ยินดีต้อนรับเข้าสู่ jokergameth.com
jokergame
jokergame shop webboard Article Social


Colocation, VPS


joker123


เว็บไซต์เราจะอยู่ไม่ได้หากขาดเขาเหล่านี้ รวมช่วยกันสนับสนุนสปอนเซอร์ของพวกเรา

colocation,โคโลเคชั่น,ฝากเซิร์ฟเวอร์ game pc โหลดเกม pc slotxo Gameserver-Thai.com Bitcoin โหลดเกมส์ pc
ให้เช่า Colocation
รวมเซิฟเวอร์ Ragnarok
Bitcoin

กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4
  1. #1
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Feb 2015
    กระทู้
    355
    กล่าวขอบคุณ
    506
    ได้รับคำขอบคุณ: 5,590

    Talking AMD Zen , NVIDIA , Vulkan API , Async Compute , Radeon R9 FURY X2

    หลุดเพิ่มเติม ข้อมูล AMD Zen เกี่ยวกับ L0 Cache และ GMI Link จาก Linux Patch ล่าสุด



    ความแรงของ AMD Zen ตามที่ทาง AMD ได้เคลมเอาไว้ว่ามันจะมีความแรงเพิ่มขึ้นราว 40% จากซีพียูในตระกูลปัจจุบันของตนเองนั้น ดูท่าว่าน่าจะเป็นความจริงมากขึ้น เมื่อดูจากข้อมูลโครงของตัว CPU ที่ได้มาจาก patch update สำหรับ Linux kernel ในเวอร์ชันล่าสุดที่มีการโพสจากทาง AMD เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งมันก็เผยให้เห็นถึงข้อมูลบางอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัว CPU ในเรื่องของ L0 Cache ที่เราพอจะรับรู้กันมาบ้างแล้วจากข้อมูลหลุดของสเป็คตัว CPU ในตระกูล Zen แต่ในขณะนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า L0 Cache คืออะไร และมันจะมีประโยชน์อย่างไร

    จากข้อมูลใหม่ที่มีออกมาในวันนี้ก็ช่วยให้เราได้รู้รายละเอียดที่ชัดเจนขึ้นว่า L0 Cache ก็คือ micro-operation cache หรือ μOp cache นั่นเอง และไม่เพียงแค่เรื่องของ μOp cache เท่านั้น เรายังได้ทราบอีกด้วยว่า ช่องทางการรับส่งข้อมูลภายในตัว CPU หรือที่เรียกกันว่า interconnect รูปแบบใหม่ที่มีการใช้ชื่อว่า GMI link หรือ DataFabric นั้นมีอยู่จริง ๆ หลังจากที่มันเคยถูกเปิดเผยออกมาครั้งแรกในช่วงเดือนสิงหาคมปีที่แล้วโดย fudzilla.com



    สำหรับ L0 Cache หรือ μOp เหตุที่มันน่าสนใจก็เพราะว่า มันเป็นแคชที่ทาง Intel นั้นได้มีการติดตั้งใช้งานให้กับ CPU ของตนเองตั้งแต่ตระกูล Sandy Bridge เป็นต้นมา ซึ่งเวลานี้ทาง AMD ก็ได้มีการนำมาใช้งานกับ CPU ในตระกูล Zen ของตนเองแล้วเช่นกัน โดยประโยชน์ที่จะได้รับจากการมีชุด μOp มันก็จะสามารถเข้ามาช่วยลดระดับการใช้พลังงานของตัว CPU และยังจะช่วยลดปัญหาคอขวดจากการทำงานในแบบสองเทรดเวลาเดีวกันได้ โดยที่มันจะมีการดึงข้อมูลมาพักไว้ชั่วคราวหรือการทำตัวเป็นบัฟเฟอร์(buffer)คล้าย ๆ กับการเป็นตัวเก็บประจุในวงจรอิเลกทรอนิกส์



