ยินดีต้อนรับเข้าสู่ jokergameth.com
jokergame
jokergame shop webboard Article Social


Colocation, VPS


joker123


เว็บไซต์เราจะอยู่ไม่ได้หากขาดเขาเหล่านี้ รวมช่วยกันสนับสนุนสปอนเซอร์ของพวกเรา

colocation,โคโลเคชั่น,ฝากเซิร์ฟเวอร์ game pc โหลดเกม pc slotxo Gameserver-Thai.com Bitcoin โหลดเกมส์ pc
ให้เช่า Colocation
รวมเซิฟเวอร์ Ragnarok
Bitcoin

กำลังแสดงผล 1 ถึง 13 จากทั้งหมด 13
  1. #1
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Mar 2012
    ที่อยู่
    Liverpool
    กระทู้
    1,399
    กล่าวขอบคุณ
    1,072
    ได้รับคำขอบคุณ: 3,670

    ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยกับระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ แบบไหนที่คุณคิดว่ามันสามารถนำมาใช้ได้จริงๆครับ

    ขอแก้กระทู้ใหม่นะครับ

    " มีคนเข้าใจผิดว่าผมอยากรู้ว่าระบอบการปกครองแบบไหนมันดีที่สุด อันนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผมต้องการจะรู้ครับ(ถ้าสิ่งที่ผมเขียนไว้ก่อนหน้านี้ทำให้เข้าใจผิดก็ขออภัยด้วยนะครับ) "

    จุดประสงค์ของผมคือ

    " อยากจะทราบว่าในแต่ละระบบมันมีข้อดีและข้อเสียต่างกันอย่างไร และผลของแต่ละ ระบอบออกมาเป็นแบบไหนในประวัติศาสตร์ ขอแบบไม่เอียงเอนไปในขวาสุดหรือซ้ายสุดนะครับ อยากจะทราบจริงๆ "

    ปล.

    *ไม่เอาการเมืองไทยนะครับอันนี้ขอละ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย O'z NEWBIE IN THE H.H. : 5th July 2014 เมื่อ 23:41

  2. #2
    ชอบดูไม่ชอบโพสต์
    วันที่สมัคร
    Jun 2014
    กระทู้
    44
    กล่าวขอบคุณ
    30
    ได้รับคำขอบคุณ: 20

  3. #3
    It where my Demon hide
    วันที่สมัคร
    Mar 2012
    กระทู้
    2,418
    กล่าวขอบคุณ
    2,422
    ได้รับคำขอบคุณ: 3,922
    ถามว่าอันใหนดีกว่ากันคงไม่มีครับ เพราะทั้งสองมันมีดีในแบบของมัน

    และแย่ในแบบของมัน

    ถ้าประชาธิปไตย ประชาชนต้องดีและฉลาด ถึงจะรอด

    ถ้าเผด็จการ ผู้นำต้องดี ถึงจะรอด

  4. สมาชิกที่กล่าวขอบคุณ:


  5. #4
    PONY is magic
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    ที่อยู่
    Equestria
    กระทู้
    973
    กล่าวขอบคุณ
    0
    ได้รับคำขอบคุณ: 758
    คอมมิวนิสเผด็จการทหารก็ลองนึกภาพสหภาพโซเวียต-สตาลิน-เหมาเจ๋อตุงดูครับ

    คอมมิวนิสที่เห็นๆกันมันโหดร้ายครับ เป็น จขกท สั่งให้วิ่งฝ่าดงกระสุนอยากไปมั้ย? ท่านเรียกร้องประชาธิปไตยกลับโดนเอารถถงไล่บี้ท่านชอบใจมั้ย ? วิจารรัฐบาลนิดหน่อยโดนเก็บไม่รู้ตัว ชอบไหม?นี่คือคอมมิวนิสในปัจจุบันครับ

    อีกแบบนึงคือ ยูโทเปีย(สะกดถูกปะหว่า)เป็นความคิดเกี่ยวกับสังคมในอุดมคติแบบเพ้อฝัน ทุกคนรักใคร่ปรองดองสามัคคีรักกันและกันเท่าเทียมกันเป็นคอมมิวนิสเช่น ดียวกันครับ(แต่เป็นจริงไม่ได้)


    ด้านประชาธิปไตยก็ต้องดูด้วยว่า มันเป็นประชาธิปไตยแบบยัดเยียดให้หรือเปล่าตัวอย่างประชาธิปไตยแบบยัดเยียดก็แถบๆอิรัก ณ เวลานี้ที่ได้ผู้นำจากการเลือกตั้ง ได้ประชาธิปไตยยัดเยียดมาจากตะวันตก

    ก็เลยรบกันอยู่แบบนี้ล่ะครับ

  6. สมาชิกที่กล่าวขอบคุณ:


  7. #5
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    843
    กล่าวขอบคุณ
    97
    ได้รับคำขอบคุณ: 271
    คุณต้องเลือกร่ะหว่าง ประเทศค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป แต่มีความเป็นไท (หมายถึงไม่โดนกดขี่น่ะและอีกมากมายที่โดนเอาเปรียบ ไท ในที่นี้อ่ะ)
    หรือ ประเทศก้าวหน้าอย่าง รวดเร็ว ด้านการ ทหาร(ไม่รู้ด้านอื่นเจริญตามไหม) แต่โดนกดขี่ถึงขีดสุด เห็น พม่า ไหมที่เขาหนีออกนอกประเทศก็เพราะแบบนั้นล่ะ
    <<< อย่า สงสาร คนตายเลย สงสาร คนอยู่เถาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คน ที่อยู่โดยปราศจาก ความรัก >>>

  8. #6
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Mar 2012
    กระทู้
    159
    กล่าวขอบคุณ
    19
    ได้รับคำขอบคุณ: 128
    ผมไม่รู้ผมไม่เลือกเพราะผมเลือกไปเเล้วว่าจะเป็นลูกที่ดีของพ่อหลวง

  9. #7
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    173
    กล่าวขอบคุณ
    11
    ได้รับคำขอบคุณ: 54
    อู้ๆ อี้ๆ

  10. #8
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    471
    กล่าวขอบคุณ
    291
    ได้รับคำขอบคุณ: 417
    อ้างถึง กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ Zaraki Kempaji อ่านกระทู้
    ถามว่าอันใหนดีกว่ากันคงไม่มีครับ เพราะทั้งสองมันมีดีในแบบของมัน

