2
    Drama " Tea Time " :)
    วันที่สมัคร
    Oct 2011
    ที่อยู่
    Kanagawa,Yokohama,Japan
    กระทู้
    2,018
    กล่าวขอบคุณ
    6,664
    ได้รับคำขอบคุณ: 3,180
    Blog Entries
    3
    ไม่ทันสักภาค ยังไม่แก่สินะ....

  4. สมาชิกที่กล่าวขอบคุณ:


  5. #3
    Max - Nine l Power !
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    ที่อยู่
    Supalai Park
    กระทู้
    596
    กล่าวขอบคุณ
    75
    ได้รับคำขอบคุณ: 1,484
    Blog Entries
    35


    คุ้นๆ ว่าจะเคยเล่นภาคนี้ - -
    Max - Nine l Power !

  6. รายชื่อสมาชิกจำนวน 2 คนที่กล่าวขอบคุณ:


  7. #4
    Everything is Connected
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    534
    กล่าวขอบคุณ
    1,255
    ได้รับคำขอบคุณ: 343
    ไม่ทันจิงๆแหะ -,-
    I'm watching on You

  8. รายชื่อสมาชิกจำนวน 2 คนที่กล่าวขอบคุณ:


  9. #5
    Forever...
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    ที่อยู่
    Bangkok
    กระทู้
    1,540
    กล่าวขอบคุณ
    64
    ได้รับคำขอบคุณ: 1,560
    ไม่ทันเลยซักภาค เล่นภาคแรกก็ Dragnball Z Budokai 3 เล่นใน PS2 (จำชื่อไม่ค่อยได้ ไม่รู้ว่าถูกป่าวนะ 55)
    ถ้าคุณยังไม่รู้จักกับคำว่า "ความล้มเหลว" ก็ไม่มีทางที่คุณจะรู้จักกับคำว่า "ความสำเร็จ"

  10. สมาชิกที่กล่าวขอบคุณ:



 

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •  
Back to top