    ถัดมากับในส่วนของ GMI link (Global Memory Interconnect) ที่จริง ๆ แล้วก็มีการพูดถึงกันมาตั้งแต่ในช่วงสิงหาคมของปีที่แล้ว แต่ท่วามันก็ยังไม่มีความชัดเจนว่ามันจะเป็นข้อมูลที่เป็นความจริงหรือมีความน่าเชื่อถือขนาดไหน แต่ในเวลานี้ก็สามารถยืนยันได้แล้วว่ามันจะมีอยู่จริง โดยช่องทางการรับส่งข้อมูลภายในที่ชื่อว่า GMI link ดังกล่าวนี้ มันจะเป็นช่องทางรับส่งข้อมูลความเร็วสูงระหว่าง GPU(สำหรับ APU)ไปยัง CPU die และผ่านไปยัง RAM ซึ่งมันจะมีแบนด์วิดท์ที่กว้างถึง 25GB/s ต่อ 1 เลน ในขณะที่ PCI express 16x นั้นจะมีแบนด์วิดท์สูงสุดเพียง 15GB/s และมีค่าลาเทนซีหรือความล่าช้าในช่วง 500ns ซึ่งเพียงแค่ GMI like ช่องทางเดียวหรือ 1 เลนก็ให้แบนด์วิดท์ที่สูงกว่า PCI Express 16x เกือบเท่าตัว ทว่าตามข้อมูลที่เคยมีออกมาระบุว่าในตัว CPU จะมี GMI Link จำนวนทั้งสิ้น 4 เลนด้วยกัน ซึ่งมันจะสามารถให้แบนด์วิดท์รวมได้มากถึง 100GB/s สำหรับให้ GPU ได้คุยกันโดยตรงกับแรม และเทคโนโลยีนี้ก็ยังจะไม่มีปัญหาเรื่องของลาเทนซีเช่นเดียวกันกับ PCI Express อีกด้วย ดังนั้นการที่ตัว GPU, CPU และ RAM สามารถพูดคุยสื่อสารกันได้ด้วยแบนด์วิดท์ที่มากถึง 100GB/s ตรงนี้มันก็จะช่วยให้เพิ่มขีดความสามารถของเทคโนโลยี HSA กับการทำงานในด้านการคำนวนเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

    ด้านข้อมูลอื่น ๆ ที่น่าสนใจที่ได้รับจาก Patch update นั้นก็ยังมีอีกหลายจุด แต่คำขยายความที่มีออกมาก็ค่อนข้างเป็นเรื่องของทางเทคนิคขั้นสูงที่ยากต่อการจะเข้าใจ ดังนั้นก็ขอหยิบยกมาในแบบง่าย ๆ เป็นหัวข้อให้ได้รับรู้กันว่ามันประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ซึ่งก็จะเป็นไปตามรายการด้านล่าง

    • GMI link confirmed (ตามที่มีการพูดถึงครั้งแรกจาก Fudzilla)
    • FMAC units are on longer tied to the FP3 pipe as said in the October patch – this could mean no bottleneck here – and maybe some other trick (ยืนยันว่า FP3 ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ)
    • uOp cache
    • 4x parallel page table walker (Skylake มีเพียง 2 ชุดต่อ core)
    • Checkpointing and atomic ops mentioned
    • 4 cycle latency 2R1W 32kB L1 D$


    ZoLKoRn Say : ชักจะมีความน่าสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกขณะสำหรับ Zen core จากทาง AMD และดูเหมือนว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่เคยหลุด เคยเป็นข่าวลือล้วนแล้วเป็นเรื่องจริงหรือเป็นข้อมูลจริงแทบทั้งสิ้น และมาในวันนี้เราก็ได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากขึ้นของสถาปัตยกรรม Zen ซึ่งสิ่งที่เราได้เห็นไปก็ช่วยเพิ่มน้ำหนักกับเรื่องของประสิทธิภาพที่ทาง AMD เคยบอกเอาไว้ว่า Zen จะแรงขึ้น 40% (ประสิทธิภาพในแบบ IPC หรือ Instruction per cycle) มีความน่าเชื่อถือหรือเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น แต่จะอย่างไรแล้วก็ขอให้แฟน ๆ เผื่อใจไว้บ้างละกันนะครับ เพราะจากในอดีตที่ผ่านมาในช่วงเวลาก่อนการเปิดตัวของซีพียูในรหัส Bulldozer ข้อมูลทุกอย่างที่ออกมาก็ดูสวยหรูคล้าย ๆ กับที่เป็นอยู่ในเวลานี้ ที่ทุกอย่างนั้นดูเอื้อเป็นอย่างมากกว่ามันจะเป็นซีพียูที่มาฆ่าคู่แข่งเพื่อยึดบันลังก์แทน แต่แล้วผลที่ออกมาจริง ๆ กลับสร้างความผิดหวังให้กับแฟน ๆ ตนเองเป็นอย่างมาก แต่ก็หวังว่าในรอบนี้ประวัติศาตร์จะไม่ซ้ำรอยเดิมอีกครั้งนะครับ