    และแย่ในแบบของมัน

    ถ้าประชาธิปไตย ประชาชนต้องดีและฉลาด ถึงจะรอด

    ถ้าเผด็จการ ผู้นำต้องดี ถึงจะรอด
    ตามที่คุณ Zaraki Kempaji ว่าไว้เลยคับ ไม่มีระบอบไหนสมบูรณ์ Perfect ไปซ่ะทุกอย่าง ทุกระบอบการปกครองมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
    ถึงฝรั่งเขาจะปกครองกันด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่ฝรั่งที่ศึกษาเรื่องการปกครองอย่างจริงจังเขายังบอกเลยว่าระบบประชาธิปไตยไม่ใช่ระบอบที่ดีที่สุดในโลก ถ้ามีคนคิดค้นระบอบใหม่ที่ดีกว่า เขาก็พร้อมจะศึกษาและลองนำมันมาใช้ดู (ต้องเริ่มจากสเกลเล็กๆก่อน เพราะคนเราไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ)

    ผมเพิ่มเติมนิดหน่อย

    ประชาธิปไตย ประชาชนดี/ฉลาด ประเทศอยู่รอด ข้อเสียคือการบริหารประเทศจะล่าช้า
    เผด็จการ ผู้นำดี/ฉลาด ประเทศอยู่รอด ข้อเสีย โอกาสพลาดพลั้งสูง เพราะเหมือนประเทศตกไปอยู่ในกำมือของคนกลุ่มเล็กๆ/คนเดียว

  11. #9
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Feb 2012
    ที่อยู่
    กะลาแลนด์ 4.0
    กระทู้
    2,314
    กล่าวขอบคุณ
    1,843
    ได้รับคำขอบคุณ: 1,598
    ไม่รู้ครับ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่ได้เรียนรู้เรื่องนี้มาดีพอ

    ผมว่าตัวจขกท.เองนั่นแหละ คือคนที่จะตัดสินใจได้เองว่าระหว่างประชาธิปไตยกับคอมมิวนิสต์การปกครองแบบไหนดีกว่ากัน

    แต่ต้องอาศัยการเรียนรู้และตีความเอาเอง เอาแบบคร่าวๆ ก็หาอ่านจากวิกิ เอาแบบละเอียดต้องอ่านหนังสือกันตาแฉะเลย รายละเอียดมันเยอะ

  12. #10
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Dec 2012
    กระทู้
    171
    กล่าวขอบคุณ
    78
    ได้รับคำขอบคุณ: 70
    คอมมิวนิสต์แทบจะไม่มีประสิทธิภาพเลยเมื่อเทียบกับประชาธิปไตย

    ตัวอย่างเมื่อคณะทำงานคิดจะทำอะไรซักอย่าง

    ประชาธิปไตย จะมีฝ่ายค้านคอยคัดกรองการทำงาน ตรวจหาจุดบกพร่องหรือตรวจจับการทุจริต(ประเทศอื่นฝ่ายค้านไม่ได้มีไว้ด่าฝ่ายดำเนินงานแบบบ้านเรา)

    เพื่อให้คณะทำงานแก้ไขให้แผนดำเนินงานดีขึ้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    ส่วนอีกแบบ ไม่สามารถออกความคิดเห็นหรือมีส่วนรู้เห็นในแผนงานได้

    และไม่สามารถตรวจสอบการทำงานหรือซักถามอะไรได้ และอีกอย่างระบบนี้ยังไงก็เป็นจุดบอดครับ เมื่อดำเนินงานไประยะนึง

    มันจะพังเองครับ ก็ลองไปดูๆเรื่องฮิตเลอร์เป็นตัวอย่าง ดีว่าฮุนเซนยังเฉลียวใจที่รีบจัดเลือกตั้ง

    ส่วนที่บอกว่าประชาธิปไตยจะไม่ดีเมื่อประชาชนไม่ค่อยมีคุณภาพ จริงๆแล้วถ้าประชาชนไม่มีคุณภาพ

    ทำอะไรก็เจริญยากอยู่ดี อย่างเช่นประเทศที่โรงเรียนขาดแคลนแต่ครูล้นประเทศว่างงานเป็นแถวงี้ เจริญยากครับ

    มันก็ง่ายๆเหมือนทำงานคนเดียวเทียบกับงานกลุ่มแหละครับ งานของคนที่ทำคนเดียวไม่มีทางเทียบกับคนที่ช่วยกันทำได้อยู่แล้ว

    ทั้งนี้ไม่นำประสิทธิภาพของคนมาใช้ร่วมในการตัดสิน เทียบกันที่ตัวระบบล้วนๆ

  13. #11
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    1,440
    กล่าวขอบคุณ
    5
    ได้รับคำขอบคุณ: 2,811
    เท่าที่เรียนมา และฟังมาผ่านๆพอจะสรุปได้ว่า ระบบคอมมิวนิตส์มีผลเสียมากกว่าผลดี เพราะยังไงมนุษย์ก็คือมนุษย์ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนิสัยของความเป็นมนุษย์ได้ มนุษย์มีความเห็นแก่ตัวทุกคน ไม่สามารถลบนิสัยตรงนี้ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ระบบนี้จึงเป็นได้เพียงเรื่องเพ้อฝัน ไม่สามารถใช้งานได้จริง เป็นเพียงอุดมคติว่า ทุกคนเท่าเทียม ซึ่งจริงๆแล้วความเท่าเทียมไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในสังคมมนุษย์ แต่ในปัจจุบันนี้ แทบทุกประเทศทั่วโลกที่อ้างตัวว่าเป็นประชาธิปไตย ไม่ได้ใช้ระบบนี้โดยตรง แต่ใช้ระบบผสมระหว่าง ระชาธิปไตยและคอมมิวนิตส์ ก็เลยสรุปไม่ได้ว่า ตอนนี้ระบบไหนคือของจริง เพราะมันผสมกัน โดยดึงจุดเด่นของแต่ระบบมาไว้



    ** ตรงนี้เป็นเนื้อหา ยาวหน่อย(ยาวมาก) ถ้าใครอยากศึกษาเพิ่มเดี๋ยวลิ้งเว็ปให้ **

    ประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์แตกต่างกันอย่างไร

    ประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ต่างก็ตรงข้ามกัน โลกประชาธิปไตยติดตามสวรรค์ ส่วนโลกคอมมิวนิสต์กลับตรงกันข้าม ในขณะที่คอมมิวนิสต์ติดตามวัตถุ แต่ประชาธิปไตยยึดศูนย์กลางคนละอย่าง ระบบประชาธิปไตยมีศูนย์กลางที่บุคคล แต่คอมมิวนิสต์มีศูนย์กลางที่พวกพ้องหรือพรรค ในขณะโลกประชาธิปไตยมีศูนย์กลางที่อิสรภาพทางความรักและสันติภาพ แต่คอมมิวนิสต์กลับมีศูนย์กลางที่การข่มขู่ อาวุธปืนดาบ และปกครองโดยใช้กำลัง โลกสองโลกนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

