ในประเทศเกาหลี สื่อเขาสร้างหนัง
ที่พระเอกเป็นผู้ชายอบอุ่น โรแมนซ์
เพราะสังคมเขาผู้ชายที่แต่งงานแล้วถือว่า
มีสิทธิ์เด็ดขาดในตัวภรรยาและบ้านเมืองเขา
มีข่าวตบตีภรรยาในครอบครัวสูงมากถ้าติดตาม
เขาจึงใช้กลยุทธ์ของ modeling process
สร้างค่านิยมใหม่ในสังคม
ให้ผู้ชายเป็นคนโรแมนติคมากขึ้น
นี่คือการสร้างหนังเพื่อปรับพฤติกรรม
แม้กระทั่งในญี่ปุ่น เขาก็สร้างการ์ตูนผู้พิทักษ์ต่างๆ
อุลตร้าแมนฯลฯ เพื่อให้เด็กซึมซับความยุติธรรม
การต่อสู้กับความชั่วหรือในประเทศจีน
ก็จะมีหนังในทำนองนี้เช่นกัน...
ย้อนกลับมามองประเทศไทยสิ
ทำไมละครไทยถึงมีแต่เรื่องเดิมๆ
เป็นอยู่อย่างนี้มา 50 กว่าปี
พออาจารย์ไปถามผู้จัด ก็ได้รับคำตอบว่า
เราสร้างละครเหล่านี้เพื่อสะท้อนสังคม
เราจะไป ʽสะท้อนสังคม เพื่ออะไร
เพราะเราสะท้อนมา กว่า 50 ปีแล้ว
และเนื้อเรื่องมันก็วนเวียนอยู่แค่แย่งตบตีกันแค่นั้น
ทำไมเราไม่สร้างละคร ʽเพื่อนำสังคม
เพื่อจูงใจให้เกิดพฤติกรรมดีๆ ล่ะ
มัวแต่ไปสร้างเพื่อสะท้อนสังคม
มันก็ไม่เห็นเกิดการเปลี่ยนแปลง
อะไรในสังคมเลยสักนิด
ในทางจิตวิทยาแล้ว สื่อมีบทบาทสำคัญมากๆ
ในกระบวนการเรียนรู้ผ่านตัวแบบ...
จากคำบรรยายของอาจารย์ภาคจิตวิทยา
ที่มา: New Heart New World - โลกเปลี่ยนไป เมื่อใจเปลี่ยนแปลง
ขอขอบคุณ ค่ายจับจิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แชร์จาก Sathid Tongrak