    NVIDIA ประกาศ GTX 400 และ GTX 500 จะไม่รองรับ Vulkan API



    Vulkan API จากทาง Khronos Group กำลังถูกเป็นที่จับตามมองเป็นอย่างมากในเวลานี้ สำหรับ API อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักพัฒนาที่จะเข้ามาแข่งขันกับ DirectX 12 API จากทาง Microsoft ซึ่ง Vulkan ก็จะเป็น API อีกตัวหนึ่งที่จะมีรูปแบบการทำงานในแบบ Low level API ซึ่งได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจาก Mantle API ของทาง AMD และจุดเด่นของ Vulkan นั้นไม่เพียงแต่จะเป็นรูปแบบการทำงานเท่านั้น เพราะมันยังมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ที่จะไม่โดนบังคับบนแพลทฟอร์มใดแพลทฟอร์มหนึ่งว่าต้องเป็น Windows 10 อย่างเช่น DirectX 12 แต่มันจะสามารถใช้ได้กับ OS ทุกตัวไม่ว่าจะ Windows เก่าหรือ Windows ใหม่ยังรวมไปถึง Linux, Android หรือแม้แต่ iOS และด้วยเหตุนี้จึงทำให้มันมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

    การที่ Vulkan จะสามารถโลดแล่นอยุ่ในวงการได้นั้น มันก็จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตฮารืดแวร์ทั้งหลาย โดยเฉพาะจากผู้ผลิตการ์ดจอ ซึ่งในเบื้องต้นทั้งทาง AMD และ NVIDIA ก็เคยออกมาประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่า ตนเองจะร่วมสนับสนุนการใช้งานของ Vulkan แต่ทว่าล่าสุดทาง NVIDIA ก็ได้กล่าวออกมาในแบบอย่างไม่เป็นทางการว่า ตนเองจะไม่มีการปล่อย Driver ที่รองรับการทำงานร่วมกับ Vulkan สำหรับการ์ดในตระกูลเก่า ๆ อย่าง GTX 400 และ GTX 500 Series โดยเหตุผลที่แจ้งเอาไว้นั้น ระบุมาว่า มันไม่ได้เป็นปัญหาในทางวิศวกรรมหรือพูดง่าย ๆ ว่าเป็นปัญหาทางเทคนิคที่ไม่สามารถทำได้ แต่มันเป็นปัญหาจากผู้ใช้งานที่ NVIDIA มองว่า คงจะไม่มีผู้ที่ใช้งานการ์ดในตระกูลดังกล่าวจะให้ความสนใจในการอัพเดทเพื่อให้ใช้งาน Vulkan



    ในฝั่งของทาง AMD เองตามที่ได้เคยประกาศเอาไว้แล้วว่า การ์ดของตนเองที่เป็น GCN เท่านั้นจะรองรับ Vulkan API ซึ่งหากเรามองถึงช่วงเวลาของการเปิดตัวครั้งแรกของสถาปัตยกรรม GCN GPU ของทาง AMD มันก็จะเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ทาง NVIDIA เปิดตัว GTX 600 Series ออกมา ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจอะไรที่ NVIDIA จะประกาศให้ GTX 400 และ GTX 500 Series ไม่รองรับ Vulkan ทั้งนี้ก็คงเพื่อความสะดวกในการทำงานของทีมพัฒนา Driver ที่ไม่ต้องทำงานให้วุ่นวายมากนัก ที่จะต้องไปเผื่อให้รองรับกับการ์ดจอในรุ่นเก่า ๆ ของตนเองที่ในเวลานี้ตัวการ์ดเองก็ไม่ได้มีขายแล้ว

    ดังนั้นโดยสรุปของการ์ดจอจากทั้งสองค่ายที่จะมีการรองรับ Vulkan API คือ ในฝั่งของ AMD ก็จะเป็นการ์ดในตระกูลที่ใช้ GPU สถาปัตยกรรม GCN ทั้งหมดก็เริ่มตั้งแต่ยุค HD 7000 Series เป็นต้นมาส่วนทาง NVIDIA ก้จะเป็นการ์ดในตระกูล GTX 600 Series เป็นต้นมา

    ZoLKoRn Say : ไม่ถือว่าเป็นเรื่องแปลกหรือน่าตกใจอะไร สำหรับการตัดการรองรับ Vulkan ของการ์ดรุ่นเก่า ๆ เพราะถ้าผมเป็น NVIDIA เองก็คงไม่เอาด้วย ไม่อย่างนั้นแล้วมันก็จะต้องวุ่นวายมาก ๆ สำหรับนักพัฒนาที่จะต้องมีคอยะพวงว่าการ์ดรุ่นเก่า ๆ จะใช้ได้ดีขนาดไหน ซึ่งไม่เพียงแค่ว่าจะทำให้การพัฒนา Driver เป็นไปอย่างยุ่งยากแล้ว งบประมาณในการพัฒนาที่ต้องเสียไปก็จะมาขึ้นตามไปด้วย และเพียงแค่นับจาก GTX 600 Series ขึ้นมาแล้วนั้น ก็ถือว่ามีการ์ดเป็นจำนวนมากแล้วที่จะรองรับ Vulkan ซึ่งเพียงแค่นี้ก็น่าจะวุ่นวายมากพอสมควรแล้วสำหรับการพัฒนา Driver