    โลกประชาธิปไตยมีศูนย์กลางที่หัวใจ ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยก็พูดคุยกันในเรื่องสันติภาพ อย่างไรก็ตาม อุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์กลับให้การสนับสนุนการสู้รบ คอมมิวนิสต์ใช้ยุทธศาสตร์การต่อสู้มาเป็นปัจจัยแรกในการพัฒนา สันติภาพย่อมไม่เกิดขึ้นในห้วงนี้เป็นแน่แท้ สองอุดมการณ์นี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

    โลกประชาธิปไตยได้ผูกมัดพรรคคอมมิวนิสต์ด้วยเงื่อนไขความเป็นพี่น้อง และโดยอาศัยองค์กรสหประชาชาติ บทความหนึ่งของสหประชาชาติกล่าวถึงสันติภาพ สหประชาชาติตระหนักว่า สันติภาพเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

    ผมคิดว่า คงไม่มีใครในประวัติศาสตร์นี้ ที่ไม่ปรารถนาโลกสามัคคีแห่งสันติภาพ เราต่างก็รู้แล้วว่าโลกนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองโลกตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เมื่อมองดูสองห้วงนี้ ซึ่งมีห้วงคอมมิวนิสต์กับห้วงประชาธิปไตย เราอาจมีคำถามว่า โลกสามัคคีอุดมคติ จะเกิดขึ้นกับห้วงคอมมิวนิสต์หรือห้วงประชาธิปไตย จากนี้ไป เราต้องยอมรับความจริงที่ว่า เรากำลังมีชีวิตอยู่ในยุคที่มนุษยชาติกำลังเสื่อมลง และกำลังตกไปสู่ความสิ้นหวัง มากกว่าจะมีความหวังเสียอีก

    โลกปัจจุบันนี้เป็นโลกที่มีแต่การสู้รบกัน โดยยึดศูนย์กลางที่ร่างกายและวัตถุสิ่งของเป็นหลัก ไม่ว่าเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ หรือปรัชญาจะพัฒนาไปสักเท่าใด สิ่งเหล่านี้ก็หาได้สร้างสันติภาพให้แก่มนุษยชาติไม่ สิ่งที่กล่าวมานี้ล้วนมีศักยภาพไม่เพียงพอ ตราบใดที่ศักยภาพการดำเนินงานโดยอาศัยอุดมการณ์แนวความคิดเหล่านี้ ไม่สามารถแก้ไขความแตกต่างระหว่างร่างกายซึ่งเป็นโลกทางวัตถุ กับจิตใจซึ่งเป็นโลกทางจิตวิญญาณ ซึ่งปรากฏให้เห็นในยุคประวัติศาสตร์ของยุคสุดท้ายนี้ ตราบนั้น โลกก็ย่อมมุ่งไปสู่ความวิบัติ บัดนี้ เรากำลังเผชิญหน้ากับยุคสุดท้ายของประวัติศาสตร์ ซึ่งพระเจ้าจะทรงตัดสินอย่างเด็ดเดี่ยว เราผู้กำลังมีชีวิตอยู่ในยุคนี้ จะนำวิสัยทัศน์ใด มาใช้แก้ไขปัญหามากมาย กระบวนการนี้เผยตัวเองออกมาในระดับโลก โดยได้สร้างกระแสแนวความคิดหลักถึงสองกระแสด้วยกัน นั่นก็คือ วัตถุนิยมกับอุดมการณ์นิยม โดยกระแสหนึ่งได้ครอบงำดินแดนเกาหลีใต้แล้ว

    เราได้เห็นแล้วว่า โลกทุกวันนี้เป็นอย่างไร โลกถูกแบ่งออกเป็นสองค่าย ระหว่างโลกคอมมิวนิสต์กับโลกประชาธิปไตย หรือระหว่างคาอินกับอาแบล และทั่วโลกก็ถูกแบ่งไปตามนั้น คาอินอาแบลสร้างแต่ความทุกข์ขึ้น เพราะทั้งสองต่อสู้กันหลังเกิดการตกสู่บาป ตราบใดที่โลกคอมมิวนิสต์แบบคาอิน
    และโลกประชาธิปไตยแบบอาแบลยังคงแบ่งแยกกันอยู่และยังคงต่อสู้กันในสนามรบ ตราบนั้นการชำระสายเลือดในประวัติศาสตร์ที่น่าเศร้าโศก ในอาณาจักรแห่งสันติภาพของสวรรค์ ก็ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นบนโลก พ่อแม่แห่งสันติภาพก็ไม่อาจเกิดขึ้นบนโลกได้เช่นกัน ดังนั้น พ่อแม่ของโลกแห่งความสามัคคีจะมายังโลกนี้ได้ ก็ต่อเมื่อโลกคอมมิวนิสต์กับโลกประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแบบคาอินอาแบลนั้น รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฉะนั้น ยุคปัจจุบันนี้จึงเป็นยุคสุดท้ายของทั่วโลก

    หากการดำรงอยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่มีการต่อสู้และการปฏิเสธฝ่ายตรงข้าม ยังคงดำเนินอยู่ การดำรงอยู่ร่วมกันโดยไม่มีการต่อสู้นั้น ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย และการดำรงอยู่โดยที่แต่ละคนผดุงไว้ซึ่งสันติภาพและให้ความรักแก่กันนั้นก็แทบไม่มีเลย จากทัศนะนี้เอง เราต้องแก้ไขการต่อสู้กันตั้งแต่รากเหง้า ระหว่างแนวความคิดอุดมการณ์นิยมกับแนวความคิดทางวัตถุนิยม เราจะนำความดีมาแก้ไขปัญหานี้โดยเริ่มจากจุดใด เราต้องสร้างมาตรฐานที่เป็นพื้นฐานที่มั่นคงเสียก่อน แล้วเราจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาโดยอาศัยมาตรฐานดังกล่าว