    Async Compute อาวุธลับของ AMD บน DX12 ที่จะมาต่อกรกับเจ้าตลาด Nvidia



    นับว่าเกม Ashes of The Singularity ได้รับความสนใจจากชาวพีซีเกมเมอร์เป็นอย่างยิ่งเพราะด้วยการที่ว่าเกมนี้สนับสนุน API low level DirectX 12 ที่เปิดเวอร์ชั่นเบต้าให้สาธรณชน(คนที่ซื้อ)ได้ลิ้มลองก่อนใครและถือเป็นเกมเดียวในตอนนี้ที่รองรับฟีเจอร์การ Cross-SLI ระหว่างการ์ดจอ AMD และ Nvidia หรือจะเป็นการ์ดค่ายเดียวกันที่ต่างรุ่นต่างยี่ห้อก็สามารถนำมาขับเฟรมเรตให้กับเกมนี้ให้สูงขึ้นได้ ด้วยหลักการที่ว่าการรวมกันของทรัพยากรที่แนบแน่นยิ่งขึ้นใน DirectX 12

    จากผลทดสอบเกม Ashes of the Singularity บน DirectX 12 API ของ Tomshardware.com และ Anandtech.com จะพบว่าการ์ดจาก AMD มีคะแนนนำโด่งในการทดสอบโดยเฉพาะเมื่อได้รับการทดสอบโดยการเปิดฟีเจอร์ Async Compute บน DirectX 12 และเป็นที่น่าสังเกตคือ การ์ดจออย่าง AMD R9 390X และ AMD R9 390 ที่เป็นชิปที่ได้รับการรีแบรนด์มาจาก R9 290 series ที่เปิดตัวไปตั้งแต่ปี 2013 สามารถทำคะแนนนำชิป GM204 (GTX980, GTX970) ของค่ายคู่แข่งที่ใหม่กว่าได้อย่างน่าตกใจ และแล้ว…





    NVIDIA ออกมายืนยันฟีเจอร์ ASYNC COMPUTE หายไปจากการสนับสนุนบน GEFORCE DRIVERS FOR ASHES OF THE SINGULARITY


    Sean Pelletier
    @PellyNV
    Fun FACT of the day: Async Compute is NOT enabled on the driver-side with public Game Ready Drivers. You need app-side + driver-side!
    1:09 AM - 25 Feb 2016
    ถือเป็นที่ประหลาดใจอย่างมากเมื่อเราพบว่า Nvidia ยังไม่ได้ดำเนินการใส่ฟีเจอร์ Async Compute ในไดร์เวอร์ที่อัพเดตมาเพื่อรองการมาของเกม Ashes of The Singularity แม้จะมีข่าวที่ว่าทาง Nvidia ทำงานอย่างแข็งขันในการดำเนินการพัฒนาฟีเจอร์ Async Compute ให้ทำงานร่วมกับ GeForce Drivers อย่างสมบรูณ์แบบบน DirectX 12 กับทีมงาน Oxide ผู้พัฒนาเกมเมื่อหกเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งในตอนนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆที่เผยออกมาจากทาง Nvidia เลย

    และเราสามารถตั้งข้อสังเกตจากประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับ Nvidia และ Async Compute บนเกม Fable Legends ซึ่งเป็นอีกเกมที่สนับสนุนคุณสมบัตินี้ซึ่งการ์ดจอตระกูล GeForce ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำการสนับสนุนคุณสมบัตินี้เลย จากข้อสังเกตุพบว่า มันเป็นเรื่องที่ประหลาดที่ผู้นำตลาดการ์ดจออย่าง Nvidia ที่ปกติจะปล่อยไดร์เวอร์เร่งประสิทธิภาพให้กับการ์ดจอของตนในเวลาที่มีเกมใหม่ๆออกวางจำหน่าย ยังพิกเฉยกับ Async Compute และปล่อยให้การ์ดคู่แข่งมีคะแนนนำไปในหลายการทดสอบบนเกมที่กำลังจะวางจำหน่ายในอนาคตอันใกล้ แม้ขณะที่ทีมงาน Oxide Games จะทำการเปิดเสรีในการใช้เทคโนโลยีนี้บนเกม Ashes of the Singularity ของตนแล้วก็ตาม และมันเป็นคำถามที่ว่าทำไมสิ่งที่ถูกเปิดกว้างให้ใช้กันอย่างกว้างขวางเช่นนี้ มีความซับซ้อนเสียจนไม่สามารถทำงานร่วมกับกับซอฟต์แวร์ได้จากเหตุที่บริษัท Nvidia ยังไม่สามารถทำให้มันเข้ากันได้กับซอฟต์แวร์ของตน ซึ่งเรื่องนี้จะเราจะโทษซอฟต์แวร์อย่างเดียวไม่ได้และต้องลองย้อนมองความแตกต่างของสถาปัตยกรรมระหว่าง Nvidia’s Maxwell และ AMD’s Graphics Core Next ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญของเรื่องนี้

    นักพัฒนาได้วิเคราะห์และสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นให้เราเข้าใจกันง่ายๆก็คือ Nvidia ได้ทำการแก้ปัญหาในเรื่องหนึ่งแต่กลับทำให้เกิดอีกปัญหาหนึ่งเข้ามาแทนที่ – โดยในชิปตระกูล Maxwell Nvidia ได้ทำการลดอัตราการบริโภคพลังงานและลดขนาดของ GPUs ลง โดยยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพในการประมวลผลกราฟฟิคโดยเมื่อเรานำมาเทียบกับ การ์ด Kepler รุ่นก่อนหน้าจะพบว่ามีประสิทธิภาพต่อคอร์ที่เพิ่มขึ้น 1.4 เท่าและประหยัดพลังงานลงกว่า 2 เท่าตัว ในทางกลับกัน AMD กลับนำเสนอสิ่งที่ตรงกันข้าม โดยทำการออกแบบชิปที่มีความครอบคลุมและมีความยืดหยุ่นซึ่งช่วยผู้พัฒนาได้โดยตรง อย่างไรก็ตาม มันก็ต้องแลกกับราคาของชิปที่สูงขึ้น(ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มจำนวนทรานซิสเตอร์)พร้อมกับขนาดที่ใหญ่ขึ้นและที่สำคัญทำให้บริโภคพลังงานมากขึ้นไปด้วย ถ้าจะพูดง่ายๆก็คือ AMD ยอมให้การ์ดของตนบริโภคพลังงานที่สูงเพื่อแลกมากับความสมบรูณ์แบบ ส่วน Nvidia มุ่งมั่นที่จะผลักดันการให้ใช้พลังงานที่น้อยลงและย้อมเสียสละอีกสิ่งหนึ่งเพื่อบรรลุให้สิ่งที่พวกเขาเลือก ซึ่งในกรณีนี้สิ่งที่พวกเขายอมเสียสละก็คือ Async compute.





    แล้ว Asynchronous Compute บน DirectX 12 มันคืออะไรกันล่ะแล้วมันสำคัญขนาดไหน?



    Asynchronous Shaders หรือ Asynchronous Compute หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อ Asynchronous Shading คือหนึ่งในฟีเจอร์ในด้านฮาร์ดแวร์ที่จะทำงานบน DirectX12 และ Vulkan(รวมทั้ง Mantle) โดยฟีเจอร์นี้ช่วยให้งานที่จะถูกส่งไปประมวลผลที่ Shader units ในตัว GPU (Nvidia เรียนสิ่งนี้ว่า CUDA cores ส่วน AMD เรียกว่า Stream Processors) สามารถทำได้หลายๆงานพร้อมกัน โดยไม่ต้องรอจังหวะ Idle (ว่างงาน) ซึ่งใน Intel นั้นได้มีเทคโนโลยีที่ทำได้คล้ายๆกันนี้ ในชื่อ Hyper-threading ที่ช่วยให้นำทรัพยากรในคอร์ซีพียูที่อยู่ในจังหวะ Idle ที่เหลือจากการประมวลผลมาจำลองใช้งานเป็นคอร์เสมือนที่จะช่วยคอร์หลักประมวลผลในงานต่างๆ ซึ่งฟีเจอร์นี้จะมีประโยชน์อย่างมากในกรณีที่โปรแกรมหรือเกมเรียกใช้การประมวลผลแบบ Multi-threading หรือการกระจายงานให้ CPU สามารถประมวลผลได้หลายๆ thread ส่วนในกรณีที่โปรแกรมหรือเกมเรียกใช้ทรัพยากรใน คอร์ซีพียู ไปจนหมดการมี Hyper-threading นั้นก็แทบจะไม่ช่วยอะไรเลย



    ใครจะเคยคิดว่าหน่วยประมวลผล Shader units หลายพันหน่วยที่อยู่ในชิป GPU รุ่นใหม่ที่สนับสนุนการประมวลผลแบบ Multi-threading อยู่แล้วใน DX11 ในความจริงมันเป็นการทำงาน multi-threading แบบพื้นๆเท่านั้น โดยยังมีปัญหาทางเทคนิคหลายอย่างที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์หน่วยประมวลผล shader units หลายพันหน่วยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