    ทุกวันนี้ อะไรเป็นตัววัดว่า จิตใจมาก่อนหรือวัตถุมาก่อน หรือร่างกายมาก่อน เราต้องตระหนักรู้ว่า นี่คือความสับสนที่เกิดขึ้นทางกระบวนทัศน์ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในยุคสุดท้ายนี้ จิตใจอยู่ฝ่ายภายในส่วนร่างกายอยู่ฝ่ายวัตถุ และทั้งสองต่อสู้กันอยู่ตลอดเวลา แล้วสันติภาพจะมีในตัวบุคคลนั้นหรือไม่ เราต้องรู้ว่า โลกนี้กำลังตกอยู่ในสภาวะของความสับสน

    ตามหลักการ ผมต้องยืนอยู่บนพื้นฐานที่โลกประชาธิปไตย ซึ่งอยู่ในฝ่ายอาแบล รวมเป็นหนึ่งกับโลกคอมมิวนิสต์ ซึ่งอยู่ในฝ่ายของคาอิน ดังนั้น สองโลกนี้จะต้องรวมเป็นหนึ่งกัน โลกนี้ได้แบ่งออกเป็นโลกประชาธิปไตย(ใจ)และโลกคอมมิวนิสต์(กาย) ผมไม่สามารถเปิดประตูไปสู่สันติภาพโลกได้ หากผมไม่ได้ยืนอยู่บนพื้นฐานการรวมเป็นหนึ่งของทั้งสองโลกนี้ นี่คือหลักการ หลักการนี้จะเป็นตัวเชื่อม ตั้งแต่ร่างกายของบุคคลหนึ่งไปสู่ครอบครัว สังคม ชาติและโลก

    ในเอกภพนี้ มีสิ่งดำรงอยู่เริ่มแรกอยู่หนึ่งหรือสอง นี่คือคำถาม ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างมิได้เริ่มต้นมาจากหนึ่ง แต่เริ่มต้นมาจากสอง มนุษย์ก็ย่อมติดตามเส้นทางความขัดแย้งของสองทาง ดังนั้นแล้ว ย่อมไม่มีสันติภาพ ความสุข หรือเสรีภาพอันใดเกิดขึ้นบนโลกนี้อย่างแน่นอน
    สิ่งที่เราเรียกว่า เสรีภาพจะแสดงออกมา ในสภาพแวดล้อมที่มีศูนย์กลางที่เจ้านายเดียว สิ่งที่เราเรียกว่าความสุขหรือสันติภาพ จะเกิดขึ้นได้ในสภาวะที่มีศูนย์กลางที่เจ้านายเดียวเช่นกัน และไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากมีสองเจ้านายต่อสู้กัน ครอบครัวที่พ่อแม่ต่อสู้กัน จะมีความสุขหรือไม่ แล้วคนที่อยู่ในครอบครัวนี้จะมีความสุขได้อย่างไร ย่อมไม่มีความสุขแน่นอน ลูกๆ ที่อยู่ในครอบครัวนี้ก็ไม่มีความสุขเช่นกัน ตามหลักตรรกศาสตร์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ โลกจะกลายเป็นเมืองแห่งความฝันตามที่คอมมิวนิสต์ปรารถนา ก็โดยอาศัยกระบวนการการต่อสู้ ซึ่งจะถือว่าสมบูรณ์ ดังนั้น นโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์จึงคิดว่า นโยบายของตนสมบูรณ์กว่านโยบายอื่นๆ นั่นอาจถือว่าดี ถ้านโยบายนั้นอยู่ในฝ่ายของความดีซึ่งสามารถทำให้เกิดเสรีภาพ ความสุขและสันติภาพ อย่างไรก็ตาม เมื่อเรามองไปที่เนื้อหา ที่เป็นธาตุแท้ของคอมมิวนิสต์แล้ว เนื้อหาทั้งหลายล้วนอยู่เหนือความเชื่อ ในทำนองเดียวกัน คอมมิวนิสต์ไม่มีความแตกต่างระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดจบในการบรรลุถึงจุดมุ่งหมาย พวกคอมมิวนิสต์ยอมหันไปต่อต้านพ่อแม่ของตน ประเทศ หรือพวกพร้องของตน ถ้าหนทางนั้นทำให้พวกเขาบรรลุถึงจุดมุ่งหมาย ดังนั้น ทำให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งมีประวัติศาสตร์เจ็ดสิบปี ก่อปัญหาไปทั่วโลก

    โลกคอมมิวนิสต์มุ่งแสวงหาสิ่งใด มันแสวงหาโลกแห่งสันติภาพที่เกิดจากการต่อสู้ โลกสันติภาพที่ว่านี้ แตกต่างไปจากโลกสันติภาพ ที่โลกประชาธิปไตยกำลังพูดถึงในทุกวันนี้ โลกคอมมิวนิสต์จะกำจัดทุกสิ่งทุกอย่างที่ต่อต้านอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ฉะนั้น พวกเขาจึงพูดถึงสันติภาพโลกที่เกิดจากการขจัดสิ่งที่มีปฏิกิริยาตอบโต้ มันจึงแตกต่างกัน ปัจจุบันนี้ สหภาพโซเวียต ได้ประกาศถึงสันติภาพ แต่สันติภาพที่พวกเขากล่าวถึงนั้น ชี้ให้เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีศูนย์กลางที่ ม๊ากซ์ และ เลนิน และสิ่งที่ตอบโต้จะต้องถูกกำจัดออกไปและต้องไม่มีสิ่งใดมาต่อต้าน ส่วนสันติภาพของโลกประชาธิปไตยนั้น คือ การรวมแนวความคิดฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวาเข้าด้วยกัน เพียงแค่พื้นฐานก็แตกต่างกันแล้ว โลกประชาธิปไตยให้ฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวาทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน และการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันย่อมทำให้เกิดสันติภาพ ไม่มีแนวความคิดเกี่ยวกับการกำจัดใครออกไป ประชาธิปไตยมีแนวความคิดที่เข้าใจและเป็นอุดมการณ์ แต่ไม่มีแนวความคิดการทำลายล้างหรือการกำจัดออกไป ดังนั้น ประชาชนอย่างเราๆ จะต้องต่อสู้ในแนวหน้าในฐานะเป็นผู้ธำรงไว้ซึ่งมาตรฐานระดับโลก ส่วนลัทธิคอมมิวนิสต์ยึดอุดมการณ์ที่ไม่มีความเป็นมนุษยธรรม ในลัทธิคอมมิวนิสต์ ประชาชนกล่าวว่า แม้แต่ความรัก ครอบครัว และพ่อแม่ยังเป็นนักตักตวงผลประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น จากทัศนะของคอมมิวนิสต์ ลูกๆ จะมองพ่อแม่ของตนว่า เป็นนักตักตวงผลประโยชน์ที่หาผลประโยชน์กับลูกๆ ในระบบดังกล่าวจึงไม่มีการพูดถึงความรักหรือพูดถึงความจริงใดเลย