    โดยการทำงานของกราฟิกแบบมัลติเธรด ใน DX11 ไม่อนุญาตให้มีงานหลายๆงานประมวลผลพร้อมกันโดยธรรมชาติ โดยที่ผู้พัฒนาไม่ต้องเพิ่มความซับซ้อนในการออกแบบโปรแกรม(Optimize) นั่นหมายความว่า GPU จำนวนมากไม่สามารถใช้ทรัพยากรทั้งหมดที่มีอยู่ดำเนินการประมวลผลคำสั่งให้ทันตามเวลาที่กำหนด ในทางกลับกันนั่นหมายความว่า GPU อาจจะไม่เคยนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งโปรแกรมเมอร์จำนวนมากไม่สามารถใช้ประโยชน์จากก้นลึกของตัวฮาร์ดแวร์เต็มศักยภาพของมันได้ในการปฏิบัติงานต่างๆ



    แต่ใน DX12 และ Vulkan ฟีเจอร์ที่เรียกว่า Asynchronous Shaders สามารถช่วยให้การประมวลผลแบบ Multi-threaded ได้อย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้นบน GPU ที่ช่วยให้การประมวลผลของงานต่างๆสามารถดำเนินการพร้อมกันอย่างมีอิสระเพื่อให้แต่ละหนึ่งในหลายพันของ Shader units ภายในชิป GPU สามารถนำออกมาใช้งานมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อเป็นการผลักดันประสิทธิภาพการประมวลผลและการใช้พลังงานให้ฉลาดยิ่งขึ้น

    อย่างไรก็ตาม การจะเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้ GPU จะต้องถูกสร้างขึ้นจากพื้นฐานที่สามารถสนับสนุนฟีเจอร์นี้ด้วย โดยใน กราฟฟิคการ์ดของ AMD’s ที่เป็นพื้นฐานของ Graphics Core Next (GCN) ทุกรุ่นสามารถเปิดใช้งาน Asynchronous Compute ได้ เพราะโครงสร้างของ GCN จะมีช่องทางที่แยกกันบนไฮเวย์ที่จะส่งงานไปยังแต่ล่ะ Stream processors อยู่แล้ว

    Async Compute อาวุธลับของ AMD บน DirectX 12



    ในภาพจะเห็นว่า แต่ล่ะ ACE มีความสามารถในการจัดการคิวแปดคิวด้วยกัน ACEs ออกมาพร้อมกับ AMD GCN รุ่นแรกใน GPU โค๊ดเนม Tahiti, HD 7970 (ต่อมาเป็น R9 280X) ในปี 2011 ฟีเจอร์นี้ในตอนแรกถูกนำมาใช้ประโยชน์ในงานเฉพาะด้านมากกว่าจะใช้ประมวลให้กับเกมเพราะในเวลานั้นยังไม่มี API ใดๆที่สามารถเข้าถึงและใช้งาน ACEs ได้เลยแต่มาในวันนี้ ACEs สามารถขึ้นมามีบทบาทอันโดดเด่นในการประมวลผลทางด้านเกมผ่าน API อันทันสมัยอย่าง DirectX 12 และ Vulkan ดังนั้นในความรู้สึกนี้มันก็เหมือนอาวุธลับที่ถูกซ้อนเร้นมาอย่างยาวนาน(จริงๆก็ไม่ได้ซ่อนอะไรหรอกมันไม่มีใครเรียกใช้มันมากกว่า) ได้ถูกเรียกใช้งานโดย API ยุคใหม่อย่าง DirectX 12



    AMD Nvidia
    3D queue support Yes Yes
    Compute queue support Yes Yes
    3D queue limit N/A N/A
    Compute queue limit 64 (GCN 1.2)
    64 (GCN 1.1)
    2 (GCN 1.0)
    N/A
    Multi engine concurrency 1+8 (GCN 1.2)
    1+8 (GCN 1.1)
    1+2 (GCN 1.0)
    1
    Compute shader concurrency on 3D engine 64/128 (GCN 1.2)
    32/64 (GCN 1.1)
    64 (GCN 1.0)
    1 (900 series)
    1 (700 series)
    3D shader concurrency on 3D engine 64/128 (GCN 1.2)
    32/64 (GCN 1.1)
    64 (GCN 1.0)
    31 (900 series)
    31 (780 series)
    5/10/15 (remainder of 700 series)
    Compute shader concurrency on compute engine 32/64 (GCN 1.2)
    32 (GCN 1.1)
    64 (GCN 1.0)
    32 (900 series )
    32 (780 series)
    6/11/16 (remainder of 700 series)
    Mixed 3D/Compute wavefront interleaving Yes Limited

    • GCN 1.2 : R9 Fury X, Fury, Nano, R9 380 series & R9 285.
    • GCN 1.1 : R9 390 series, R9 290 series, R7 360, R7 260 series & HD 7790.
    • GCN 1.0 : All other AMD graphics cards from the HD 7000 series onwards.


    AoTKnighT Say :

    -AMD: อย่าเสียใจที่การ์ดจอเรากินไฟ แต่จงดีใจที่เราได้ Async Compute เรากลับคืนมา

    Nvidia : อย่าเสียใจที่เรายังไม่มี Async Compute แต่จงดีใจที่การ์ดจอของเรากินไฟน้อยกว่า

    ซึ่งตรงกับประโยคที่ว่า A balance between two opposing things, that you are willing to accept in order to achieve something – การต้องตัดสินใจเลือกเมื่อมี 2 ทางเลือกที่ขัดแย้งกันอยู่ โดยเรายินดีเสียสละบางสิ่งเพื่อให้ได้อีกสิ่งหนึ่ง

    Radeon R9 FURY X2 จะใช้แค่ซิงก์ลม ? (Air cooler)



    สองสามวันก่อนหากใครที่ได้ติดความเคลื่อนไหวจากทาง AMD ที่ได้มีการออกมาโพสภาพเครื่อง Tiki PC ที่มันจะมาพร้อมกับการ์ดตัวแรงในรหัส R9 FURY X2 ซึ่งโพสผ่าน Twitter โดย Roy Taylor ในอารมณ์ประมาณว่า จะเป็นการส่งสัญญาณบางอย่างถึงแฟน ๆ ชาว Radeon ว่า FURY X2 พร้อมแล้วนะ และในอีกวันถัดมา Roy Taylor ก็ได้ทำการโพสภาพเพิ่มเติมของเครื่อง Tiki PC ว่ามันไม่ได้มีเพียงแค่เครื่องเดียวที่เคยเอาไปโชว์ในงาน VRLA เท่านั้น แต่มีเป็นตับที่เลยละ และวันนี้ก็ยังมีการออกมาโพสเพิ่มเติมอีกครั้งว่า “เราพร้อมส่งแล้วนะ” และจากทุกครั้งที่ออกมาโพสภาพของเครื่อง Tiki PC ก็ยังไม่มีตัวการ์ดจริง ๆ ของ R9 FURY X2 ให้ได้เห็นแต่อย่างใด ทว่ามันก็มีการสังเกตเห็นบางอย่างของทาง videocardz.com และก็ได้ออกมาให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจ



    ตามข้อมูลที่เราทราบกันมาก่อนหน้านี้ เราต่างก็ได้รับข้อมูลมาว่า Radeon R9 FURY X2 มันจะมาพร้อมกับระบบระบายความร้อนด้วยน้ำในลักษณะเดียวกันกับ FURY X แต่จากภาพของเครื่อง Tiki PC ที่ Roy Taylor ได้ออกมาโพสในครั้งแรกนั้น มันพอจะเผยให้เห็นรายละเอียดตัวการ์ดเล็กน้อย และหากว่าสังเกตกันให้ดี ๆ ตัวการ์ดก็จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับการ์ดในโมเดล R9 390X ในเวอร์ชัน Reference ซึ่งจะมีการใช้พัดลมโบวเวอร์ในบริเวณท้ายการ์ด จึงทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า ตกลงแล้วภาพเครื่อง Tiki PC ที่โพสและระบุว่ามันคือเครื่องที่ดีที่สุดสำหรับ VR ซึ่งขับเคลื่อนโดย FURY X2 มันคือการ์ด FURY X2 จริงหรือ ? และหากว่ามันคือ FURY X2 จริง ๆ มันจะมาพร้อมกับการใช้ฮีตซิงก์ลมหรือ Air Cooling เท่านั้นหรือ ?

    จากภาพด้านบนสุดซึ่งเป็นภาพที่ทาง videocardz.com ได้ทำการจับภาพมาหมุนเพื่อให้สังเกตได้ง่ายขึ้น ซึ่งเราก็จะเห็นเลยว่า ตัวการ์ดจะมีรูปทรงที่เหมือนกับ R9 390X จริง ๆ แต่ในขณะเดียวกันทาง videocardz.com ก็ยังได้ตั้งข้อสังเกตไว้อีกกรณีคือ ภาพของการ์ดที่เราเห็นมันยังเห็นไม่หมดทั้งตัวการ์ด ซึ่งบางทีมันอาจจะมีสายยางของชุดน้ำอยู่ด้านขอบบนของตัวการ์ดก็เป็นได้ และหากว่าตัวการ์ดที่เห็นคือ FURY X2 และมีการใช้แค่พัดลมโบลเวอร์ตัวเดียวในการระบายความร้อน มันก็อาจจะเป็นการ์ดที่จะต้องหนาถึงสามสล๊อตเลยก็เป็นได้ และในส่วนของเรื่องความแรงตามที่ Roy Taylor ได้เคยพูดเอาไว้ว่า FURY X2 จะมีความสามารถในการคอมพิวติ้ง 12TFlops ดังนั้นก็อาจจะเป็นไปได้ด้วยว่าการ์ดจะมีความเร็วในการทำงานของตัว GPU ที่ความเร็วประมาณ 730MHz