    สันติภาพที่ประชาธิปไตยยึดถือทุกวันนี้ คือสันติภาพที่มีความกลมกลืนกัน โดยไม่คำนึงถึงชนชั้นฐานะ ยกตัวอย่างเช่น คนที่อยู่ในสังคมชั้นสูง สามารถลดตัวลงมาช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในสังคมชั้นต่ำได้ ประชาชนที่อยู่ฝ่ายซ้าย ทำงานร่วมกับประชาชนในฝ่ายขวา และประชาชนในฝ่ายขวาทำงานร่วมกับประชาชนที่อยู่ฝ่ายซ้ายได้ ดังนั้น ย่อมเกิดความกลมกลืนกัน ถ้าองค์รวมนี้มีขนาดใหญ่ ก็ย่อมมีการแบ่งปัน ไปให้องค์รวมที่มีขนาดเล็ก เพื่อจะได้บรรลุถึงความกลมกลืน อย่างไรก็ตาม เราควรรู้ว่า นี่มิใช่วิธีการสันติภาพของลัทธิคอมมิวนิสต์ แนวความคิดแตกต่างกันมาก ไม่นานมานี้ โกบาชอฟได้ทำตัวเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ แต่สิ่งที่เขาทำนั้นเริ่มมาจากพื้นฐานที่ว่า โลกทั้งโลกตกอยู่ภายใต้ลัทธิคอมมิวนิสต์แล้ว เขาจะกำจัดสิ่งที่ตรงกันข้ามกับระบบของเขา ทุกวิถีทางไม่ว่าด้วยเล่ห์หรือด้วยกล

    เราไม่สามารถนำพาโลกไปสู่ทางที่ถูกที่ควรได้ โดยอาศัยความโหดร้ายทางสงคราม มีเพียงสันติภาพ ความกลมกลืน หรือการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเท่านั้น ที่จะดำเนินการนี้ได้ เงินทองหรือ จะทำได้ ไม่มีสิ่งใดจะให้ประสิทธิผลเท่ากับการกีฬา สิ่งถัดมาที่ถือว่าดีที่สุด ก็เห็นจะเป็นกิจกรรมด้านวัฒนธรรม มันเป็นเรื่องของการศึกษา การให้ทุนการศึกษา และการร่วมจิตร่วมใจทางการกีฬา แล้วจีนจะไม่เปิดประเทศ ตั้งโต๊ะเทนนิสเชียวหรือ


    Credit : http://www.samakki.com/teaching/cig/ruc3.html
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย shisaku : 6th July 2014 เมื่อ 09:37

  14. #12
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Aug 2011
    กระทู้
    1,448
    กล่าวขอบคุณ
    0
    ได้รับคำขอบคุณ: 575
    คอมมิวนิศ นี้มันใช่ว่าจะแย่คับ เพราะทุนนิยมนี้อย่างที่เห็นอยู่คับมันเกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน คนรวยงานน้อยแต่ได้รับผลตอบแทนมาก แต่คนจนนี้ทำงานหนักแต่ได้ค่าตอบแทนน้อย จึงเกิดระบบคอมมิวนิศขึ้นมาให้นึกถึงสมัยก่อนสมัยที่โลกยังเป็นยุคชนเผ่าอยู่คับ คือทุกคนทำงานเท่ากัน คนหนึ่งหาปลา คนหนึ่งไปล่าสัตว์ คนหนึ่งอยู่บ้านเลี้ยง คนหนึ่งคอยสร้างบ้านและรักษาโลก แต่ทุกอย่างที่หามาได้ก็แบ่งเท่าๆกัน อีกอย่าคอมมิวนิศเป็นระบบเศรษฐกิจไม่ใช่ระบบการปกครอง คอมมิวนิศแท้ๆไม่มีรัฐบาล และส่วนใหญ่จะใช้กระบวนการทางประชาธิปไตยในการตัดสินใจมากกว่า

    ปัญหาคือคอมมิวนิศมันทำไม่ได้ในสเกลใหญ่ สุดท้ายก็เกิดการเอาเปรียบในกลุ่มของผู้จัดสรรทรัพยากรซึ่งถ้าเป็นเลนนินนิสแท้จะจะต้องไม่มีรัฐบาลลพวกนี้ด้วยซ้ำ แต่มันดันมีและยังทำตัวแย่ๆอย่างเหมาหรือสตาลินด้วย รวมถึงกลายพันธ์ไปเลยแบบเกาหลีเหนือ ลัทธินี้จึงไปไม่รอด

    คอมมีถ้าจะใช้จริงทำตอนนี้ไม่ได้แน่ๆคับ เพราะทรัพยากรต่างๆมันมีจำกัด และการศักยภาพการทำงานของคนเรามันไม่เท่ากัน ลัทธินี้ทำได้แน่ถ้ามนุษย์มีเทคโนโลยีมากกว่านี้ เล่นนาโนเทคโนโลยีและเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ซึ่งถ้ามีจริงๆทรัพยากรก็สังเคราะห์เองได้ หุ่นยนต์ก็เป็นคนผลิตสินค้า ซึ่งคอมมิวนิศจะเป็นเป็นไปได้

    ส่วนประชาธิปไตยแท้ๆไม่มีคับ ประชาธิปไตยแท้ๆคือประชาธิปไตยทางตรงที่ประชาชนเข้าไปบริหารโดยตรงแบบโรมันสมัยก่อน(ซึ่งยังไม่ให้สิทธิผู้หญฺิงและทาสอยู่ดี) ซึ่งแน่นอนสเกลประชากรมันมากเกินไปแต่ถ้าจะใช้ประชาธิปไตยทางอ้อมก็ทำไม่ได้ดี เพราะกลายเป็นเงินแข่งเงิน พรรคเล็กไม่ได้เกิด กลายเป็นทุนนิยมไป สุดท้ายนายทุนก็เป็นผู้คุมอำนาจหมด แบบอเมริกาชัดเจนคับ นายทุนอยู่เบื้องหลังเช่นสมาคมปืนไรเฟิล คอยคุมและให้เงินสนับสนุนทั้งเดรโมแครตและรีพัพบริดกัน

    สรุปทำไม่ได้ทั้งคู่ กลายเป็นเผด็จหมด แค่เป็นเผด็จการแบบไหน เผด็จการพรรคคอมมิวนิศแบบจีน เผด็จการตระกูลคิม เผด็จการทุนนิยม เทวราชา Absolute monarchyพวกนี้ก็จัดว่าเป็นเผด็จการ โลกเราไม่มีทั้งประชาธิปไตยหรือคอมมิวนิศ มีแต่เผด็จการ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย liger0000 : 6th July 2014 เมื่อ 10:40

  15. สมาชิกที่กล่าวขอบคุณ:


  16. #13
    Statesman
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    ที่อยู่
    Bangkok
    กระทู้
    871
    กล่าวขอบคุณ
    0
    ได้รับคำขอบคุณ: 3,515
    Blog Entries
    8
    มันก็ใช้ได้จริง ทั้ง 2 ระบบแหละครับ แต่ประชาธิปไตยมันน่าจะเหมาะกับยุคนี้มากที่สุด
    คอมมิวนิสต์ผมขอข้ามนะครับ เพราะเห็นหลายคนพูดถึงข้อเสียของระบอบนี้ไปเยอะแล้ว

    เพื่อไม่ให้กระทู้ดูเอนเอียงไปทางฝั่งประชาธิปไตยมากเกินไป ขออนุญาตฝากอีกด้านนึงของระบอบประชาธิปไตยอันสวยงามไว้หน่อยละกัน

    ในแวดวงวิชารัฐศาสตร์ ก็มีการนิยามประชาธิปไตยไว้หลายนิยาม หลายแง่มุม หลายยุคสมัย หลายนักคิด หลายปาก
    หลายงานเขียน (ผมจำได้ว่ามีอยู่ปีนึงเคยมีนักวิจัยสาย Marxism คลอดงานวิจัยเรือง ประชาธิปไตยในสายคอมมิวนิสต์ ก็ตกใจกันว่าแบบนี้ก็มีด้วย 55)
    แต่มุมมองหรือแง่มุมของในวงวิชารัฐศาสตร์ก็ใช่จะเหมือนกันนะครับ ด้วย วิธีคิด หรือ วิธีวิทยา(Approach + Methodology)
    ที่แตกต่างกัน (เนื่องจากในสาขาวิชารัฐศาสตร์นั้นมีการแบ่งสาขาออกเป็น 4 สาขา นั่นก็คือ การเมือง การบริหาร สังคมวิทยา และ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ)
    ในที่นี้ผมจะขอพูดถึงแค่มุมมองในสาขาวิชาเดียวนะครับ เพราะดูจะเหมาะกับประเด็นขณะนี้ดี คือในสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
    คือในสาขานี้มุมมอง หรือ วิธีวิทยา จะเน้นที่กรอบการวิเคราะห์ในระดับ ระหว่างประเทศ หรือในสเกลที่มัน โกลบอล (external issues) ซะกว่า 80%
    มีหลายทฤษฎี หลายแนวคิดที่อธิบายถึงความเลวร้าย น่ากลัวของประชาธิปไตย ในโลกหลังสงครามเย็น
    ในวงวิชาการของฝั่ง Orientalism หรือฝั่ง Marxism รวมไปถึงฝั่ง Postmodernism
    ประชาธิปไตยกับทุนนิยมนี่แทบจะเป็นสิ่งที่น่ากลัวควบคู่กันเลย ผมขอยกตัวอย่างไว้เลยละกัน
    สาธยายแนวคิดให้ยืดยาวมันเสียเวลา และอาจจะยากต่อการทำความเข้าใจ