    ทั้งนี้ทั้งนั้นทาง videocardz.com ก็ได้ทิ้งท้ายเอาไว้ด้วยว่า จากภาพที่เห็นเขาคิดว่ามันไม่น่าจะใช่ R9 FURY X2 อย่างแน่นอน

    ZoLKoRn Say : เอาแล้วซิ น่าสนใจอีกเรื่องแล้วสำหรับ R9 FURY X2 จากทาง AMD ตกลงแล้วมันยังไงกันแน่ ? ตกลงว่าเสร็จแล้วจริง ๆ หรือเปล่าเนี๊ยะ ? ก็บอกยากเหมือนกัน แต่ถ้าสิ่งที่สังเกตเห็นจากทาง videocardz.com มันก็น่าคิดจริง ๆ แหละครับว่าที่เห็นคือ FURY X2 จริงมั๊ย ? และถ้ามันใช่จริง ๆ จะเป็นแค่ซิงก์ลมเท่านั้นรึ ? หรือจะเป็นแบบ Hybrid ที่มีทั้งชุดน้ำและลมทำงานร่วมกัน ซึ่งก็ค่อนข้างมีความเป็นไปได้สูงเช่นกัน เพื่อที่ว่าจะได้ออกแบบการ์ดให้มันไม่หนามากนัก แต่ถ้ามาเป็นซิงก์ลมล้วน ๆ จริง ๆ ก็อาจจะเป็นไปได้เช่นกันเพราะอย่าลืมว่า เราก็ได้เห็นไปแล้วสำหรับ R9 Nano ที่มันก็คือ Fiji XT เช่นเดียวกันกับ FURY X แต่ใช้ซิงก์ลมแถมเป็นซิงก์ขนาดจิ๋วเดียวอีกด้วย ดังนั้นจากการคาดการณ์และข้อสังเกตทั้งหมดที่มีออกมาตรงนี้ ล้วนแล้วมีความเป็นไปได้ทุกหน้าเลยละครับ และสุดท้ายแล้วมันจะออกมาในรูปไหนนั้น ยังคงต้องรอลุ้นกันต่อไป



    Credit:

    http://www.zolkorn.com/news/new-amd-...and-gmi-link/#
    http://www.zolkorn.com/news/nvidia-g...g-vulkan-api/#
    http://www.zolkorn.com/news/directx-...te-nvidia-amd/
    http://www.zolkorn.com/news/radeon-r...-a-air-cooler/
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย KHNN-K860 : 2nd March 2016 เมื่อ 20:28

  2. รายชื่อสมาชิกจำนวน 13 คนที่กล่าวขอบคุณ:


  3. #2
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Jul 2011
    กระทู้
    358
    กล่าวขอบคุณ
    92
    ได้รับคำขอบคุณ: 152
    งานนี้ทาง AMD มาเต็มในทุกๆเรื่อง จะรอดดูของจริงว่าเป็นอย่างไร (แต่โดยส่วนตัวแล้วพอใจตั้งแต่ FX8xxx แล้วล่ะ ใช้กับ win10 นี่จี๊ดมาก ที่มันดูไม่แรงเพราะตอนที่ออกใหม่ๆพวกโปรแกรมไม่ค่อยจะรองรับเท่าที่ควรมากกว่า ส่วนราคานี่ถูกสะใจจิมๆ ตอนนี้ใช้ i7 แต่อยากขายทิ้งจริงๆน๊ะ ราคาก็แพงกว่าแต่.. ไม่ค่อยคุ้มกับเงินที่จ่ายไปสักเท่าไหร่เลย ไม่ได้มีเจตนาอวยฝั่ง AMD แต่อย่างใด ตอนนี้รอ AMD รุ่นใหม่ออกค่อยหามาลองน่ะครับ..)

  4. #3
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Oct 2012
    กระทู้
    2,089
    กล่าวขอบคุณ
    1,952
    ได้รับคำขอบคุณ: 1,658
    อ่านไม่รู้เรื่องฮะ
    https://www.instagram.com/ez.shirt/ เสื้อยืดสวยๆคุณภาพดีครับ 199.- ลองดูก่อนได้ครับผม ผมทำเองนะ

  5. สมาชิกที่กล่าวขอบคุณ:


  6. #4
    ชอบโพสต์เป็นชีวิตจิตใจ
    วันที่สมัคร
    Apr 2014
    กระทู้
    167
    กล่าวขอบคุณ
    1
    ได้รับคำขอบคุณ: 46
    ผมขอแบบประหยัดไฟดีกว่า


 

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •  
Back to top