    ในระบบระหว่างประเทศของโลกปัจจุบันนี้เนี่ย จะมีการแบ่งสังคมของรัฐ สังคมของประเทศเอาไว้เป็นส่วนๆ
    ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายๆกับในประเทศประเทศนึงเลยล่ะครับ (ในประเทศนึงจะมีประชากรรวมตัวกันสังคม กับผู้นำประเทศใช่มั้ยครับ)
    อันนี้ โลกใบนี้ ก็มีประชากรที่รวมตัวกันเป็นสังคมเหมือนกันครับ คือ ประเทศต่างๆนี้ต่างเป็นประชากรในระบบโลก
    แตกต่างกันที่ โลกนี้ไม่มีผู้นำโลกอย่างเป็นทางการ ก็เลยมีสภาพเป็นสุญญากาศทางการเมือง
    ทีนี้มาถึงเรื่องประชาธิปไตย ในสมัยนี้ ในแนวคิดดังที่กล่าวไว้ข้างต้น มีความเชื่อว่า ประชาธิปไตยนั้น
    คือเครื่องมือที่สหรัฐอเมริกาใช้ในการครอบงำ และสร้างสังคมเผด็จการขึ้นในสังคมโลก โดยใช้ดาบที่เรียกว่า "อุดมการณ์ประชาธิปไตย"
    และ "สื่อ" ในการส่งออกอุดมการณ์ประชาธิปไตยไปยังที่ต่างๆ เรื่องนี้มันเริ่มมาจากช่วงปี 2001
    ที่อเมริกาถูกโจมตีที่ตึกเวิร์ลเทรด กับ เพนทาก้อน (9-11) เลยเป็นที่มาของนโยบาย Bush Doctrine และ พรบ. Patriot Act
    (ตามมาด้วย พรบ. FISA) ที่เริ่มสร้างความชอบธรรม ให้แก่อำนาจในมือของอเมริกาในสังคมโลกมากขึ้น
    (คือ กฎหมายดังกล่าว มีคำจำกัดความย่อๆว่า "กฎหมายใครไม่ให้ความร่วมมือกับอเมริกา = เป็นผู้ก่อการร้าย"
    หมายความว่า ด้วยอำนาจของกฎหมายดังกล่าว อเมริกาสามารถจะทำอะไรก็ได้ กับสถานการณ์หรือบุคคลที่ตนคิดว่าเกี่ยวข้องกับองค์กรก่อการร้าย)
    ด้วยกฎหมายดังกล่าวนั้น อเมริกาจึงเริ่มแผ่อำนาจและแพร่อุดมการณ์ไปยังที่ต่างๆทั่วโลกที่ยังไม่มีประชาธิปไตย
    (ซึ้งจริงๆแล้วก็แค่เพื่อหาผลประโยชน์จากทรัพยากร อันนี้เข้าทำนองกับพฤติกรรมของ การล่าอาณานิคมในสมัยศตวรรษที่ 18-19 มากๆ
    เพียงแต่ไม่ยึดดินแดนโดยตรง แต่ส่งคนของตนเองเข้าไปดำเนินการต่างๆ)
    ต่อมา เมื่อนำประชาธิปไตยไปยังจุดต่างๆทั่วโลกแล้ว อเมริกาก็จะใช้สถานะหัวหอกโลกประชาธิปไตย และสื่อที่อยู่ในมือ
    ทำการโฆษณาอุดมการณ์ต่างๆ ให้ทั่วโลกชูอเมริกา และตนก็จะเข้าไปขุดหาผลประโยชน์ในประเทศต่างๆ อย่างสบายใจ
    ผ่านการใช้นักลงทุนสัญชาติตนเอง นั่นก็คือบรรษัทข้ามชาติ (MNCs) รวมถึงการใช้ FDI ในการนำกลุ่มทุนเข้าไป
    ทำการสร้าง Landmark ของตนเองในพื้นที่ต่างๆ เท่านี้อำนาจของอเมริกาก็แผ่ไปทั่วโลกในทางพฤตินัยแล้วครับ
    ถึงแม้ทางทฤษฎีหรือทางนิตินัยจะยังไม่มีผลอะไร ให้น่าตื่นตระหนกจนคนต้องออกมาดิ้นก็เถอะ
    ด้วยกฎหมายต่างๆ ในช่วงหลังเหตุการณ์ 9-11 และอำนาจในเครือข่ายบรรษัทข้ามชาติทั่วโลก
    ตอนนี้อเมริกามีสถานะเสมือนเป็น เผด็จการผู้มีอำนาจอย่างเต็มกำมือในสังคมโลก ประเทศหรือรัฐต่างๆ
    แทบจะตกอยู่ภายใต้อำนาจของ USA แทบจะไม่มีอำนาจต่อกรใดๆได้ (ถึงตอนนี้ขอให้พับแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องภายในประเทศเก็บไว้ก่อนนะครับ
    อันนี้กำลังพูดถึง "สังคม" ที่หมายถึง ประเทศต่างๆ รวมตัวกันเป็นสังคม ในพื้นที่ของ "ลูกโลก" โดยผู้มีอำนาจสูงสุดในลูกโลก
    อยู่ตรงแผ่นทวีปอเมริกาส่วนบน คือบริเวณประเทศอเมริกานั่นเอง บัลลังก์ในสถานะระหว่างประเทศจึงอยู่ที่ อเมริกา)
    ซึ้งต่อนนี้นโยบายใหม่ที่เพิ่งคลอดของอเมริกาก็คือ US Spying Policy ที่เริ่มทำการสอดแนม Database ของประเทศต่างๆ
    ทั่วโลก เพื่อสอดส่องป้องกันการก่อการร้าย (อันนี้เรื่องจริงไม้่มีอคติ) อย่างไม่มีใครห้ามได้
    ไม่มีสภา ไม่มีตัวกลาง ไม่มีฝ่ายค้านในการคัดค้านพฤติกรรมของอเมริกา
    ประชาธิปไตยไหมครับ ? ไม่มีรัฐบาลกลาง ไม่มีสภาโลก
    สมัชชา และกลุ่มผู้บริหารใน UN ก็ไม่มีอำนาจ เพราะ UN ก็คือ ดาบเล่มนึงของอเมริกา
    เผลอๆประชาธิปไตยไม่มีจริงด้วยซ้ำในสังคมโลกนี้ อาจเป็นเรื่องเล่า ที่ใครบางคนอาจเพ้อมาก็ได้
    (meta-narrative) ใครจะรู้ล่ะ อเมริกาอาจใช้สื่อครอบงำเราโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ได้ จริงไหม?

    พอละ ขี้เกียจพิมพ์ ด้านบนที่พิมพ์ไว้นี้ไม่ใช่ แนวคิดของผมนะครับ
    ผมแค่สังเขปแนวคิดของนักคิดสำนักต่างๆรวมกันและกรองออกมาเป็นคำพูดให้คนอ่านเข้าใจง่ายๆเฉยๆ

    ไม่ต้องเชื่อผมก็ได้นะครับ มันก็แค่การนำทฤษฎีต่างๆมาวิเคราะห์ผนวกรวมกับสถานการณ์โลก
    จริงหรือไม่จริง 50-50 ครับ เพราะมันไม่ต่างอะไรกับการทำนาย มีสิทธิได้ทั้งเป็นความจริง
    และอาจจะเป็นไปไม่ได้

    ทั้งนี้ยังไงก็แล้วแต่ อาจจะถูกใจฝ่ายใด หรือไม่ถูกใจฝ่ายใด
    อยากถามอะไร PM มาละกัน ถามในนี้ผมอาจจะตอบได้ไม่ครบถ้วนเท่าไร โหะๆ

    ส่วนมุมมองในสาขาวิชาการเมืองการปกครองนั้น คุณ Liger ได้พูดไว้แล้วด้านบน ซึ่งเกือบจะทั้งข้อความที่เขาพูดมานั้น
    ค่อนข้างจะวางอยู่ในขอบเขตของสาขาวิชาการเมืองการปกครองทั้งหมดเลย ก็ลองอ่านๆและคิดดูตามละกัน



    อ้างถึง กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ liger0000 อ่านกระทู้
    คอมมิวนิศ นี้มันใช่ว่าจะแย่คับ เพราะทุนนิยมนี้อย่างที่เห็นอยู่คับมันเกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน คนรวยงานน้อยแต่ได้รับผลตอบแทนมาก แต่คนจนนี้ทำงานหนักแต่ได้ค่าตอบแทนน้อย จึงเกิดระบบคอมมิวนิศขึ้นมาให้นึกถึงสมัยก่อนสมัยที่โลกยังเป็นยุคชนเผ่าอยู่คับ คือทุกคนทำงานเท่ากัน คนหนึ่งหาปลา คนหนึ่งไปล่าสัตว์ คนหนึ่งอยู่บ้านเลี้ยง คนหนึ่งคอยสร้างบ้านและรักษาโลก แต่ทุกอย่างที่หามาได้ก็แบ่งเท่าๆกัน อีกอย่าคอมมิวนิศเป็นระบบเศรษฐกิจไม่ใช่ระบบการปกครอง คอมมิวนิศแท้ๆไม่มีรัฐบาล และส่วนใหญ่จะใช้กระบวนการทางประชาธิปไตยในการตัดสินใจมากกว่า

    ปัญหาคือคอมมิวนิศมันทำไม่ได้ในสเกลใหญ่ สุดท้ายก็เกิดการเอาเปรียบในกลุ่มของผู้จัดสรรทรัพยากรซึ่งถ้าเป็นเลนนินนิสแท้จะจะต้องไม่มีรัฐบาลลพวกนี้ด้วยซ้ำ แต่มันดันมีและยังทำตัวแย่ๆอย่างเหมาหรือสตาลินด้วย รวมถึงกลายพันธ์ไปเลยแบบเกาหลีเหนือ ลัทธินี้จึงไปไม่รอด

    คอมมีถ้าจะใช้จริงทำตอนนี้ไม่ได้แน่ๆคับ เพราะทรัพยากรต่างๆมันมีจำกัด และการศักยภาพการทำงานของคนเรามันไม่เท่ากัน ลัทธินี้ทำได้แน่ถ้ามนุษย์มีเทคโนโลยีมากกว่านี้ เล่นนาโนเทคโนโลยีและเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ซึ่งถ้ามีจริงๆทรัพยากรก็สังเคราะห์เองได้ หุ่นยนต์ก็เป็นคนผลิตสินค้า ซึ่งคอมมิวนิศจะเป็นเป็นไปได้

    ส่วนประชาธิปไตยแท้ๆไม่มีคับ ประชาธิปไตยแท้ๆคือประชาธิปไตยทางตรงที่ประชาชนเข้าไปบริหารโดยตรงแบบโรมันสมัยก่อน(ซึ่งยังไม่ให้สิทธิผู้หญฺิงและทาสอยู่ดี) ซึ่งแน่นอนสเกลประชากรมันมากเกินไปแต่ถ้าจะใช้ประชาธิปไตยทางอ้อมก็ทำไม่ได้ดี เพราะกลายเป็นเงินแข่งเงิน พรรคเล็กไม่ได้เกิด กลายเป็นทุนนิยมไป สุดท้ายนายทุนก็เป็นผู้คุมอำนาจหมด แบบอเมริกาชัดเจนคับ นายทุนอยู่เบื้องหลังเช่นสมาคมปืนไรเฟิล คอยคุมและให้เงินสนับสนุนทั้งเดรโมแครตและรีพัพบริดกัน

    สรุปทำไม่ได้ทั้งคู่ กลายเป็นเผด็จหมด แค่เป็นเผด็จการแบบไหน เผด็จการพรรคคอมมิวนิศแบบจีน เผด็จการตระกูลคิม เผด็จการทุนนิยม เทวราชา Absolute monarchyพวกนี้ก็จัดว่าเป็นเผด็จการ โลกเราไม่มีทั้งประชาธิปไตยหรือคอมมิวนิศ มีแต่เผด็จการ
    ขอเสริมให้คุณ Liger นิดนึง ประชาธิปไตยสมัยกรีก ยุคที่เรียกว่า มีประชาธิปไตยที่รุ่นบุกเบิก มีสภา และการเลือกตั้งอย่างน่าชื่นใจคนชอบประชาธิปไตย
    แล้ว ในระบบสังคมสมัยนั้น ยังมีการซื้อเสียง และ มีประชากรที่ไม่ตื่นตัวต่อเรื่องการเมืองอีกด้วย ประชากรสมัยนั้นยังมีหลายกลุ่มที่นอนหลับทับสิทธิ์
    ในหมู่ผู้ที่ไร้การศึกษาสมัยนั้น ยังมองว่าเรื่องการเมืองเป็นเพียงเรื่องของคนอื่น ไม่ใช่เรื่องของตนเอง บวกกับสภาพสังคมที่
    เป็นสังคมแบบมีทุนทางสังคมสูง (Social Capital ตามไปอ่านแนวคิดนี้เพิ่มเติมใน Robert Putnam) มีระบบเครือข่ายที่แน่นแฟ้น
    มีการเล่นพรรคเล่นพวก ใครสนใจประเด็นนี้ผมแนะนำให้ลองหาหนังสือปรัชญากรีกมาลองอ่านเล่นๆดูครับ สนุกดี
    แต่ขออย่าเพิ่งเชื่อแบบติดใจไปพูดต่อนะครับ อ่านแล้วลองพิจารณาวิเคราะห์ก่อน เพราะข้อมูลพวกนั้นเป็นข้อมูลจากบันทึก อาจมีการบิดเบือน
    เปลี่ยนแปลงเนื้อหาได้ อ่านแล้วอยากให้อ่านเพื่อเป็นอุทาหรณ์ เป็น case ศึกษาเฉยๆ ทีผมเอามาเล่านี่ไม่ใช่ไรนะครับ อยากเล่าเฉยๆ
    เผื่อหลายคนจะเอาไปต่อยอดไรได้

    และอเมริกา นั้นกลุ่มที่ครอบงำรัฐบาลอยู่คือ บรรษัทข้ามชาติครับ แม้ว่ารัฐบาลจะเป็นของ Democrat แต่ปัจจุบันพวกบรรษัทที่อยู่ในเครือข่าย Bush
    ก็ยังเป็นกลุ่มผลประโยชน์หลักของอเมริกาอยู่ครับ โดยเฉพาะกลุ่มบรรษัทข้ามชาติประเภทยานยนต์และการบิน
    บรรษัทข้ามชาติประเภทการบินที่มีสัญชาติ USA ส่วนใหญ่ไม่ได้ผลิตอุปกรณ์การบิน หริอเครื่องบินอย่างเดียวนะครับ (ยังผลิตอาวุธสงครามควบด้วยนะครับ)
    ส่วนบรรษัทอะไรนั้นผมขอไม่เอ่ยละกันครับ ไปหาข้อมูลเอาเอง ก็ถูกนะครับที่คุณ Liger ว่า มันไม่มีประชาธิปไตยที่แท้จริง
    ขนาดอเมริกาที่่สื่อแทบจะทุกสำนักอวยว่า มีประชาธิปไตยที่แท้จริง มีเสรีภาพ มีสิทธิ ก็ยังมีนโยบายที่ขัดกับประชาธิปไตยออกมาอยู่เนืองๆเลยคัรบ
    ชอบกินไข่เจียว

  17. สมาชิกที่กล่าวขอบคุณ:



 

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •  
Back to top